ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 06, 2016, 05:38:29 am »

6 สูตรทำน้ำซุป กลมกล่อมทำเองได้เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า
-http://cooking.kapook.com/view155758.html-


เปิดเคล็ดลับเด็ดสูตรทำน้ำซุปสไตล์โฮมเมด เคี่ยวอร่อยง่าย ๆ ไม่ใส่ผงชูรส เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า

เมนูก๋วยเตี๋ยวนอกบ้านก็อร่อย แต่กลัวลูกน้อยแพ้ผงชูรสเลยอยากลงมือทำเอง เครื่องเคราเตรียมพร้อมแล้วเหลือแต่สูตรน้ำซุปนี่แหละที่หนักใจ ถ้าทำไม่อร่อยก็จบ ! กระปุกดอทคอมขอนำเสนอ 7 สูตรทำน้ำซุป มีทั้งน้ำซุปกระดูกหมูน้ำใส น้ำซุปกระดูกหมูน้ำข้นสีดำ น้ำซุปกระดูกหมูน้ำข้นสีขาว น้ำซุปโครงไก่ และน้ำซุปผัก เลือกวิธีทำน้ำซุปให้เหมาะกับก๋วยเตี๋ยวเลยจ้า

น้ำซุป

1. น้ำซุปกระดูกหมู (สูตรทำก๋วยเตี๋ยว)

เริ่มกันที่สูตรทำน้ำซุปกระดูกหมู จาก คุณ swin สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ส่วนผสมไม่เยอะ น้ำซุปหวานหอมอร่อยโดนใจ ทำเป็นน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวน้ำใสหรือน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวต้มยำก็ได้จ้า

ส่วนผสม น้ำซุปกระดูกหมู

• กระดูกหมู 1 กก.
• พริกไทย 1 ช้อนโต๊ะ
• รากผักชี
• กระเทียม

วิธีทำน้ำซุปกระดูกหมู

• 1. ลวกกระดูกหมูในน้ำเดือด 2 นาทีก่อน เพื่อล้างเลือด แล้วนำไปล้างน้ำอีกครั้งให้สะอาด
• 2. ใส่กระดูกหมูลงในหม้อความดัน ตามด้วยพริกไทย รากผักชี และกระเทียม ใช้เวลาต้ม 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือประมาณ 90 นาที

soup101

+ ดูวิธีทำเพิ่มเติมได้ที่ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ หมูแดง ขาหมู ชามเดียวอิ่มสะใจ
-http://cooking.kapook.com/view114421.html-

++++++++++++++++++++

น้ำซุป

2. น้ำซุปไก่

น้ำซุปไก่สูตรนี้ถอดมาจากการทำน้ำต้มไก่สำหรับทำข้าวมันไก่ ของ คุณมันแกวกะแห้วหมู สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม มีทีเด็ดตรงที่ว่า นอกจากน้ำซุปไก่จะอร่อยแล้ว แทนที่เราจะให้ความหวานจากเนื้อไก่ถูกปล่อยออกมาสู่น้ำซุป แต่จะเปลี่ยนเป็นทำให้รสชาติน้ำซุปซึมเข้าไปที่เนื้อไก่แทน ทำให้เนื้อไก่ที่เรานำลงไปต้มไม่จืดชืดด้วย อร่อยทั้งน้ำและเนื้อเลยล่ะ

ส่วนผสม น้ำซุปไก่

• ผักกาดขาว หรือผักหางหงส์สด 1 หัว (ต้องเลือกที่สด ๆ เพื่อให้หวาน)
• กระเทียม 3-4 หัว (ประมาณ 30 กลีบ)
• รากผักชี 5-6 ราก
• ขิงแก่หั่นเป็นแว่นบาง 5–6 แว่น
• ขิงทุบ เล็กน้อย
• พริกไทยขาวทุบหยาบ 20–30 เม็ด
• เกลือสมุทร 1-2 ช้อนโต๊ะ (ได้ดอกเกลือยิ่งดี เพื่อให้มีรสเค็มขึ้นมาบ้าง ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ)
• น้ำตาลกรวด 1/2 ช้อนโต๊ะ
• ซีอิ๊วขาว 2–3 ช้อนโต๊ะ
• น้ำมันพืช 1/2 ช้อนโต๊ะ
• ไก่ส่วนที่ชอบ

วิธีทำน้ำซุปไก่

• 1. ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงในหม้อยกเว้นไก่ (ควรใส่น้ำเผื่อไว้หน่อยกันน้ำแห้งเกินไป) นำขึ้นตั้งไฟแรง (ไม่ต้องปิดฝา) ต้มให้เดือดนานอย่างน้อย 30 นาที
• 2. พอครบเวลาใส่ไก่ลงไปจนหมด (ถ้าหม้อใบเล็กเกินจะเอาผักกาดขาวออกให้หมดก่อนก็ได้) พอใส่ไก่ชิ้นสุดท้ายลงไป ให้ลดไฟอ่อนลง จากนั้นต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเดือด หมั่นช้อนฟองอากาศทิ้ง

หมายเหตุ : ควรจับเวลาให้ดี ถ้าต้มนานไปไก่จะสุกเกินไม่อร่อย ถ้าไก่ดิบไปก็กินไม่ได้ (คือกระดูกมีเลือด เนื้อส่วนที่ติดกระดูกเหนียวเลาะไม่ออก) ปกติจะใช้เวลาในการต้มประมาณ 1 ชั่วโมงนับจากใส่ไก่ลงไป หมั่นตักฟองทิ้งไปบ้าง จากนั้นก็ปล่อยให้ไฟรุม ๆ ไปเรื่อย ๆ

+ ดูวิธีทำเพิ่มเติมได้ที่ ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
-http://cooking.kapook.com/view97623.html-

++++++++++++++++++++

น้ำซุป

3. น้ำซุปกระดูกหมูน้ำข้น (สีขาว)

ใครอยากทำน้ำซุปกระดูกหมูแบบสีขาวน้ำข้นก็ต้องสูตรจาก คุณ Mr Trin สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม สูตรน้ำซุปสีขาวหวานธรรมชาติจากหอมใหญ่ เพิ่มความหอมจากกระเทียม ทำเองคุ้มกว่าเยอะเลยค่ะ

ส่วนผสม น้ำซุปกระดูกหมูน้ำข้น

• กระดูกซุปหมู ประมาณ 1.6 กิโลกรัม
• น้ำ 3 ลิตร
• ต้นหอมญี่ปุ่น (หั่นเป็นท่อนสั้น) 2 ต้น
• กระเทียมสด (ทุบแล้วปอกเปลือก) 12 กลีบ
• หอมใหญ่ (ผ่า 4 ส่วน) 2 หัว
• เหล้ามิริน 2 ทัพพี
• เกลือ เล็กน้อย
• น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำน้ำซุปกระดูกหมูน้ำข้น

• 1. ใส่น้ำลงในหม้อกะพอท่วมกระดูกหมู จากนั้นนำขึ้นตั้งไฟ ต้มจนน้ำเดือด
• 2. ใส่กระดูกหมูลงต้ม นานประมาณ 5 นาที (ไม่ต้องคน) พอต้มครบ 5 นาที ให้เทน้ำทิ้ง จากนั้นตักกระดูกหมูออกมาล้างน้ำให้สะอาด 2 ครั้ง เตรียมไว้
• 3. เติมน้ำ 3 ลิตรลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟแรง ใส่กระดูกหมูล้างสะอาด ต้นหอมญี่ปุ่น กระเทียม และหอมใหญ่ลงไป ต้มไปเรื่อย ๆ หากน้ำในหม้อแห้งให้หมั่นเติมน้ำเป็นระยะ ๆ หมั่นช้อนฟองทิ้ง เคี่ยวจนผักและเนื้อเริ่มเปื่อยและน้ำซุปสีขาวข้นขึ้น
• 4. เติมเหล้ามิริน เกลือ และน้ำตาลทรายลงไป กรองน้ำซุปด้วยตะแกรง โดยใช้ทัพพีคนและกดไปเรื่อย ๆ ทำเสร็จพร้อมราดเส้นราเมน

+ ดูวิธีทำเพิ่มเติมได้ที่ ราเมนน้ำซุปกระดูกหมูแบบประหยัด อาหารญี่ปุ่นดูดี ใครก็ทำได้
-http://cooking.kapook.com/view96783.html-

++++++++++++++++++++

น้ำซุป

4. น้ำซุปโครงไก่ (ก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ)

ทำสูตรน้ำซุปกระดูกหมูมาหลายมื้อลองเปลี่ยนมาสูตรน้ำซุปโครงไก่ สูตรจาก เฟซบุ๊ก กินดี อยู่ดี By เนรัญชลา สูตรนี้น้ำซุปสีดำเหมาะสำหรับทำก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ เอาล่ะ... เตรียมไก่ตุ๋นกับเส้นรอเลยจ้า

ส่วนผสม น้ำซุปโครงไก่

• โครงไก่ 2 โครง
• น้ำเปล่า 8 ลิตร
• หอมใหญ่ปอกเปลือก 2 หัว
• รากผักชี 5 ราก
• น้ำกระเทียมดอง 1/2 ถ้วยตวง
• กระเทียมดอง 3 หัว
• เครื่องเทศสำหรับตุ๋น 1 ชุด
• น้ำตาลมะพร้าว 70 กรัม
• เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
• ซีอิ๊วขาว (สูตร 5) 12 ช้อนโต๊ะ
• ซอสปรุงรส (ตราแม็กกี้) 12 ช้อนโต๊ะ
• ซีอิ๊วดำ 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำน้ำซุปโครงไก่

• 1. เทน้ำเปล่าลงในหม้อใบใหญ่ นำขึ้นตั้งไฟแรง ใส่หอมใหญ่ รากผักชี น้ำกระเทียมดอง กระเทียมดอง เครื่องตุ๋น 1 ชุดลงไป ปรุงรสด้วยน้ำตาลมะพร้าว เกลือป่น ซอสปรุงรส ซีอิ๊วขาว และซีอิ๊วดำ ปิดฝา ต้มให้เดือด
• 2. พอเดือดแล้วจึงใส่โครงไก่ลงไป (หากจะให้ดีโครงไก่ควรถลกหนังและตัดตูดออก) แล้วลดเป็นไฟอ่อน ปิดฝาต้มจนน้ำซุปรสชาติกลมกล่อม

หมายเหตุ : หากมีน้ำมันไก่หรือฟองลอยบนน้ำซุปก็ให้ช้อนออกเท่าที่จะทำได้ น้ำซุปจะได้ใส และไม่มันเลี่ยน

+ ดูวิธีทำเพิ่มเติมได้ที่ ก๋วยเตี๋ยวไก่ตุ๋นมะระ รสเข้มข้น สูตรเด็ดสร้างอาชีพได้
-http://cooking.kapook.com/view116658.html-

++++++++++++++++++++

น้ำซุป

5. น้ำซุปผัก

ฝนตกออกจากบ้านไปจ่ายตลาดลำบากก็ลองจับผักเหลือ ๆ ในบ้านมาทำเป็นน้ำซุปผัก สูตรจาก คุณ iamrabbiy สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม น้ำซุปผักใส่ไช้เท้ากับแครอท ปรุงรสตามชอบ ขอบอกง่ายเว่อร์

ส่วนผสม น้ำซุปผัก

• น้ำเปล่า
• แครอทหั่นชิ้น
• ไช้เท้าหั่นชิ้น
• รากผักชี
• ซอสหอยนางรม (สูตรโซเดียมต่ำ)
• น้ำปลา (สูตรโซเดียมต่ำ)

วิธีทำน้ำซุปผัก

• ใส่น้ำเปล่าลงในหม้อตั้งไฟปานกลาง ใส่แครอท ไช้เท้า และรากผักชี ปรุงรสด้วยซอสหอยนางรมและน้ำปลา

+ ดูวิธีทำเพิ่มเติมได้ที่ อาหารคลีนแบบไทย 29 เมนู กินแล้วชีวิตดี๊ดี ไขมันต่ำอิ่มโปรตีนประโยชน์เต็ม
-http://cooking.kapook.com/view124911.html-

++++++++++++++++++++

น้ำซุป

6. น้ำซุปผัก (สูตรเจ)

น้ำซุปผักสูตรเจก็น่าสนใจไม่น้อยเลยนะคะ สูตรจาก คุณ a pinky pig สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม น้ำซุปอุดมไปด้วยผักนานาชนิด ปรุงรสด้วยเกลือ เหมาะกินกับเมนูก๋วยเตี๋ยวเจมากเลยจ้า

ส่วนผสม น้ำซุปผัก

• ไช้เท้า 2 หัว
• แครอท 1 หัว
• ข้าวโพดหวาน 1 ฝัก
• ฟักเขียว 1/2 หัว
• ผักกาดขาว 1 หัว
• กะหล่ำปลี 1 หัว
• เกลือป่น เล็กน้อย

วิธีทำน้ำซุปผัก

• 1. ล้างผักทั้งหมดให้สะอาด ปอกเปลือกออกและหั่นเป็นชิ้น เตรียมไว้
• 2. ใส่ไช้เท้า แครอท และข้าวโพดหวานลงต้มในหม้อ ปรุงรสด้วยเกลือป่นเล็กน้อย
• 3. พอน้ำซุปเดือด ใส่ฟักเขียวลงไป พอเดือด ใส่กะหล่ำปลีลงไป รอจนเดือดอีกครั้ง ใส่ผักกาดขาวลงไป พอเดือดลดเป็นไฟอ่อน ต้มต่อประมาณ 30 นาที

+ ดูวิธีทำเพิ่มเติมได้ที่ ก๋วยเตี๋ยวน้ำเจ เสิร์ฟเมนูเส้นร้อน ๆ ต้อนรับเทศกาลกินเจ
-http://cooking.kapook.com/view99248.html-


อื้อหือ ! มีสูตรน้ำซุปให้เลือกทำถึง 6 สูตรแบบนี้ รับรองสุขภาพดีแน่นอน ไม่ต้องใช้ซุปก้อนให้ระคายสุขภาพ ทุกสูตรเพื่อสุขภาพ เหมาะกับทุกคนทุกวัย โดยเฉพาะลูกรัก
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2016, 09:18:20 am »

“น้ำเต้า” พืชผักสารพัดประโยชน์
โดย MGR Online       
-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9590000066555-
22 กรกฎาคม 2559 15:57 น.

“น้ำเต้า” เป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มักจะเห็นวางขายกันอยู่ตามตลาดทั่วไป หลายคนอาจจะเห็นน้ำเต้าที่มีรูปทรงแตกต่างกัน นั่นก็เพราะน้ำเต้านั้นมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ สำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับน้ำเต้า “108 เคล็ดกิน” จะชวนมาแนะนำให้รู้จักกัน
       
       “น้ำเต้า” เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งตระกูลเดียวกับฟักและฟักทอง ผลมีรูปต่างๆ หลากหลายมาก ตั้งแต่กลมก้นแป้นตั้งได้ไปจนเป็นทรงรีหรือยาวมาก ตรงขั้วผลอาจมีคอคอดลงไปหรือไม่มีก็ได้ เมื่อผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่สีจะจางลง และอาจกลายเป็นสีขาวครีมเมื่อผลแห้ง
       
       คนไทยเราจัดว่าน้ำเต้าเป็นผักชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ต้มจิ้มน้ำพริก นำไปแกงจืด ทำแกงส้ม ผัดน้ำเต้า เป็นต้น

นอกจากมีประโยชน์ในการนำไปปรุงอาหารอร่อยๆ แล้ว น้ำเต้าก็ยังมีสรรพคุณทางยาอีกหลายประการ เช่น ใบสด นำไปโขลก คั้นเอาแต่น้ำ ทาแก้ฟกช้ำ แก้โรคผิวหนัง แก้ผิวหนังพุพอง ใบแห้ง นำไปปรุงเป็นยาเขียวดับพิษไข้ แก้ตัวร้อน กระหายน้ำ เนื้อหุ้มเมล็ด ใช้ทำให้อาเจียน เป็นยาระบาย เมล็ด เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้บวมน้ำ เป็นต้น
       
       ผลของน้ำเต้าเมื่อยังอ่อน ก็สามารถนำมาทำเมนูต่างๆ ได้หลากหลาย แต่พอแก่เต็มที่แล้วผลจะแห้งจนภายในผลกลวง สามารถนำไปทำเป็นภาชนะสำหรับบรรจุน้ำได้ โดยเป็นภาชนะใส่น้ำที่มนุษย์รู้จักใช้กันมานับหมื่นปีแล้ว
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: เมษายน 13, 2016, 10:32:42 am »

6 สูตรน้ำจิ้มซีฟู้ด รวมความแซ่บจัดจ้านที่ใคร ๆ ก็ทำกินได้
http://cooking.kapook.com/view127999.html

-http://cooking.kapook.com/view127999.html-






7 สูตรน้ำจิ้มแจ่ว รสจัดจ้านหลากสไตล์ เลือกให้โดนท้าให้ลอง
http://cooking.kapook.com/view130001.html

-http://cooking.kapook.com/view130001.html-




2 สูตรน้ำจิ้มลูกชิ้น รสแซ่บ เจอแบบนี้ซื้อลูกชิ้นมารอเลย
http://cooking.kapook.com/view110862.html

-http://cooking.kapook.com/view110862.html-
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2016, 01:54:24 pm »

องค์ประกอบ “น้ำมันรำข้าว” ใกล้เคียงน้ำมันที่ดีที่สุด
โดย MGR Online    
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000013168-
5 กุมภาพันธ์ 2559 19:24 น. (แก้ไขล่าสุด 5 กุมภาพันธ์ 2559 22:41 น.)


นักโภชนาการแนะใช้ “น้ำมัน” ทำกับข้าวให้เหมาะสม ชี้ “น้ำมันรำข้าว” ใกล้เคียงน้ำมันที่ดีที่สุด มีองค์ประกอบกรดไขมันอิ่มตัว ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน และ เชิงเดี่ยว อัตราเกือบเป็น 1 ต่อ 1 ต่อ 1
       
        ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวเรื่อง “น้ำมันดี น้ำมันเลว มีจริงไหม” ว่า องค์การอนามัยโลกกำหนดว่าในแต่ละวันประชาชนทั่วไปควรบริโภคไขมันทั้งหมด 15 - 30% ของพลังงานทั้งหมด โดยแยกเป็น 1. ไขมันอิ่มตัว หรือประเภทแช่เย็นแล้วเป็นไข ควรรับต่ำกว่า 10% ของพลังงานทั้งหมด ข้อไม่ดี คือ ทำให้ค่าแอลดีแอล หรือ คอเรสเตอรอล ที่ไม่ดีเพิ่มขึ้น แต่ข้อดี คือ ไม่หืน เมื่อนำไปใช้ในการทอดจะเปลี่ยนสภาพน้อย มีความกรอบมาก จึงเป็นน้ำมันที่เหมาะกับการทอด 2. ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง หรือไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน มีข้อดี ทำให้แอลดีแอลลดลง แต่ข้อเสียคือ หืนง่าย หากทำให้อุณหภูมิสูงจะเกิดควัน และอนุมูลอิสระ มีสารก่อมะเร็งและเซลล์เสื่อม จึงไม่เหมาะกับการทอด 3. โอเมก้า-6 หรือไขมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัว 2 ตำแหน่ง ควรได้รับ 5 - 8% ของพลังงานทั้งหมด  4. โอเมก้า-3 หรือที่มีไขมันไม่อิ่มตัว 3 ตำแหน่ง ควรได้รับ 1 - 2% ของพลังงานทั้งหมด และ 5. ไขมันทรานส์ ควรได้รับต่ำกว่า 1% ของพลังงานทั้งหมด หรือได้รับยิ่งต่ำยิ่งดี เพราะทำให้แอลดีแอลเพิ่ม และเอชดีแอลที่เป็นคอเรสเตอรอบที่ดีลดลง จึงแย่กว่าไขมันอิ่มตัว
       
       “น้ำมันที่ดีต้องมีส่วนประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว 1 ส่วน ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 1 ส่วน ไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 1 ส่วน ซึ่งจากข้อมูลพบว่า น้ำมันรำข้าวมีสัดส่วนที่ใกล้เคียง 1 ต่อ 1 ต่อ 1 มากที่สุด จึงมีความอเนกประสงค์ในการใช้ได้มากกว่าน้ำมันอื่น ส่วนน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมากจะเหมาะกับการทอด ส่วนถ้ามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากเหมาะกับการผัด การได้รับไขมันที่เหมาะสมต่อร่างกายไม่ควรน้อย หรือมากกกว่าเกณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นไขมันที่มาจากพืช หรือสัตว์ และควรใช้ปรุงอาหารให้เหมาะกับคุณสมบัติของน้ำมันแต่ละชนิด” ศ.ดร.วิสิฐ กล่าว
       
       ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการวิเคราะห์สัดส่วนของกรดไขมันในน้ำมันชนิดต่าง ๆ 16 ชนิดของสถาบันโภชนาการ พบว่า มีกรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน โดยประมาณ ดังนั้น

1. ดอกคำฝอย  10%, 12% ,78%

2. วอลนัท  12%, 18% , 70%

3. เมล็ดทานตะวัน  11%, 25%, 64%

4. ข้าวโพด  16%, 26%, 58%

5. ถั่วเหลือง 16%, 22%, 62%

6. เมล็ดฝ้าย 27%, 19%, 54%

7. รำข้าว 23%, 45%, 32%

8. งา 17%, 41%, 42%

9. ถั่วลิสง  20%, 51%, 29%

10. แคโนลา 8%, 64%, 28%

11.มะกอก 15%, 74%, 11%

12. ปาล์มโอเลอีน 48%, 40%, 12%

13. มะพร้าว 90%, 7%, 3%

14. น้ำมันหมู 44%, 46%, 10%

15. ไขมันไก่  44%, 48%, 16%

และ 16. ไขมันวัว 67%, 25% และ 8%

โดยน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมากจะเหมาะกับการทอดและน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากเหมาะกับการใช้ผัด
       
       “แหล่งไขมันส่วนหนึ่งมาจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม เนย เพราะฉะนั้น การได้รับไขมันต่อวันไม่เกิน 65 กรัมของพลังงานทังหมด จะต้องคำนึงถึงการได้ไขมันจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ใน 1 วัน จึงแบ่งเป็นไขมันจากเนื้อสัตว์ที่เป็นไขมันอิ่มตัวไปแล้ว 1 ส่วน ราว 6 - 9 ช้อนกินข้าว จึงมีการแนะนำให้ใช้น้ำมันจากพืชในการสร้างสมดุลได้อีก 5 - 7 ช้อนกินข้าว” ผศ.ดร.วันทนีย์ กล่าวและว่า สำหรับน้ำมันมะพร้าวที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเหมาะกับการใช้ทอด แต่กลับพบว่า มีการนำมารับประทานแบบเพียวเป็นอาหารเสริมนั้น แม้น้ำมันมะพร้าวจะมีไขมมันอิ่มตัวมาก แต่เป็นมีความแตกต่างจากน้ำมันอื่น ตรงที่ส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าวประมาณครึ่งหนึ่งมีความยาวโมเลกุลปานกลาง เมื่อร่างกายได้รับจะย่อยง่าย และดูดซึมได้ง่าย ทำให้มีการสะสมในร่างกายน้อยกว่าน้ำมันอื่นที่มีกรดไขมันอิ่มตัวเช่นเดียวกัน แต่หากกินน้ำมันมะพร้าวร่วมกับน้ำมันอื่นจนได้รับต่อวันเกินเกณฑ์ก็ไม่ดีต่อสุขภาพ ควรใช้ในการประกอบอาหาร ไม่ควรกินเป็นอาหารเสริม


ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2016, 08:37:19 pm »

10 อาหารต้านมะเร็ง ยิ่งทานยิ่งสตรอง!
-http://health.sanook.com/2601/-



ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นโรคมะเร็งใช่ไหมคะ แต่จะให้ซื้อยา หรืออาหารเสริมมาทานก็ไม่แน่ใจในเรื่องของประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง หรือแม้กระทั่งราคาที่แพงลิบลิ่ว Sanook! Health จึงขอแนะนำอาหารธรรมดาๆ หาได้ตามท้องตลาด แต่ต้านมะเร็งได้อยู่หมัดมาให้เลือกทานกันตามใจชอบเลยค่ะ



1. ผัก

ผักหลายชนิดที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น

- ผักสีเข้ม ไม่ว่าจะเป็นสีเขียว ส้ม แดง ม่วง เช่น ผักโขม แครอท มะเขือเทศ

- กะหล่ำต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี บล็อกโคลี กะหล่ำดอก

- หัวหอม และกระเทียม



2. ถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ที่นอกจากจะช่วยต้านมะเร็งแล้ว ยังดีต่อสุขภาพ เพราะอุดมไปด้วยโปรตีนที่ดี และกากใยอาหารตามธรรมชาติ ขับถ่ายได้สะดวกอีกด้วย



3. ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวบาเล่ย์ ข้าวโพด ข้าวสาลี ต้านมะเร็งก็ดี วิตามินบีก็ได้ ลดความดันโลหิตก็เยี่ยม



4. สาหร่ายทะเล เป็นแหล่งแร่ธาตุชั้นดี เต็มไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อร่างกายมากมาย มีให้เลือกทานหลายชนิด แต่ควรเลือกทานสลับชนิดกันไปเรื่อยๆ ไม่ควรทานสาหร่ายชนิดเดียวติดต่อกันนานเกินไป หรือใครอยากลองสาหร่ายพวงองุ่นก็ดีนะคะ เทรนด์กำลังมาเลยล่ะ (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ประโยชน์ของสาหร่ายพวงองุ่น ที่นี่)



5. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ทั้งสตอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ เชอร์รี่ ทั้งอร่อยสดชื่น และมีประโยชน์มากมาย ทั้งวิตามินต่างๆ และกากใยอาหาร ทานสดจะได้คุณค่าสูงสุดค่ะ



6. ปลาน้ำเย็น ส่วนใหญ่จะเป็นปลาทะเล เช่น แซลมอน ที่มีโอเมก้า 3 และไขมันที่ดีต่อร่างกาย ปลาคอท ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน



7. เครื่องเทศต่างๆ เช่น เก๋ากี้ (หรือโกจิเบอร์รี่) พริกไทย กระเทียม หัวหอม ขิง โรสแมรี่ สามารถนำมาทำอาหาร หรือทานสดได้ (หากทานได้) ช่วยต้านมะเร็ง และกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อีกด้วย



8. โยเกิร์ต ไม่ได้มีประโยชน์แค่เรื่องการขับถ่าย และช่วยควบคุมน้ำหนักได้เท่านั้น แต่ยังช่วยต้านมะเร็ง เพราะมีสารอนุมูลอิสระ ช่วยการหมุนเวียนของโลหิต และชะลอการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย หรือจะลองกรีกโยเกิร์ต ที่เข้มข้นกว่า สารอาหารมากกว่า และมีโปรไบโอติกส์ที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้ดีกว่าด้วย



9. เห็ดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเห็ดหอม เห็ดฟาง เห็ดออรินจิ และอื่นๆ ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด มีเส้นใยอาหารที่ช่วยเรื่องการย่อย และการขับถ่ายให้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิตามินต่างๆ ที่ดีต่อร่างกายอีกด้วย



10. น้ำดื่มธรรมดาๆ นี่แหละ น้ำดื่มสะอาด ช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้คล่องตัวขึ้น เป็นตัวกลางสำคัญที่จะทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการนำพาเอาของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้นอีกด้วย



เห็นไหมคะว่าอาหารแต่ละอย่างอยู่รอบตัวเราทั้งนั้น แค่ปลานึ่ง ผักต้ม น้ำพริก แกงจืด ยำเห็ด ตบด้วยน้ำผลไม้ปั่น ทุกอย่างรสชาติดี และมีประโยชน์ในราคาสบายกระเป๋า เพราะฉะนั้นเรามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีด้วยกันดีกว่าค่ะ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 09, 2016, 09:02:25 pm »

กะเพรา...ราชินีแห่งสมุนไพร / รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
โดย MGR Online    
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000002818-
9 มกราคม 2559 14:00 น.

ในภาษาฮินดี เรียกกะเพราว่า Tulsi มีความหมายว่า “ไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบได้” คนอินเดียเชื่อว่าใบกะเพราเป็นร่างหนึ่งของเทพเจ้า จึงปลูกกะเพราไว้กราบไหว้บูชา เก็บมาใช้เป็นยา และยกย่องให้กะเพราเป็นราชินีแห่งสมุนไพร (Queen of Herbs)
       
       กะเพรา เป็นทั้งอาหารและยาชั้นเลิศ ที่มีใช้ทางการแพทย์อายุรเวทมายาวนานกว่า 5000 ปี กะเพราแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ กะเพราขาว ที่เรานิยมใช้ทำอาหาร กิ่งก้านใบจะเป็นสีเขียว กลิ่นไม่ฉุนมาก และกะเพราแดง ซึ่งมีฤทธิ์ทางยาสูง กิ่งก้านใบจะเป็นสีแดงคล้ำออกม่วงๆ กลิ่นฉุนกว่ากะเพราขาว เพราะมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่า
       
       ประโยชน์ของกะเพราต่อร่างกายมีมากมาย โดยจำแนกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
       
       ด้านสมอง - อารมณ์ การแพทย์อายุรเวทโบราณมีการใช้กะเพรามายาวนานในด้านการปรับดุลจิตใจ คลายเครียด ทำให้สงบ ในการแพทย์แผนปัจจุบัน มีการศึกษาในหนูทดลอง พบว่า กะเพรามีฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับ และยังมีงานวิจัยในคนที่เป็นโรควิตกกังวล (Anixety) ให้ทานสารสกัดกะเพรา 500 มิลลิกรัม วันละ 2 เวลา หลังอาหารเช้าเย็น ติดต่อกันเป็นเวลา 60 วัน พบว่ากะเพราช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียด และอาการซึมเศร้าได้ จึงไม่แปลกเลยที่จะเห็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากกะเพรามากมายหลายยี่ห้อในต่างประเทศ ที่มีข้อบ่งใช้ทานเพื่อหวังผลลดความเครียด ปรับสมดุลธาตุในร่างกายและจิตใจ
       
       ด้านการมองเห็น มีการศึกษาพบว่า สารสกัดด้วยน้ำจากกะเพราแดง มีฤทธิ์ต้านการเกิดต้อกระจก ในหลอดทดลอง โดยทำให้กระบวนการต้านอนุมูลอิสระของร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น และป้องกันการขุ่นของแก้วตาในหนูทดลอง โดยพบว่าหนูที่ตาเสื่อมจากเบาหวาน หลังได้รับสารสกัดกะเพราแดง ร่วมกับวิตามินอี เป็นเวลา 16 สัปดาห์ พบว่าการบวมของจอประสาทตา ภาวะเลือดออกที่จอประสาทตา รวมถึงไขมันที่รั่วออกจากเส้นเลือดในจอประสาทตาได้หายไปหมด มีการฟื้นคืนกลับของจอประสาทตา และมีการมองเห็นที่ดีขึ้น
       
       อย่างไรก็ตาม ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อกระจกแล้ว ก็ควรได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลัก เพราะผลการศึกษานี้ยังเป็นเพียงข้อมูลในสัตว์ทดลอง แต่หากจะลองทานน้ำกะเพราะแดงควบคู่กันไปเพื่อชะลอความเสื่อมก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะในคนไข้เบาหวานที่ยังไม่เป็นโรคต้อกระจก เพื่อบำรุงสายตาเอาไว้แต่เนิ่นๆ หรือคนที่กำลังมองหาสมุนไพรเพื่อบำรุงสายตา ก็แนะนำให้รับประทานกระเพราแดงไว้เป็นประจำ เพราะในกะเพราแดงมีสารที่สำคัญต่อการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ลูทีน และซีแซนทีน นอกจากนี้ กะเพราแดงยังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดได้ด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกได้อีกทางหนึ่ง
       
       ด้านระบบเมตาบอลิซึม (น้ำตาลในเลือด / ไขมันในเลือด) ชาวอินเดียและชาวปากีสถาน มีการใช้กะเพราทั้งแบบต้มน้ำกิน และแบบผงเพื่อรักษาเบาหวาน หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน พบว่ามีการลดลงของน้ำตาล และไขมันในเลือด เมื่อได้รับสารสกัดกะเพรา ติดต่อกัน 4 เดือน อีกทั้งยังมีงานศึกษาวิจัยยืนยันในคน โดยทำการศึกษาในคนไข้เบาหวาน โดยทานใบกะเพรา 2.5 กรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน พบว่าสามารถลดระดับนำตาลได้ถึง 17.6% และลดโคเลสเตอรอลได้เฉลี่ย 6.5%
       
       ด้านระบบทางเดินหายใจ ใบกะเพรามีเอกลักษณ์ด้านกลิ่นและรส คือ กลิ่นฉุนรสออกเผ็ดร้อน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากในกะเพรา มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นน้ำมันหอมระเหย ที่สำคัญ คือ eugenol (62%) และ methyleugenol (86%) ซึ่งส่งผลดีต่อระบบทางเดินหายใจ ตำรายาไทยระบุว่ากะเพราช่วยขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ไข้ และมีการศึกษาในคนไข้หอบหืดยืนยันว่า กะเพราทำให้ปอดมีการทำงานดีขึ้น การหายใจสะดวกขึ้น และยังมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้อีกด้วย
       
       ด้านระบบทางเดินอาหาร ในตำรายาไทย ใช้ใบและยอดกระเพราเป็นยาบำรุงธาตุ ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้อาการจุกเสียดในท้อง ทำให้เรอ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นไส้อาเจียน คนไทยสมัยก่อนนิยมกินแกงเลียงใส่ใบกะเพราหลังคลอดบุตร เพื่อขับลมและบำรุงธาตุให้เป็นปกติ สำหรับงานวิจัยในปัจจุบันพบว่า กะเพรามีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลกระเพาะอาหาร ลดการหลั่งกรด และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
       
       สรรพคุณอื่นๆ คนไทยโบราณและตำรับยาพื้นบ้านของอินเดียใช้น้ำคั้นใบกระเพราทาผิวหนังแก้กลากเกลื้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ ใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู ในชวาใช้ใบปรุงอาหาร รับประทานเพื่อขับน้ำนม และมีการศึกษาเบื้องต้นในหนูทดลองพบว่ากะเพรามีฤทธิ์แก้ปวดลดอักเสบได้
       
       ขนาดและวิธีการใช้เป็นยา สำหรับการนำกะเพรามาใช้ ทำได้ง่ายๆ เพียงใช้ใบ ยอด ต้นสด หรือแห้งของกะเพราแดงมาต้ม หรือปั่นดื่ม วันละ 1-3 แก้วเป็นประจำ
       
       ข้อควรระวัง ควรระวังการใช้กะเพราในขนาดสูงในหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที่ชัดเจน แต่ยังสามารถทานเป็นอาหารได้ตามปกติ หรือในผู้ป่วยเบาหวานรายที่มีการคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีอยู่แล้ว ก็ต้องระวังการใช้กะเพราขนาดสูง ควรมีการปรับขนาดการทานตามความเหมาะสม ที่จะไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป โดยอาการน้ำตาลตกสังเกตได้จากอาการรู้สึกหิว กระวนกระวาย กระสับกระส่าย ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว มือสั่น คลื่นไส้ อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศีรษะ เหงื่อออก ตัวเย็น หน้าซีด เป็นลมและอาจชัก หรือหมดสติได้
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2015, 11:22:38 am »

“กีวี่” อร่อยดี มีคุณค่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9580000088447-

“กีวี่” เป็นผลไม้ลูกเล็กๆ ที่อุดมไปด้วยคุณค่า หลายคนอาจจะคิดว่ากีวี่มีต้นกำเนิดในประเทศทางยุโรป หรือที่นิวซีแลนด์ แต่รู้หรือไม่ว่าที่จริงแล้ว “กีวี่” มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน นี่เอง
       
       กำเนิดของกีวี่แม้จะอยู่ในประเทศจีน แต่ต่อมาได้แพร่หลายออกมานอกประเทศ จนกระทั่งมีผู้นำไปปลูกที่ประเทศนิวซีแลนด์ แล้วมีการปรับปรุงพันธุ์จนได้กีวี่ที่มีรสชาติดี สามารถปลูกเพื่อเป็นสินค้าส่งออกที่มีชื่อเสียงของประเทศได้ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นกีวี่มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Chinese Gooseberry” แต่เมื่อมารุ่งเรืองที่นิวซีแลนด์ จึงมีการเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “Kiwi” ตามชื่อของนกกีวี่ที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศนิวซีแลนด์
       
       รูปร่างหน้าตาของลูกกีวี่นั้น จะเป็นผลรีๆ รูปไข่ มีขนเล็กๆ ปกคลุมทั่วผล เนื้อด้านในเป็นสีออกเขียว หรือออกเหลือง แล้วแต่สายพันธุ์ รสชาติเปรี้ยวอมหวาน ชุ่มน้ำ สามารถเก็บไว้ได้นานถึงสองอาทิตย์หากเก็บไว้อย่างเหมาะสม
       
       สำหรับคุณค่าที่ได้จากการกินกีวี่นั้น อย่างแรกเลยคือ กีวี่เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมาก เพื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่น ส้ม มะละกอ ฯลฯ ซึ่งวิตามินซีนั้นจะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรค และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย รวมถึงกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ด้วย
       
       นอกจากนี้ กีวี่ยังมีวิตามินอีที่ช่วยชะลอความชรา ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยในการไหลเวียนโลหิตในร่างกายด้วย ที่สำคัญ ยังมีไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารจากธรรมชาติ ช่วยในเรื่องระบบการขับถ่ายและการย่อย
       
       ผลไม้ลูกเล็กๆ แค่นี้ แต่ต้องเรียกว่าเล็กพริกขี้หนู เพราะกินแล้วได้ประโยชน์มากมายจริงๆ




ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 14, 2015, 01:32:12 pm »

มาพิชิต...อ้วนกันเถอะ

-http://health.sanook.com/457/-


ในภาวะเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โรคที่พบส่วนใหญ่เกิดจากมลภาวะ ความเครียด และการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพตามมา โรคอ้วนก็เป็นโรคหนึ่งที่พบได้มากขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป

โรคอ้วน หมายถึง การที่บุคคลมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปกติ โดยมีดัชนีมวลกาย (BMI : Body mass index) เป็นตัวกำหนด ซึ่งค่า BMI ที่เหมาะสมของคนเอเชียมีเกณฑ์ดังนี้ ค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5 – 22.9 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่าเหมาะสม แต่ถ้าค่า BMI น้อยกว่า 18.5 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่าผอมเกินไป ค่า BMI อยู่ระหว่าง 23 – 24.9 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่ามีน้ำหนักตัวเกิน และถ้าค่า BMI มากกว่า 25 กิโลกรัม/เมตร2 แสดงว่า เป็นโรคอ้วน ค่าดัชนีมวลกายมีวิธีคำนวณดังนี้

ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
ความสูง2 (เมตร)

เช่น ผู้ที่มีน้ำหนัก 55 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตรหรือ 1.60 เมตร
มีค่าดัชนีมวลกาย = 55 = 21.5 กิโลกรัม/เมตร2
1.6 x 1.6

ซึ่งจัดว่าค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เป็นต้น

ความอ้วนทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ดังนี้

1. เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ง่าย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคนิ่วในถุงน้ำดี ปอดทำงานไม่ดี เป็นต้น
2. ความอ้วนมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งในอวัยวะบางตำแหน่งของร่างกาย เช่น ลำไส้ใหญ่ ถุงน้ำดี ต่อมลูกหมาก เต้านม ปากมดลูก รังไข่ และปอดในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ เป็นต้น
3. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งจะทำให้ออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน เป็นต้น
4. การรักษาโรคใดก็ตามด้วยการผ่าตัดมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายกว่า
5. ทำให้ข้อต่างๆของร่างกายต้องแบกรับน้ำหนักมาก มีผลทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้
6. รูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้เกิดปัญหาทางสังคมและจิตใจ
7. การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ไม่สะดวก ขาดความกระฉับกระเฉงว่องไวในการทำกิจกรรม

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วน ได้แก่

1. พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร : การรู้จักเลือกประเภทอาหารในการรับประทานเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการควบคุมน้ำหนัก เช่น ไขมันเป็นอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุด โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี อาหารที่มีไขมันสูง เช่น ขาหมู ข้าวมันไก่ เป็ดย่าง เนื้อผัดน้ำมันหอย เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ไข่แดง นม เนย อาหาร จำพวกทอดต่างๆ กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้ถ้ารับประทานในปริมาณมากก็จะทำให้ได้พลังงานเกินและเก็บสะสมไว้ในร่างกายส่งผลทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น นอกจากนี้พฤติกรรมการ รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รับประทานจุบจิบ รับประทานขนมขบเคี้ยวก็มีผลต่อน้ำหนักของร่างกายเช่นเดียวกัน

2. กิจวัตรประจำวัน : ปัจจุบันคนในสังคมเมืองทำงานในสำนักงานมากกว่างานที่ใช้แรง ทำให้การใช้พลังงานในชีวิตประจำวันลดน้อยลงรวมทั้งขาดการออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายถือว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นกิจกรรมที่ใช้พลังงานสูงและแต่ละคนจะใช้พลังงานส่วนนี้แตกต่างกัน

3. พันธุกรรม: การสะสมพลังงาน เด็กที่มีพ่อแม่อ้วนมีแนวโน้มว่าจะอ้วน 25 – 30 %

4. เพศ : เพศหญิงจะอ้วนง่ายกว่าเพศชาย เนื่องจากเพศชายมีกล้ามเนื้อมากจึงมีการใช้พลังงานมากกว่า

5. อายุ : เมื่ออายุมากขึ้นปริมาณกล้ามเนื้อจะน้อยลงและการทำกิจกรรมต่างๆลดลงทำให้การใช้พลังงานน้อยลง พลังงานจึงถูกเก็บสะสมในรูปของไขมัน

6. ความอ้วนในวัยเด็ก : ปกติร่างกายของทุกคนประกอบด้วยเซลล์ไขมันประมาณ 30,000 - 40,000 ล้านเซลล์ เซลล์เหล่านี้จะทำหน้าที่เก็บไขมันส่วนเกินไว้ในตัวมันเองโดยไม่จำกัดขนาดของเซลล์ ดังนั้นเด็กที่ได้รับอาหารมากกว่าปกติตั้งแต่ในวัยเด็กจะมีปริมาณและขนาดเซลล์ไขมันมากกว่าเด็กปกติ 3 เท่า ซึ่งจะทำให้เด็กคนนั้นมีโอกาสอ้วนไปตลอดชีวิต

7. โรคอื่นๆ : มีโรคบางอย่างที่ทำให้อ้วนได้ เช่น โรคของการเผาผลาญ อาหารบางอย่าง หรือโรคของฮอร์โมนบางชนิด เป็นต้น

วิธีลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนัก มีดังนี้

1. จงลดความอ้วนด้วยความต้องการของตนเอง ไม่ใช่ลดเพราะผู้อื่นบังคับ
2. เลือกเวลาที่เหมาะสม มีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
3. ตั้งเป้าหมายในการลดความอ้วนที่มีความเป็นไปได้ ไม่ตั้งเป้าสูงเกินไป โดยผู้หญิงควรตั้งเป้าไว้ ½ กก.ต่อสัปดาห์ ส่วนผู้ชาย 1 กก.ต่อสัปดาห์ และควรให้น้ำหนักค่อยๆลดลงเพราะถ้าน้ำหนักลดลงเร็วเกินไปจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย
4. รับประทานอาหารทุกมื้อตามปกติแต่ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง เช่น อาหารประเภทข้าว แป้ง ขนมปังควรรับประทานแต่พอควร ซึ่งโดยทั่วไปผู้หญิงที่ทำงานในสำนักงานไม่ควรรับประทานข้าวเกิน 7-8 ทัพพี/วัน สำหรับผู้ชายไม่ควรเกิน 10-12 ทัพพี/วัน และควรรับประทานผัก ผลไม้ เช่น ส้ม ชมพู่ มะละกอ แตงโม ฝรั่งให้มากขึ้นเพราะให้พลังงานต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมันหรือติดหนัง อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ กะทิ เป็นต้น
5. งดดื่มน้ำอัดลม น้ำหวานและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ และงดรับประทานอาหารหวาน ขนมหวาน และผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย เป็นต้น
6. ปรับเปลี่ยนนิสัยในการรับประทานอาหาร เช่น ไม่รับประทานจุบจิบ ไม่รับประทานขนมขบเคี้ยว และควรเคี้ยวอาหารช้าๆ เป็นต้น
7. หมั่นออกกำลังกาย เช่น การเดิน วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ อย่างน้อยครั้งละ 30 – 45 นาที สัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้งหรือวันเว้นวัน หรือเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันเพื่อให้ร่างกายใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น เช่น ขึ้นลงโดยใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ เป็นต้น

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

1. การอดอาหาร : จะทำให้น้ำหนักตัวในช่วงแรกลดลงเร็วจากการขาดน้ำ แต่ปริมาณไขมันในร่างกายไม่ได้ลดลง ในทางตรงข้ามหลังอดอาหารเมื่อกลับมารับประทานอาหารใหม่มีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

2. รับประทานยาลดความอ้วน : เนื่องจากเป็นยาที่ลดความอยากอาหารหรือเพิ่มการใช้พลังงานโดยการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ขาดน้ำการดูดซึมอาหารลดลง นอกจากนี้ร่างกายมักมีอาการทนต่อยาและต้องใช้ยาในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลในการลดน้ำหนักซึ่งอาจมีโทษต่อร่างกายตามมา ดังนั้นจึงไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณาเกี่ยวกับยาลดความอ้วนต่างๆ สำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วนแล้วควรปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการคือ

1. ลดน้ำหนักให้ได้พอควร

2. รักษาน้ำหนักตัวที่ลดลงแล้วให้ได้ตลอด

3. ร่วมกับโรคอ้วน

การลดน้ำหนักเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับความตั้งใจจริงจะเป็นหัวใจสำคัญในการลดน้ำหนักให้ได้ผล อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักตัวไว้ได้โดยวิธีการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย รวมทั้งมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นควรไปปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาในการดูแลรักษาต่อไป


เอกสารอ้างอิง

พินิจ กุลละวณิชย์.(2544).โรคอ้วน.วงการแพทย์,ปีที่ 2 (ฉบับที่ 80), หน้า 22.

วิชัย ตันไพจิตร ปรียา ลีฬหกุล รัตนา พากเพียรกิจวัฒนา. (2544).การตรวจคัดกรองโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในผู้ใหญ่. วารสารคลินิก,ปีที่ 17 (ฉบับที่ 4),หน้า 295 – 304.

วิชัย ตันไพจิตร ปรียา ลีฬหกุล รัตนา พากเพียรกิจวัฒนา. (2544).การให้คำปรึกษาเพื่อป้องกันและบำบัดโรคอ้วน.วารสารคลินิก,ปีที่ 17(ฉบับที่ 4),หน้า 305 – 317.

วันทนีย์ เกรียงสินยศ.(2548).กินอย่างไรไม่ให้อ้วน. ใน สุรเกียรติ อาชานานุภาพ(บรรณาธิการ),นิตยสารหมอชาวบ้าน(ฉบับที่ 318,หน้า 30 – 32 ).กรุงเทพ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.อาหารทั่วไปและเฉพาะโรคผู้สูงอายุ.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ,(2544).ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป.(พิมพ์ครั้งที่ 2 ).กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.


งานการพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผู้เรียบเรียง รุ่งฤดี จิณณวาโส และ ภัทราพร พูลสวัสดิ์

จัดทำโดยหน่วยแนะแนวและปรึกษาปัญหาสุขภาพ โทร. 0-2201-2520-1

ขอบคุณข้อมูล จาก http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/main/?q=node/79

เนื้อหาโดย : Sanook!


ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 14, 2015, 10:01:54 am »

5 วิธีล้างผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ นาทีที่ 8.45

-http://ch3.sanook.com/52111/5-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%88-

วิธีที่ 1

ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำอุ่น 20 ลิตร แช่ไว้นาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด จะช่วยลดปริมาณสารตกค้างได้ 80-95%

วิธีที่ 2

เด็ดผักเป็นใบ ล้างผ่านน้ำสะอาดไหลผ่านหลาย ๆ ครั้ง ช่วยลดปริมาณสารตกค้างได้ 54-63%

วิธีที่ 3

ใช้ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ช่วยลดปริมาณสารตกค้างได้ 35-43%

วิธีที่ 4

ใช้น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารตกค้างได้ 29-38%

วิธีที่ 5

ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารตกค้างได้ 27-38%



http://ch3.sanook.com/52111/5-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%88

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2015, 01:49:43 am »

ลดน้ำหนักด้วยกล้วย เรื่องกล้วยๆ ที่ไม่เคยทำ
02 พ.ค. 57 11.57 น.

-http://guru.sanook.com/27085/-

เชื่อหรือไม่ว่า การรับประทานกล้วย สามารถช่วย “ลดน้ำหนัก"  ได้...!?”

กล้วย... ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน ต่างก็มีสารอาหารและวิตามินอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิ้ลแล้ว กล้วยจะมีโปรตีนมากกว่าถึง 4 เท่า มีคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 2 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่า 3 เท่า มีวิตามินเอและแร่ธาตุเหล็กมากกว่า 5 เท่า และมีวิตามินรวมทั้งแร่ธาตุอื่นๆ มากกว่า 2 เท่า พร้อมอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงประสาท ทั้งยังช่วยควบคุมความดันโลหิตอีกด้วย

กล้วย ยังสามารถช่วยทำให้ท้องอิ่ม เพราะกล้วยหอม 100 กรัม สามารถให้พลังงานมากถึง 120 กิโลแคลอลี่ ต่อหน่วย ซึ่งจากผลวิจัยพบว่า การทานกล้วยเพียง 2 ใบ สามารถให้พลังงานเพียงพอสำหรับการทำงานหนักนานถึง 90 นาที ด้วยเหตุนี้นักกีฬา โดยเฉพาะกีฬาเทนนิส จึงนิยมรับประทานกล้วยในขณะที่ทำการแข่งขัน คุณประโยชน์ของกล้วยมีมากมายถึงขนาดนี้ ถึงแม้จะกินกล้วย แต่รับรองว่าจะไม่ขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแน่นอน...

ในกล้วยหนึ่งใบมีประโยชน์อย่างไรบ้าง?

เมื่อรับประทานกล้วยหนึ่งใบ ร่างกายจะได้รับสารอาหารดังต่อไปนี้


1. วิตามินบี 1 และบี 2 ซึ่งจะช่วยเร่งการเผาผลาญน้ำตาลและไขมัน ป้องกันอาการตัวบวม และฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้า

2. เกลือแร่ อาทิเช่น โปรเตสเซียม ที่ช่วยในการขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ แมกนีเซียม ซึ่งช่วยควบคุมความดันเลือด และการทำงานของแคลเซียม

3. เส้นใยอาหาร ซึ่งช่วยในการบรรเทาอาการท้องผูก

4. ช่วยทำดีท็อกซ์ แป้งในกล้วยดิบมีฤทธิ์ในการขับสารพิษออกจากร่างกาย ส่วนในกล้วยสุกจะช่วยเพิ่มความต้านทานของร่างกาย และป้องกันหวัดได้เป็นอย่างดี

5. สารโพลีฟินิล มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่

6. สารยูจินอล ช่วยเร่งการพัฒนาสภาพร่างกาย

7. เซโรโทนิน ช่วยลดความหงุดหงิด และทำให้ความอยากอาหารลดลง

8. มีเอ็นไซต์ช่วยในการย่อย ทำให้การย่อย การดูดซึมอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระเพาะและลำไส้จึงไม่ต้องทำงานหนัก

9. น้ำตาลในกล้วย เช่น กลูโคส ฟลุกโตส ซูโคส ช่วยเพิ่มสมาธิในการทำงาน พร้อมกับช่วยลดความต้องการในการบริโภคน้ำตาลในแต่ละวันลดลง

10. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเซลล์ NK ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการจัดการกับมะเร็ง

สำหรับสายพันธุ์ของกล้วยที่แนะนำให้รับประทานเพื่อลดน้ำหนักนั้น ควรเป็นกล้วยหอม เพราะมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่น้อย เมื่อเทียบกับกล้วยในสายพันธุ์อื่นๆ แต่ก็สามารถใช้กล้วยประเภทอื่นๆมาทดแทนได้ ไม่ว่าจะเป็นกล้วยน้ำว้า หรือกล้วยไข่ เป็นต้น ซึ่งในวันนี้จะขอแนะนำสูตรการลดน้ำหนักด้วยกล้วยหอมในมื้อเช้า ซึ่งเป็นสูตรที่ง่าย อร่อย และราคาไม่แพง มาฝากคุณสาวๆ กัน....
 

สูตรการลดน้ำหนักด้วยการทานกล้วยแทนมื้อเช้า

ใครจะเชื่อว่ากล้วยหอมเพียง 2 ใบ สามารถช่วยลดหุ่นให้ดูผอมเพรียวลงได้…!?

สำหรับสูตรลดน้ำหนักที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญถึงนี้ เป็นวิธีการที่สามารถทำได้อย่างง่ายๆด้วยตัวคุณสาวๆเอง โดยเพียงแค่การรับประทานทานกล้วยหอม 1-2 ใบ พร้อมกับน้ำเปล่าในอุณหภูมิห้องในตอนเช้า ส่วนในมื้อกลางวันและเย็นสามารถทานอาหารได้ตามปกติ แต่อาจเพิ่มอาหารว่างในตอนบ่ายสาม

 

ข้อมูลจาก : -http://www.kondoodee.com/-