ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 01, 2016, 12:55:13 am »




อนาคามิมรรค - อนาคามิผล


พระถังซัมจั๋งกับสานุศิษย์เดินทางมาสักกึ่งเดือนบรรลุถึงภูเขาสูงขวางหน้าอยู่ พระถังซัมจั๋งให้นึกครั่นคร้าม เห้งเจียเห็นเช่นนั้นจึงปลอบอาจารย์ แล้วล้อว่าอาจารย์ดีแต่ท่องคาถาปัญญาซิมเกงของพระโอเซ้า แต่หาเข้าใจอรรถของคาถานั้นไม่ พระถังซัมจั๋งจึงขอให้เห้งเจียแสดงหัวใจธรรม เห้งเจียหัวเราะงอไปงอมาอยู่พักใหญ่ โดยไม่ได้พูดสักคำเดียว (นิพพาน เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตนพูดไม่ได้ อธิบายไม่ได้)
 
ศิษย์และอาจารย์เดินทางรอนแรมโดยแสงเดือนส่องทางมาถึงวัดเป๊ากิมเสียนยี่ ตำบลแป๊ะคีซัวเศรษฐีชื่อกิ๊มโกเซียงผู้อยู่ในเมืองอ๋องเฉีย (เขตอนาคามิมรรค) สร้าง ณ วัดแห่งนี้เมื่อถึงฤดูฝน ฝนจะตกลงมาเป็นเพชรนิลจินดาและทองคำ เส้นทางที่จะออกจากวัดนี้ไปสู่เมืองเทียนเต๊กนั้น ถ้าไปก่อนไก่ขัน(สติ) จะถูกปีศาจตะขาบ (ทุกข์) ทำร้ายต่อเมื่อไก่ขันแล้วจึงไปได้อย่างปลอดภัย
 
พระถังซัมจั๋งและศิษย์ต้องรอจนกว่าไก่ขัน (สติ) จึงออกเดิน ชมสวนกลางแสงเดือนที่สว่างดุจกลางวัน ได้พบกับท่านสมภารวัดซึ่งเป็นผู้เล่าให้พระถังซัมจั๋งฟังว่า ที่วัดนี้มีพระราชบุตรีของพระราชาเมืองเทียนเต็ก ได้ถูกปีศาจหอบมาทิ้งไว้ พระราชบุตรีแสร้งทำเป็นบ้าใบ้สกปรกมอมแมม และขอให้ท่านสมภารขังไว้ให้พ้นจากการถูกข่มขืนจากพระในวัด ท่านสมภารเล่าให้พระถังซัมจั๋งฟัง แล้วขอร้องให้เห้งเจียช่วยปราบปีศาจให้ด้วย เล่าเรื่องจบเวลาก็จวนสว่าง
 
ครั้นได้ยินเสียงไก่ขัน พระถังซัมจั๋งและสานุศิษย์ออกเดินทางมุ่งสู่เมืองเทียนเต็ก พระราชาเมืองนี้ทรงพระนามว่าจี้จงฮ่องเต้ ทรงโปรดปรานการเล่นต้นไม้ ไม้ดอก ต้นบอน โกศลต่างๆ
 
ฝ่ายนางปีศาจกระต่ายในพระจันทร์ผูกอาฆาตพระราชบุตรี ไปทิ้งในวัดเป๊ากิมเสียนยี่ แล้วตนเองแปลงเป็นนางกงจู๋ราชบุตรีแทน นั่งซุ่มเสี่ยง มาลัยเลือกคู่อยู่รอพระถังซัมจั๋ง เพื่อจะได้น้ำสัมภวะของพระถังซัมจั๋งไปทำกระสายยา
 
พระถังซัมจั๋งกับสานุศิษย์เดินชมเมืองเพลินไปถึงหอเสี่ยงทาย นางปีศาจจำแลงขว้างตะกร้อแพรมาต้องพระถังซัมจั๋ง พระถังซัมจั๋ง มิรู้จะทำประการใดเพราะนางเป็นพระราชบุตรี หากขัดขืนไม่ยอมเป็นพระราชบุตรเขยก็ห่วงว่าคงไม่ได้รับประทับตราหนังสือผ่านเมือง ฝ่ายเห้งเจียคิดอุบายได้แล้ว กระซิบความบอกให้พระถังซัมจั๋งทำทีเป็นยินดี โอนอ่อน ผ่อนตามเป็นพระราชสวามีของนางกงจู๊ เมื่อเป็นดังนั้นพระราชารับสั่งให้ จัดงานเลี้ยงฉลองพระราชบุตรเขยกลางสวนหลวง ต่างคนต่างรื่นเริงสำราญ จนพระถังซัมจั๋งเผลอลุกขึ้นร้องเพลง เล่นโศลกคลอเสียงดุริยางค์ (ความประมาทของพระอริยะเจ้า) ส่วนโป้ยก่ายเผลอตัวสำแดงสันดานเก่าออกมา พระถังซัมจั๋งเห็นเข้าจึงดุด่าเฆี่ยนตี
 
ฝ่ายกงจู๊พระราชบุตรีแปลง เห็นสบโอกาสจึงกราบทูลให้พระราชา ออกหนังสือเดินทางให้สามพี่น้องออกจากเมืองโดยเร็ว เพื่อจะได้ร่วมรักกับพระถังซัมจั๋ง
 
เห้งเจียกระซิบความกับพระถังซัมจั๋ง แล้วแสร้งชวนโป้ยก่ายซัวเจ๋ง จูงม้าขาวหาบของออกเดินทางไปพักหนึ่ง แล้วแปลงเป็นผึ้งบินกลับ มาเกาะไหล่พระถังซัมจั๋งทันการ ในขณะที่พระถังซัมจั๋งกำลังทำพิธีวิวาห์กับนางปีศาจกงจู๊
 
เห้งเจียพิจารณานางกงจู๊ใกล้ชิดแล้ว รู้ชัดว่าเป็นปีศาจปลอมแปลงมาจึงกลายร่างกลับตามเดิม เห้งเจียชักตะบองออกจากหูเข้าตีปีศาจ นางปีศาจเห็นเช่นนั้นรีบถอดร่างเหลือแต่เครื่องแต่งกายทิ้งไว้ แล้วเหาะไปเอาครกบด (กามราคะ - การติดใจในกาม) หินวิเศษรูปร่างคล้ายสาก (ปฏิฆะ - ความขัดเคืองใจ) ออกมาสู้กับเห้งเจีย ต่างไม่แพ้ไม่ชนะ สู้รบกันเอิกเกริกรุกไล่กันจนถึงประตูสวรรค์
 
ฝ่ายนางปีศาจเห็นสบโอกาสเหาะหนีไปทางทิศอาคเนย์ไปยังภูเขาม้อเถ้าซัว เห้งเจียตีลังกาตามไปเข้าสู้รบ มิทันแพ้ชนะแก่กัน เจ้าแม่ท้าย อิมแชกุน(พระจันทร์)มาทัน ทรงขอชีวิตนางปีศาจไว้จากเห้งเจีย เพราะว่าที่แท้เป็นกระต่ายในดวงจันทร์ ผูกอาฆาตพระราชบุตรีที่เคยตบหน้า นางกระต่ายสมัยเป็นนางฟ้าอยู่บนสวรรค์ มันจึงแอบแปลงเป็นปีศาจมาทำการรังควาน
 
เห้งเจียทราบความแล้วเหาะกลับเมืองเทียนเต็ก แล้วนำพระราชบุตรีที่ถูกคุมขังเป็นบ้าใบ้อยู่ที่วัดเป๊ากิมเสียนยี่ มาขัดสีฉวีวรรณนางกงจู๊ จนงามเปล่งปลั่งยิ่ง เห้งเจียทูลขอให้พระราชาปล่อยไก่สัก ๑,๐๐๐ ตัว ในตอนกลางคืนเพื่อให้จิกกินตะขาบบนเส้นทางระหว่างวัดกับเมืองเพื่อให้ผู้สัญจรไปมาปลอดภัย
 
พระราชาทรงทำตามนั้น แล้วให้ช่างวาดรูปพระถังซัมจั๋งและศิษย์ไว้สักการบูชารำลึกถึงบุญคุณ เห้งเจียเปลี่ยนชื่อวัดชื่อภูเขาและชื่อสมภารเสียใหม่แล้ว เสร็จการพร้อมด้วยพระถังซัมจั๋งทูลลาออกจากเมืองเทียนเต็กมุ่งสู่วัดลุยอิมยี่
 
(ถึงตรงนี้การรู้แจ้ง ก็เข้าสู่ระดับอนาคามี - พระอริยบุคคล ที่ได้ปฏิบัติและได้รับอนาคามิผล - ผลจากการละสังโยชน์ได้อีก ๒ อย่าง คือ กามราคะ และปฏิฆะ อันเป็นสังโยชน์อีก ๒ อย่างคือ ในระดับอันประณีต ที่ระดับอนาคามีพึงต้องละอีก ภายหลังบรรลุเข้าเขตโสดาปัตติผลในระดับสกทาคามีแล้ว ความเพลิดเพลินทำให้เกิดความประมาทของอริยะเจ้า และหลงติดอยู่ไม่เดินทางต่อจำต้องอาศัยสติ ก็จะขจัดสิ้นมลทินส่องสว่างขาวนวลดุจแสงจันทร์ ดูผุดผ่องงามตา
 
การละสังโยชน์ ๑๐ ได้แก่
 
๑. กามราคะ - การติดใจในกาม
 
๒. ปฏิฆะ - ความขัดเคืองใจ
 
๓. มานะ - การถือตน ความสำคัญตน
 
๔. ทิฏฐิ - ความเห็นผิด
 
๕. วิจิกิจฉา - ความลังเล
 
๖. สีสลัพพตปรามาส - ความงมงาย
 
๗. ภวราคะ-การติดใจในความมี ความเป็น
 
๘. อิสสา-ความริษยา ความรู้สึกไม่พอใจเมื่อเห็นเขาได้ดี
 
๙. มัจฉริยะ - ความตระหนี่
 
๑๐.อวิชชา - ความไม่รู้)



จาก http://www.khuncharn.com/skills?start=35

อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1