ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 02, 2016, 09:28:57 am »



ลงเอยด้วยดี!! ... "ท่านพ่อลี" ช่วยเปลี่ยนใจ "สมเด็จฯ อ้วน" ให้เลิกต่อต้านพระป่าสายหลวงปู่มั่น!!

ในสมัยที่ "ท่านพ่อลี ธัมมธโร" อยู่จำพรรษากับ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์" (อ้วน ติสโส) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ นั้น ท่านได้รับความเมตตาจากสมเด็จฯ เป็นอย่างมาก  แต่สมเด็จฯ ท่านไม่ค่อยจะเชื่อน้ำยาของพระป่ากรรมฐานสักเท่าไหร่ และก่อนหน้านี้ก็เคยออกคำสั่งไล่พระกรรมฐานออกจากป่า ซึ่งแม้แต่หลวงปู่มั่นเองก็เคยถูกท่านไล่มาแล้ว

(หมายเหตุ :  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะมณฑลและเจ้าคณะธรรมยุตในภาคอีสาน เมื่อทราบข่าวว่ามีคณะพระป่ากรรมฐานของหลวงปู่มั่นเดินทางมาพักอยู่ที่บ้านหัวตะพานจึงสั่งให้เจ้าคณะแขวงอำเภอพร้อมด้วยนายอำเภออำนาจเจริญไปทำการขับไล่พระป่าคณะนี้ออกไปให้หมด  ทั้งยังประกาศด้วยว่า ถ้าผู้ใดใส่บาตรพระเหล่านี้จะจับใส่คุกให้หมดสิ้น)


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส)

ด้วยเหตุนี้ ท่านพ่อลีจึงคิดหาทางที่จะช่วยสมเด็จฯ ให้รู้บ้างว่า "ธรรมของจริง" และ "ผู้รู้จริง" เป็นอย่างไร ...

"สมเด็จฯ ท่านอ่านตำรามาก ชอบวิจารณ์วิจัย  แต่วันๆ ผ่านไปโดยไม่ปฏิบัติสมาธิภาวนาพิจารณาสังขาร ทำแต่งานภายนอก

คิดดูแล้วก็น่าสงสาร ... ท่านเป็นผู้มีคุณูปการต่อเรา เราต้องปฏิบัติตอบท่านด้วยธรรมที่รู้เห็นมาตามสติปัญญาที่มี"


เมื่อท่านพ่อลีคิดอย่างนั้น ท่านก็เริ่มปฏิบัติการขั้นต้น โดยกำหนดจิตเพ่ง "กสิณน้ำและไฟ"  บางครั้งเพ่งกสิณน้ำใส่ สมเด็จฯ ก็จะหนาวสะบั้นสั่นเทาเหมือนคนเป็นไข้จับสั่น  บางคราวเพ่งกสิณไฟ กำหนดเป็นไฟไปเผา สมเด็จฯ ก็จะร้อนรนกระวนกระวายไปทั้งร่าง  (แต่การเพ่งกสิณนี้ก็ไม่ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วย)

เมื่อเป็นเช่นนี้บ่อยๆ สมเด็จฯ จึงเรียกท่านพ่อลีมาถามว่า

"เอ... วันนี้มันเป็นอะไรกันนะ?  เดี๋ยวร้อนเหมือนถูกไฟเผา เดี๋ยวหนาวจนสะบั้น!!"

ท่านพ่อลีก็เข้าไปหา...ทำทีจับโน่นจับนี่และพูดว่า

"ไหน...ไหน...มันเป็นอะไร?  อากาศร้อนหนาวมันก็เปลี่ยนแปลงบ้างแหละขอรับเจ้าประคุณ!"

พอเป็นหลายครั้งหลายหนเข้าจนผิดสังเกต ด้วยความที่สมเด็จฯ ท่านฉลาดหลักแหลม ช่างสังเกตหาเหตุผลเสมอ ก็เลยเอะใจด้วยความสงสัย เพราะเมื่อใดที่ท่านพ่อลีมาดูอาการ เมื่อนั้นอาการก็จะหายทันที  สมเด็จฯ จึงบอกกับพระใกล้ชิดว่า

"เหตุที่เป็นเช่นนี้ ท่านลีคงทำเราแหละ ... เราเคยดูถูกพ่อของพระกรรมฐานคือพระอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านลี"

หลังจากนั้นมา สมเด็จฯ ท่านก็เข้าใจพระป่ามากขึ้น มองพระป่าอย่างเป็นมิตรมากขึ้น ทั้งยังอุดหนุนส่งเสริมการสร้างวัดป่ากรรมฐาน เช่น วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นวัดที่สำคัญของกองทัพธรรมพระกรรมฐานในสมัยนั้นด้วย

ต่อมา สมเด็จฯ ท่านก็ขอร้องให้ท่านพ่อลีสอนสมาธิให้ทุกวัน  ท่านพ่อลีไปอยู่แห่งหนตำบลใด ท่านก็จดหมายไปตามให้มาทุกครั้ง ... นับว่าท่านพ่อลีเป็นผู้ที่สมเด็จฯ โปรดปรานมาก

ท้ายที่สุด สมเด็จฯ ก็เปิดเผยความในใจว่า

"เราไม่เคยนึกเคยฝันเลยว่า การนั่งสมาธิจะมีประโยชน์มากอย่างนี้  เราเองได้บวชมานานก็ไม่เคยเกิดความรู้สึกอย่างนี้เลย  เมื่อก่อนเราไม่นึกว่าการทำสมาธิเป็นของจำเป็น  แต่บัดนี้เราได้เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงอันมีผลปรากฏที่ใจแล้ว!!"


ท่านพ่อลี ธัมมธโร

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ไว้อย่างน่าฟังว่า

"ท่านพ่อลีนี่เองเป็นผู้ที่สามารถเอาชนะใจสมเด็จฯ ได้  แต่ก่อนนั้นสมเด็จฯ เป็นคนบ้ายศ แล้วเที่ยวขนาบกรรมฐานไปทั่ว เที่ยวไล่พระกรรมฐานที่อยู่ในป่าในเขา ... หลวงปู่มั่นก็เคยถูกไล่"

ในงานเผาศพหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล สมเด็จฯ ได้พบกับหลวงปู่มั่น ท่านจึงเดินเข้าไปหาและพูดว่า

"เออ... ท่านมั่น... เราขอขมาโทษ เราเห็นโทษแล้ว ... แต่ก่อนเราก็บ้ายศ"!!

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์จึงนับเป็นผู้ที่มีปฏิปทาอันหาได้ยากยิ่งนัก เพราะสมัยปัจจุบันนี้หวังได้ยากว่าจะพบเจอพระสมเด็จฯ ที่อ่อนน้อมถ่อมตน ยอมลดตน ลดทิฐิมานะ เพื่อแสวงหาธรรมชั้นสูง ...



ที่มา : "ธรรมะทะลุโลกของท่านพ่อลี ธมฺมธโร" รวบรวมโดย พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร (www.dharma-gateway.com)
 
จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/202708/