ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 26, 2016, 10:45:21 pm »



3 ปี อาจาริยบูชารำลึกท่านอาจารย์โกเอ็นก้า

เมื่อ 3 ปีก่อน คณะศิษย์ในประเทศไทยได้รับทราบข่าวที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

ข่าวนั้นแจ้งว่าท่านอาจารย์โกเอ็นก้าในวัย 90 ปี ได้จากพวกเราไปแล้วอย่างสงบที่บ้านพักในเมืองมุมไบ ในคืนวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556 … แม้ว่าท่านอาจารย์จะมุ่งเน้นให้ศิษย์เฝ้าฝึกฝนขัดเกลาตนด้วยการปฏิบัติภาวนาโดยไม่ยึดติดในตัวบุคคล และได้วางแนวทางการดำเนินงานด้านการอบรมให้สามารถดำเนินไปแม้จะปราศจากตัวท่าน หากแต่ผู้ที่ได้ลิ้มรสผลอันวิเศษจากแนวทางการปฏิบัตินี้ ก็ย่อมใจหาย และอาลัยในการจากไปของท่านอาจารย์อยู่ไม่น้อย



ท่านอาจารย์มักจะกล่าวอยู่เสมอว่าวิธีที่จะเข้าถึงคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ดีที่สุดคือการปฏิบัติภาวนา และการบูชาที่เลิศที่สุดก็คือการปฏิบัติบูชา แม้ในการถามตอบปัญหาธรรมเมื่อครั้งเดินทางไปเยือนพม่า แผ่นดินถิ่นเกิดของท่านเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อปีพ.ศ. 2555 ท่านก็ยังคงกล่าวย้ำแก่ศิษย์ของท่านว่า จงปฏิบัติ ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ของเราเอง เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น เพื่อประโยชน์ของประเทศ เพื่อประโยชน์ของโลก จงปฏิบัติ ปฏิบัติ ปฏิบัติ



ในวาระครบรอบ 3 ปี แห่งมรณกรรมของท่านอาจารย์ คณะศิษย์จึงได้ร่วมกันจัดงาน “3 ปี อาจาริยบูชารำลึก ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า“ เพื่อปฏิบัติภาวนาเป็นอาจาริยบูชาและน้อมรำลึกถึงท่านอาจารย์ ในวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เวลา 16.00 น. โดยนอกจากจะมีการปฏิบัติร่วมกันแล้ว ภายในงานยังมีการแจกจ่ายสื่อธรรมคำสอนตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า และจัดแสดงงานเครื่องปั้นดินเผาจากเถ้าดอกไม้ให้ศิษย์ผู้สนใจได้ร่วมทำบุญ โดยรายได้ทั้งหมดจะมอบให้กับมูลนิธิพระมหาเจดีย์วิปัสสนาแห่งโลก ณ เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย



การจัดงานแสดงเครื่องปั้นดินเผาเพื่อนำทานปัจจัยไปร่วมทำนุบำรุงพระมหาเจดีย์วิปัสสนาแห่งโลกของกลุ่มศิษย์ในครั้งนี้ นอกจากจะเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นการสืบสานเจตนารมณ์ของท่านอาจารย์ที่ปรารถนาจะรักษาให้พุทธสถานแห่งนี้ดำรงอยู่ไปตราบนานเท่านาน เนื่องจากการดำเงินงานและการทำนุบำรุงทั้งหมดได้รับเงินสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธาแต่เพียงอย่างเดียว การเข้าเยี่ยมชม ตลอดจนการเข้ารับการอบรมด้านการปฏิบัติภาวนาที่พระมหาเจดีย์วิปัสสนาแห่งโลกเป็นไปโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

 

“This will also change”

แม้สิ่งนี้ … ก็ย่อมจะเปลี่ยนไป




“ท่านอาจารย์สอนพวกเราไม่ให้ยึดติด ให้ฝึกฝนเพื่อให้เห็นความเป็นอนิจจัง ว่าทุกสิ่งไม่เที่ยงแท้ถาวร ไม่มีแก่นสารใดๆ แม้อัฐิของท่านก็ยังไม่มีการเก็บแต่ให้ไปลอยน้ำ กลับคืนสู่ธรรมชาติ แต่เราสิ ไม่มีเถ้าอัฐิครูบาอาจารย์ที่เราเคารพรักให้เก็บก็ยังอุตส่าห์ไปเอาดอกไม้ที่ได้อยู่ใกล้ชิดท่านที่สุดมาแปลงธาตุให้เป็นรูปธรรม ให้ถาวรขึ้นมา“

ศิษย์ผู้สร้างผลงานเซรามิกจากเถ้าดอกไม้บอกเล่าถึงที่มาของงานกว่า 30 ชิ้นที่นำมาแสดงในงาน “3 ปี อาจาริยบูชารำลึก ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า“



มองด้วยตา นี่อาจเป็นเพียงถ้วยชา แต่สำหรับผู้ปั้นแล้ว เครื่องใช้ไม้สอยชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านี้ยังมีนัยอันล้ำลึกซ่อนเร้นอยู่ เพราะในอณูดินนั้น ยังมีเครื่องรำลึกถึงครูบาอาจารย์ที่เธอเคารพรักรวมอยู่ด้วย

“ในเนื้อดินมีส่วนผสมของเถ้าดอกไม้จากงานสำคัญ 4 งานคือ ดอกไม้ที่ร้อยเป็นสายประดับอยู่เบื้องหน้าท่านอาจารย์และมาตาจีในวันที่บรรดาศิษย์จากทั่วโลกไปนั่งปฏิบัติร่วม ณ มหาเจดีย์ชเวดากอง ในคราวยาตราเยือนประเทศพม่าครั้งสุดท้ายของท่านอาจารย์และมาตาจีเมื่อปี 2555, ดอกไม้รอบโถอัฐิของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ครั้งที่อัญเชิญออกมาให้ศิษย์ชาวไทยได้กราบลาที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อปี 2556, ดอกไม้จากงานฌาปนกิจท่านมาตาจีที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดียในปี2559 และดอกไม้จากงานลอยอังคารท่านมาตาจีที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่าในปีเดียวกัน“





นี่หาใช่การปลุกเสกดินให้กลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือวัตถุมงคลเพื่อยึดถือไม่ หากสิ่งที่คนปั้นต้องการคือการน้อมนำคำสอนของท่านอาจารย์ที่เธอเคารพมาแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แม้ในสิ่งสามัญประจำวัน

“ก็นึกว่าเอามาผสมดินปั้นเป็นถ้วยชาไว้ใช้ จะได้เป็นเครื่องรำลึกถึงท่านอาจารย์และคำสอนของท่าน ให้รู้สึกว่ายังมีท่านอยู่ใกล้ๆ ของพวกนี้เป็นงานทำมือ แต่ละชิ้นจึงไม่สมบูรณ์พร้อม หากก็มีเพียงชิ้นเดียว ไม่ต่างจากคนเรา

สิ่งเหล่านี้เป็นของธรรมดาๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน จะได้มีโอกาสสัมผัสอยู่บ่อยๆ แล้วเวลานำมาใช้ก็จะรู้สึกดีๆ อย่างถ้วยชา เวลาได้ประคองถ้วยอยู่ในอุ้งมือมันจะมีความเชื่อมโยงระหว่างตัวเรากับถ้วยใบนั้น

ชาม..นั่น ตั้งใจทำเป็นถ้วยไว้ใส่ดอกไม้ลอยน้ำ จะไว้จัดแต่งบ้านตามธรรมดา หรือนำไปบูชาพระพุทธรูป ก็จะรู้สึกเหมือนว่าเราได้ถวายดอกไม้ร่วมกับครูบาอาจารย์

“งานทุกชิ้นที่ผสมเถ้าดอกไม้นี้จะสลักคำว่า “This Will Also Change” ตามนิทานเรื่องแหวนสองวงที่ท่านอาจารย์เล่าให้พวกเราฟังในธรรมบรรยาย10วัน ว่า ‘แม้สิ่งนี้..ก็จะเปลี่ยนไป‘ ”


 ศิษย์เก่าผู้สนใจในงานเครื่องปั้นดินเผานี้ สามารถร่วมทำบุญโดยแสดงความประสงค์บริจาคเพื่อสมทบทุนในการทำนุบำรุงพระมหาเจดีย์ฯ ได้ภายในงาน “3 ปี อาจาริยบูชารำลึก ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า” ในวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
 

***นางอิไลฉี เทวี โกเอ็นก้า ภรรยาท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ผู้เป็นที่รู้จักกันในครอบครัวและบรรดาศิษย์ในนามของ มาตาจี ซึ่งมีความหมายว่าคุณแม่ที่เคารพ อันเป็นคำเรียกขานสตรีสูงวัยชาวอินเดียด้วยความเคารพ)

จาก http://www.secret-thai.com/activity/13807/3-years-goenka/