ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2016, 04:04:50 am »



คำตอบที่รู้แล้วจะอึ้ง!! ... เมื่อเทวดาเปิดใจกับหลวงปู่มั่นว่ารู้สึกยังไงกับมนุษย์?!!

ครั้งหนึ่ง เมื่อพวกเทวดามาเยี่ยมหลวงปู่มั่นเพื่อฟังเทศน์ หัวหน้าเทวดาองค์หนึ่งพูดกับท่านว่า

"ท่านมาพักอยู่ที่นี่ทำให้พวกเทวดาสบายใจไปทั่วกัน  เทวดามีความสุขมากผิดปกติเพราะกระแสเมตตาธรรมท่านแผ่กระจายครอบท้องฟ้าอากาศและแผ่นดินไปหมด  กระแสเมตตาธรรมของท่านเป็นกระแสที่บอกไม่ถูกและอัศจรรย์มาก  ไม่มีอะไรเหมือนเลย"

หัวหน้าเทวดาพูดต่อไปว่า

"ฉะนั้น ท่านพักอยู่ที่ไหน พวกเทวดาต้องทราบกันจากกระแสธรรมที่แผ่ออกจากองค์ท่านไปทุกทิศทุกทาง  แม้เวลาท่านแสดงธรรมแก่พระเณรและประชาชน กระแสเสียงของท่านก็สะเทือนไปหมดทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง ไม่มีขอบเขต  ใครอยู่ที่ไหนก็ได้เห็นได้ยิน  นอกจากคนตายแล้วเท่านั้นที่จะไม่ได้ยิน"

ตอนนี้...จะได้เชิญอาราธนาคำพูดสนทนากันระหว่างหลวงปู่มั่นกับหัวหน้าเทวดามาลงอีกเล็กน้อย  ส่วนจะจริงหรือเท็จก็เขียนตามที่ได้ยินได้ฟังมา


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่นย้อนถามหัวหน้าเทวดาบ้างว่า

"ก็มนุษย์ไม่เห็นได้ยินกันบ้าง...ถ้าว่าเสียงเทศน์สะเทือนไปไกลดังที่ว่านั้น"

หัวหน้าเทวดารีบตอบทันทีว่า

"ก็มนุษย์เขาจะรู้เรื่องอะไรและสนใจกับศีลกับธรรมอะไรกันท่าน!  ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจของเขา เขาเอาไปใช้ในทางบาปทางกรรมและขนนรกมาทับถมตัวตลอดเวลา  นับแต่วันที่เขาเกิดมาจนกระทั่งเขาตายไป เขามิได้สนใจกับศีลกับธรรมอะไรเท่าที่ควรแก่ภูมิของตนหรอกท่าน  มีน้อยเต็มที...ผู้ที่สนใจจะนำตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ ไปทำประโยชน์คือศีลธรรม  ชีวิตเขาก็น้อยนิดเดียว  ถ้าเทียบกันแล้ว มนุษย์ตายคนละกี่สิบกี่ร้อยครั้ง เทวดาที่อยู่ภาคพื้นแม้เพียงรายหนึ่งก็ยังไม่ตายกันเลย  ไม่ต้องพูดถึงเทวดาบนสวรรค์ชั้นพรหมซึ่งมีอายุยืนนานกันเลย

มนุษย์จำนวนมากมีความประมาทมาก  ที่มีความไม่ประมาทมีน้อยเต็มที  มนุษย์เองเป็นผู้รักษาศาสนา แต่แล้วมนุษย์เสียเองไม่รู้จักศาสนา ไม่รู้จักศีลธรรม ซึ่งเป็นของดีเยี่ยม  มนุษย์คนใดชั่วก็ยิ่งรู้จักแต่จะทำชั่วถ่ายเดียว  เขายังแต่ลมหายใจเท่านั้นพอเป็นมนุษย์อยู่กับโลกเขา  พอลมหายใจขาดไปเท่านั้น เขาก็จมไปกับความชั่วของเขาทันทีแล้ว

เทวดาก็ได้ยิน... ทำไมจะไม่ได้ยิน... ปิดไม่อยู่!

เวลามนุษย์ตายแล้วนิมนต์พระท่านมาสาธยายธรรม 'กุสลา ธัมมา' ให้คนตายฟัง  เขาจะเอาอะไรมาฟังสำหรับคนชั่วขนาดนั้น  พอแต่ตายลงไปกรรมชั่วก็มัดดวงวิญญาณเขาไปแล้ว เริ่มแต่ขณะสิ้นลมหายใจ จะมีโอกาสมาฟังเทศน์ฟังธรรมได้อย่างไร  แม้ขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ก็ไม่สนใจอยากฟังเทศน์ฟังธรรม  นอกจากคนที่ยังเป็นอยู่เท่านั้น...พอฟังได้ถ้าสนใจอยากฟัง  แต่เขามิได้สนใจฟังหรอกท่าน

ท่านไม่สังเกตดูเขาบ้างหรือ...เวลาพระท่านสาธยายธรรม 'กุสลา ธัมมา' ให้ฟัง เขาสนใจฟังเมื่อไร!  ศาสนามิได้ถึงใจมนุษย์เท่าที่ควรหรอกท่าน เพราะเขาไม่สนใจกับศาสนา  สิ่งที่เขารักชอบที่สุดนั้นมันเป็นสิ่งที่ต่ำทรามที่สัตว์เดรัจฉานบางตัวก็ยังไม่อยากชอบ

นั่นแลเป็นสิ่งที่มนุษย์ที่ไม่ชอบศาสนา ชอบมากกว่าสิ่งอื่นใด และชอบแต่ไหนแต่ไรมา  ทั้งชอบแบบไม่มีวันเบื่อ ไม่รู้จักเบื่อเอาเลย  ขณะจะขาดใจยังชอบอยู่เลยท่าน

พวกเทวดารู้เรื่องของมนุษย์ได้ดีกว่ามนุษย์จะมาสนใจรู้เรื่องของพวกเทวดาเป็นไหนๆ ... มีท่านนี่แลเป็นพระวิเศษ รู้ทั้งเรื่องมนุษย์ ทั้งเรื่องเทวดา ทั้งเรื่องสัตว์นรก  สัตว์กี่ประเภท ท่านรู้ได้ดีกว่าเป็นไหนๆ  ฉะนั้น พวกเทวดาทั้งหลายจึงยอมตนลงกราบไหว้ท่าน"




พอหัวหน้าเทวดาพูดจบลง หลวงปู่มั่นก็พูดเป็นเชิงปรึกษาว่า

"เทวดาเป็นผู้มีตาทิพย์ หูทิพย์ แลเห็นได้ไกล ฟังเสียงได้ไกล รู้เรื่องดีชั่วของชาวมนุษย์ได้ดีกว่ามนุษย์จะรู้เรื่องของตัวและรู้เรื่องของพวกมนุษย์ด้วยกัน จะไม่พอมีทางเตือนมนุษย์ให้รู้สึกสำนึกในความผิดถูกที่ตนทำได้บ้างหรือ?  อาตมาเข้าใจว่าจะได้ผลดีกว่ามนุษย์ด้วยกันตักเตือนกัน สั่งสอนกัน ... จะพอมีทางได้บ้างไหม?"

หัวหน้าเทวดาตอบว่า

"เทวดายังไม่เคยเห็นมนุษย์ว่ามีกี่รายพอจะมีใจเป็นมนุษย์สมภูมิเหมือนอย่างพระคุณเจ้าซึ่งให้ความเมตตาแก่ชาวเทพและชาวมนุษย์ตลอดมาเลย พอที่เขาจะรับทราบว่าในโลกนี้มีสัตว์ชนิดต่างๆ หลายต่อหลายจำพวกอยู่ด้วยกัน ทั้งที่เป็นภพหยาบ ทั้งที่เป็นภพละเอียด ซึ่งมนุษย์จะยอมรับว่า เทวดาประเภทต่างๆ มีอยู่ในโลก และสัตว์อะไรๆ ที่มีอยู่ในโลกกี่หมื่นกี่แสนประเภท ว่ามีจริงตามที่สัตว์เหล่านั้นมีอยู่  เพราะนับแต่เกิดมา มนุษย์ไม่เคยเห็นสิ่งเหล่านี้มาแต่พ่อแต่แม่ แต่ปู่ย่าตายาย แล้วมนุษย์จะมาสนใจอะไรกับเทวดาเล่าท่าน  นอกจากเห็นอะไรผิดสังเกตบ้าง  จริงหรือไม่จริงไม่คำนึง

พวกมนุษย์มีแต่พากันกล่าวตู่ว่าผีกันเท่านั้น  จะมาหวังคำตักเตือนดีชอบอะไรจากเทวดา  แม้เทวดาจะรู้เห็นพวกมนุษย์อยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์ก็มิได้สนใจจะรู้เทวดาเลย  แล้วจะให้เทวดาตักเตือนสั่งสอนมนุษย์ด้วยวิธีใด... เป็นเรื่องจนใจทีเดียว  ปล่อยตามกรรมของใครของเราไว้อย่างนั้นเอง  แม้แต่พวกเทวดาเองก็ยังมีกรรมเสวยอยู่ทุกขณะ  ถ้าปราศจากกรรมแล้ว เทวดาก็ไปนิพพานได้เท่านั้นเอง ... จะพากันอยู่ให้ลำบากไปนานอะไรกัน"


หลวงปู่มั่นถามว่า

"พวกเทวดาก็รู้นิพพานกันด้วยหรือ?...ถึงว่าหมดกรรมแล้วก็ไปนิพพานกันได้  และพวกเทวดาก็มีความทุกข์เช่นสัตว์ทั้งหลายเหมือนกันหรือ?"

หัวหน้าเทวดาตอบว่า

"ทำไมจะไม่รู้ท่าน!  ก็เพราะพระพุทธเจ้าองค์ใดมาสั่งสอนโลกก็ล้วนแต่สอนให้พ้นทุกข์ไปนิพพานกันทั้งนั้น  มิได้สอนให้จมอยู่ในกองทุกข์  แต่สัตว์โลกไม่สนใจพระนิพพานเท่าเครื่องเล่นที่เขาชอบเลย จึงไม่มีใครคิดอยากไปนิพพานกัน

คำว่า 'นิพพาน' พวกเทวดาจำได้อย่างติดใจจากพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ที่มาสั่งสอนสัตว์โลก  แต่เทวดาก็มีกรรมหนาจึงยังไม่พ้นจากภพของเทวดาให้ได้ไปนิพพานกัน จะได้หมดปัญหา ไม่ต้องวกเวียนถ่วงตนดังที่เป็นอยู่นี้  ส่วนความทุกข์นั้น ถ้ามีกรรมอยู่แล้ว ไม่ว่าสัตว์จำพวกใดต้องมีทุกข์ไปตามส่วนของกรรมดีชั่วที่มีมากน้อยในตัวสัตว์"


หลวงปู่มั่นถามว่า

"พระที่พูดกับเทวดารู้เรื่องกันมีอยู่แยะไหม?"

หัวหน้าเทวดาตอบว่า

"มีอยู่เหมือนกันท่าน แต่ไม่มากนัก ... โดยมากก็เป็นพระซึ่งชอบปฏิบัติบำเพ็ญอยู่ในป่าในเขาเหมือนพระคุณเจ้านี่แล"

หลวงปู่มั่นถามว่า

"ส่วนฆราวาสเล่า...มีบ้างไหม?"

หัวหน้าเทวดาตอบว่า

"มีเหมือนกัน แต่มีน้อยมาก  และต้องเป็นผู้ใคร่ทางธรรมปฏิบัติ ใจผ่องใส ถึงรู้ได้  เพราะกายของพวกเทวดานั้นหยาบสำหรับพวกเทวดาด้วยกัน แต่ก็ละเอียดสำหรับมนุษย์จะรู้เห็นได้ทั่วไป  นอกจากผู้มีใจผ่องใสจึงจะรู้จะเห็นได้ไม่ยากนัก"

หลวงปู่มั่นถามว่า

"ที่ท่านว่าพวกเทวดาไม่อยากมาอยู่ใกล้พวกมนุษย์เพราะเหม็นสาบคาวมนุษย์นั้น...เหม็นสาบคาวอย่างไรบ้าง?  ขณะที่ท่านทั้งหลายมาเยี่ยมอาตมาไม่เหม็นคาวบ้างหรือ? ... ทำไมถึงพากันมาหาอาตมาบ่อยนัก?"

หัวหน้าเทวดาตอบว่า

"มนุษย์ที่มีศีลธรรมมิใช่มนุษย์ที่ควรรังเกียจ  ยิ่งเป็นที่หอมหวนชวนให้เคารพบูชาอย่างยิ่ง และอยากมาเยี่ยมเพื่อฟังเทศน์อยู่เสมอ ไม่เบื่อเลย  มนุษย์ที่เหม็นคาวน่ารังเกียจคือมนุษย์ที่เหม็นคาวศีลธรรม รังเกียจศีลธรรม ไม่สนใจในศีลธรรม  มนุษย์ประเภทเบื่อศีลธรรมซึ่งเป็นของดีเลิศในโลกทั้งสาม แต่ชอบในสิ่งที่น่ารังเกียจของท่านผู้ดีมีศีลธรรมทั้งหลาย มนุษย์ประเภทนี้น่ารังเกียจจึงไม่อยากเข้าใกล้และเหม็นคาวฟุ้งไปไกลด้วย

แต่เทวดามิได้ตั้งข้อรังเกียจชาวมนุษย์แต่อย่างใด ... หากเป็นนิสัยของพวกเทวดามีความรู้สึกอย่างนั้นมาดั้งเดิมดังนี้"




ที่มา : "ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ" โดย "ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน" ใน http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-hist-12-04.htm
 
จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/201294/