ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2016, 11:49:31 pm »



ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์
Tokyo University of Foreign Studies
       
       เรื่องคนไทยชอบไปญี่ปุ่นนั้นเป็นที่รู้กัน จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไปญี่ปุ่นปีละไม่ต่ำกว่า 5 แสนคนใ นช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ดี และคนที่ไม่ใช่แค่ชอบไป แต่ชอบอะไรต่ออะไรที่เป็นญี่ปุ่นแทบทุกอย่าง รวมทั้งระเบียบวินัย หรือ “ความเป๊ะ” ก็มีไม่น้อย ในทางกลับกัน ถ้าถามว่าคนญี่ปุ่นชอบเมืองไทยหรือไม่ ก็จะได้คำตอบที่น่ายินดีเช่นกันว่า “ใช่ คนญี่ปุ่นก็ชอบเมืองไทย” ผมต่อให้ด้วยว่า “คนญี่ปุ่นชอบคนไทย” และคำถามที่ใหญ่กว่านั้นคือ “ทำไม”
       
       เนื่องด้วยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา กระทั่งเข้าสู่เดือนสิงหาคม คนไทยอาจได้พบเห็นคนญี่ปุ่นมากขึ้นตามที่ต่าง ๆ ในเมืองไทย “ญี่ปุ่นมุมลึก” จึงขอแบ่งปันข้อสังเกต โดยมองจากผลไปหาเหตุ
       
       ก่อนอื่น อยากให้ลองสังเกตดู ในหลายสถานที่เด่นดังอย่างห้างแถวสยาม สวนจตุจักร วัดพระแก้ว อยุธยา อาจจะรู้สึกได้ว่าพบเห็นชาวญี่ปุ่นถี่กว่าปกติ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเดือนสิงหาคม คือ หน้าร้อนของญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มร้อนจริงจังในเดือนกรกฎาคมไปจนเกือบสิ้นเดือนกันยายน เป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยปิดภาคเรียน และพนักงานบริษัทลาพักร้อน มีจำนวนมากที่เลือกไปพักผ่อนในต่างประเทศ หนึ่งในประเทศยอดนิยม คือ ไทย และหลายคนมาซ้ำ เพราะชอบเมืองไทย
       
       นักศึกษาชาวญี่ปุ่นเอกไทยบางคนของผมก็ชอบเมืองไทยมาก ขอแค่มีวันหยุดติดกันสักอาทิตย์เท่านั้นแหละ จะรีบหาตั๋วเครื่องบินราคาถูกเพื่อบินมาเมืองไทยแทบทุกครั้งไป บางคนมาถี่กว่าอาจารย์คนไทยอย่างผมเสียอีก หรือพนักงานบริษัทที่ไม่เคยรู้จักเมืองไทยมาก่อน พอมีคำสั่งให้ย้ายมาประจำที่เมืองไทยก็ทำท่ากลืนไม่เข้าคายไม่ออก แต่เมื่อได้มาอยู่จริงก็ชอบเมืองไทย บางคนพาครอบครัวมาด้วย ความชอบนั้นจึงแพร่ไปสู่ภรรยาและลูก ลูก ๆ ของเขาเหล่านั้นหลายคนกลายเป็นลูกศิษย์เอกไทยในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนอยู่ เพราะชอบเมืองไทยแบบยกครอบครัวเลยทีเดียว
       
       เมื่อพิจารณาสถิติของจำนวนคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย จะพบว่าเพิ่มขึ้นมาตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตามข้อมูลของสถานทูตญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ ตอนนี้มีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในเมืองไทย (และแจ้งสถานทูตอย่างเป็นทางการ) เกือบ 7 หมื่นคน เมื่อปีที่แล้ว
       
       
        ปี - จำนวน (คน)
       2554 - 49,983
       2555 - 55,634
       2556 - 59,270
       2557 - 64,285
       2558 - 67,424

       
       คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยบอกว่าเมืองไทย “ซุมิยะซุอิ” (住みやすい;sumiyasui) แปลว่า “อยู่อาศัยง่าย” ซึ่งก็ตีความได้ว่าไม่รังเกียจที่จะอยู่ (ถ้าถามคนไทย อาจจะได้คำตอบคนละอย่าง คำว่า “ง่าย” ในที่นี้คงจะหมายถึงความสะดวกสบายด้านสาธารณูปโภคและบรรยากาศที่รีบร้อนน้อยกว่าของญี่ปุ่น เพราะถ้า “อยู่” ในบ้านอย่างเดียว โดยไม่ออกไปข้างนอกเท่าไร กรุงเทพฯ ก็คงอยู่ง่าย แต่ถ้าออกจากบ้านเมื่อไร ความอยู่ง่ายจะหายไปทันที) ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ รองลงมาคือที่ชลบุรี
       
       เห็นตัวเลขไม่ถึงแสนอาจมองว่าแค่นี้เองหรือ? เปล่าเลย...นั่นคือ จำนวนผู้อยู่อาศัยระยะกลาง หรือระยะยาวที่แจ้งตัวตนให้สถานทูตได้รับรู้ ส่วนผู้ที่เข้าออกเมืองไทยระยะสั้น เช่น มาเที่ยว มาทำธุรกิจ มาประชุม รวมแล้วมีปีละล้านเศษดังนี้
       
       
จำนวนคนญี่ปุ่นที่เดินทางมาประเทศไทยในช่วงปี 2554-2557
       ปี - จำนวน (คน)

       2554 - 1,103,073
       2555 - 1,341,063
       2556 - 1,515,718
       2557 - 1,256,307
       (http://www.jnto.go.jp/jpn/statistics/avrsih000004glc1-att/20160216_2.pdf)

       
          ถ้าไม่ชอบก็คงไม่มากันขนาดนี้ หากจะคิดว่าเพราะมีบริษัทญี่ปุ่นอยู่ในเมืองไทยเยอะ จึงจำเป็นต้องมา? ก็ไม่น่าจะใช่อีก เพราะคนที่มาทำงานประจำระยะยาวน่าจะตกอยู่ในข่ายผู้อาศัยซึ่งมีจำนวนไม่ถึงแสนข้างต้น ดังนั้น ย่อมอนุมานได้ว่าส่วนที่เหลืออีกเกือบล้านคงจะเป็นนักท่องเที่ยว และเพราะเหตุใดถึงชอบมาเมืองไทยกันเล่า



ถ้าตอบตามกรอบจะได้ประมาณว่า เมืองไทยสวย อาหารอร่อย ค่าครองชีพถูก บลา ๆ ๆ พอถามคนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ก็จะได้คำตอบทำนองนั้นเช่นกัน ซึ่งสภาพความจริงก็เป็นเช่นนั้น แต่ผมคิดว่ามีเหตุผลที่ลึกกว่าและน่าหยิบยกมาคิดมากกว่าเหตุผลเดิม ๆ คือ “ความใกล้ชิดทางความรู้สึก” และ “ความขาด” ของคนญี่ปุ่น พอเป็นเรื่องนามธรรม บางครั้งก็หาเหตุผลได้ยาก แต่ผมจะลองพยายามดู
       
       จากการสังเกตพบว่า คนญี่ปุ่นกับคนไทยมีลักษณะที่เข้ากันได้ง่าย “โดยธรรมชาติ” เมื่อเทียบกับบางชาติ คือ มีลักษณะติดตัวที่ผมเองก็อธิบายไม่ได้แน่ชัดว่าคืออะไร อาจจะเรียกว่า “บรรยากาศ” หรือ “อัธยาศัย” หรือ “ออร่า” ก็คงไม่ผิดนัก เอาเป็นว่า เรียกว่า “ความใกล้ชิดทางความรู้สึก” ก็แล้วกัน และผมก็เชื่อว่าไม่ได้คิดไปเอง จริงอยู่แม้จะเป็นเรื่องของความรู้สึกที่วัดเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่จากแนวโน้มที่ได้ยินมาและได้ประสบเอง ทำให้เชื่อเช่นนั้น
       
       สำหรับจุดนี้จะขอยกตัวอย่างประสบการณ์จากเรือเยาวชนเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน ผมเป็นอดีตผู้เข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนรุ่นที่ 34 เมื่อปี 2550 จากการใช้ชีวิตบนเรือในโครงการนี้ ร่วมกับเยาวชนของอาเซียนและญี่ปุ่น รวมทั้งสิ้นประมาณ 300 คน เป็นเวลาราว 2 เดือน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ตัวแทนจากไทยสนิทกับตัวแทนจากญี่ปุ่น ลาว และกัมพูชา มากที่สุด โดยเฉพาะกับญี่ปุ่นนี่เรียกได้ว่าติดต่อสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่นหลังโครงการจนกระทั่งบัดนี้ ขณะที่ตัวแทนจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ก็จะสนิทกัน
       
       ลักษณะเช่นนี้ รุ่นพี่ ๆ เล่าว่า เกิดขึ้นทุกปี โดยไม่มีใครจัดสรร แต่มันเกิดขึ้นเองแบบไม่ตั้งใจ แน่นอนว่าภาษาคงมีอิทธิพลอย่างสูง ทว่า หากมองญี่ปุ่นกับไทย แม้ภาษาต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่แนวโน้มความใกล้ชิดก็ยังเป็นเช่นนั้นอย่างต่อเนื่อง ผมคิดเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไม่ออกว่าทำไม แต่เดาว่าเป็นเพราะอะไรบางอย่างในความเป็นไทยกับความเป็นญี่ปุ่นนั่นเองที่ทำให้เข้ากันได้ง่าย คือนอกจากรอยยิ้มแล้ว สิ่งที่คนไทยใช้ทะลวงกำแพงความรู้สึกของคนญี่ปุ่นได้ดี ก็คือ “ความเปิดเผย” อาจจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม คนไทยจะทักและชวนคุย คนไทยคุยเก่ง ถามแทบจะทุกเรื่องของคู่สนทนา และบอกเรื่องตัวเองโดยที่บางทีคู่สนทนาก็ไม่ได้ถาม (ซึ่งไม่ใช่คุณสมบัติที่แย่เสมอไป) ซึ่งเติมเต็มสิ่งที่คนญี่ปุ่นรอคอยอยู่ คนญี่ปุ่นเป็นประเภทรอตอบ ไม่ใช่รอถาม พอมีคนชวนคุย...หมายความว่าคนถามสนใจคนถูกถาม ก็พอดีกัน นั่นคือความเปิดเผยต่อกันและกัน หรือพูดเสียใหม่ก็คือ ความจริงใจ ที่นำไปสู่ความรู้สึกใกล้ชิด



   มาถึงตรงนี้ พอจะสรุปในเบื้องต้นได้ว่า คนญี่ปุ่นนอกจากชอบเมืองไทยว่าด้วยแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ก็ยังชอบเพราะเมืองไทยมีคนไทยด้วย ในความเป็นคนไทยนั้น มีลักษณะที่คนญี่ปุ่นอยู่ด้วยแล้วอุ่นใจ ซึ่งสิ่งนั้นคนญี่ปุ่นขาด ว่าแต่ว่าสิ่งนั้นคืออะไร?
       
       คนญี่ปุ่นขาด “ความหย่อน” คนญี่ปุ่นตึงแทบจะตลอดเวลา ผมเคยเถียงกับเพื่อนญี่ปุ่นว่า “จะลวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (บังเอิญภาษาญี่ปุ่นไม่มีคำว่า “มาม่า”) ทำไมจะต้องทำถึงขนาดจับเวลาให้มันได้ 3 นาทีเป๊ะ? ก็แค่เทน้ำร้อนใส่ พอผ่านไปสักพักแล้วเอาตะเกียบแตะ ๆ ดูให้รู้ว่านิ่ม แล้วก็กิน” ไม่ได้หรอก...คนญี่ปุ่นจะต้องให้เป๊ะแม้แต่ตอนลวกมาม่า เวลาของรถไฟก็เป๊ะ แต่งตัวก็เป๊ะ แต่งหน้าก็เป๊ะ กันคิ้วก็เป๊ะ พนักงานบริษัททุกระดับชั้นไม่ว่าจะใหญ่เล็กแค่ไหนก็ต้องใส่สูทเป๊ะ อยู่บนรถไฟก็ต้องเงียบเป๊ะ ทิ้งขยะก็ต้องแยกประเภทเป๊ะ ตอนสั่งก๋วยเตี๋ยว ลูกค้าจะขอเส้นครึ่งเดียวก็ไม่ให้ เพราะร้านกลัวว่าพอลดปริมาณเส้นแล้วรสชาติจะไม่เป๊ะ และอีกหลายเป๊ะ เป๊ะ เป๊ะ ในมุมหนึ่งความเป๊ะก็ดีอยู่หรอก แต่ถ้าตึงเป๊ะตลอดเวลา สติปัญญาก็จะถูกความเครียดเล่นงาน...ทีนี้ก็เละตุ้มเป๊ะ
       
       ในทางตรงข้าม พอมาเที่ยวหรือมาอยู่เมืองไทย ความบีบคั้นด้านเวลาหายไปเกือบหมดสิ้น (คงเพราะไม่สามารถกะเกณฑ์เวลากับเรื่องอะไรได้แน่นอน) มนุษย์เรา พอรู้ว่ายื้อไปก็เท่านั้น ทีนี้ก็จะปล่อยวาง คนญี่ปุ่นที่มาเมืองไทยจึงเลิกเป๊ะ สมองก็โปร่ง หมดความเครียด สบายใจ และยิ่งได้พบกับมิตรไมตรีแบบไทย ยิ้มง่าย ชวนไปบ้านง่าย ๆ ตักกับข้าวใส่จานให้ง่าย ๆ ขึ้นรถไฟปั๊บก็ควักโทรศัพท์ออกมาโทร.หาคนโน้นคนนี้ส่งเสียงลั่นง่าย ๆ หรือได้เห็นคนขับแท็กซี่คุยโทรศัพท์ไปด้วยขับรถไปด้วยง่าย ๆ เออแฮะ ถึงแม้จะไม่คุ้น...แต่ชีวิตก็มีรสชาติดี แบบนี้สิ...ชีวิตง่าย ๆ ทำงานกับคนไทยแล้วคนไทยมาสาย พอโผล่หน้ามาก็ยิ้มเผล่ แหะ ๆ ๆ เจ้านายไม่เอ็ดลูกน้อง แต่ค้อนให้หนึ่งทีง่าย ๆ แล้ววันรุ่งขึ้นเจ้านายก็มาสายบ้าง...ง่าย ๆ ชีวิตก็แบบนี้ จะเอาอะไรนักหนา...หรือไม่จริง พอคนญี่ปุ่นได้เจอความหย่อนแบบนี้บ้าง กรอบที่บีบคั้นความรู้สึกอยู่จึงถูกทลาย นี่แหละชีวิตง่าย ๆ แบบไทย สะดวกในแบบที่ไม่ตึง ง่ายในแบบที่ถ้าทนหงุดหงิดสักหน่อยเดี๋ยวมันก็ลุล่วง นี่คือสิ่งที่คนญี่ปุ่นขาด คิด...แต่ไม่ต้องมาก จึงไม่เครียด
       
       ผมสรุปเองสั้น ๆ ว่า คนญี่ปุ่นชอบเมืองไทย เพราะมีคนไทย เพราะคนไทยมีคุณลักษณะที่คนญี่ปุ่นขาด เพราะคนไทยมีบรรยากาศสบาย ๆ ซึ่งตอบสนองความรู้สึกของคนญี่ปุ่นตรงเป้าที่สุด อันที่จริง ความชอบที่คนญี่ปุ่นมีต่อเมืองไทยและคนไทยนั้น ถือเป็นกำไรของประเทศ ถ้าคนไทยบริหารจัดการความชอบนี้ในแบบที่ไม่เอาเปรียบและไม่มักง่ายเกินไป (ให้บริการอย่างซื่อสัตย์ อำนวยความสะดวกอย่างจริงใจ) คนญี่ปุ่นที่กำลัง “เตรียม” จะชอบเมืองไทยเพราะได้ยินกิตติศัพท์อยู่ ก็จะเลิกเตรียมและแปรสภาพมาเป็นแฟนพันธุ์แท้ของเมืองไทยอย่างแน่นอน
       
       ฤดูร้อนนี้ เจอคนญี่ปุ่นที่ไหน ทักไปเลยว่า “คนนิชิวะ”— สวัสดี แค่นี้เอง...แล้วคนญี่ปุ่นจะพูดกันปากต่อปาก เฟซบุ๊กต่อเฟซบุ๊ก ไลน์ต่อไลน์ แพร่หลายยิ่งขึ้นว่าคนไทยน่ารัก
       
       **********
       คอลัมน์ญี่ปุ่นมุมลึก โดย ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ แห่ง Tokyo University of Foreign Studies จะมาพบกับท่านผู้อ่านโต๊ะญี่ปุ่น ทุก ๆ วันจันทร์ ทาง www.manager.co.th

จาก http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000076018