ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 23, 2016, 05:54:59 pm »



ศศิน เฉลิมลาภ…ผู้ชายเดินดินธรรมดากับการเดินด้วยสมองและ ”สองตีน” ที่ไม่ธรรมดา

แปลก…เรากำลังแปลกใจ ที่การใช้ “สองตีนเดิน” ของคนคนหนึ่งจากเขื่อนแม่วงก์สู่เมืองกรุง รวมระยะทางทั้งหมด 388  กิโลเมตร โดยมีมือถือและเฟซบุ๊กเป็นอาวุธจะสามารถสร้างกระแสความตื่นตระหนักในเรื่องการสร้างเขื่อนให้คนเมืองได้มากขนาดนี้เปล่า…เขาไม่ได้เป็นคนดัง เขาเป็นเพียงเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เป็นอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่เคยออกมาให้ข้อมูลเรื่องเส้นทางน้ำท่วมเมื่อปี 2554และเป็นผู้ชายเดินดินธรรมดาที่มีชื่อว่า ศศิน เฉลิมลาภ เป็นใคร…เขาคนนี้เป็นใคร มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมคนที่บอกว่าตัวเองเป็นคนขี้กลัว จึงกล้าลงมือทำสิ่งที่ใครๆ มองว่าเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ได้อย่างง่ายๆ เช่นนี้…

วันวานกับการแสวงหา“รสชาติของชีวิต” 

ภาพของศศิน เฉลิมลาภ ที่หลายคนคุ้นเคยเมื่อมองจากภายนอกคือ ผู้ชายเคราหนา พร้อมแววตามุ่งมั่นเบื้องหลังแว่นสายตาหนาเตอะ แต่ภายในจิตใจที่ไม่มีใครได้สัมผัสนั้น หนุ่มใหญ่ใจกล้าคนนี้ วันวานเป็นเพียงเด็กชายขี้เหงาที่มีคุณแม่เป็นครูใหญ่โรงเรียนประชาบาล และมีหนังสือตั้งใหญ่กับธรรมชาติรายรอบบ้านเป็นเพื่อน

แล้ววันหนึ่งเส้นทางชีวิตของเด็กขี้เหงาก็เปลี่ยนไป เมื่อเขาได้ไปค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเล และค้นพบหนทางใหม่ที่ทำให้ชีวิตของเขาเริ่มมีความหมาย นั่นคือ  การได้ร่วมทำงานเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม…ทะเล ต้นไม้ ใบหญ้า ป่าเขา ฯลฯ ให้อยู่คู่โลกต่อไป

ด้วยนิสัยที่รักการผจญภัยมาตั้งแต่เด็กคุณศศินจึงเลือกเรียนที่ภาควิชาธรณีวิทยาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งระหว่างที่เรียนก็ได้มีโอกาสเดินทางไปเก็บข้อมูล สำรวจหิน ดิน แร่ ตามป่าเขา และเมื่อเรียนจบก็ทำงานเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต และเป็นนักวิชาการทางด้านนี้มากว่า 10 ปี

หลายปีต่อมา อาจารย์ศศินมีโอกาสเข้าไปช่วยเหลือ “หมู่บ้านคลิตี้” ซึ่งประสบปัญหาสารพิษตกค้างในลำห้วย เขาได้เข้าไปศึกษาและตรวจวัดสารตะกั่วในน้ำที่หมู่บ้านแห่งนี้อย่างจริงจัง และการลงพื้นที่ในครั้งนี้เองที่ทำให้เขาได้เข้าไปร่วมงานกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ด้วยนิสัยทำงานเกินงาน มูลนิธิสืบฯ จึงชักชวนให้เข้าไปร่วมเป็นเลขานุการและเข้าไปบริหารโครงการต่าง ๆ ของมูลนิธิ อาทิโครงการจอมป่า โดยต้องทำงานกับชุมชนที่อยู่ในป่า บริหารความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้

ในปี พ.ศ. 2554 เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ อาจารย์ศศินก็เริ่มเป็นที่รู้จักของสังคม หลังจากที่ออกมาวิเคราะห์สถานการณ์แบบเจาะลึก แต่เข้าใจง่ายก่อนอัพคลิปลงยูทูบให้ได้รับชมกันโดยทั่วถึง กล่าวได้ว่าช่วงนั้นอาจารย์เป็นที่พึ่งทางข้อมูลของผู้ประสบภัยเลยก็ว่าได้

ล่าสุด ผู้ชายที่ไม่เคยออกกำลังกายมีชีวิตชิล ๆ สบาย ๆ คนนี้ ได้ออกมาเดินเท้าเป็นระยะทาง 388 กิโลเมตร เพื่อคัดค้านการอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของโครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอภิมหาโปรเจ็กต์ป้องกันอุทกภัยของรัฐบาลที่มีวงเงินกว่า 3.5 แสนล้านบาท

…และนี่คือบทสัมภาษณ์ที่จะทำให้คุณรู้จักผู้ชายธรรมดาและการเดินด้วยสมองกับ “สองตีน” ที่ไม่ธรรมดาคนนี้มากยิ่งขึ้น



จากการทำงานที่ผ่านมาทั้งหมดอยากทราบว่า เป้าหมายชีวิตของอาจารย์คืออะไรคะ

ได้ทำงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรเบื้องหน้าเราได้บ้าง ผมไม่ได้คิดอะไรใหญ่โตถึงขั้นเป็นนักปฏิวัติโลก แต่อยากทำอะไรที่คนอื่นไม่เคยทำ เช่นการเลือกที่จะใช้การเดินเพื่อต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ผมต้องการ “เริ่มที่ตัวเอง” เพราะนี่เป็นปัจจัยที่เราควบคุมได้

การเดินของอาจารย์ได้รับความสนใจไปทั่วประเทศ นอกจากความสำเร็จในแง่ที่ทำให้คนหันมาตระหนักเรื่องการสร้างเขื่อนหรือสิ่งแวดล้อมแล้วอยากให้อาจารย์เล่าถึงความประทับใจที่เกิดขึ้นระหว่างทางหน่อยค่ะ 

ผมประทับใจคนที่มาเดินด้วยแล้วเอาของมาให้ ผมพบว่าขบวนของเราเป็นที่พบปะของนักอนุรักษ์รุ่นพี่ที่ห่างหายกันไปนาน หลายคนได้มาเจอกัน มาอยู่ร่วมกันตลอด 13 วัน โดยไม่มีความขัดแย้งอะไรเลยที่ประทับใจมากก็คือคำพูดของทีมช่วงวันแรก ๆ เขาปรามผมว่า  “อย่าเรื่องมาก เราตกลงกันแล้ว ว่าพี่เป็นตีน ผมเป็นสมอง หน้าที่ของพี่คือเดิน อย่ามีข้อโต้แย้ง พี่แค่เดินตามที่ผมบอกเท่านั้นพอ” (หัวเราะ) หน้าที่ของผมคืออย่าเจ็บ เพราะถ้าเราเจ็บไปคนหนึ่งขบวนต้องล้มเลย



อาจารย์ได้บทเรียนอะไรจากการเดินในครั้งนี้บ้างคะ

ผมรู้สึกว่า สิ่งที่เราจะทิ้งไปไม่ได้เลยคือ มิตรภาพ เราเดินไม่ถึงกรุงเทพฯ หรอก ถ้าไม่มีคนให้กำลังใจ ผมมั่นใจในตัวเองและทีมระดับหนึ่ง แต่พอเจอปัญหาคนที่ช่วยเราฝ่าวิกฤติจริง ๆ คือมิตรที่ยื่นมือเข้ามาระหว่างทาง เช่น เราอาจเดินไม่ถึงก็ได้ ถ้าไม่บังเอิญมีเด็กจบใหม่ด้านพลศึกษามานำทำกายบริหารให้ทุกเช้า หรือนักวิ่งมาราธอนที่เห็นวิธีการเดินของเราแล้วทนไม่ได้ ต้องโทร.มาแนะนำให้พักบ่อย ๆ อีกอย่างหนึ่ง ผมเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อนเดินผมก็ไปไหว้หลวงพ่อโต ไหว้ขอพรแม่…เรื่องแบบนี้ ถ้าคุณมีแต่พลังธรรมดา ๆ คุณไปไม่ถึงหรอก

แสดงว่าอาจารย์ก็คาดการณ์ว่าตัวเองมีโอกาสทั้ง “รอด” และ “ล้ม” หรืออาจจะตายก็ได้

แน่นอน แต่เราแลกได้…ถ้าโอกาสตายเพียงแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ แต่รอด 70เปอร์เซ็นต์ ผมเอาอยู่แล้ว

ไม่กลัวหรือคะว่าจะต้องเจอหรือโดนอะไรสักอย่างจากคนที่ไม่เห็นด้วย

นั่นคือการผจญภัย คือรสชาติของชีวิต (หัวเราะ) ผมก็ไม่ได้บ้าบิ่นขนาดนั้น ผมรู้ว่าโอกาสรอดมีเท่าไหร่ ถ้าคำนวณแล้วโอกาสรอดมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ถึงจะไป ที่เหลือก็ใช้ดวง เราเรียนรู้ทักษะการเอาตัวรอดมาแล้ว ดังนั้น ถ้าเรามีสติ มีความตั้งใจและไม่ประมาท สิ่งที่ต้องเผชิญก็แค่ความกลัว ความไกล ส่วนใหญ่ที่เอาตัวไม่รอดไม่ได้เกิดจากปัญหาข้างนอก แต่มาจากใจเราเอง บางครั้งรู้สึกกลัวเกินไป ประมาทเกินไป แต่จริง ๆ แล้วไม่มีเส้นทางไหนที่มันยากเกินไปหรอก

หลังการเดินสิ้นสุดลง และภารกิจเพื่อป่าแม่วงก์เสร็จสิ้นลงแล้ว ชีวิตของอาจารย์เป็นอย่างไรบ้างคะ

ผมอยากเดินอีกนะ เพราะช่วงที่เดินเรามีความสุขมากที่สุด เหมือนเราสร้างโลกในอุดมคติขึ้นมา มีแต่มิตรภาพ มีแต่ความสามัคคี มีแต่การแบ่งปัน พูดคุยกันในเรื่องที่มีสาระ ร่วมกันแก้ไขปัญหา เป็นโลกที่ไม่มีประโยชน์ส่วนตน มีแต่การทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ถามว่า เขื่อนแม่วงก์มีปัญหากับชีวิตผมหรือชีวิตคนที่มาเดินไหม…ไม่มี



อ้าว! ถ้าอย่างนั้นก็ต้องมีคนตั้งคำถามสิคะว่า อาจารย์ “เดิน” ไปทำไม

เพราะเราเห็นความไม่ถูกต้องในความเป็นมนุษย์ มนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์เดียวที่สามารถทำในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของเราได้เราขอประโยชน์ให้ป่า เพื่อเอาไว้ให้สปีชี่อื่นอยู่ ให้สัตว์ป่าได้อยู่อาศัย เป็นที่อภัยทาน…เรื่องแบบนี้มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่จะทำได้

ผมเป็นคนประเภทที่เวลาทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุด คำว่า “ดีที่สุด” คือดีที่สุดในชีวิตของเรา ผมจะทุ่มปัจจัยทั้งหมดที่มี เช่น ดูว่าตัวเองอดนอนพอหรือยัง ถ้ายังก็ต้องอดนอนจนกว่างานจะเสร็จ ถ้าเต็มที่แล้วผลจะออกมาดีหรือแย่ก็ไม่เป็นไร ถือว่าทำดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าผมไม่ทำให้ดีที่สุด ผมก็ไม่ทำนะ ตอนมาทำงานที่มูลนิธิสืบฯ ผมจะบอกเขาตลอดว่า ถ้าเจอคนที่ดีกว่าให้เอาเขามาทำได้เลย

การที่ต้อง “ดีที่สุด” อยู่ตลอด ทำให้อาจารย์เหนื่อยกว่าคนอื่นไหมคะ

ก็เรามีแค่นี้ เราไม่มีอย่างอื่นนอกจากร่างกาย ชีวิต จิตใจ คุณพร้อมจะจนไหม…ผมพร้อม คุณพร้อมจะลดเงินเดือนไหม…ผมเคยมาแล้ว ลดเกือบครึ่ง เพราะเงินในมูลนิธิไม่พอ คุณพร้อมจะไปกู้เงินมาทำโครงการที่อยากทำไหม…ผมทำไม่รู้กี่ครั้งแล้ว ติดหนี้ก็ค่อย ๆ ผ่อนใช้ไป สักวันก็หมด ที่ผมทำแบบนี้ได้เพราะผมไม่ได้มองเรื่องเงินเป็นตัวตั้ง ผมไม่มีเป้าหมายในเรื่องวัตถุมาตั้งแต่ต้น ผมไม่รู้จักยี่ห้อรถ เสื้อผ้านาฬิกาเลย ผมใส่เพื่อใช้ประโยชน์เท่านั้นและผมไม่มีภาระอะไรที่ต้องห่วง

สิ่งที่ผมทำ ใครจะเห็นไม่เห็นไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เรามีความสุขที่จะทำ และมันก็มีประโยชน์ งานที่ผมทำแลกมาด้วยการนอนดึก ตื่นเช้า ไม่มีวันหยุด ไม่มีชีวิตส่วนตัว และไม่มีเงิน

ถ้าอย่างนั้น ศศิน เฉลิมลาภ “มี”อะไรบ้างคะ

ผมมีอดีต ผมมีวันเวลาที่พอมองย้อนกลับไปแล้วทำให้ยิ้มได้ ผมไม่เคยดูถูกตัวเอง และมีมิตรแท้ที่ได้จากการทำงาน…

อาจารย์วางแผนอนาคตไว้บ้างหรือเปล่าคะ 

ไม่มีเลย ผมมองอนาคตตัวเองไม่ออก ก็คงจะมีช่วงหนึ่งที่เราหายสาบสูญไป ถ้าอะไรต่ออะไรไม่พร้อม ปัจจัยต่าง ๆมันไม่เอื้อต่อการมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ก็หลบไปตายเสีย เลือกที่ที่จะสาบสูญ ไปนั่งสักที่ที่เราชอบ เช่น ชายทะเล แล้วก็ค่อย ๆ ตายไป เพราะว่าชีวิตผมไม่ห่วงอะไรอีกแล้ว

จนถึงตอนนี้ แม้ระยะทางเดินเท้าครั้งประวัติศาสตร์ 388 กิโลเมตรจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่หลังจากได้พูดคุยกับผู้ชายคนนี้เราก็มั่นใจเหลือเกินว่า ศศิน เฉลิมลาภ จะยังคง “เดิน” ต่อไปไม่หยุด…เพื่อทำหน้าที่ของมนุษย์ให้ “ดีที่สุด” ดังที่เขาทำมาโดยตลอด
 

แม้จะออกตัวว่าเป็นคนขี้กลัวแต่เมื่อตอนพาเด็กไปค่ายปลูกป่า เขากลับหนีไปเดินป่าคนเดียวโดยใส่เพียงกางเกงเลกับรองเท้าแตะไม่มีน้ำ ไม่มีอาหารติดตัว สุดท้ายหลังจากหายไปครึ่งวันเขาก็กลับมาพร้อมกับการค้นพบเส้นทางใหม่ที่น่าประทับใจ
 

เมื่อครั้งที่ทำซีเนียร์โปรเจ็กต์และต้องออกไปเก็บข้อมูลภาคสนามเขาไปพักอยู่บ้านพักป่าไม้และเดินป่าคนเดียวนานถึง 10 วัน ประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้เขาผูกพันกับธรรมชาติอย่างแน่นแฟ้น
 

เรื่อง ณัฐนภ ตระกลธนภาส www.facebook.com/nutthanop.tr

ภาพ พีรพันธุ์ วิจิตรไกรวิน

จาก http://www.secret-thai.com/article/3707/nevergiveup211258/2/