ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 23, 2016, 03:19:03 am »




5 พลัง 5 ธรรมาจารย์หญิง…ผู้พลิกหัวใจให้เบิกบาน

พระพุทธศาสนาดำรงอยู่มาแล้วกว่า 2,600 ปี ซึ่งผู้ที่สืบทอดพระศาสนาให้ยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากพุทธบริษัท 4 อันประกอบด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

วันแม่ปีนี้ Secret จึงชวนผู้อ่านทำความรู้จัก 5 ธรรมาจารย์หญิง ผู้พลิกหัวใจคนให้เบิกบานในรสพระธรรม



คุณแม่สิริ กรินชัย

แม่พระของ “ลูกโยคี” คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย

นางสิริ กรินชัย หรือที่ผู้ปฏิบัติธรรมมักเรียกเธอว่า “คุณแม่สิริ” เกิดมาในครอบครัวที่ชอบทำบุญทำกุศลและเป็นคนธรรมะธัมโม จังหวัดนครราชสีมา  ทำให้เธอและพี่น้องอีก 4 คนในบ้านคุ้นเคยกับคำสอนทางพุทธศาสนาตั้งแต่ยังเล็ก

คุณแม่สิริเป็นคนเรียนหนังสือเก่ง สอบได้ที่ 1 ตลอดทุกครั้ง หากทำงานอะไรก็จะทำได้ดีมาก หลังแต่งงาน คุณแม่จึงเลือกที่จะประกอบอาชีพร้านเสริมสวย ตัดเสื้อ และขายอุปกรณ์เสริมสวยในจังหวัด

ครั้งหนึ่งคุณแม่สิริได้มีโอกาสเข้าวิปัสสนากรรมฐานอย่างเคร่งครัด 7 วันกับท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร ท่านเจ้าคุณซึ่งเป็นผู้สอบอารมณ์ถึงกับเอ่ยปากว่า “มาโคราชเที่ยวนี้ไม่เสียเที่ยว ได้คนดีไว้คนหนึ่งคือคุณสิริ ต่อไปคนนี้จะสอนคนและทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก”

คุณแม่สิริตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะเผยแผ่สิ่งที่ตนเองได้ไปรับรู้มาให้กับผู้อื่น จึงแปลงบ้านของตนเป็นสถานปฏิบัติธรรม แล้วจัดตั้งหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อว่า “การพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข” ขึ้นมา หลักสูตรนี้สอนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสติ กำหนดรู้อารมณ์ปัจจุบันอย่างต่อเนื่องตลอด 7 คืน 8 วัน โดยอาศัยหลักสำคัญ 3 อย่างในการปฏิบัติ ได้แก่ การกำหนดรู้อิริยาบถปัจจุบันจากอารมณ์ที่มากระทบทวารทั้ง 6 ประกอบด้วยตา หูจมูก ลิ้น กาย และใจ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิโดยอาศัยการกำหนดอาการพองยุบของท้อง

50 กว่าปีผ่านไป ด้วยวิธีการสอนที่เข้าใจง่ายและน้ำเสียงที่อบอุ่นของคุณแม่สิริ ซึ่งมักเรียกผู้เข้ารับการอบรมว่า “ลูกโยคี”ทำให้ผู้คนมากมายจากทุกสารทิศต่างพากันมาขอความรู้จากท่านโดยปัจจุบันมีผู้เข้าอบรมในหลักสูตรของคุณแม่สิริครั้งละ 100 - 500 คน และมีคนผ่านการอบรมไปแล้วหลายหมื่นคน

คุณแม่สิริมักกล่าวกับลูกโยคีเสมอว่า...“ท่านเป็นผู้โชคดีได้มาพบพระพุทธศาสนา มีโอกาสรับของขวัญจากพระพุทธเจ้าคือความสุข ไพบูลย์ สงบเย็นด้วยคุณธรรมของศีล ทาน สมาธิและปัญญา ขอให้ทุกท่านมีความเพียร มีความอดทน มีความพอใจที่จะก้าวไปสู่ทางสันติสุขโดยยึดมั่นปฏิบัติธรรมะ อันเป็นทางตรงและถูกต้องแล้ว”



ภิกษุณีคามา เลกเช โทโม

ภิกษุณีคามา เลกเช โทโม…ผู้นำทางให้สตรีมีที่ยืน

ว่ากันว่า ภิกษุณีคามา เลกเช โทโม เกิดในครอบครัวที่ร่ำรวยมหาศาล ถึงขนาดที่ว่าสามารถซื้อรถ เรือ และเครื่องบินได้ทุกปี ด้วยความที่เติบโตมาในรัฐที่ติดทะเล ทำให้ก่อนออกบวชสาวน้อยแพทริเซีย ฌอง เซนน์ ผู้นี้หลงใหลในสายน้ำและคลื่นลมของทะเลจนกลายเป็นนักโต้คลื่นในที่สุด

สมัยที่เธอยังเล็ก แพทริเซียมักตั้งคำถามกับคนรอบตัวว่า “จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากเราตายไปแล้ว” ซึ่งคำตอบที่ได้รับไม่เคยทำให้เธอเข้าใจ ด้วยเหตุนี้เมื่อเจริญวัยเธอจึงไปค้นหาคำตอบไกลถึงธรรมศาลา ประเทศอินเดีย

ครั้งแรกที่เข้าเรียนคลาสวิชาพระพุทธศาสนา เธอก็ได้รับคำตอบที่ตามหามานานจากพระสายทิเบต ส่งผลให้แพทริเซียตัดสินใจบวช โดยได้รับฉายาว่า “ภิกษุณีคามา เลกเช โทโม”และใช้ชีวิตนักบวชอยู่ในประเทศอินเดียนานกว่า 15 ปี

ภิกษุณีเลกเชได้กล่าวถึงสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้จากคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ว่า…

“พระพุทธเจ้าสอนวิธีเปลี่ยนแปลงจิตใจจากความสับสนความโลภ ความเกลียด ความหยิ่งยโสไปสู่การละและวาง ท่านสอนว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเวลาในปัจจุบัน…ดังนั้นไม่ว่าข้างหน้าจะแย่หรือจะดี เราจะไม่กังวล ไม่ทุกข์ เพราะเราอยู่กับปัจจุบันของเรา…แต่น่าเสียดายที่คนส่วนมากกว่าจะรู้ตัว ชีวิตก็หมดเวลาไปกับสิ่งไร้สาระจนหมดเวลาของชีวิต…

“…คนเราส่วนมากทุกข์เพราะเราไปยึดติดว่านั่นเป็นตัวเราเป็นของเรา ทั้งที่จริงๆ แล้วทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน พระพุทธเจ้าสอนว่า เป็นการยากที่จะสลัดความเป็นตัวเป็นตนของเราออกไปได้ แต่ไม่ยากจนเกินไป แค่ก้าวข้ามคำว่า ฉัน ของฉัน”


ด้วยความที่ภิกษุณีเลกเชอยู่ในอินเดียมานาน ท่านจึงเข้าใจความคิดของผู้หญิงอินเดียที่ว่า “หากมีโอกาสเกิดใหม่ ขอเกิดเป็นผู้ชายดีกว่า” ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเริ่มสอนให้สามเณรีและผู้หญิงทุกคนที่มาเรียนมีความมั่นใจมากขึ้น ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าตนก็มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาและปฏิบัติธรรมเหมือนกับผู้ชาย และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ท่านก่อตั้งมูลนิธิแจมยัง (Jamyang Foundation) มูลนิธิที่นำเงินไปช่วยเหลือผู้หญิงในประเทศยากจนให้มีการศึกษายังขึ้น ท่านกล่าวว่า “เสียดายศักยภาพและโอกาสของบางคนที่ทุ่มเททั้งชีวิต แต่ต้องตายจากไปและไม่มีโอกาสทำสิ่งดีๆ ที่อยากทำ”



ภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า


ภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า…งามตามวิถีแห่งเซน

ธรรมาจารย์ชุนโด อาโอยาม่า เดิมมีชื่อว่า มิสุโกะ มาจากครอบครัวชาวนา ตระกูลของท่านนับถือพุทธศาสนามาตลอด ตอนเด็กๆ ปู่ของท่านซึ่งเป็นนักพรตในลัทธิชูเก็นโดได้เคยทำนายไว้ตั้งแต่ท่านอยู่ในครรภ์มารดาว่า เด็กคนนี้จะต้องบวช เมื่อได้ยินดังนั้น ภิกษุณีซูซัน เจ้าอาวาสวัดชินชูผู้เป็นป้าจึงรับเด็กน้อยไปเลี้ยงดูตั้งแต่อายุ 5 ขวบ

นอกจากการฝึกฝนและปฏิบัติธรรมแล้ว เด็กหญิงมิสุโกะยังต้องช่วยทำการเกษตรในไร่ของวัด แม้จะมีโอกาสเรียนหนังสือ แต่เธอก็ไม่ค่อยมีเวลาอ่านหนังสือ ช่วงเวลาในการท่องจำหนังสือ คือระยะทางหกกิโลเมตรที่เธอต้องเดินทางจากบ้านถึงโรงเรียน บางครั้งถึงกับต้องทำบัตรคำภาษาอังกฤษติดตัวไปท่องระหว่างทำงานในไร่นาหรือแม้แต่เวลาเข้าห้องน้ำ หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมต้นมิสุโกะตัดสินใจที่จะโกนหัวและบวชเป็นภิกษุณีที่วัดไอจิ เซ็มมน นิโซโด ซึ่งเป็นวัดที่ฝึกหัดภิกษุณี อยู่ที่เมืองนะโงะยะ

ท่านเคยกล่าวถึงสาเหตุที่บวชทางโทรทัศน์ว่า “พระพุทธเจ้ามีความสุขทางโลกครบทุกอย่าง แต่พระองค์ทรงละทิ้งทุกอย่าง เพื่อหาความสุขที่แท้จริง ซึ่งไม่ใช่ความสุขทางโลก ไม่ใช่เงินหรือเกียรติยศใดๆ เพราะความสุขแบบนั้นไม่ได้อยู่กับเราถาวร นั่นเป็นความสุขที่มีเงื่อนไขและแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบคือหนทางความสุขที่ไม่มีเงื่อนไข ฉันจึงเชื่อว่า…ไม่ว่าใครที่เดินทางบนเส้นทางนี้ก็จะมีความสุขเช่นนี้เหมือนกัน”

ทว่าเมื่อก้าวเข้าสู่วิถีของนักบวชหน้าใหม่ เธอก็ต้องพบกับความผิดหวังเมื่อภิกษุณีที่วัดนี้ไม่ได้เป็นอย่างที่คาดหวังเลยแม้แต่น้อย จนกระทั่งภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า ได้พบธรรมะบทหนึ่งขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่า…“อย่ามองหาความผิดของผู้อื่นในสิ่งที่พวกเขาทำหรือไม่ได้ทำ แต่ให้มองที่ตัวเธอมากกว่าว่าได้ทำอะไรลงไปและอะไรยังไม่ได้ทำ” ธรรมะบทนี้เธอตระหนักได้ว่า ไม่ว่าคนอื่นจะเป็นอย่างไร แต่ธรรมะของพระพุทธองค์ยังคงเรืองรองอยู่เสมอ

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ภิกษุณีชุนโดตัดสินใจเรียนต่อมหาวิทยาลัยโคมาซาว่า ซึ่งมีผู้หญิงเข้าเรียนไม่ถึงสิบคน ในช่วงเวลาแห่งการเรียนนี้เองที่ภิกษุณีชุนโดมีโอกาสได้สอนการจัดดอกไม้และการชงชาในวัดที่ท่านอาศัยอยู่…ภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า ได้กลับไปอยู่วัดที่ชินชูเมื่ออายุได้ 30 ปี หลังจากที่กลับมาอยู่วัดบนเขานี้ ท่านได้รับเชิญให้ไปสอนที่วัดฝึกหัดที่ไอจิ เซ็มมน นิโซโด และได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรตามที่ต่างๆ อีกมากมายทั่วประเทศญี่ปุ่น

หลังจากภิกษุณีผู้เป็นป้าจากไป ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสคนต่อไปของ วัดมุเรียวจิ ทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดฝึกหัดที่ไอจิ เซ็มมน นิโซโด เมื่ออายุเพียง 42 ปี นับว่าเป็นเจ้าอาวาสที่อายุน้อยที่สุดของวัดฝึกหัดแห่งนี้…ภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ไม่ว่าจะเป็นการสอนธรรมะและสอนซาเซน (= วิถีแห่งเซน) ทั้งในและนอกประเทศ บางครั้งท่านก็ได้รับเชิญให้ไปสอนถึงอินเดีย ยุโรป และอเมริกา



ภิกษุณีเจิ้งเอี๋ยน

ภิกษุณีเจิ้งเอี๋ยน…ผู้มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์อย่างหาที่สุดมิได้

ภิกษุณีเจิ้งเอี๋ยน กำเนิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ที่ตำบลเล็กๆ ชื่อชิงสุ่ย ของเมืองไทจุง ประเทศไต้หวัน เดิมท่านมีชื่อว่า “หวัง จิ่น หยิน” เมื่อโตขึ้น บิดาของท่านถึงแก่กรรมโดยมีสาเหตุจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของตัวท่านเอง สร้างความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ตลอดทั้งวันเด็กสาวคิดคำนึงเพียงเรื่องเดียวว่า ขณะนี้บิดาไปอยู่ ณ ที่ใด

เพื่อนคนหนึ่งจึงได้แนะนำหวัง จิ่น หยิน ให้ไปที่วัดฟงเหยียนท่านธรรมาจารย์ที่วัดมอบหนังสือให้ท่านเล่มหนึ่งและบอกว่า “โยมเอากลับไปอ่านแล้วจะรู้ว่าพ่อของโยมไปอยู่ที่ไหน” อันที่จริงแล้วหนังสือเล่มนั้นไม่ได้บอกอะไรเลย เพียงแต่เขียนว่า “คนเราเมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย”

…ต่อมามีเพื่อนอีกคนหนึ่งพาท่านไปที่วัดฉือหยิน ท่านได้อ่านหนังสือ “เหลียงหวางเป่าซาน” ซึ่งทำให้สาวน้อยหวัง จิ่น หยิน ในขณะนั้นมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า “คนเราเมื่อตายไปแล้ว จะเอาอะไรติดตัวไปไม่ได้ จะมีแต่กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำในชาตินี้ติดตัวไปเท่านั้น” นับตั้งแต่นั้นมาเธอก็ไปวัดทุกวันและออกบวชโดยได้รับฉายาว่า “เจิ้งเอี๋ยน”

เมื่อท่านเดินทางกลับถึง ฮวาเหลียน อุบาสก สวี ซง หมินได้สร้างกระท่อมเล็กๆ หลังวัด ผู่หนิง ให้เป็นที่พำนัก ท่านธรรมาจารย์และสานุศิษย์ที่ติดตามมาทำงานอย่างหนัก ต้องต่อสู้กับลมและฝน บางครั้งต้องอดมื้อกินมื้อ แต่กระนั้นท่านก็ยังยึดมั่นในปณิธานที่จะไม่รับบิณฑบาต ไม่รับประกอบพิธีกรรม และตั้งกฎไว้ข้อหนึ่งว่า “วันใดไม่ทำงานวันนั้นจะไม่กิน” ดังนั้นทุกวันคนในวัดจะช่วยกันปลูกผักกินเอง เดินทางไปโรงงานเพื่อเก็บเอาด้ายที่เขาทิ้งแล้วเอามาถักเสื้อกันหนาวเพื่อหารายได้ยังชีพ

ภิกษุณีเจิ้งเอี๋ยนเคยกล่าวถึงเรื่องของการทำงานไว้ว่า…“คนที่ไม่ทำงานใดๆ และปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ ชีวิตจะเต็มไปด้วยความเกียจคร้าน การปล่อยชีวิตให้ล่วงเลยไปโดยเอาแต่นอน จิตใจจะค่อยๆ ตกต่ำ สติปัญญาและความสามารถจะถดถอยลงเรื่อยๆ ผู้ที่ดำรงชีวิตแบบนี้เราเรียกว่า ‘คนหลับ’…”

ปี พ.ศ. 2509 มีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจท่านอย่างรุนแรง วันหนึ่งท่านเดินทางไปยังโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ท่านได้พบเลือดกองใหญ่นองอยู่บนพื้น เมื่อสอบถามก็ได้ความว่า เป็นกองเลือดของผู้หญิงชนบทแท้งลูก เพราะใช้เวลาเดินทางมานานถึง 7 - 8 ชั่วโมง แต่ในที่สุดก็ต้องพาตัวกลับไปรักษาที่อื่น เพราะไม่มีเงิน 8,000 เหรียญสำหรับจ่ายค่ามัดจำก่อนที่แพทย์จะลงมือผ่าตัดช่วยชีวิต เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ท่านอาจารย์ตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะต้องทำงานเพื่อหาทางช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่ขาดที่พึ่งพิง

ต่อมามีแม่ชีคาทอลิกสามท่านมาเยี่ยมท่านธรรมาจารย์ พร้อมกับชวนให้ท่านบวชเป็นแม่ชีคาทอลิก โดยให้เหตุผลว่าศาสนาพุทธไม่ได้ใส่ใจและแก้ปัญหาสังคมอย่างเป็นรูปธรรม คำพูดเหล่านั้นกลับกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านก่อตั้งมูลนิธิการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้และสั่งสอนผู้มั่งมีขึ้น จากนั้นท่านอาจารย์ก็ใช้หลัก“ลงมือทำทันที” เริ่มด้วยการชักชวนสานุศิษย์ที่เป็นแม่บ้านธรรมดา30 คนให้ออมเงินคนละ 50 เซนต์ต่อวัน เก็บไว้ในกระปุกไม้ไผ่ โดยมีคำขวัญว่า “แม้เงิน 50 เซนต์ก็ช่วยเหลือผู้ยากไร้ได้”

จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่เปี่ยมไปด้วยศรัทธาและเมตตานี้ทำให้เรื่องราวของท่านแพร่กระจายไปทั่วเมืองฮั่วเหลียน และมีผู้สมทบทุนมากขึ้นตามลำดับ ในที่สุด “มูลนิธิฉือจี้” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเต็มตัว…

เวลาผ่านไป 40 ปี มูลนิธิฉือจี้ได้ขยายกิ่งก้านสาขาออกจากเกาะไต้หวันไปยังภูมิภาคอื่นของทวีปเอเชียและแปซิฟิก และแพร่ไปจนถึงยุโรป โดยมีอาสาสมัครกว่า 12 ล้านคนทั่วโลกทำหน้าที่ปฏิบัติ แปดภารกิจ เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ คือ การกุศล การรักษาพยาบาล การศึกษา วัฒนธรรม การบรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศ  การบริจาคไขกระดูก การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และอาสาสมัครชุมชน…ทั้งนี้เพื่อเป็นการปฏิบัติตามหลักการของพุทธศาสนิกชนที่ว่า…

“มือข้างเดียวทำงานได้ดั่งมือนับพัน ตาข้างเดียวมองเห็นได้ดั่งดวงตานับพันพึงเห็น”



ภิกษุณีนิรามิสา

ภิกษุณีนิรามิสา…หัวใจที่เบิกบานในหมู่บ้านพลัม

ภิกษุณีนิรามิสา มีชื่อและนามสกุลจริงว่า “สมพร พันธจารุนิธิ” เป็นผู้หญิงไทยอีกคนหนึ่งที่บวชเป็นพระผู้หญิงมานานถึง 12 ปีแล้ว โดยบวชกับหลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ พระชาวเวียดนามที่ไปเผยแผ่พุทธศาสนาอยู่ในเยอรมนี

เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่หมู่บ้านพลัม ชุมชนแห่งการภาวนาในประเทศฝรั่งเศส…ก่อนบวชนั้นท่านเคยเป็นนักศึกษาพยาบาลและนักกิจกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล หลังจากเรียนจบท่านก็ถูกส่งไปเป็นพยาบาลประจำค่ายผู้อพยพในชลบุรี จากนั้นจึงได้ทุนเรียนต่อระดับปริญญาโททางด้านการศึกษาเด็กเล็กจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา

เมื่อเรียนจบท่านมีโอกาสได้ทำงานอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นองค์กรที่รับทุนจากองค์กรช่วยเหลือผู้หญิง เด็กชนกลุ่มน้อย และคนในท้องถิ่นทุรกันดาร ระหว่างที่ทำงานอยู่นั้นท่านเกิดความรู้สึกอยากพักผ่อน จึงวางแผนเดินทางไปเที่ยวตามศูนย์ปฏิบัติธรรมต่างๆ ในหลากหลายประเทศ จนกระทั่งได้ไปพบกับหลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ ที่เยอรมนี…ตอนนั้นหลวงปู่คือพระรุ่นใหม่ที่มีหัวทันสมัย กระตือรือร้นในกิจกรรมด้านศาสนาและหลวงปู่นี่เองคือผู้ที่พาท่านกลับมาสู่ “บ้านที่แท้จริง” ด้วยการตัดสินใจบวชเมื่อตอนอายุ 36 ปี

“จริงๆ แล้วหลักคำสอนของหมู่บ้านพลัมคือการเจริญสติหลวงปู่จะเน้นเรื่องการประยุกต์คำสอนของพระพุทธศาสนาให้นำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนความทุกข์ความลำบากของเราให้ไปสู่ความสุข ความเบิกบาน…เวลาที่เรามีความทุกข์ ความยากลำบากแล้วเราเข้าใจมากขึ้น เราเห็นทุกข์ของเรา เราเข้าใจ เราเห็นทางออก ความเข้าใจตรงนั้นทำให้เราเกิดความรัก ความเบิกบาน แล้วความสุขก็จะตามมา

“เวลาที่เจริญสติคือเวลาที่เราได้อยู่กับตัวเอง อยู่กับปัจจุบันเวลาที่เราออกมาอยู่กับปัจจุบัน เราจะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น เช่น หากเราอยู่กับดอกไม้ เราจะเห็นความงามของดอกไม้จริงๆ ไม่ใช่เห็นดอกไม้แล้วมัวแต่คิดเรื่องอื่น จะเป็นช่วงเวลาที่เราได้สัมผัสกับความงาม ความชัดเจนในขณะปัจจุบัน ทำให้เราเป็นอิสระจากความทุกข์ จากความกังวล จากความติดยึดกับสิ่งต่างๆเวลาที่เราตื่นรู้และเบิกบาน เราจะมีความหวัง มีพลังที่จะทำสิ่งดีงามให้แก่ผู้อื่นต่อไป”

ในปี ค.ศ. 1997 หลวงพี่นิรามิสาได้รับตะเกียงธรรมาจารย์ให้เป็นผู้นำในการปฏิบัติภาวนา ท่านได้ช่วยหลวงปู่ ติช นัท ฮันห์เผยแผ่พุทธศาสนาไปในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศฝรั่งเศสสวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี สหรัฐอเมริกา ไทย ลาว และเวียดนาม เป็นต้น

ปัจจุบันหลวงพี่นิรามิสาเป็นธรรมาจารย์หญิงสัญชาติไทยเพียงคนเดียวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านพลัม ที่ตั้งอยู่ ณ อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา ทำให้ในแต่ละวันท่านต้องทำงานมากมายหลายหลากไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่กระนั้นหลวงพี่ยังคงทำงานด้วยรอยยิ้มที่พร้อมจะเผื่อแผ่ไปยังคนรอบข้างอยู่เสมอ

…เพราะท่านมีความสุขในทุกปัจจุบันขณะนั่นเอง…
 

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเราชาวพุทธจะนำเรื่องราวและคำสอนจากผู้เป็นแรงบันดาลใจในการพลิกหัวใจคนให้เบิกบานในรสพระธรรมทั้งหลายเหล่านี้มาผสมผสานและนำมาปรับใช้ เพื่อให้ชีวิตของเรากลายเป็นชีวิตที่มีคุณค่า มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีความหมายมากยิ่งขึ้นทุกวัน…

จาก http://www.secret-thai.com/article/dharma/13316/dhammajarn-woman-buddhist/