ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวมีขีดกลาง | จัดย่อหน้าอิสระ จัดย่อหน้าชิดซ้าย จัดย่อหน้ากึ่งกลาง จัดย่อหน้าชิดขวา
ใส่แฟลช ใส่รูป ใส่ไฮเปอร์ลิ้งค์ ใส่อีเมล์ ใส่ลิ้งค์ FTP | ตัวเรืองแสง ตัวมีเงา ตัวอักษรวิ่ง | ตัวยก ตัวห้อย ตัวพิมพ์ดีด | ใส่ตาราง ใส่โค้ด ใส่การอ้างถึงคำพูด | Insert Unordered List Insert Ordered List เส้นขวาง Insert Progress Bar | Remove Formatting Toggle View
Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 21, 2016, 06:25:20 am »

<a href="https://www.youtube.com/v/WWIgZKxWU5g" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/WWIgZKxWU5g</a>














นิทานเรื่องนี้มาในกุณาลชาดก พระธรรมกถึกทั้งหลายชอบนำมาเทศน์ ชื่อเรื่องว่านางปัญจปาปา ในอดีตกาลนานมาแล้ว ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลก เป็นช่วงว่างจากพระพุทธศาสนา แต่ยุคนั้นยังมีพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นก็คือพระพุทธเจ้าผู้ซึ่งตรัสรู้ธรรมด้วยตนเองแต่มิได้ออกสั่งสอนประกาศพระศาสนา นับแต่วันที่ท่านบรรลุอรหันต์ด้วยตนเองแล้ว ท่านก็ปลีกวิเวกไปตามชอบใจของท่านจนกว่าท่านจะสิ้นอายุขัยก็จะเข้าสู่นิพพาน ท่านไม่มีภาระที่จะต้องประกาศศาสนาสั่งสอนใครเหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีนางกุมารีคนหนึ่งกำลังขยำดินเหนียวฉาบทาฝาเรือนอยู่ ขณะนั้นมีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งกุฏิที่ท่านอาศัยมีรูโหว่ท่านจึงออกแสวงหาดินเหนียวไปอุดรูกุฏิของท่าน เมื่อท่านผ่านมาเห็นนางกุมารีนางนี้กำลังขยำดินเหนียวอยู่ ท่านจึงถือบาตรเดินตรงไปหานางกุมารีนั้นเพื่อขอบิณฑบาตดินเหนียวใส่บาตรมาสักก้อน นางกุมารีเห็นดังนั้นก็โกรธคิดว่า “สมณะพวกนี้ตอนเช้าเที่ยวเดินขอข้าวชาวบ้านชาวเมืองกินยังไม่พอ ตัวเรานี้สู้อุตส่าห์ไปขนดินเหนียวหอบหิ้วมานั่งขยำ กว่าจะได้ที่ก็ต้องขยำแทบมืองอเท้างอ สมณะนี้กลับมายืนเฝ้าจะขอดินที่เราขยำดีแล้วไปอีก ช่างไม่รู้จักไปหาเองเอาเสียเลย” คิดดังนี้แล้วก็ค้อนควัก เชิดจมูก ปากบ่นอุบอิบพึมพัม เพื่อจะให้พระปัจเจกพุทธเจ้าล่วงรู้อาการว่านางไม่เต็มใจจะให้ จะได้ไปไปเสีย ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าก็มีความเมตตาอารี อยากจะโปรดนางกุมารีน้อยให้ได้ทำบุญ จึงแสร้งทำเป็นไม่ทราบอาการของนาง ยืนนิ่งเปิดบาตรรอรับการบริจาคของนางต่อไป นางกุมารีเห็นดังนั้นก็คิดว่า “ชะรอยสมณะองค์นี้ถ้าไม่ได้อะไรคงจะไม่ไปแน่” นางจึงโกรธกระฟัดกระเฟียดปั้นดินได้ก้อนหนึ่งก็โยนใส่บาตรโดยไม่เคารพ พระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อได้ดินแล้วท่านก็เดินจากไปเพื่อทำกิจของท่าน นางกุมารีนั้นเมื่อตายจากชาตินั้นได้มาเกิดในตระกูลคนจน มีอวัยวะที่บิดเบี้ยวอัปลักษณ์ ๕ แห่งคือ มือ เท้า ปาก นัยน์ตา จมูก จึงมีชื่อเรียกว่านางปัญจปาปา แปลว่าผู้มีบาป ๕ ประการ ถามว่าเหตุใดนางจึงมีอวัยวะบิดเบี้ยวอัปลักษณ์ ๕ แห่ง ตอบว่าเพราะนางมีความโกรธเมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้ามาบิณฑบาตดินเหนียว นางคิดว่าเราสู้อุตส่าห์ไปขนดินเหนียวมาขยำแทบมืองอเท้างอ สมณะนี้กลับจะมาขอเอาไปเฉยๆ เพราะเหตุนี้จึงทำให้นางมีมือและเท้างอคดอัปลักษณ์ไม่น่าดู และก็เนื่องจากนางใช้ดวงตาค้อนควัก ใช้จมูกเชิดใส่ ใช้ปากบ่นอุบอิบพึมพำให้พระปัจเจกพุทธเจ้า นางจึงมีดวงตา จมูก และปากบิดเบี้ยวพิกลอัปลักษณ์ ฉะนั้นนางจึงมีชื่อว่า ปัญจปาปา แต่ว่าด้วยอานิสงส์การถวายดินเหนียวก้อนนั้นแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าก็มีผลอันยิ่งใหญ่ คือทำให้ร่างกายผิวพรรณของนางนั้นมีความนุ่มเนียนเรียบลื่นน่าสัมผัสเปรียบประดุจสัมผัสอันเป็นทิพย์ของนางฟ้านางสวรรค์ ใครถูกต้องนางจะติดใจไม่สามารถตัดใจจากนางได้ ด้วยผลบุญที่นางได้ถวายดินเหนียว ทำให้นางได้เป็นอัครมเหสีของพระราชาถึง ๒ พระองค์ คือพระเจ้าพกะ และพระเจ้าทีปาวาริกะ เรื่องราวมีอยู่ว่า การที่นางได้เป็นมเหสีของพระราชาองค์แรกเนื่องจากพระราชาได้ปลอมพระองค์ออกไปตรวจตราบ้านเมืองยามค่ำคืน บังเอิญนางปัญจปาปาวิ่งเล่นได้มาชนพระราชาโดยไม่ตั้งใจ พระราชาก็ติดใจในสัมผัสกายของนางจึงไปสู่ขอต่อพ่อแม่นางและปลอมตัวออกมาสมสู่กับนาง และต่อมายิ่งหลงใหลในสัมผัสของนางมากขึ้น มิอาจตัดใจจึงได้รับนางเข้าวัง แต่ต่อมามีผู้อิจฉาใส่ร้ายนางว่าที่นางอัปลักษณ์ดังนี้คงเป็นยักษ์เป็นมารปลอมตัวมา พระราชาเชื่อจึงจับนางใส่เรือลอยน้ำไป นางลอยไปกับเรือจนไปเจอพระราชาองค์ที่ ๒ กำลังประพาสท่องเที่ยว นางจึงร้องบอกว่านางคือมเหสีของพระเจ้าพกะ แล้วนางจึงออกอุบายให้พระราชาองค์ที่ ๒ คือพระเจ้าทีปาวาริกะฉุดนางขึ้นจากเรือ เมื่อมือสัมผัสมือพระเจ้าทีปาวาริกะก็เกิดหลงใหลในสัมผัสของนาง พานางไปแต่งตั้งอยู่ในอัครมเหสี ฝ่ายพระเจ้าพกะหวนคิดถึงนางปัญจปาปาจนไม่เป็นอันกินอันนอน ต่อมาได้ข่าวว่านางมาอยู่กับพระเจ้าทีปาวาริกะ จึงยกกองทัพมาหวังจะชิงนางคืน ภายหลังได้ตกลงกันว่าจะแบ่งเวลาที่จะอยู่ร่วมกับนางปัญจปาปา นั่นคือนางปัญจปาปาจะอยู่กับพระราชาองค์ที่ ๑ ช่วงหนึ่ง แล้วจึงย้ายไปอยู่กับพระราชาองค์ที่ ๒ อีกช่วงหนึ่งเวลาเท่าๆ กันเหตุการณ์จึงสงบลง นางปัญจปาปาจึงเป็นอัครมเหสีของพระราชา ๒ เมืองได้ด้วยประการฉะนี้

ฉะนั้นนิทานเรื่องนี้สอนว่า เวลาเราจะทำบุญทำกุศลอันใดให้ตั้งจิตให้ดี อย่าทะเลาะเบาะแว้งโกรธเคืองขุ่นเคืองกับใคร จงทำจิตให้ผ่องใส ปิติร่าเริง บุญกุศลจะได้บังเกิดอย่างบริสุทธิ์ไม่มีมลทินมาแปดเปื้อนอย่างเรื่องของนางปัญจปาปาที่สาธกมาเป็นอุทาหรณ์ดังนี้แล

จาก https://khongjeaim.wordpress.com/2014/09/04/ การให้ทานต่างกรรมต่างเ/

มีอีก เพียบบบบบบบบบ https://www.youtube.com/channel/UCXh4wUHByx7Q-fQTSE9uP5Q/videos