ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 23, 2016, 06:02:17 pm »



ทำอย่างไรจะส่งต่อพระพุทธศาสนาให้ถึงมือคนรุ่นใหม่ – ท่านว.วชิรเมธี

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ด้วยหลักธรรมคำสอนและทรงคุณูปการนับอเนกอนันต์ แม้แต่นักปราชญ์ราชบัณฑิตระดับโลกหลายต่อหลายคนซึ่งประกาศว่าตนเป็นคนไม่มีศาสนา ก็ยังอดที่จะยกย่องชื่นชมพระพุทธศาสนาไม่ได้

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่พระศาสนาซึ่งถึงพร้อมด้วยความดีงามเกินพรรณนาเช่นนี้ กลับไม่สามารถอำนวยประโยชน์ได้อย่างที่ควรจะเป็นในสังคมไทย เหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะมาจากหลายเหตุปัจจัยด้วยกัน เช่น

1. กำแพงแห่งความรู้ หมายถึงการที่ผู้รักษา เผยแผ่หลักธรรมคำสอน อันได้แก่ พระภิกษุสามเณร รวมทั้งชาวพุทธชั้นนำไม่ค่อยมีความรู้ในพุทธธรรมอย่างลึกซึ้ง ทั้งยังขาดความรู้ทางโลกอันเป็นเหตุให้ไม่เข้าใจโลกและไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ไม่อาจบูรณาการพุทธธรรมเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ จึงส่งผลให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้เฉพาะคำสอนพื้นๆ ทั่วไปอันเป็นเรื่องเปลือกผิวของพระพุทธศาสนา คุณค่าที่แท้จริงจึงไม่ปรากฏอย่างโดดเด่นเห็นชัด ไม่สามารถประยุกต์ธรรมมาชี้นำสังคมได้อย่างมีพลัง

2. กำแพงแห่งการเผยแผ่ หมายถึงการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยดำเนินไปในลักษณะตามยถากรรม คือขาดการวางยุทธศาสตร์การเผยแผ่อย่างเป็นกระบวนการ ใครอยากจะทำก็ทำ ต่างคนต่างทำ ไม่มีการเลือกคั้นกลั่นกรองผู้เผยแผ่อย่างมีมาตรฐาน

ผลก็คือ ในวงการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงเต็มไปด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แหวกแนวจากพุทธธรรมออกไปมากมาย บางกลุ่มก็เน้นไปทางคุณวิเศษเวทย์ไสย บางกลุ่มก็เน้นไปทางทำนายทายทัก บางกลุ่มก็เน้นไปทางมนตรามหาเสน่ห์บางกลุ่มก็เน้นไปทางเครื่องรางของขลัง

ผลจากการขาดเอกภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทำให้คุณค่าเคลือบแฝงเหล่านี้ กลายมาเป็นไฝฝ้าราคีที่บดบังคุณค่าที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุให้คนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดีมีวิธีคิดที่เป็นเหตุเป็นผล พลอยเข้าใจผิดไปว่าพระพุทธศาสนาไม่เห็นมีดีอะไร มีแต่พิธีกรรมที่รุ่มร่ามไร้สาระ มีแต่รดน้ำมนต์พ่นน้ำหมากงมงาย ไร้เหตุผล เป็นต้น

3. กำแพงแห่งพิธีกรรม หมายถึงการเน้นพิธีรีตองทางศาสนามากเกินไป เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อผู้มาร่วมกิจกรรมทางศาสนา ส่งผลให้ความสนใจในเชิงเนื้อหาหดหายไป และไม่อยากร่วมกิจกรรมทางศาสนาอีกต่อไป เช่น พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่เนื้อหาสาระ ก็กลับเน้นแต่เรื่องเปลือกผิว เช่น สวดมนต์อย่างยืดยาวหรือบางทีก็เน้นแต่การประกวดโต๊ะหมู่บูชาและการบอกบุญ แทนที่จะมุ่งเข้าสู่แก่นธรรม กลับมาติดอยู่ที่พิธีกรรมที่ใช้เวลาแสนนาน ไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและกาลเทศะ และไม่ตอบสนองต่อความสนใจของคนที่มาร่วมงานที่ต้องการเสพเนื้อหาธรรมะแท้ๆ เมื่อมาร่วมงานทางศาสนาบ่อยครั้ง แต่มองไม่พบแก่นกลับพบแต่เปลือก ความเบื่อหน่ายก็เข้ามาแทนที่ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการไม่สนใจในพุทธศาสนา

4. กำแพงแห่งการไม่ยอมปรับตัว หมายถึงการไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์ การสอน การสื่อสารให้สอดคล้องกับยุคสมัย เป็นต้นว่า พระบางรูปยังคงเทศน์ผ่านพระคัมภีร์ ซึ่งเขียนไว้สำหรับยุคสมัยหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว ในขณะที่สิ่งที่คนฟังต้องการคือธรรมะที่จะใช้ดับทุกข์เฉพาะหน้า ซึ่งเขากำลังเผชิญอยู่ในเวลานั้น หรือมีการเทศน์การสอนต่อเมื่อวันพระมาถึงเท่านั้นไม่มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกออกไปจากธรรมเนียมเดิมๆที่ถือกันมา ตัวอย่างที่นำมาอธิบายก็ล้าสมัย เก่าเกินกว่าผู้ฟังจะจินตนาการไปถึงหรือรู้สึกมีส่วนร่วม มองไม่เห็นความเชื่อมโยงกับสิ่งที่เขากำลังเผชิญอยู่ ผลก็คือ ยังคงมีแต่คนกลุ่มเดิมๆ ที่ไปวัดเพื่อรักษาศีล ฟังธรรม แต่ไม่มีคนรุ่นใหม่อยู่ในกลุ่มคนเหล่านี้เลย

เมื่อไม่มีการปรับตัว กิจกรรมทางศาสนาจึงเหมาะสำหรับคนแก่และคนเก่าเท่านั้น ไม่สามารถเชื่อมโยงไปยังคนกลุ่มใหม่และรุ่นใหม่ ซึ่งลักษณะเช่นนี้่่ต่างจากพระสายมหายานหลายรูปที่เป็นที่ยอมรับในโลกตะวันตก เหตุผลก็เพราะท่านเหล่านั้นรู้เท่าทันโลก ปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์การสอนเสียใหม่ แต่ก็ไม่ทิ้งแก่นธรรม เช่น ท่านรู้เท่าทันปัญหาภาวะโลกร้อน รู้เท่าทันปัญหาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน รู้เท่าทันปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รู้เท่าทันปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน รู้เท่าทันการเปลี่ยนผ่านของโลกจากยุคอุตสาหกรรมสู่ยุคโลกาภิวัตน์ การรู้เท่าทันโลกทำให้ท่านรู้จักปรับคำสอนให้ทันสมัย ตอบโจทย์สำหรับคนในยุคเดียวกันได้

ผลจากการปรับตัวก็คือ ชาวตะวันตกหันมาสนใจในพระพุทธศาสนาที่ท่านเหล่านั้นเผยแผ่ ส่วนในเมืองไทยของเรานั้นยังมีการปรับตัวไม่มากนัก มีอยู่บ้างก็แทบนับเป็นรายรูปรายบุคคลได้ นั่นเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาในเมืองไทยถูกท้าทายหนักขึ้นจากคนรุ่นใหม่ และเมื่อไม่ตอบรับต่อการถูกท้าทาย ก็ทำให้ถูกลดบทบาทในทางสังคมมากลงไปทุกที

5. กำแพงแห่งภาษา หมายถึงการขาดทักษะในการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารภาษาธรรม ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาจำนวนไม่น้อยยังคงใช้ “อารามิกโวหาร” (ภาษาวัด) ในการเผยแผ่ ทั้งนี้จะโดยรู้ตัวหรือโดยมองว่าเป็นสิ่งที่มีเสน่ห์ก็ตาม แต่ผลข้างเคียงจากการใช้อารามิกโวหารคือภาษาของชาววัดมากเกินไปได้ก่อให้เกิดกำแพงแห่งการสื่อสารขึ้น นั่นคือคนเทศน์กับคนฟังไม่เข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังสื่อสารอย่างถ่องแท้ เมื่อฟังกันไม่เข้่าใจ เมื่อคุยกันคนละเรื่อง (เดียวกัน) การสื่อสารจึงไม่มีประสิทธิภาพ ขาดเสน่ห์ และนั่นคือสาเหตุของการขาดอรรถรสในการฟังเทศน์ฟังธรรม หรืออ่านหนังสือธรรมะไปโดยปริยาย

6. กำแพงแห่งมรรคผลนิพพาน หมายถึงการที่ผู้เผยแผ่เองไม่สามารถเข้าถึงมรรคผลนิพพานด้วยตนเองทั้งในระดับต้นท่ามกลาง และที่สุดด้วยตนเอง (เหมือนคนไม่เคยเดินทางด้วยตนเอง แต่สอนเรื่องวิธีการเดินทาง เหมือน
คนอ้วนแต่ไปโฆษณาขายยาลดความอ้วน) ดังนั้นจึงไม่สามารถสอนพุทธศาสนาเชิงลึกที่สามารถนำพาผู้ฟังและผู้ศึกษาให้บรรลุมรรคผลนิพพานเชิงประจักษ์ด้วยตัวเขาเอง ผลจากการนี้ก็คือ ทำให้ความเชื่อมั่นศรัทธาในพุทธศาสนาไม่แน่นแฟ้น คลอนแคลนหวั่นไหวง่าย และไม่อาจแก้ปัญหาชีวิตให้เขาได้จริง

ในทำนองกลับกัน หากผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนามีคุณสมบัติในข้อที่ 6 นี้ด้วยตนเอง ประสิทธิภาพในการเทศน์การสอนก็จะส่งผลตรงกันข้าม พระพุทธศาสนาก็จะมีชีวิตชีวา ดับทุกข์ได้จริงและปรากฏอย่างโดดเด่นเห็นชัดให้ผู้สนใจศึกษาและปฏิบัติได้ลิ้มชิมรสธรรมด้วยตัวเขาเอง และเมื่อเป็นเช่นนั้น ศรัทธาปสาทะอันแน่นแฟ้นก็จะเกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ

หากเราชาวพุทธหวังจะส่งต่อพระพุทธศาสนาให้ถึงมือคนรุ่นใหม่อย่างมีความหมาย เราคงต้องหันกลับมาวิพากษ์ตัวเองและร่วมกันแก้ข้อบกพร่องต่างๆ อย่างจริงใจ จากนั้นก็หันมาสร้างจุดแข็งร่วมกัน มีแต่วิธีนี้เท่านั้นที่พุทธศาสนาในโลกสมัยใหม่จะมีชีวิตชีวาขึ้นมาจริงๆ

ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาควรอยู่กับการที่พระพุทธศาสนามีประโยชน์ต่อชาวโลกจริงๆ อย่างชนิดเห็นผลประจักษ์ได้ในชีวิตนี้ มากกว่าจะฝากความมั่นคงของพระพุทธศาสนาไว้กับการตรากฎหมาย (ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่ง) เพียงอย่างเดียว

เรื่องและภาพ ว.วชิรเมธี

จาก http://www.secret-thai.com/article/dharma/4149/happiness-dhamma23122015/