ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 22, 2016, 01:27:02 am »



๒. ด้านประโยชน์ผู้อื่น

ผู้อื่นหมายภายนอกตัวเองออกไป จะเป็นคนสัตว์ ภูตผี ปีศาจ หรือเทพเจ้าก็ตาม เรียกว่าผู้อื่นสิ้น ประโยชน์ใดเป็นไปเพื่อความสุขสวัสดีแก่ผู้อื่นนั้น ประโยชน์นั้นเรียกว่าประโยชน์ผู้อื่นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นก็คือ ประกอบกิจการหรือประพฤติการอันจะเป็นผลสะท้อนกลับมาหาตนก็เพียงเล็กน้อย ไม่คุ้มกับกำลังและเวลาที่ทุ่มเทลงไป การบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นนี้ตรัสสรรเสริญและทรงแนะนำให้บำเพ็ญ แต่ถ้าทำแต่ประโยชน์ผู้อื่น ละเลยประโยชน์ของตนก็ทรงติเตียน เพราะเขาผู้นั้นจะทำลายตัวเอง และผลที่สุดก็จะทำลายผู้อื่นด้วย จึงทรงแนะนำให้บำเพ็ญประโยชน์อันจะสำเร็จผลดีทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น เป็นการทำที่มีผลไพศาล คือการประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ และชักชวนผู้อื่นในการประพฤติสุจริตนั้น โดยวิธีนี้ตนเองก็ได้ประโยชน์ ผู้อื่นก็ได้รับประโยชน์ด้วย ไม่เสียผลทั้งสองฝ่าย ผู้มีปัญญาชอบบำเพ็ญประโยชน์ชนิดนี้ แต่ยังมีประโยชน์บางอย่างซึ่งตนเองจะต้องเป็นผู้เสียสละฝ่ายเดียว ผู้อื่นเป็นผู้ได้รับผล ในกรณีเช่นนี้ทรงแนะนำให้พิจารณาด้วยปัญญา ถ้าเห็นว่าจักไม่เป็นไปเพื่อทำลายประโยชน์ของตนก็พึงทำตามกำลังความสามารถ แต่ถ้าเป็นไปเพื่อทำลายประโยชน์ตนเองแล้วไม่ควรทำ ทั้งนี้มิใช่สอนให้เป็นคนใจแคบ แต่ทรงสอนให้เป็นคนมีประโยชน์ รู้จักทำประโยชน์ไม่ให้ทำลายประโยชน์ใดๆ เมื่อได้ทราบลักษณะประโยชน์ผู้อื่น และหลักการบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นเช่นนี้ พึงทราบวิธีการดังต่อไปนี้

(๑) วิธีใช้ทิพยอำนาจคุ้มครองผู้อื่น

ในกรณีที่ผู้อื่นไม่สามารถจะคุ้มครองตนของเขาให้ปลอดภัยได้ ถ้าเราเป็นผู้สามารถป้องกันภัยได้และเมตตากรุณาแก่เขาก็พึงทำการคุ้มครองเขาด้วยทิพยอำนาจประการใดประการหนึ่ง เช่น

ก. ทำฤทธิ์กำหนดเขตปลอดภัยแก่เขา.

ข. ทำฤทธิ์อธิษฐานวัตถุให้เป็นเครื่องคุ้มกันภัยแก่เขา.

ค. แนะนำให้เขาระลึกถึงพระรัตนตรัย และตนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย ในเวลาหวาดระแวงภัย.

ฆ. ทำฤทธิ์ด้วยเมตตาพลกรุณาพล หรือประการอื่นๆ ปกคลุมไปคุ้มครองเขาในเมื่อจำเป็น.

(๒) วิธีใช้ทิพยอำนาจบรรเทาภัยแก่ผู้อื่น

ในกรณีที่ผู้อื่นประสบกับภัยอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเราเมตตากรุณาเขาอยู่ และมีสมรรถภาพพอจะช่วยได้ ก็พึงช่วยด้วยทิพยอำนาจประการใดประการหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับกรณีนั้นๆ เช่น

ก. ทำฤทธิ์กำจัดภัย ในเมื่อเห็นว่าจำเป็นต้องทำ เพราะจะปฏิบัติโดยวิธีอื่นใดไม่สำเร็จ.

ข. ทำบุญอุทิศ หรืออุทิศบุญที่มีอยู่แล้วไปให้แก่เขา ผู้กำลังตกทุกข์ได้ยากอยู่ในปรโลก ให้พ้นทุกข์ยากไป.

ค. ให้คำแนะนำสั่งสอนอันศักดิ์สิทธิ์ เหมาะสมกับภัยที่เขาผจญอยู่นั้น ให้เขาเกิดกำลังใจต่อสู้กับภัยด้วยธรรมิกอุบาย และแผ่กระแสจิตประกอบด้วยอานุภาพไปช่วยเขาตามสมควร.

ฆ. ถ้าเขาเป็นผู้มีทิพยอำนาจพอจะขจัดภัยแก่ตัวเองได้อยู่ หากไม่ฉลาดในวิธีใช้ พึงแนะอุปเทศแห่งทิพยอำนาจแก่เขาตามควร.

(๓) วิธีใช้ทิพยอำนาจบำบัดอาพาธผู้อื่น

ในกรณีที่ผู้อื่นเกิดอาพาธที่พอเยียวยา หรือผ่อนบรรเทาทุกขเวทนาได้ ก็พึงช่วยเหลือตามสมควรแก่กรณี เช่น

ก. เข้าสมาธิขั้นปีติสุขภูมิ แล้วแผ่กระแสปีติสุขนั้นไปให้ หรือทำอธิษฐานฤทธิ์ก็ได้.

ข. ถ้าเป็นผู้มีกำลังใจ ได้เคยซาบซึ้งในพระธรรมอยู่แล้ว แสดงธรรมอันวิเศษให้ฟังก็บรรเทาได้.

ค. ผู้อาพาธเป็นผู้ที่ควรสงเคราะห์โดยประการทั้งปวง พึงเพ่งให้เกิดเป็นทิพยโอสถขึ้น แล้วให้เขาใช้อาบกิน.

(๔) วิธีใช้ทิพยอำนาจปลูกศรัทธาในศีลธรรมแก่ผู้อื่น

ในกรณีช่วยเหลือผู้อื่นให้เกิดศรัทธาเชื่อมั่นในศีลธรรมนั้น นอกจากการให้คำแนะนำสั่งสอนตามธรรมดาแล้ว ในบางกรณีจะต้องอาศัยทิพยอำนาจเข้าช่วยจึงจะสำเร็จผล เพราะบางคนมีทิฏฐิมานะกล้า ถ้าไม่เห็นคุณน่าอัศจรรย์ประจักษ์ตา เขาจะไม่เชื่อถือถ้อยคำในการแนะนำสั่งสอน แต่ถ้าเขาได้เห็นคุณน่าอัศจรรย์แล้ว เขาจะเชื่อถือถ้อยคำในการแนะนำสั่งสอนอย่างดียิ่งและทำให้เขามั่นใจในศีลธรรมว่าเป็นสิ่งดีวิเศษกว่าสิ่งใดๆ เมื่อเขามั่นใจในศีลธรรมยิ่งๆ ขึ้นในกรณีที่ต้องใช้ทิพยอำนาจนี้ต้องพิจารณาโดยรอบคอบว่า ควรใช้ทิพยอำนาจชนิดใดด้วย อย่าสักว่ามีอำนาจใช้ก็ใช้ไปทีเดียว เพราะถ้าใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจกลับเป็นร้ายได้ และต้องสังวรให้มาก อย่าใช้พร่ำเพรื่อ จะนำอันตรายมา.

อนึ่ง นาค ยักษ์ คนธรรพ์ ปีศาจ เปรต บางจำพวกมีฤทธิ์และโหดร้าย ถ้าไม่ใช้ฤทธิ์ทรมานก็ย่อมไม่สำเร็จอยู่ดี ในกรณีทำฤทธิ์ทรมานพวกนี้พึงพิจารณาดูฤทธิ์อันจะปราบเขาได้ เช่น นาค ต้องใช้ฤทธิ์สองประการทรมาน คือ ธมายิกภาพ กับ ปัชชลิกภาพ นอกนั้นเพียงเมตตาฌานก็อาจทรมานได้ ถ้าใช้เมตตาไม่ลงจึงค่อยใช้ฤทธิ์อื่นๆ ต่อไปตามสมควร เมื่อทรมานลงแล้วต้องสั่งสอนให้ดำรงอยู่ในพระไตรสรณคมน์และศีล ๕ ประการ เสมอไปทุกครั้ง อย่าทรมานปล่อย จะได้ประโยชน์น้อย.

จบ.



จาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/ ทิพยอำนาจ-16.htm
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 22, 2016, 01:23:52 am »



ทิพยอำนาจ

พระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง , ปธ. 6)

วัดป่าเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น

เรียบเรียง



บทที่ ๑๔

วิธีใช้ทิพยอำนาจบำเพ็ญประโยชน์



ทิพยอำนาจที่ปลูกสร้างขึ้นได้แล้ว เมื่อว่าโดยลักษณะที่แท้จริงของทิพยอำนาจประการนั้นๆ ย่อมเป็นอำนาจที่คุ้มครองรักษาตัว และอำนวยประโยชน์แก่ตน แก่ผู้อื่น แก่โลก และแก่พระศาสนาอยู่แล้วโดยธรรมดา ถึงอย่างนั้นก็ต้องรู้จักใช้จึงจะสำเร็จประโยชน์ดี พระมหาโมคคัลลานเถระท่านเป็นผู้มีฤทธิ์เลิศอยู่แล้ว แต่ในวิธีใช้ฤทธิ์นั้นบางคราวต้องได้รับพระอุปเทศวิธีจากพระบรมศาสดาจึงใช้ได้ดี วิธีใช้ทิพยอำนาจหรือว่าโดยเฉพาะวิธีใช้ฤทธิ์ที่เรียกว่าอุปเทศนั้น มิได้ทรงสั่งสอนไว้โดยทั่วไป ตรัสแนะให้แก่ผู้สมควรเท่านั้น เพราะทิพยอำนาจมิใช่เป็นสิ่งสาธารณะ ย่อมมีได้แก่บางคน วิธีใช้ทิพยอำนาจจึงเป็นไปโดยเฉพาะบุคคล มิได้ตรัสไว้โดยทั่วไป ถ้าจำเป็นต้องตรัสไว้ ก็ทรงเพียงเล่าเรื่องการใช้ทิพยอำนาจเท่านั้น แม้เพียงเท่านั้น ผู้มีอุปนิสัยในทางใช้ทิพยอำนาจก็เข้าใจได้ และนำไปใช้บำเพ็ญประโยชน์ได้ เช่นที่ตรัสเล่าเรื่องไปทรมาน พกาพรหม บนพรหมโลกเป็นต้น เมื่อพิจารณาถึงเนื้อเรื่องแล้วก็ไม่เห็นมีธรรมปฏิบัติที่เป็นสาธารณวิสัยอยู่เลย คงเห็นแต่วิธีการอันเป็นอสาธารณวิสัยเท่านั้น พระสูตรทำนองนี้มีอยู่ในพระไตรปิฎกหลายพระสูตร ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์รวบรวมมารักษาไว้ ท่านก็คงเข้าใจถึงพระพุทธประสงค์เป็นอย่างดี.

การที่พระบรมศาสดาไม่ตรัสสอนวิธีใช้ทิพยอำนาจไว้โดยตรง ก็เพราะทิพยอำนาจเป็นสิ่งไม่ทั่วไปดังกล่าวแล้วประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งเพื่อป้องกันคนอันธพาลมิให้ใช้ทิพยอำนาจทำความพินาศฉิบหายแก่ตัวเขาเอง ได้เคยมีเรื่องคนอันธพาลใช้ศิลปะเพื่อความฉิบหายแก่เขาเองมาแล้วเป็นตัวอย่าง ถึงกับได้ตรัสไว้ว่า ความรู้เกิดขึ้นแก่คนพาลก็เพียงเพื่อทำลายคุณธรรมของเขาเอง และเพื่อกำจัดปัญญาของเขาด้วย ฉะนั้น จึงทรงระมัดระวังหนักหนาในเรื่องนี้ ทรงถือเป็นอสาธารณะตลอดมา แม้จะมีผู้อาราธนาให้ทรงแนะนำอุปเทศแก่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ เพื่อทำฤทธิ์เผยแผ่พระพุทธศาสนาก็ตาม ก็มิทรงอนุโลมตาม ตรัสยืนยันว่าได้ประโยชน์น้อย ไม่คุ้มกับความเสียหายอันจะเกิดขึ้นในภายหลัง การที่ข้าพเจ้าจะแนะนำวิธีใช้ทิพยอำนาจนี้ก็รู้สึกหวั่นๆ อยู่เหมือนกันว่าจะเป็นการเกินครู แต่ก็จะพยายามแนะนำวิธีใช้บำเพ็ญประโยชน์จริงๆ ซึ่งจะไม่นำความพินาศฉิบหายมาสู่ในภายหลังได้ คติโบราณมีอยู่ว่า สิ่งที่มีคุณอนันต์ ก็มีโทษมหันต์ ในเมื่อใช้ในทางผิด เช่น ดาบเมื่อใช้ในทางถูกก็ให้คุณอนันต์ แต่ถ้าใช้ในทางผิดก็ให้โทษมหันต์ ทิพยอำนาจก็เช่นเดียวกัน ธรรมดาคนพาลมีสติและปัญญาอ่อนความยั้งคิดและความรอบคอบมีน้อย ถ้ามีทิพยอำนาจแล้วก็อาจใช้ทิพยอำนาจในทางผิดได้ ผลร้ายอันเกิดจากการใช้ทิพยอำนาจในทางผิดนั้นย่อมตกแก่ผู้ใช้นั้นเองเป็นส่วนมาก ตกแก่ผู้อื่นเพียงส่วนน้อย ดั่งพระเทวทัตในสมัยพุทธกาลหรือดั่งรัสปูตินในต่างประเทศ (รัสเซีย).

การบำเพ็ญประโยชน์จัดว่าเป็นความดีส่วนหนึ่งที่ควรบำเพ็ญ ตรัสสอนให้บำเพ็ญเพื่อสงเคราะห์แก่ผู้อื่นเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ให้เกิดความรักความนับถือมั่นคงในกันและกันเรียกว่า สังคหธรรม พระบรมศาสดาก็ทรงบำเพ็ญเสมอ และทรงบำเพ็ญได้กว้างขวางด้วย ดั่งพระโบราณาจารย์ได้แสดงพระพุทธจริยาในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นไว้ถึง ๓ ประเภท คือ

๑. โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก ได้แก่ทรงแสดงธรรม ทรงบัญญัติวินัยไว้อย่างถี่ถ้วนละเอียดลออ เพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลกทั่วๆ ไป.

๒. ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติวงศ์ของพระองค์โดยเฉพาะ เช่น ทรงสงเคราะห์พระญาติ ผู้แม้เคยบวชในลัทธิอื่นมาก่อน ให้เข้าบวชในพระธรรมวินัยของพระองค์เองโดยสะดวก ไม่ต้องให้ประพฤติติตถิยปริวาสก่อน ส่วนคนผู้มิใช่พระญาติวงศ์ของพระองค์ถ้าเคยบวชในลัทธิอื่นมาก่อนต้องให้ประพฤติติตถิยปริวาส ถึง ๔ เดือน เมื่อล่วง ๔ เดือนแล้วภิกษุทั้งหลายพอใจจึงจะให้บวชได้.

๓. พุทธัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พุทธเวไนย คือผู้ควรแก่การตรัสรู้ แม้จะอยู่ในที่ไกลแสนไกลก็เสด็จไปโปรด และแก่ผู้ตรัสรู้แล้ว เช่น ในเรื่องติตถิยปริวาสนั้น นอกจากทรงยกเว้นแก่พระญาติวงศ์ของพระองค์แล้ว ทรงยกเว้นแก่ผู้บรรลุธรรมด้วย ถ้าพระอรหันต์อาพาธหนัก มักเสด็จไปเยี่ยมและทรงแสดงธรรมบำบัดอาพาธให้ เช่น คราวพระมหาโมคคัลลานเถระอาพาธหนักเสด็จไปเยี่ยมและทรงแสดงโพชฌงค์ให้ฟัง พระมหาโมคคัลลานเถระก็หายอาพาธ เหมือนได้รับทิพยโอสถฉะนั้น.

เมื่อได้ทราบพระพุทธจริยาในการบำเพ็ญประโยชน์เช่นนี้แล้ว เราพุทธศาสนิกชนก็ควรเจริญรอยตามพระบาทยุคลของพระพุทธองค์บ้าง แต่เรายังมีประโยชน์ตนเองที่ต้องบำเพ็ญอยู่ด้วยจริยาของเราจึงเป็นไปทั้งในประโยชน์ตนเอง ทั้งในประโยชน์ผู้อื่น ตลอดถึงประโยชน์ของโลกและของพระพุทธศาสนา การบำเพ็ญประโยชน์นี้ก็จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เห็นว่าจะได้ผลคุ้มกับกำลังที่ทุ่มเทลงไปจึงทำ ถ้าจะเกิดโทษในภายหลัง แม้จะได้ประโยชน์บ้างในปัจจุบันก็ควรงดการแนะนำวิธีใช้ทิพยอำนาจบำเพ็ญประโยชน์ที่ข้าพเจ้าจะให้ต่อไปนี้ ก็จะอนุวัติตามเหตุผลนั้น จะแนะนำเฉพาะวิธีที่มีประโยชน์จริงๆ ทั้งแก่ตนเอง ทั้งแก่ผู้อื่น จะเว้นวิธีที่จะนำภัยพิบัติมาสู่ผู้ใช้ทิพยอำนาจ หากว่าใครอุตรินำทิพยอำนาจที่ปลูกสร้างขึ้นตามวิธีที่ข้าพเจ้าแนะนำไปใช้ในทางผิดแล้ว ก็เป็นการทำผิดเฉพาะตัวผู้นั้น ข้าพเจ้าไม่มีส่วนรับผิด เพราะมิได้จงใจหรือแนะนำทางนั้นไว้.

การบำเพ็ญประโยชน์

(๑) ด้านประโยชน์ตน.

(๒) ด้านประโยชน์ผู้อื่น.

มีวิธีใช้ทิพยอำนาจ ดังต่อไปนี้

๑. ด้านประโยชน์ตน ตนเองเป็นแดนเกิดของประโยชน์ทั้งมวล ถ้าตนเองไม่มีคุณธรรมและสมรรถภาพ ตนก็ทำประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ของโลก และของพระศาสนาไม่ได้อยู่ดีฉะนั้น ประโยชน์ตนเองจึงเป็นสิ่งควรคำนึงถึงก่อน แต่คำว่าประโยชน์ตนมีความหมายกว้างมาก จำเป็นต้องจำกัดความไว้ในที่นี้ให้แน่นอน เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดในการบำเพ็ญประโยชน์ตน คำว่าประโยชน์ตนตามความมุ่งหมายของข้าพเจ้า หมายถึง ผลดีที่พึงทำแก่ตนโดยส่วนเดียว ถ้าการใดสำเร็จประโยชน์แก่ตนในปัจจุบัน แต่ผลสะท้อนของการกระทำนั้นเป็นผลร้ายแก่ตนในภายหลัง ในกรณีเช่นนี้ไม่ชื่อว่าประโยชน์ตน เพราะเป็นอันตรายแก่ตนเอง ถ้าการใดสำเร็จประโยชน์แก่ตนเองในปัจจุบัน ผลสะท้อนของการนั้นในภายหลังก็เป็นผลดีแก่ตนด้วย ในกรณีเช่นนี้ชื่อว่าประโยชน์ตนแท้จริง การกระทำซึ่งเป็นผลสะท้อนในทางร้ายแก่ตนนั้น พึงทราบว่าเป็นการกระทบกระเทือนถึงประโยชน์ผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเสียหาย จึงไม่จัดว่าเป็นประโยชน์ตนจริง เพราะเป็นไปเพื่อพอกพูนภัยเวรแก่ตนเอง ถึงจะได้ประโยชน์ปัจจุบันก็ไม่คุ้มกับผลร้ายอันจะเกิดขึ้นในภายหลัง จัดว่าเป็นการทำลายประโยชน์ตนเสียด้วยซ้ำ ฉะนั้น ควรเข้าใจให้ถูกต้องว่าประโยชน์ตนต้องเป็นผลดีแก่ตนเอง ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า ไม่กระทบกระเทือนประโยชน์ผู้อื่น คือไม่ทำลายประโยชน์ผู้อื่น ผู้เจริญทิพยอำนาจก็ชื่อว่าบำเพ็ญประโยชน์ตนอยู่แล้ว เมื่อยังไม่สำเร็จถึงขั้นอาสวักขยญาณชื่อว่ายังไม่สำเร็จอย่างสมบูรณ์ เป็นภาระที่จะต้องบำเพ็ญอยู่ ส่วนผู้สำเร็จทิพยอำนาจชั้นสูงสุดแล้วชื่อว่าสำเร็จประโยชน์ตนอย่างสมบูรณ์แล้ว ภารกิจในการบำเพ็ญประโยชน์ตนก็ระงับไป ยังมีแต่ภารกิจในการบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นที่ต้องทำด้วยความกรุณา และด้วยมุ่งสนองบูชาคุณตามวิสัยของคนดีผลสะท้อนจากการบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นนั้น ถึงจะเป็นความดีแก่ตนก็มิใช่ผลมุ่งหมายโดยตรง เป็นเพียงผลพลอยได้ของการทำประโยชน์เท่านั้น ในด้านประโยชน์ตนนี้ ข้าพเจ้ามุ่งแนะนำผู้ที่ยังมีภารกิจในการบำเพ็ญอยู่เท่านั้น ฉะนั้นจะได้ให้คำแนะนำไว้ ดังนี้

วิธีใช้ทิพยอำนาจคุ้มครองตน

(๑) โลกนี้บริบูรณ์ด้วยภัยนานาชนิด ผู้เกิดมาในโลกนี้ จึงเท่ากับตกอยู่ท่ามกลางภัย คนโบราณที่รู้เรื่องโลกดีถึงกับขนานนามโลกนี้ว่า โลกมาร ผู้จะได้นามว่าอัจฉริยบุคคลก็เพราะผจญมารได้ชัยชนะ สามารถบำเพ็ญประโยชน์สำเร็จ ทั้งที่เป็นประโยชน์ตน ทั้งที่เป็นประโยชน์ผู้อื่นตลอดถึงประโยชน์แก่โลกทั้งสิ้น ถ้าจะพูดให้ถูกต้องเรียกโลกนี้ว่า สนามผจญภัย ย่อมเหมาะที่สุด

ภัยในโลกนี้มีหลากหลาย เมื่อประมวลให้สั้นมี ๔ ประเภทคือ

ก. ภัยธรรมชาติ ได้แก่ภัยอันเกิดมีอยู่โดยปกติธรรมดา เช่นเกิดจากดินฟ้าอากาศวิปริตเกิดแต่ความเปลี่ยนแปลงของสังขาร ฯลฯ ภัยชนิดนี้เป็นภัยเหนืออำนาจ แต่ก็มีทางป้องกันได้บ้าง.

ข. ภัยพาล ได้แก่ภัยอันเกิดจากคนอันธพาล คนจำพวกนี้สันดานหยาบ มีนิสัยไม่อนุโมทนาในการทำดีของผู้อื่น ชอบขัดขวางตัดรอนการบำเพ็ญประโยชน์ของผู้อื่น มีการกล่าวเสียดสี กล่าวเยาะเย้ย กล่าวถากถาง ทำร้ายด้วยพลการ หรือด้วยอำนาจในเมื่อเขามีอำนาจ ภัยประเภทนี้ก็พอมีทางหลีกเลี่ยงได้บ้าง แต่ถ้าหลีกไม่พ้นก็ต้องผจญด้วยความอดทนที่สุด และด้วยวิธีอันแยบคายซึ่งจะได้แนะนำในที่นี้.

ค. ภัยมาร ได้แก่ภัยอันเกิดจากมารใจบาป มารนี้หมายถึงเทพเจ้าจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีนิสัยสันดานริษยา ไม่อยากให้ใครได้ดียิ่งกว่าตัว โดยมากเป็นผู้พลั้งพลาดในการสร้างบารมี เกรงว่าคนอื่นจะเกินหน้าตนไป จึงคอยขัดขวางการสร้างบารมีของคนอื่นเสมอ ถ้าจะทำประโยชน์เพียงชั้นต่ำ เขาจะไม่ขัดขวาง เพราะยังอยู่ในอำนาจของเขา แต่ถ้าจะทำประโยชน์อย่างสูงเพื่อออกจากโลกเขาจะขัดขวางเต็มที่ ภัยประเภทนี้จะต้องผจญด้วยความฉลาดที่สุด.

ฆ. ภัยเวรกรรม ได้แก่ภัยอันเกิดจากเวรกรรมของตนเอง ถ้ามันให้ผลสืบเนื่องกันมาแล้วหลายชาติมันยังไม่สิ้นกระแสลง ย่อมเป็นภัยที่หลีกไม่พ้น ถ้ามันยังไม่ทันให้ผล มีทางป้องกันได้ ดังจะแนะนำต่อไปนี้

    ในการคุ้มครองตนเพื่อให้พ้นภัยดังกล่าวนี้ มีวิธีปฏิบัติดังนี้

ก. มีสติคุ้มครองอินทรีย์เสมอ ป้องกันมิให้เกิดบาปอกุศลขึ้นครอบงำใจ ทำใจให้ผ่องใสไว้เป็นนิตย์ ให้เหมือนกระจกเงาที่ขัดดีแล้วฉะนั้น.

ข. มีปัญญาพิจารณาเหตุผลต้นปลายของสิ่งทั้งหลายเป็นนิตย์ พิจารณาดีแล้วจึงเสพ พิจารณาดีแล้วจึงรับ พิจารณาแล้วจึงบรรเทา พิจารณาดีแล้วจึงเว้น ทำให้ปัญญาเป็นเหมือนกองทัพพิทักษ์รักษาตัวเป็นนิตย์.

ค. เจริญเมตตาฌานเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันกลางคืน แผ่กระแสจิตประกอบด้วยเมตตาไปยังสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้าทั่วโลกธาตุ อย่าให้จิตมีความรู้สึกว่ามีศัตรูแต่ที่ไหนๆ ให้รู้สึกว่ามีมิตรรอบด้านอยู่เสมอ.

ฆ. เจริญอสุภฌานบ่อยๆ เพื่อป้องกันบ่วงมาร เพราะมารชอบใช้ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะเป็นบ่วงเครื่องผูกมัดเสมอ.

ง. มีขันติ ความอดทนอย่างดียิ่ง เยี่ยงขันติวาทีดาบส ในสมัยดึกดำบรรพ์ฉะนั้น.

จ. อย่าเปิดโอกาสให้เวรกรรมได้ช่องให้ผล เมื่อรู้สึกตนว่ามีเวรกรรมได้ทำมาแล้ว จงมั่นในศีลธรรมยิ่งขึ้นทุกขณะ ทำใจให้เป็นศีลธรรมทุกเมื่อ อกุศลเวรกรรมจึงจะไม่ได้ช่องให้ผล อาจผ่อนบรรเทาเวรกรรมเก่าที่ให้ผลสืบต่ออยู่นั้นให้เบาบางไป หรือเลิกให้ผลเลยก็ได้.

ฉ. เข้าสมาธิประกอบด้วยองค์ ๕ ดังกล่าวไว้ในวิธีรักษาทิพยอำนาจนั้นเสมอ จะทำให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทุกประการ.

ช. เจริญวิปัสสนา เฉพาะอย่างยิ่งคือ สุญญตานุปัสสนาเป็นนิตย์ ให้เห็นทุกสิ่งว่างโปร่งเหมือนอากาศเสมอไป เป็นวิธีป้องกันภัยอย่างดีเยี่ยม ภัยอันตรายเข้าไม่ถึงตัวได้เลย.

เมื่อปฏิบัติตามวิธีที่กล่าวมานี้ได้ทุกๆ ประการ เป็นอันหวังความปลอดภัยได้แน่นอนทีเดียว.

(๒) วิธีใช้ทิพยอำนาจกำจัดภัยอันตรายแก่ตน เมื่อภัยอันตรายได้ช่องเกิดขึ้นแก่ตนแล้ว พึงปฏิบัติบรรเทาภัยอันตรายนั้นๆ โดยวิธีอันแยบคาย ดังต่อไปนี้

ก. กำจัดภัยธรรมชาติ ใช้ฤทธิ์ปัชชลิกภาพเผาตัว หรือเพ่งแผดเผากายให้เกิดความอบอุ่นทั่วตัว หรือใช้อากาสกสิณเพ่งขยายให้ทั่วบริเวณที่อยู่ ในเมื่ออยู่ในที่อากาศทึบ หายใจฝืด ซึ่งอาจเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นได้.

ข. กำจัดภัยพาล ใช้เมตตาฌานเป็นดีที่สุด เมื่อรู้ว่าใครเป็นพาลชอบเกะกะระรานแล้ว พึงพุ่งกระแสจิตประกอบด้วยเมตตาไปยังผู้นั้น จะทำให้เขาเกิดใจอ่อนโยนลง และเลิกการเป็นพาลหันมาเป็นมิตรได้ หากจะใช้ฤทธิ์อย่างอื่นบ้างก็ได้ในเมื่อจำเป็น ต้องพิจารณาเอาเองว่าควรใช้ฤทธิ์ชนิดไหน ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์.

ค. กำจัดภัยมาร ใช้อสุภฌานแก้ความกำหนัดในเมื่อมีผู้เกิดกำหนัดในตน หรือตนเกิดกำหนัดในผู้อื่น จะเพ่งตนหรือคนอื่นให้เป็นอสุภะย่อมได้ทั้งสองประการ สามารถบรรเทาความกำหนัดได้อย่างดียิ่ง ถ้าเกิดภัยมารอย่างร้ายแรงพึงใช้สุญญตานุปัสสนาพิจารณากายให้เห็นว่างเปล่าเป็นอากาศไป หรือจะใช้ฤทธิ์ประการใดประการหนึ่ง อันเหมาะสมกับเหตุการณ์ก็ได้.

ฆ. กำจัดภัยเวรกรรม เมื่อเกิดภัยเวรกรรมขึ้น พึงใช้ความอดทนอย่างดีเยี่ยม อย่ายอมให้ใจเหออกนอกทางศีลธรรม อย่าทำกรรมเวรสืบต่อให้ยืดยาว ทำให้มันสิ้นลงเสียเพียงแค่นั้นเป็นดีที่สุด และพึงแผ่กุศลผลบุญไปยังผู้เป็นเจ้ากรรมนายเวรเนืองๆ เพื่อให้เขาใจอ่อนเลิกจองกรรมจองเวรกันต่อไป.

ในการกำจัดภัยอันตรายนี้ เมื่อจะใช้วิธีใดๆ พึงพิจารณาให้แน่นอนในใจเสียก่อนว่าจะได้ผลหรือไม่ เมื่อได้ความแล้วจึงใช้วิธีนั้นๆ ต่อไป.

(๓) วิธีใช้ทิพยอำนาจบำบัดอาพาธแก่ตนเอง เมื่อเกิดอาพาธขึ้น พึงพิจารณาหาอุบายบำบัดอาพาธ เมื่อได้อุบายอย่างใดพึงใช้อุบายนั้นบำบัด ก็จะระงับได้ เว้นแต่อาพาธอันเกิดจากเวรกรรม เมื่อกระแสกรรมยังไม่สิ้นสุดลง อาพาธยังไม่ระงับ เมื่อพิจารณาได้ความว่าอาพาธเกิดจากเวรกรรมอะไรแล้ว พึงปฏิบัติในทางระงับเวรกรรมดังกล่าวในข้อ (๒) ฆ. อาพาธก็อาจระงับ หรือบรรเทาลงได้มาก วิธีทั่วไปสำหรับบำบัดอาพาธ คือ เข้าฌานเป็นอนุโลมปฏิโลมหลายๆ เที่ยวหรือเข้าฌานแบบสมาธิประกอบด้วยองค์ ๕ ดังกล่าวไว้ในบทที่ ๑๓ ตอนว่าด้วยการรักษาฌานก็ได้และต้องปลุกกำลังใจให้แข็งแรงที่สุด ต้องนึกว่าตนเองแข็งแรงไม่เจ็บป่วยอยู่เสมอ.

(๔) วิธีใช้อำนาจระงับกิเลสของตน กิเลสเป็นภัยอันตรายภายในที่สำคัญที่สุด ยิ่งกว่าภัยใดๆ ต้องปฏิบัติในทางป้องกันไว้เป็นดีที่สุด วิธีป้องกันภัยชนิดนี้ก็ได้แก่ข้อสัมมาปฏิบัติทั้งปวงดังกล่าวไว้ในบทที่ ๓-๔ นั่นแล้ว แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นโดยที่ป้องกันไม่ทัน ก็พึงบรรเทากิเลสนั้นด้วยข้อสัมมาปฏิบัติตรงกันข้ามเสมอไป ทำนองหนามยอกเอาหนามบ่ง เช่น ราคะเกิดขึ้น พึงเจริญอสุภฌาน โทสะเกิดขึ้นพึงเจริญเมตตาฌานเป็นต้น กิเลสนั้นๆ ก็จะระงับไป อย่าปล่อยไว้นานจะละยาก เมื่อมันเกิดขึ้นต้องรีบแก้ไขทันที แล้วต้องสังวรไว้ให้ดี.