ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 21, 2016, 12:53:57 am »



   ทิฏฐิ กับ มานะ คือ ตัณหา


    เวลานั้นสิ้นสุดฤดูร้อนเริ่มย่างเข้าฤดูฝนพระถังซัมจั๋งและสานุศิษย์รอนแรมไปไซทีจนบรรลุถึงภูเขาไซท่อซัวณถ้ำไซท่อต๋องเป็นที่พำนักของปีศาจยักษ์ร้ายกาจ ๓ ตนมีบริวารที่มีชื่อนับได้ ๘๔,๐๐๐ตน และที่ไม่มีชื่ออีกนับไม่ถ้วน  สามปีศาจแยกกันอยู่คนละเขตแดนแต่มักมาชุมนุมกันที่ถ้ำไซท่อต๋องปีศาจใต้อ๋องตนแรก(มานะ)มีฤทธิ์แปลงกายได้สารพัดเคยขึ้นไปรุกถึงสวรรค์กลืนกินเทวดาเสียหลายสิบหมื่นปีศาจใต้อ๋องตนที่สอง(ทิฐิ)รูปงามจมูกยาวอาจยื่นจมูกไปม้วนรัดศัตรูได้ ปีศาจใต้อ๋องตนที่สาม(ตัณหา)อาจกระพือปีกให้หวั่นไหวทั้งมหาสมุทรได้แล้วยังมีขวดวิเศษ “อิมเอียงยี่ขี่เพ้ง” ที่จะเรียกใครลงไปแล้วร่างจะละลายเป็นน้ำเลือดหมด

       
     เห้งเจียเมื่อทราบถึงฤทธิ์ร้ายกาจของขวดวิเศษนี้ให้รู้สึกครั่นคร้ามยิ่งนักจึงให้โป้ยก่ายซัวเจ๋งอยู่รักษาอาจารย์ส่วนตัวเองแปลงกายเข้าไปสอดแนมในถ้ำไซท่อต๋องกลับเสียทีปีศาจใต้อ๋องทั้งสามถูกจับตัวไว้ได้ปีศาจใต้อ๋องสั่งให้สมุนผี๓๖ตนหามขวดอิ๋มเอี๋ยงยี่ขี่เพ้งมาอันขวดนั้นบรรจุด้วยธาตุโป๊ยก่วยทั้ง๘(โลกธรรม๘ = ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์)และ ไออากาศอีก๒๒ (อินทรีย์ ๒๒ = ทำให้ธรรมอื่นเป็นไปตาม) ในขวดมีงูพิษ๔๐ตัว (กรรมฐาน ๔๐ = ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต) กับมังกรไฟ๓ตัว(ตัณหา ๓ = กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) ปีศาจใต้อ๋องสั่งให้จับเห้งเจียยัดลงในขวดเห้งเจียกระชากงูในขวดจนขาดเป็น๒ท่อนทั้ง๔๐ตัว แต่สำหรับมังกรไฟทั้งสาม(ตัณหา๓)นั้นมีพิษร้ายแรงเหลือทนจึงได้ถอนขนคุ้มตัว(สติในสุญญตา)ที่พระโพธิสัตว์กวนอิมมอบไว้ให้ใช้ในคราวจำเป็นมาใช้ทำให้รอดจากขวดมฤตยูนั้นได้

       เมื่อหนีรอดออกมาได้แล้วเห้งเจีย(ปัญญา)ไปตามโป้ยก่าย(ศีล)มาช่วยกันรบกับปีศาจปีศาจใต้อ๋องที่หนึ่ง(มานะ)เห็นได้ทีอ้าปากกลืนเห้งเจีย(ปัญญา)ลงไปในท้องเห้งเจีย(ปัญญา)จึงเตะถีบบีบจี้ไส้พุงจนปีศาจร้ายยอมแพ้ ปีศาจใต้อ๋องที่หนึ่ง(มานะ)ขอร้องให้ปีศาจน้องทั้งสองยอมแพ้(ทิฐิและตัณหา) และวางอุบายขออาสาหามพระถังซัมจั๋งขึ้นเสลี่ยงไปส่งพ้นเขตไซท่อก๊กนี้

       ฝ่ายเห้งเจียกับพระถังซัมจั๋งหลงเชื่อปีศาจเพราะไม่รู้ว่าเป็นอุบายที่จะจับพระถังซัมจั๋งมาต้มกินเนื้อ เห้งเจียให้พระถังซัมจั๋งขึ้นนั่งเสลี่ยงที่หามโดยสมุนปีศาจ ๘ คน (โลภ๑ โทสะ๑ โกรธ๑ อุปนาห๑  มักขะ๑ ปลาสะ๑ อิสสา๑ มัจฉริยะ๑) สมุนผีอีก๘(มายา๑ สาเถยยะ๑ ถัมภะ๑ สารัมภะ๑ มานะ๑ อติมานะ๑ มทะ๑ ปมาทะ๑) นำหน้าขบวนร้องตวาดเบิกทางรวมเป็นสมุนปีศาจ ๑๖ คน(รวมเป็นอุปกิเลส๑๖)

      ครั้นขบวนเสลี่ยงของปีศาจผ่านเข้าเขตกำแพงเมืองไซท่อก๊กอันเป็นที่พำนักของปีศาจใต้อ๋องที่ ๓ (ตัณหา) ปีศาจทั้งหมดเข้ารุมรบกับ เห้งเจีย โป้ยก่าย ซัวเจ๋ง(ปัญญา ศีล สมาธิ) ส่วนสมุน ๑๖ คน(อุปกิเลส๑๖)ในขบวนเสลี่ยงหามพระถังซัมจั๋งวิ่งเข้าเมืองพร้อมทั้งจูงม้าและข้าวของไปกักขังไว้

      ปีศาจใต้อ๋องที่หนึ่ง(มานะ) อ้าปากคาบโป้ยก่าย(ศีล)ได้ ปีศาจใต้อ๋องที่สอง(ทิฏฐิ)เอางวงรัดซัวเจ๋งไว้ เห้งเจียเห็นฤทธิ์ร้ายแรงของปีศาจใต้อ๋องจึงตีลังกาหนีไปในอากาศอย่างรวดเร็วสุดแรงเกิดแต่หาพ้นฤทธิ์ของใต้อ๋องที่๓(ตัณหา)ไม่มันกางปีกออกบินตามไปโฉบจับเห้งเจียมาได้

      สามปีศาจสั่งให้สมุนผี ๑๐ ตนตุ๋นพระถังซัมจั๋งและสานุศิษย์ด้วยหม้อนึ่งใบใหญ่ทั้งคืนเพื่อที่จะได้กินเนื้อในวันรุ่งขึ้นเห้งเจียเป่ามนต์กันร้อนไว้ได้แล้วเสกตัวหนอนหาวนอน ๑๐ ตัวไปชอนรูจมูกสมุนผีทั้ง๑๐จนมันเคลิ้มหลับไปสิ้น เห้งเจียจึงแก้พระถังซัมจั๋งกับพี่น้องออกมาได้แต่กลับถูกปีศาจใต้อ๋องรวบจับแล้วนำกลับเข้าไปขังไว้ในตู้เหล็กรอดมาได้แต่เพียงเห้งเจียผู้เดียว

      ฝ่ายเห้งเจียมิรู้ที่จะทำประการใดจึงหกคะเมนไปในอากาศไปหาพระเซ็กเกียมองนี่ฮุดโจ๊กราบทูลเรื่องความทุกข์ยากของพระถังซัมจั๋งให้ฟัง สมเด็จพระเซ็กเกียมองนี่ฮุดโจ๊ทรงเล่าให้เห้งเจียทราบว่าที่แท้ปีศาจใต้อ๋องที่หนึ่งนั้น คือ สิงห์พาหนะของพระบุนซู้โพธิสัตว์ ปีศาจใต้อ๋องที่สองคือช้างเผือกของพระเพ้าเพี้ยนโพธิสัตว์ ส่วนปีศาจใต้อ๋องที่สามตัวร้ายกาจนั้นคือนกอินทรีย์ร้ายลูกของพญาหงส์ผู้เป็นจอมแห่งสัตว์มีปีกนกอินทรีย์นั้นมีน้องคือนกยูง พระเซ็กเกียมองนี่ฮุดโจ๊ทรงเล่าให้เห้งเจียฟังว่า  ก่อนสมัยที่พระองค์จะทรงตรัสรู้นกอินทรีย์ตัวนี้ได้กลืนพระองค์ลงในท้องพระองค์ได้พุ่งทะลุขึ้นกลางหลังมันขึ้นขี่หลังบังคับให้ไปยังเขาเล่งซัวเพื่อลงโทษแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงห้ามปรามว่าหากขืนฆ่านกอินทรีย์นี้เสียเปรียบดุจฆ่าพุทธมารดาจึงทรงขนานนามมันว่ามหาราชาแห่งนกผู้เป็นที่มาแห่งพระพุทธมารดา

        พระยูไล(พุทธภาวะ- สัมมาทิฏฐิ)จึงเสด็จจากวัดลุยอิมยี่พร้อมด้วยพระบุนซู้โพธิสัตว์ พระเพ้าเพี้ยนโพธิสัตว์ และ เห้งเจีย ทั้ง๔เหาะมุ่งตรงไปยังเมืองไซท่อก๊ก พระบุนซู้โพธิสัตว์กับพระเพ้าเหี้ยนโพธิสัตว์ต่างกำราบใต้อ๋องที่๑(มานะ) และที่๒(ทิฐิ)ได้ มันทั้งสองได้กลับกลายเป็นสิงห์และช้างพาหนะเดิมของเจ้าของ

       ฝ่ายปีศาจใต้อ๋องที่๓(ตัณหา)คือนกอินทรีย์นั้นหายอมแพ้แต่โดยดีไม่ พระยูไล(พุทธภาวะ)ต้องเนรมิตก้อนเนื้อแดงๆล่อไว้บนพระเศียร ปีศาจอินทรีย์สำคัญว่าเป็นอาหารจึงถลาโฉบลงมาจิก  พระยูไล(พุทธภาวะ)จึงรวบจับขาทั้งสองของมันไว้ได้ และพระเพ้าเพี้ยนต่างขับขี่พาหนะกลับไปยังเขาเล่งซัวทางอากาศ

        เห้งเจียเข้าไปแก้ไขพระถังซัมจั๋งและพี่น้องออกจากตู้เหล็กได้เลี้ยงอาหารกันอิ่มหนำสำราญแล้วเห้งเจียกุมตะบองวิเศษออกนำหน้าขบวนโป้ยก่ายตามหลังซัวเจ๋งจูงม้าที่พระถังซัมจั๋งขี่พร้อมทั้งหาบสัมภาระต่างๆศิษย์และอาจารย์บ่ายหน้าไปทางไซที

[อุปกิเลสทั้ง๓ได้แก่มานะ ทิฐิ และ ตัณหา ทำให้ศีล สมาธิ ปัญญา เพลินใจด้วยนันทิราคะในโลกธรรม ๘ ได้แก่

๑.     ลาภ– ได้ลาภมีลาภ

๒.     อลาภ– เสื่อมลาภเสื่อมเสีย

๓.     ยส– ได้ยศมียศ

๔.     อยส– เสื่อมยศ

๕.     นินทา– ติเตียน

๖.     ปสังสา– สรรเสริญ

๗.    สุข- ความสุข

๘.    ทุกข์– ความทุกข็

พร้อมด้วยสมุนปีศาจ๑๖ตน– อุปกิเลส๑๖ได้แก่

๑.     โลภ– เพ่งเล็งอยากได้ของเขา

๒.     พยาบาท– คิดร้ายต่อเขา

๓.     โกธะ– ความโกรธ

๔.     อุปนาหะ– ความผูกโกรธ

๕.     มักขะ– ลบหลู่คุณท่าน

๖.     ปลาสะ– ยกตนเทียมท่าน

๗.    อิสสา– ความริษยา

๘.    มัจฉริยะ– ความตระหนี่

๙.   มายา– มารยาเสแสร้ง

๑๐. สาเถยยะ– ความโอ้อวดหลอกเขา

๑๑. ถัมภะ– ความหัวดื้อกระด้าง

๑๒. สารัมภะ– การแข่งดีไม่ยอมลดละมุ่งแต่เอาชนะกัน

๑๓. มานะ– ความถือตัวทะนงตน

๑๔. อติมานะ  - ดูหมิ่นเขา

๑๕. มทะ– ความมัวเมา

๑๖. ปมาทะ– ความประมาทเลินเล่อ

ด้วยอุปกิเลส ๑๖ เป็นเหตุทำให้ศีลเพิ่มมานะ สมาธิเพิ่มทิฏฐิ ปัญญาย่อมไม่หลุดพ้นจากตัณหา

ตัณหา คือ ความอยาก ถ้ามีความอยากประกอบด้วยอวิชชา จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ หาเป็นเช่นดั่งพระพุทธเจ้าไม่ ที่ได้หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว แต่ด้วยพลังแห่งเมตตามีความอยากที่ประกอบด้วยวิชชา คือ อยากให้สัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์นั่นคือตัณหาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย]




จาก http://www.khuncharn.com/skills?start=28

อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1