ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 02, 2016, 03:55:34 am »

<a href="https://www.youtube.com/v/E36xWa48y0U" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/E36xWa48y0U</a>



‘เจ้าสัวบัณฑูร ล่ำซำ’ หยุดตรงนี้ ‘ที่น่าน’...กับ ‘แม่มะไฟ’

“น่าน” จังหวัดที่ได้ชื่อว่า “ดินแดนล้านนาตะวันออก” ของ คุณปั้น-เจ้าสัวบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

‘สร้างบ้าน-สร้างป่า’ลงหลักปักฐาน
‘เจ้าสัวบัณฑูร ล่ำซำ’
หยุดตรงนี้ ‘ที่น่าน’...กับ ‘แม่มะไฟ’


อาการตกหลุมรัก “น่าน” จังหวัดที่ได้ชื่อว่า “ดินแดนล้านนาตะวันออก” ของ คุณปั้น-เจ้าสัวบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย แสดงออกมาด้วยการลงทุนซื้อโรงแรมน่านฟ้า โรงแรมเก่าอายุ 80 ปี แล้วปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชื่อเสียงเรียงนามใหม่ว่า “พูคาน่านฟ้า” กลายเป็นแลนด์มาร์คใหม่ใจกลางเมือง ด้วยสถาปัตยกรรมไม้ ผสมผสานกับการออกแบบสไตล์ล้านนา ทำให้โรงแรม 14 ห้องแห่งนี้ถูก

บันทึกไว้ว่า “เป็นที่สุด” ด้วยราคาและการออกแบบ

ในวันที่บ้านพักหลังใหม่เสร็จสรรพเมื่อปีที่ผ่านมา คุณปั้นก็ได้ย้ายสำมะโนครัวจากบ้านพักที่ชลบุรี เข้าเป็น “ประชาชนคนน่าน” อย่างเต็มตัว...

ย้อนไปถึงอาการ “ปิ๊งรัก...ฮักเมืองน่าน” คุณปั้น เล่าไว้ในหนังสือนวนิยาย “สิเนหามนตาแห่งลานนา” ที่แต่งเอง ว่า... ในปี 2552 ได้พาตัวเองมา จ.น่าน ในภารกิจเป็นประธานเปิดห้องสมุดใน อ.แม่จริม โดยมูลนิธิธนาคารกสิกรไทย “มันก็แค่หนึ่งวันหนึ่งคืนเท่านั้นเอง แต่ที่ไหนได้ เป็นหนึ่งคืนกับหนึ่งวันที่พลิกผันหักเหความคิด อีกชีวิตจิตวิญญาณ”

นอกจากการไปซื้อโรงแรมกลางเมืองใน จ.น่าน คุณปั้น เล่าว่า... ได้ไปซื้อที่ดินไว้ผืนหนึ่งบริเวณเนินเขาป่าสัก ชายขอบ อ.เมือง เพื่อจะปลูก “บ้านพักหลังสุดท้ายของชีวิตที่จะเป็นเฮือนตาย” อีกทั้งได้คิดฝันในการที่จะทำโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น ในอนาคตวันหนึ่งที่ไม่ไกลนัก เมื่อถึงเวลาที่ควรจะวางมือได้แล้วจากงานที่ธนาคารกสิกรไทย

วันนี้ บ้านพักใน ต.ผาสิงห์ อ.เมือง จ.น่าน เสร็จมาหนึ่งปี โดยที่ก่อนหน้านี้ได้เคยรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการส่วนพระองค์ ในการขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญเสวยพระกระยาหารค่ำ

และในโอกาสเปิดโครงการ “คืนป่าน่าน” เมื่อเร็ว ๆ นี้ คุณปั้นเปิดบ้านเลี้ยงอาหารเย็น เจ้าสัวน้อย ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น ก่อนที่รุ่งขึ้นทั้งสองจะทำกิจกรรมปลูกป่าร่วมกับชาวบ้าน จากที่ก่อนหน้านี้พื้นที่นี้มีกระแสเรื่องส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าวโพด จนเกิดการรุกพื้นที่ป่า

ก่อนอาหารเย็นเจ้าของบ้านพาคณะสื่อมวลชนเดินชมรอบ ๆ บ้าน เล่าเรื่องราวของบ้านหลังนี้ระคนเสียงหัวเราะอย่างมีความสุข... “ชอบบ้านแบบสวิตเซอร์แลนด์ แต่มีคนบอกว่าต้องมีใต้ถุนแบบล้านนาไว้จัดงานเลี้ยงได้ในช่วงหน้าฝน ถ้าไม่มีใต้ถุนวันนี้จะลำบาก” ...คุณปั้น เอ่ยประโยคแรก หลังจากเดินลงมาจากบันไดหน้าบ้าน

บ้านไม้ 3 ชั้น ตระหง่านอยู่ตรงเนินเขาบนเนื้อที่ 22 ไร่ อยู่ริมถนน หมู่ 2 ต.ผาสิงห์ จากถนน เลี้ยวซ้ายมา ทางเข้าบ้านมีซุ้มประตูไม้ เขียนไว้ว่า “บ้านเจ้าสัวในภูคาป่าสัก” ก่อนที่จะถึงตัวบ้าน ผ่านโรงรถ มีรถ 2 คัน เป็นรถตู้ และรถเบนซ์ ทั้ง 2 คัน ใช้เลขทะเบียน 369 บ่งบอกว่า เป็นเลขประจำตัวของคุณปั้น

เช่นเดียวกับบ้านเลขที่ 369 ที่เขียนด้วยภาษาล้านนาอยู่ตรงประตูทางเข้า (ในนวนิยายของคุณปั้นบอกไว้ว่าถ้าใช้ภาษาลานนา หรือล้านนา จะมีเทวดาช่วยคุ้มครอง ซึ่งเช่นเดียวกัน...โรงแรมพูคาน่านฟ้าก็อยู่ในความเชื่อนี้ด้วยเช่นกัน)

บ้านหลังนี้เจ้าของเขียนผังแบ่งห้องต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แล้วให้สถาปนิกเขียนแบบขึ้นมาตามหลัง มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นห้องพระ ห้องทำงาน ห้องนอน ชั้นสองเป็นห้องรับรองแขก ชั้นล่างจัดเป็นห้องอาหาร ส่วนบริเวณพื้นที่ใต้ถุนนั้นเปิดโล่งไว้

ถัดเรือนหลังใหญ่ออกไป มีเรือนหลังเล็กชั้นเดียว สถาปัตยกรรมจีน สร้างพิถีพิถันไม่ต่างจากเรือนหลังใหญ่ แต่ไม่มีคนอยู่อาศัย ทว่าเจ้าของบ้านก็เต็มอกเต็มใจที่จะเปิดเรือนหลังเล็กนี้ให้ชม พร้อมเล่าถึงเรือนหลังนี้ให้ชวนขนลุก... “เมื่อมีคนพามาดูที่ รู้สึกว่าที่นี่ใช่แล้ว ความรู้สึกบอกเลย ตอนที่พาอาจารย์มาเพื่อจะลงเสาเอก บอกว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งอยู่ที่นี่..ชื่อมะไฟ ควรจะสร้างบ้านหลังเล็ก ๆ ให้เขาอยู่ เขาจะได้ไม่มาวุ่นวายบนเรือนใหญ่ เลยเรียกว่า เฮือนมะไฟ”

ภายในเฮือนมะไฟ มีการแบ่งโซนห้องนอน ห้องรับเขก ห้องนอนเป็นแบบล้านนา ที่นอนเป็นฟูก มีรูปวาดของ คุณมะไฟ ในอิริยาบถใส่ซิ่นอาบน้ำ รวมทั้งมีภาพเขียนติดผนัง รูปผู้หญิงล้านนายืนถือพานดอกไม้เตรียมให้เจ้าเมืองไปไหว้พระในเวลากลางคืน ส่วนอีกด้านของผนังเป็นตัวอักษรภาษาล้านนา แปลได้ว่า เป็นคำสอนให้กับนางสนมเอกในการปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละวัน

มะไฟ คือหนึ่งในตัวละครที่ปรากฏอยู่ในหนังสือนวนิยายที่คุณปั้นแต่งเอง เป็นนางสนมของ พระญาผาสุริยา เจ้าผู้ครองวรนคร ด้วยความรักมหาศาล มะไฟหลงผิดจึงทำมนต์ดำใส่พระญาผาสุริยา เมื่อถูกจับได้จึงได้

รับโทษด้วยการจับถ่วงน้ำตามกฎของบ้านเมือง ท่ามกลางความเสียใจอย่างสุดซึ้งของพระญาผาสุริยา เพราะมะไฟคือหนึ่งในเก้านางสนมที่สนิทเสน่หา
มากที่สุด

“ป้อฮักสูนักนะ มะไฟ ขออย่าได้ข้องใจ๋ ป้อจำใจ๋ต้องรักษากติกาแห่งพูคา ขออย่าถือสาต่อไปในภายภาคหน้า ขอให้สูไปดี บุญของสูนั้นได้ทำไว้มากมาย” ...เป็นถ้อยคำบอกลาเปี่ยมไปด้วยความเศร้าที่มีต่อมะไฟ ที่ คุณปั้นกลั่นออกมาจากจินตนาการถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ

“มะไฟป็นผู้หญิงที่เขียนอยู่ในนิยาย คอยหนุนเราอยู่ข้างหลัง อาจารย์เคยเจอในฌานเป็นผู้หญิงล้านนา เมื่อ 700 ปีมาแล้ว เรามีสนมคนหนึ่ง เราเคยจับเขากดน้ำก็เลยรออยู่ที่นี่ตามในนิยายเป๊ะ ไม่รู้ว่ามีอยู่จริง หรือในนิยาย”

...คุณปั้น กล่าว พร้อมระเบิดเสียงหัวเราะ และยังเอื้อนเอ่ยถึงคุณมะไฟต่อว่า...มีคนที่มีโทรจิตเคยเห็นมะไฟยืนยิ้มต้อนรับอยู่ แต่ตัวเองไม่เคยเห็น และตอนต้นปีลูกสาวที่อยู่ลอสแอนเจลิส ฝันว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งเดินตามพ่ออยู่ “แสดงว่าเขาดูแลเราอยู่ตรงนี้ มีคนบอกว่าตอนนี้เขามีความสุขแล้ว มาอยู่ด้วยแล้ว แต่ไม่ปรากฏตัว...”

พ้นจากเรือนมะไฟมา เป็นเรือนไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง เป็นอาคารที่ไว้เก็บอุปกรณ์น้ำไฟต่าง ๆ ถัดมาจึงเป็นห้องน้ำ ซึ่งบริเวณใต้ถุนเรือนใหญ่นั้นจะไม่มีห้องน้ำ...

“โน่น...เรือนหลังเล็กนั่นเป็นห้องน้ำ เดินผ่านบ้านแม่มะไฟก็เดินเร็ว ๆ หน่อยแล้วกัน แล้วอย่าไปคนเดียว” ...เจ้าของบ้านบอกทีเล่นทีจริง พร้อมระเบิดเสียงหัวเราะอีกครั้ง

เมื่อมองดูอาณาบริเวณบ้าน ต้นไม้ใหญ่อย่างต้นสัก เป็นต้นไม้ดั้งเดิม ที่ปลูกขึ้นมาเพิ่มมากหน่อยเห็นจะเป็นเพียงหญ้า บ้านหลังนี้ให้อารมณ์

“บ้านไม้กลางป่า” ภายนอกบ้านเป็นไม้ แต่กับโครงสร้างที่ใหญ่โต จึงต้องใช้ปูน แล้วใช้ไม้ประกบทับอีกที

บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนเนิน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านล่างเป็นลานหญ้า ที่แบ่งสันปันส่วนให้เป็นคอกม้า เลี้ยงม้าไว้ 2 ตัว ตามที่หมอดูแนะนำ นัยว่าเพราะม้าจะช่วยเสริมให้ชีวิตมีความคึกคัก ก็เป็นความเชื่อ เช่นเดียวกับความเชื่อด้านฮวงจุ้ย ที่มีซินแสบอกว่า บ้านหลังนี้ฮวงจุ้ยดีเกือบ
จะที่สุด คือเกือบ 100% ดีจนซินแสต้องแนะนำว่าให้ตัดทอนลงเหลือ 90% ก็พอ

ใน 1 เดือน คุณปั้น-เจ้าสัวบัณฑูร ล่ำซำ จะมาใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านหลังนี้ราว 1 สัปดาห์ เพื่อจะทำงานให้พื้นที่นี้จริง ๆ ตื่นเช้ามาก็ไปอำเภอ
ต่าง ๆ ของน่าน เพื่อดูพื้นที่และทำความเข้าใจกับชาวบ้านเรื่องการฟื้นฟูป่า ตามโครงการรักษ์ป่า-คืนป่า...ที่น่าน

เป็นฉากชีวิตอีกด้านของนายธนาคาร...กับบ้านหลังใหม่ที่เชื่อว่าคือ...ดินแดนแห่งอดีตชาติ.

พรประไพ เสือเขียว : รายงาน

***************



รู้จักเจ้าสัวผ่านตัวหนังสือ

ในวัยที่เข้าสู่แซยิด หลายคนมักทำหนังสืออัตชีวประวัติตนเอง แต่ คุณปั้น-เจ้าสัวบัณฑูร เลือกที่จะเขียนนวนิยาย นำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์เมืองน่านในอดีตผ่านนวนิยาย โดยเปิดตัวเมื่อปี 2556 จนขณะนี้ยอดพิมพ์พุ่งราว 20,000 เล่มแล้ว

อีกมุมของชีวิตแบบฉบับเจ้าสัว เจ้าสัวรายนี้ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านการเงินการธนาคารเพียงอย่างเดียว...

นอกจากเขียนนิยาย เจ้าสัวบัณฑูรยังเล่นดนตรีไทย เล่น ซอสามสาย ได้ชนิดหาตัวจับยาก และเมื่อครั้งธนาคารกสิกรไทยจัดทำสารคดีเฉลิม
พระเกียรติ 2 เรื่อง คือ ศึกเก้าทัพ และ ธิราชเจ้าจอมสยาม เจ้าสัวบัณฑูรก็เป็นผู้ลงเสียงบท

บรรยายในส่วนที่สำคัญ อย่างสารคดี ธิราชเจ้าจอมสยาม เป็นผู้ให้เสียงพากย์พระสุรเสียง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว

ย้อนไปปี 2520 เจ้าสัวบัณฑูรอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร และปี 2547 ก็บวชอีกครั้งที่วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร จนปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งไวยาวัจกร วัดบวรนิเวศวิหาร ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของวัดที่มีมูลค่านับพันล้าน และยังเป็นประธานกรรมการผู้จัดการ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นนายแบงก์ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนามาก

ความชื่นชอบศิลปะ ไม่เพียงแต่เสพ ด้วยการอ่าน หรือการดู ในบางเรื่องเจ้าสัวได้เข้าไปเรียนรู้ฝึกฝนอย่างจริงจัง อย่างงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ที่จัดใน จ.น่าน เจ้าสัวบัณฑูร ได้ฝึกซ้อม รำทวน จริงจัง เพื่อการถวายการแสดงตามแบบโบราณราชประเพณี

ขณะที่ นวนิยาย “สิเนหามนตาแห่งลานนา” ที่แต่ง ทุกคนที่ได้อ่านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เรื่องราวในนิยายเรื่องนี้ เสมือนการทำความรู้จักเจ้าสัวบัณฑูรผ่านตัวหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต ทัศนคติ แนวความคิด ตลอดจนอารมณ์ขันต่าง ๆ...

คือ “ตัวตนของเจ้าสัว” โดยแท้.

จาก http://www.dailynews.co.th/article/346084