ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 01, 2016, 12:44:53 am »




สกทาคามิผล

พระถังซัมจั๋งและศิษย์ออกจากเมืองเง็กฮั้งจิวแล้ว ไม่นานบรรลุถึงเมืองกิมเพ่งฮู้ อาจารย์และศิษย์ได้แวะเข้าค้างแรมที่พระอารามใหญ่ชื่อหุ้นยี่ พระสงฆ์ในอารามต่างออกมาสักการะพระถังซัมจั๋งเป็นการใหญ่
 
ครั้นพระถังซัมจั๋งจะจากไปได้ถูกขอร้องให้รออยู่ดูงานมาฆะบูชา ที่จะมีขึ้นในระยะนั้นตามประเพณีโบราณ พระถังซัมจั๋งรับนิมนต์แล้ว ครั้นถึงวันเพ็ญมาฆะฤกษ์ เดินเที่ยวเดินดูโคมประทีป ที่ชาวบ้านจุดขึ้นตกแต่งในงานเป็นที่เพลิดเพลิน
 
พระถังซัมจั๋งเพลิดเพลินชมประทีปน้ำมันเหล่านั้นแล้ว จึงได้สังเกตเห็นว่าชาวบ้านยังมีทุกข์หม่นหมองซ่อนเร้นอยู่จึงสอบถามขึ้น จึงทราบว่ายังมีปีศาจควายดำ ๓ ตน (ราคะ โทสะ โมหะ) ที่ชอบกินน้ำมันจันทน์ จึงแปลงกายเป็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาหลอกลวงชาวบ้านทุกปี ทั้งนี้เพื่อให้ชาวบ้านกระทำมาฆะบูชาด้วยจุดประทีปน้ำมันจันทน์ราคาแพง ถึง ๕,๐๐๐ ตำลึง ปีศาจทั้ง ๓ ก็ได้กินน้ำมันจันทน์อิ่มเอมมาทุกปี
 
กล่าวถึง ปีศาจควายดำทั้ง ๓ คือ ซิติ๊นไต้อ๋อง (ราคะ) ซิซู้ไต๋อ๋อง (โทสะ) และซิฮั้นไต้อ๋อง (โมหะ) อยู่สำนักเขาแชเล่งซัว ถ้ำเหี้ยนเองต๋อง ครั้นได้ เวลาก็ปลอมเป็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาในคืนมาฆะบูชานั้น ครั้นมันเห็นพระถังซัมจั๋งกำลังเพลิดเพลินชมประทีปอยู่ได้โอกาสรวบ หอบเอาพระถังซัมจั๋งเหาะมาขังไว้ในถ้ำหวังจะต้มกินเป็นอาหาร
 
ฝ่ายเห้งเจียทราบความที่อาจารย์ถูกปีศาจหอบไปเที่ยวออกค้นหา จนได้พบกับเทพเจ้าแห่งเวลาจึงบอกเห้งเจียว่า
 
“เพราะพระถังซัมจั๋งมัวเพลิดเพลินชมประทีปอยู่จึงต้องเดือดร้อน” ครั้นเห้งเจียรู้ที่อยู่ของปีศาจแล้ว จึงเข้าไปร้องท้ารบ ในที่สุดก็พ่ายแพ้ ต้องเหาะกลับไปอารามชวนโป้ยก่ายและซัวเจ๋งมาสมทบ ต่างเข้ารุมรบกับปีศาจ แต่กลับถูกปีศาจจับตัวเอาไปขังไว้ในถ้ำทั้ง ๓ คน
 
เห้งเจียรอดหนีออกมาจากถ้ำผีได้ แล้วเหาะขึ้นสู่สวรรค์เข้าเฝ้า เง็กเซียนฮ่องเต้ ขออนุญาตนำญาติของตัวที่เป็นดาวอยู่บนท้องฟ้า ๔ ดวง คือ ดาวกั๊กบั๊กเกา (กายานุปัสสนา-การพิจารณาเห็นแจ้งในกาย) เต๊าบั๊กเล่ย (เวทนานุปัสสนา-การพิจารณาเห็นแจ้งในเวทนา) โดยบั๊กลั้ง (จิตตานุ ปัสสนา-การพิจารณาเห็นแจ้งในจิต)และแจบั๊กกัน (ธรรมานุปัส สนา-การพิจารณาเห็นแจ้งในธรรม) ลงมาช่วยปราบปีศาจควายดำทั้ง ๓
 
ขณะนั้นปีศาจควายดำแปลงร่างเป็นพระพุทธเจ้า ซิติ๊นไต้อ๋อง (ราคะ-สะอาด) ซิซู้ไต้อ๋อง(โทสะ-สว่าง) ซิฮั้นไต้อ๋อง (โมหะ-สงบ) เหลือบไปเห็นหน้า คู่ปรับคือดาวทั้ง ๔ (สติปัฏฐาน ๔ - ธรรมอันเป็นที่ตั้ง แห่งสติ) แล้ววิ่งเตลิดหนีไปคนละทิศละทาง เห้งเจียให้โป้ยก่าย ซัวเจ๋ง เข้าแก้มัดพระถังซัมจั๋ง พร้อมทั้งเผาถ้ำปีศาจ แล้วชวนดาวทั้ง ๔ เหาะไล่ปีศาจควายดำ ปีศาจทั้ง ๓ เห็นจวนตัววิ่งแหวกน้ำด้วยกำลังฤทธิ์ลงสู่สะดือทะเลลงไปกบดานอยู่ เห้งเจียกระชากตะบองวิเศษออกมาร่ายมนต์ แกว่งตะบองเบิกน้ำตามลงไป
 
กล่าวถึงพญาเล่งอ๋องจ้าวบาดาลรู้ข่าวที่เห้งเจียไล่จับปีศาจควายดำ จึงเกณฑ์สมุนสัตว์น้ำใหญ่ออกมาช่วยสกัดจับปีศาจควายดำ เห้งเจียร้องตะโกนให้จับเป็น แต่ดาวแจบั๊กกัน (ดาวที่ ๔-ธัมมานุปัสสนา) ยั้งมือไม่อยู่จึงอ้าปากงับคอปีศาจควายซิฮั้นไต้อ๋อง (โมหะ) ขาด ปีศาจควายอีก ๒ ตน ก็ถูกจับได้ เห้งเจียให้ร้อยจมูกจูงขึ้นมายังพื้นโลกตรงไปยังพระอารามหุ้นยี่
 
ครั้นโป้ยก่ายเห็นหน้าปีศาจควาย ๒ ตนแล้วให้เกลียดชัง หามีดโกนได้พลันเชือดคอควายทั้ง ๒ ขาดปีศาจตายสิ้น ชาวเมืองกิมเพ่งฮู้เมื่อรู้ ความจริงเรื่องที่ปีศาจควายดำทั้ง ๓ แปลงมาเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อหลอกต้มชาวบ้านกินน้ำมันจันทน์ราคาแพง ชาวเมืองสำนึกในบุญคุณของ พระถังซัมจั๋งและศิษย์จึงได้สร้างศาลาขึ้นบูชาดาวทั้ง ๔ และจารึกชื่อ พระถังซัมจั๋ง เห้งเจีย โป้ยก่ายและซัวเจ๋งไว้เป็นที่ระลึก
 
เห้งเจียได้เอาเพชรนิลจินดา (วิมุติสุข - ความสุขที่เกิดขึ้นจากการ หลุดพ้น)ที่ได้มาจากถ้ำผีมากมายนั้นออกแจกจ่ายประชาชน แจกเท่าไร ก็ไม่หมดสิ้นจึงได้ถวายที่เหลือทั้งหมดไว้แก่พระอารามหุ้นยี่ ครั้นตกเที่ยงคืน พระถังซัมจั๋งและศิษย์ลุกขึ้นล้างหน้าปรึกษากันแล้วแอบเล็ดลอดหนีตอนเช้า ยามสามทั้งนี้เพราะกลัวว่าประชาชนจะไม่ยอมให้เดินทางต่อไปยังวัดลุยอิมยี่ รุ่งเช้าประชาชนต่างลือกันว่าอาจารย์และศิษย์เหาะไปยังไซทีเสียแล้ว
 
(ตอนนี้การเดินทางได้มาบรรลุถึงโสดาปัตติผล เข้าถึงการรู้แจ้งและหลุดพ้นจากเขตโลกียะเข้าสู่เขตโลกุตระ (เขตหลุดพ้นจากความสุขในทางโลก) ในระดับสกทาคามี-คือเป็นพระผู้ที่บรรลุสกทาคามิผล คือ รู้และปฏิบัติในการละสังโยชน์ทั้ง ๓ ได้แก่สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีสัพพตปรามาส และยังเป็นเหตุทำให้ ราคะ โทสะ โมหะ มีความเบาบางลง นับว่าได้บรรลุผลตรัสรู้ในระดับสกทาคามี ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน เพราะมีความคล้ายคลึงกับ ความสะอาด ความสว่าง ความสงบ
 
ในการละสังโยชน์พึงใช้สติปัฏฐาน ๔ อันได้แก่
 
กายานุปัสสนา - การพิจารณาเห็นแจ้งในกาย
 
เวทนานุปัสสนา-การพิจารณาเห็นแจ้งในเวทนา
 
จิตตานุปัสสนา-การพิจารณาเห็นแจ้งในจิต และ
 
ธัมมานุปัสสนา-การพิจารณาเห็นแจ้งในธรรม
 
ทำสติให้เกิดการเห็นแจ้งใน กาย, เวทนา, จิต และธรรม ก็จะทำให้ ราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง เกิดวิมุติสุข - สุขที่เกิดจากการหลุดพ้น จากกิเลสและอาสวะทั้งปวง บังเกิดโชติช่วงด้วยปัญญา)

จาก http://www.khuncharn.com/skills?start=35

อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1