ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 23, 2016, 04:11:07 am »



หัวใจโพธิสัตว์…ที่สุดของความเสียสละ

เรื่อง ว.วชิรเมธี

ในคอร์สภาวนาที่ไร่เชิญตะวันนี้ เรามีบทสวดมนต์อยู่บทหนึ่ง ซึ่งจะสวดกันทุกวันทั้งเช้าและเย็นนั่นก็คือบทบารมี 30 ทัศ

บทบารมี 30 ทัศคือคุณสมบัติของพระโพธิสัตว์ตามคติเถรวาทซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ศรีลังการวมทั้งบังกลาเทศ และตอนนี้ก็ถูกรื้อฟื้นคืนกลับมาใหม่ในประเทศอินเดีย

ประเทศในแถบที่เราเรียกกันว่าสุวรรณภูมิหรืออินโดจีน เป็นประเทศที่โอบกอดเอาพระพุทธศาสนาไว้หลังจากที่สูญหายไปจากผืนแผ่นดินมาตุภูมิ คือประเทศอินเดีย พระพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองอยู่ในแถบเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งประเทศไทยเรานี้ เป็นพระพุทธศาสนาสายเถรวาท และในคติแบบเถรวาท ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้องผ่านการบำเพ็ญบารมี ซึ่งช่วงที่บำเพ็ญบารมีนั้นเราเรียกว่าเป็นพระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์ แปลว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรัสรู้ ผู้ที่ตั้งปณิธานว่าจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันหนึ่งข้างหน้า และทันทีที่ตั้งปณิธานและได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จากนั้นเป็นต้นไปจนกระทั่งถึงนาทีก่อนตรัสรู้ เราเรียกท่านว่า “พระโพธิสัตว์”

เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ก็จะต้องมีจรรยาของพระโพธิสัตว์ อะไรคือจรรยาของพระ-โพธิสัตว์ คำตอบก็คือบารมี 10 ทัศนั่นเอง

บารมี 10 ทัศหรือบารมี 10 ประการนั้น แต่ละประการจะต้องบำเพ็ญ 3 ระดับ คือระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงสุด เช่น ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี

ทานบารมีหรือบารมีขั้นต้น เช่น ให้ข้าวให้ของ ให้เงินให้ทอง ให้เสื้อผ้า ให้ข้าวปลาอาหาร ทานอุปบารมี เช่น ให้อวัยวะ บริจาคดวงตา บริจาคเลือด บริจาคไตอุทิศร่างกายหลังจากตัวเองล่วงลับดับขันธ์

ทานปรมัตถบารมีเป็นบารมีขั้นอุกฤษฏ์หรือขั้นสูงสุด เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน ได้แก่การยกชีวิตตัวเองให้เป็นทานเพื่อความอยู่รอดของคนอื่น ซึ่งทำได้ยากมาก เพราะต้องวางชีวิตของตัวเองเป็นเดิมพัน

ฉะนั้น ในทุกภพทุกชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยชาตินั้น ท่านก็จะบำเพ็ญบารมีเหล่านี้จึงได้เห็นบางภพบางชาติที่ท่านอุทิศชีวิตของตัวเองเพื่อให้ผู้ที่ยังเหลือมีชีวิตรอด

อาตมภาพขออธิบายเรื่องพระโพธิสัตว์ผ่านนิทานเรื่องหนึ่ง ดังนี้

พระชาติหนึ่งได้เสวยพระชาติเป็นพญาวานร ณ ที่แห่งนี้มีต้นมะม่วงอยู่ต้นหนึ่งในปีหนึ่งมะม่วงจะสุกหนึ่งครั้ง พญาวานรก็พาหมู่คณะขึ้นไปเด็ดมากิน

อยู่มาวันหนึ่ง มะม่วงผลหนึ่งหลุดตกลงไปในลำธาร ไหลละล่องท่องน้ำไปจนถึงปลายน้ำ พระราชาสรงสนานอยู่กับข้าราชบริพาร ทรงพบเห็นมะม่วงจึงหยิบมาเสวยทันทีที่พระชิวหากระทบรสชาติของมะม่วงก็ถึงกับทรงรำพึงออกมาว่า “ทำไมช่างโอชารสถึงเพียงนี้” จึงมีรับสั่งให้เสนาอำมาตย์ข้าราชบริพารส่งจารบุรุษตามน้ำขึ้นไปจนถึงถิ่นของพญาวานร เมื่อเจอแล้วทรงยกกองทัพยาตราขึ้นไป เพื่อจะไปดูว่าต้มะม่วงที่มีผลแสนโอชารสนั้นอยู่ตรงไหน

เมื่อขึ้นไปถึง เหล่าวานรพากันแตกตื่นตกใจหนีไม่ทัน กองทัพของพระราชาแวดล้อมต้นมะม่วงไว้ เหล่านายทหารง้างคันศรปล่อยลูกธนูหลุดจากแล่งพุ่งไปทิ่มแทงวานรตายไปกว่าครึ่ง พระโพธิสัตว์ในพระชาตินั้นตัดสินใจบำเพ็ญปรมัตถบารมีให้ชีวิตเป็นทานเห็นว่าถ้าปล่อยให้หนีกันตามสัญชาตญาณคงจะตายกันทั้งหมดเป็นแน่ พระโพธิสัตว์จึงทรงตัดสินใจใช้พละกำลังของตัวเองกระโดดข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง เพื่อจะขึงเถาวัลย์กับคาคบไม้ของฝั่งนั้น แต่ปรากฏว่าเถาวัลย์สั้นขึงไม่ถึง เหลืออีกประมาณสักหนึ่งช่วงตัวตีว่าหนึ่งวา พญาวานรก็เลยเอาตัวเองทำเป็นเชือกหนึ่งช่วงตัวนั้น โดยใช้ขาข้างหนึ่งเกาะกิ่งไม้ฝั่งโน้นไว้ และใช้มืออีกสองข้างขึงเชือกดึงจนตึงจนสุดศักยภาพของเชือกเส้นนั้น แล้วก็ร้องเรียกให้บริษัทบริวารห้อยโหนผ่านเส้นเชือกนั้นข้ามแม่น้ำจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่ง ทรงอุทิศตนด้วยการวางชีวิตเป็นเดิมพัน ให้บริษัทบริวารเหยียบตัวเองแทนเส้นเชือก

ระหว่างนั้นพระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นความเสียสละของพระโพธิสัตว์ เกิดธรรมสังเวชอันใหญ่หลวงว่า “เราเป็นถึงพระราชาก็ยังไม่มีภาวะผู้นำถึงขนาดนี้ ดูพญาวานรตัวนี้สิ ยังมีภาวะผู้นำสูงกว่าเราซึ่งเป็นพระราชามหากษัตริย์เสียอีก” พระราชาทรงสลดพระทัยเหลือประมาณ จึงมีรับสั่งให้ข้าราชบริพารหยุด
ประหัตประหารพญาวานร และนี่ก็คือพระชาติหนึ่งที่พระโพธิสัตว์อุทิศชีวิตเป็นทานเรียกว่า บำเพ็ญปรมัตถบารมี

ฉะนั้น ที่เรามาสวดมนต์กันทุกเช้าทุกเย็นนี้ ถ้าเราทำความเข้าใจให้ดีและปฏิบัติให้เป็น เราทุกคนก็กำลังเดินอยู่บนหนทางของพระโพธิสัตว์แล้ว ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติบารมีครบทั้ง 10 ประการก็ได้ ปฏิบัติเพียงทานข้อเดียว ก็ทำให้ได้รับอานิสงส์กว้างไกลไพศาล

ทานในเบื้องต้นเป็นการกำจัดความตระหนี่ ในเบื้องกลางจะช่วยยกระดับคุณภาพจิต และในเบื้องสูงทำให้เราลอยพ้นจากการเห็นแก่ตัว การให้โดยไม่มีอัตตาของตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องในทุกมิตินับเป็นทานบารมีขั้นสูง เพราะเป็นการให้โดยไม่หวังว่าจะได้รับอะไรตอบแทน ดังหนึ่งต้นจันทน์หรือไม้จันทน์หอมนั่นเอง

ไม้จันทน์หอมเป็นไม้้มงคล ปราชญ์ท่านหนึ่งเขียนว่า อันธรรมดาของไม้จันทน์-หอมนั้น เมื่อยังยืนต้นเป็นไม้ใหญ่ไพรระหงก็ให้ร่มให้เงาแก่มนุษย์และนกหนูหูปีกที่ได้บินมาพึ่งพาอาศัย ครั้นใครคนใดคนหนึ่งที่ได้มาพึ่งพาร่มเงานั้นเกิดอึดอัดขัดเคืองมีความโกรธต่อต้นจันทน์ ยกขวานขึ้นมาจามสองสามฉับ แล้วแบกขวานหนีไปแทนที่ต้นจันทน์จะโกรธเคือง ก็ยังอุตส่าห์
ให้กลิ่นหอมติดขวานไปอีก…นี่ละคือจรรยาของพระโพธิสัตว์

นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาท่านหนึ่งนิยามจรรยาของพระโพธิสัตว์เอาไว้ง่าย ๆ ว่าอัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาคือลักษณะของมหาบุรุษ ใครก็ตามที่เห็นคนอื่นตกทุกข์ได้ยากแล้วอดรนทนไม่ได้ ต้องลุขึ้นมาหาทางช่วยเหลือเกื้อกูลโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง คนคนนั้นเราเรียกว่ามีอัชฌาศัย
ของมหาบุรุษ

มหาบุรุษก็คือคนที่เป็นมหาษัทมหาษัทก็คือผู้ที่เป็นพระโพธิสัตว์

เราทุกคนสามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้ในชีวิตนี้ ขอเพียงเรามีจิตวิญญาณของการเป็นพระโพธิสัตว์ นั่นคือ เห็นคนอื่นตกทุกข์ได้ยากแล้วอดรนทนไม่ได้ ต้องลุกขึ้นมาช่วยเหลือตามแต่ศักยภาพของตัวเองจะทำได้ ที่เรามาสวดมนต์กันทุกเช้าทุกเย็นนี้ถ้าเราทำความเข้าใจให้ดีและปฏิบัติให้เป็นเราทุกคนก็กำลังเดินอยู่บนหนทางของพระโพธิสัตว์แล้ว

จาก http://www.secret-thai.com/category/article/page/17/