ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 06, 2016, 02:49:59 pm »



The Man Who Knew Infinity : 'รามานุจัน' อัจฉริยะคนนี้ก็เป็นคนธรรมดา

Director: Matthew Brown
Region: United Kingdom
Genre: Biography / Drama

ตามประสาเด็กเกลียดคณิตศาสตร์แต่ดันเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต เราเลยมีช่วงเวลาหฤโหดตอนนั่งคำนวณสูตรที่เต็มไปด้วยเครื่องหมายแปลกๆ ในห้องสอบอยู่มหาศาลแถมยังพาลเกลียดใครก็ตามที่คิดสูตรเหล่านี้ออกมาเมื่อพันปีก่อนให้เราต้องปวดสมองไปด้วยพอเห็นว่ามีหนังที่เล่าชีวประวัติของศรีนิวาสะ ไอเยนการ์ รามานุจัน (Srinivasa Iyengar Ramanujan) นักคณิตศาสตร์อัจฉริยะชาวอินเดียผู้เป็นเจ้าของทฤษฎีจำนวนหลายร้อยบท เราเลยลังเลใจนิดหน่อยว่าจะโดนตัวเลขทำร้ายไหมนะ แต่สุดท้ายเราก็โดนคำโฆษณาที่หนังบอกว่า รามานุจันคือ ‘ชายผู้ไม่เคยเป็นที่รักของใคร’ ดึงดูดให้เข้าโรงหนังไปจนได้



The Man Who Knew Infinity คือหนังชีวประวัติตามขนบที่เล่าชีวิตรามานุจัน (รับบทโดย เดฟ พาเทล จากเรื่อง Slumdog Millionaire) ตามไทม์ไลน์ เมื่อเสมียนหนุ่มไม่มีปริญญาแต่รู้ว่าตัวเองมีพรสวรรค์เรื่องตัวเลขมาตั้งแต่เด็กลองส่งจดหมายแนะนำตัวไปถึงนักคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และมีเพียงศาสตราจารย์จี.เอช. ฮาร์ดี้ (รับบทโดย เจเรมี ไอรอนส์) เท่านั้นที่มองเห็นศักยภาพในตัวเขาและเชิญให้มาร่วมทำงานด้วย แต่ถึงอย่างนั้น รามานุจันก็ยังต้องผ่านบททดสอบจากอคติที่คนอังกฤษมีต่อคนอินเดีย แถมศาสตร์ตัวเลขนี้ก็ยากและสูงส่งเกินกว่านักคณิตศาสตร์ตัวท็อปของมหาวิทยาลัยจะยอมให้รามานุจันมีตัวตน



ความเนิบนาบในช่วงต้นของเรื่องเล่นงานเราไม่น้อย แต่ภาพสวยๆ ในหนังโดยเฉพาะฉากในอินเดียก็บอกเราได้ว่าผู้กำกับและทีมสร้างเนี้ยบพอสมควร บวกกับเสน่ห์ของเดฟ พาเทลที่คุมการแสดงทั้งในซีนที่เขาคำนวณตัวเลขในสมองและเขียนออกมาอย่างไหลลื่น หรือตอนที่พ่ายแพ้เกือบหมดรูปกับวัณโรคจนเราสะเทือนใจ หนังอาจไม่มีไคลแมกซ์สำคัญ แต่ความสัมพันธ์ของรามานุจัน กับศาสตราจารย์ฮาร์ดี้ ที่ร่วมมือกันพิสูจน์ทฤษฎีตัวเลขสุดท้าทายก็ตรึงให้เราอยู่กับเรื่องได้จนจบ

เอาเข้าจริง หนังไม่ได้โฟกัสไปที่ความอัจฉริยะของรามานุจัน หรือประเด็นเรื่องชนชั้นวรรณะที่เขาถูกกดดันมากเท่ากับการแสดงให้เห็นมิตรภาพและความช่วยเหลือจากใจจริงขอศาสตราจารย์ฮาร์ดี้ ที่พยายามดึงรามานุจันกลับมาสู่โลกความจริงที่ทุกสิ่งต้องพิสูจน์ได้ ไม่เว้นแม้แต่ทฤษฎีคณิตศาสตร์ที่รามานุจันอ้างว่าเขาได้รับมาจากพระแม่อุมาเทวีก็ตาม



นอกเหนือจากฉากที่ทั้งสองคนฟาดฟันด้วยถ้อยคำและความรู้เรื่องตัวเลขแบบไม่มีใครยอมใคร เรายังชอบฉากท้ายๆ ที่ศาสตราจารย์ฮาร์ดี้พูดถึงสิ่งที่เขามองเห็นในตัวรามานุจันตลอดช่วงเวลาที่ทำงานร่วมกันให้ศาสตราจารย์หัวดื้อคนอื่นฟัง จนในที่สุดรามานุจันก็เป็นชาวอินเดียคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน หนังนำเสนอให้เห็นความเชื่อใจของคนต่างที่มาสองวัยคู่นี้ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เราประทับใจตัวหนังไม่น้อย

The Man Who Knew Infinity อาจไม่ตอบโจทย์กลุ่มคนดูสายแข็งที่อยากทึ่งไปกับพรสวรรค์ของรามานุจัน แต่เป็นข้อดีสำหรับเด็กเกลียดเลขอย่างเราที่หนังเลือกเล่าประเด็นเล็กๆ ให้เห็นว่ารามานุจันเป็นคนธรรมดาที่มีทั้งความเก่งกาจ อ่อนน้อม แต่ก็ดื้อรั้น หนังให้ภาพอัจฉริยะของโลกที่เราเชื่อได้ว่าเขาเป็นมนุษย์โดยที่ไม่ต้องมีทฤษฎีใดมาพิสูจน์เลย



ป.ล. ไปดูได้ทุกคนไม่จำเป็นต้องได้เกรด 4 วิชาเลขตอน ม.ปลาย ถึงจะมีศัพท์เทคนิคบ้างก็ปล่อยผ่านได้ และอยากชวนให้ทุกคนไปค้นหาความหมายบางอย่างของเลข 1729 ในเรื่องนี้กันด้วยนะ

<a href="https://www.youtube.com/v/HB_Cn4iVHUM" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/HB_Cn4iVHUM</a>

จาก http://www.adaymagazine.com/recommends/movie-6