ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2016, 05:23:34 pm »





ชาว'พุทธ ฮินดู มุสลิม'อินเดียใส่บาตรทำบุญกับพระมากขึ้น ส่งผลหมู่บ้านอยู่กันอย่างมีความสุข สันติสุข  รักใคร่ สามัคคีกันดี

           21ส.ค.2559 เฟซบุ๊ก"วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์" ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กที่เผยแผ่กิจกรรมต่างๆของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล ที่จำพรรษาที่วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย อันเป็นสังเวชนียสถานที่ดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่พระครูนรนาถเจติภิรักษ์ (สมพงศ์) เจ้าอาวาสวัดป่ากุสินาราบรมธาตุสถิต ผู้ปฎิบัติหน้าที่ดูแลวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์  ได้เผยแพร่การออกบิณฑบาตพระสงฆ์ที่จำพรรษากาลจำวน 20 รูป โปรดชาวอินเดีย หมู่บ้านอนิรุทวา เมืองกุสินารา



 โดยมีชาวอินเดีย ที่เป็นชาวพุทธ ชาวฮินดู และมุสลิมทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมากโดยไม่แบ่งวรรณะ ศาสนา เมื่อวันพระขึ้น 8  ค่ำ เดือน 9 ที่ผ่านมา ทำให้หมู่บ้านนี้อยู่กันได้อย่างมีความสุข สันติสุข มีความรัก ความสามัคคีกัน โดยมีบ้าน วัด โรงเรียน เป็นจุดศูนย์ร่วม ตามพุทธดำรัสของพระพุทธองค์ที่ตรัสว่า จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย” แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก



 เฟซบุ๊กดังกล่าวได้ระบุว่า วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของคณะสงฆ์ไทย คณะพุทธบริษัทชาวไทย และชาวพุทธในประเทศอินเดีย พร้อมใจกันสร้างขึ้น ณ เมืองกุสินารา อันเป็นสังเวชนียสถานที่ดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาคืนสู่มาตุภูมิ น้อมถวายเป็นพุทธบูชา ภายใต้การดูแลของพระเดชพระคุณ พระเทพโพธิวิเทศ (วีระยุทฺโธ) หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล ที่มุ่งเน้นให้พระสงฆ์ที่จำพรรษา ได้สืบสาน เผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แดนพุทธภูมิตามรอยพระอริยสงฆ์



  ทั้งนี้เฟซบุ๊ก"วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์" ได้เผยแพร่กิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พร้อมกันนี้เกี่ยวกับการบริการสังคมอย่างเช่น เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา  วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ได้มีนายชาตา บุญสูง คหบดีจากจังหวัดพังงา ทำบุญอายุวัฒนมงคล 6 รอบ เป็นเจ้าภาพมอบครื่องอุปโภค บริโภค ผ้าห่ม แป้งสาลี แก่นักเรียน และชาวบ้านรอโรงเรียนเมืองกุสินารา จำนวน 150  ชุด เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล  นอกจากนี้ยังได้เจ้าภาพสร้างห้องน้ำ (สถานที่ปลดทุกข์เห็นสุขทันตา) จำนวน 2  ห้อง 40,000  รูปปี แก่โรงเรียนในเมืองกุสินารา ตามนโยบายของราชกาลอินเดียที่มุ่งเน้นให้สถานที่ สถานศึกษา สถานที่ราชกาล บ้านเรือนมีห้องน้ำใช้ ประกอบกับวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์เห็นว่าโรงเรียนแห่งนี้มีความลำบากในเรื่องของทุนทรัพย์ในการสร้างห้องน้ำเพื่อให้ครู นักเรียน ได้ใช้ห้องน้ำตามมาตรฐานถูกสุขภาวะที่ดี มีความสะอาด เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่แม่ของแผ่นดิน ณ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์



 จากบทบาทของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาลดังกล่าวทำให้ เฟซบุ๊ก"วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์" ได้รายงานว่า  เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นวันที่คนอินเดียทั้งชาติร่วมเฉลิมฉลองกันอย่างมีความสุข ในวันประกาศอิสระภาพ จากการที่ประเทศนี้เคยตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และสามารถต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพได้เพราะพลังแห่งความรักชาติและความสามัคคี ปึกแผ่นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติบรรพบุรุษนักสู้ของเขาต้องสละชีวีตเพื่อชาติไปเป็นจำนวนมาก



    วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ รัฐอุตตรประเทศ พระสงฆ์ไทยได้รับเกียรติเป็นพิเศษเป็นประจำทุกปี ได้นิมนต์ไปเป็นประธานในพิธีชักธงชาติอินเดียและกล่าวสุนทรพจน์ เพื่อร่วมฉลองเอกราชของประเทศอินเดีย เพราะเป็นความสำเร็จในการไปปฏิบัติหน้าที่ของพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย จนเกิดการยอมรับของประชาชนในระดับท้องถิ่น ต้องยอมรับว่า เลือดความรักชาติที่ถูกปลูกฝังให้กับยุวภารตชนนั้นเข้มยิ่งนัก อินเดียถ้าไม่ยอมรับใครแล้วยากยิ่งที่จะได้รับเกียรติให้ไปจับธงชาติอันเป็นสัญญลักษณ์แห่งเอกราชอันยิ่งใหญ่ของเขา ในปีนี้ทางวัดได้มีสถาบันการศึกษาต่างๆ มานิมนต์พระธรรมทูตไทยไปร่วมงานวันชาติถึง 28 แห่ง รวมนักเรียนเกือบหนึ่งหมื่นคน พระสงฆ์ไทยทุกรูปทั้งหมดที่ไปจำพรรษา จึงได้ออกปฏิบัติหน้าที่กัน บางคนก็ต้องไปถึงสี่ถึงห้าแห่งเพื่อสนองศรัทธาของประชาชนชาวอินเดียทั้งที่โรงเรียนนั้นอยู่ในชนบลเดินทางเข้าไปถึงโรงเรียนลำบากก็ตาม นับเป็นการปฏิบัติหน้าที่สานสัมพันธ์ทั้งสองประเทศได้อย่างน่าอนุโมทนายินดียิ่ง

           นายเยาวหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศอินเดีย ได้กล่าวปราศรัยในวันประกาศอิสรภาพของอินเดีย (India's Independence Day) ณ บริเวณเชิงเนินป้อมแดง Red Fort ในกรุงเดลี ในวันที่ 15  สิงหาคม ปี 1947  (พ.ศ.2490) ว่า "ในขณะที่เสียงนาฬิกาตีบอกเวลาเที่ยงคืน ในยามที่โลกหลับใหล อินเดียจะตื่นขึ้นมามีชีวิตและเสรีภาพ เมื่อโอกาสสำคัญซึ่งยากเป็นไปได้ในประวัติศาสตร์นี้ได้มาถึง เมื่อนั้นพวกเราจะก้าวออกจากโลกเก่าเข้าสู่โลกใหม่ ...อินเดียจะได้ค้นพบตัวตนของตนเองอีกครั้ง

จาก http://www.komchadluek.net/news/amulets/239030

fb วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ :  https://www.facebook.com/367420510005972/photos/pcb.1061062680641748/1061044410643575/?type=3&theater