ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 08, 2016, 03:26:01 am »







สิบคำถาม “ไข” พุกามประเทศ

บรรยากาศอย่างที่เซอร์เจมส์ สก็อต อุทานไว้ว่า ...

“ที่พุกาม คุณไม่สามารถขยับมือหรือเท้าไปทางไหน โดยไม่สัมผัสเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์องค์ใดองค์หนึ่ง” นั้น ยังมีอยู่จริง


1.มีหลักฐานไหมว่า อาณาจักรพุกามมีเจดีย์ทั้งสิ้นกี่องค์กันแน่ เพราะบ้างว่าเป็นแดนเจดีย์สี่พันองค์ บ้างว่าห้าพันองค์ บ้างว่าถึงหมื่นองค์ก็มี?

ศูนย์กลางของอาณาจักรพุกาม ซึ่งปัจจุบันคือเมืองโบราณพุกาม ณ ลุ่มน้ำอิระวดีตอนบนของพม่า มีพื้นที่อย่างเป็นทางการคือ 42 ตารางกิโลเมตร ในหนังสือแบบเรียนชั้นประถมปีที่ 3 ของพม่า ระบุว่า พุกามในยุครุ่งเรืองมีบ้านเรือนถึง 999,999,999 หลังคาเรือน มีเจดีย์ทั้งสิ้น 4,446,733 องค์ (จากบทความ “พุกามในความนึกคิดของชาวพม่า” โดย ผศ.วิรัช นิยมธรรม ศูนย์พม่าศึกษา ม.นเรศวร) ในขณะที่นักโบราณคดีประมาณว่าพุกามน่าจะมีเจดีย์ราว 5,000 องค์ ถูกทำลายเพื่อนำอิฐไปสร้างกำแพงป้องกันกองทัพมองโกลของกุบไลข่านบุกโจมตี ก่อนอาณาจักรล่มสลาย กับอีกส่วนหนึ่งพังทลายด้วยเหตุแม่น้ำอิระวดีไหลเปลี่ยนทิศตามธรรมชาติ กระนั้น ปัจจุบันก็ยังเหลืออยู่ถึง 2,217 องค์

2.เหตุใด จึงมีเจดีย์อยู่มากมายที่พุกาม และทำไมจึงมีมากกว่าเมืองอื่นๆ

ชาวเมียน ม่าน หรือพม่านั้น ในทางชาติพันธุ์วิทยา จัดอยู่ในกลุ่มย่อยของชาติพันธุ์ทิเบต เรียกว่า Tibetan – Burma ผู้ย้ายถิ่นจากดินแดนหิมาลัยสู่ลุ่มน้ำอิระวดีตอนบน จนสามารถสถาปนา “พุกาม” เป็นอาณาจักรแรกได้ในสมัยพระเจ้าอโนรธา เมื่อ 962 ปีก่อน (พ.ศ.1587) จากนั้นในปี 1600 กรีฑาทัพไปตีสุธรรมวดี (สะเทิม) ศูนย์กลางของอาณาจักรมอญแตกราบคาบ พร้อมอัญเชิญคัมภีร์พระไตรปิฎกจากเมืองมอญมาเป็นสัญลักษณ์ประกาศสถาปนาศาสนาพุทธนิกาย “เถรวาท” เป็นศาสนาหลัก แต่มิได้หมายความว่า ชาวพม่าเพิ่งได้พานพบพระพุทธ ศาสนา ด้วยมีหลักฐานว่าศาสนาพุทธนิกาย “วัชรยาน” หรือพุทธแบบทิเบต เคยเฟื่องฟูมาก่อน แต่ต่อมาเสื่อมโทรมลง ชาวพม่าจึงหันไปเลื่อมใสศรัทธาในนิกายเถรวาท ซึ่งนักบวชมีศีลาจารวัตรน่านับถือกว่า

ประกอบกับมีความเชื่อว่า การสร้างเจดีย์คือการสร้างรูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า อันจะเป็นเกียรติยศสำหรับผู้สร้าง ในยุครุ่งเรืองของพุกามจึงมีการสร้างเจดีย์ไว้มากมายโดยทุกชั้นชน นับแต่พระราชา เรื่อยลงมาจนถึงชาวนาชาวไร่ หลักฐานชี้ชัดในคติความเชื่อนี้ คือจารึกที่เจดีย์ชเวกูจีของพระเจ้าอลองซีตู รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์พุกาม ที่ระบุว่า “การสร้างเจดีย์ย่อมได้บุญมาก ข้าฯ ปรารถนาจะสร้างทางเพียงเพื่อข้ามไปสู่แม่น้ำแห่งสังสารวัฏ เพื่อผู้คนทั้งมวลจะเร่งข้ามไปกระทั่งบรรลุถึงนิพพาน ข้าฯเองจะข้ามไป และดึงผู้ที่จะจมน้ำให้ข้ามไปด้วย...”

ที่สำคัญคือเจดีย์ที่พุกามสร้างด้วยอิฐ ต่างจากปราสาท หรือเทวสถานในอาณาจักรขะแมร์โบราณ ที่สร้างด้วยศิลาทราย ต้องใช้แรงงานข้าทาสและสรรพกำลังมหาศาล ด้วยเหตุนี้ ตลอด 243 ปีของอาณาจักรพุกาม จึงมีหมู่เจดีย์มากมายหลายพันองค์ กระทั่งกล่าวได้ว่า พุกามเป็นดินแดนที่มีพระพุทธเจ้าสถิตทุกหนแห่ง เป็นเมืองของผู้มีบุญโดยแท้


3.กาลเวลาผ่านมา 900 กว่าปี ทำไมเจดีย์ที่พุกามส่วนใหญ่ยังคงทน ?

ประการแรก พื้นดินพุกามเป็นดินปนทราย ทั้งๆ ที่มีแม่น้ำอิระวดีไหลผ่าน แต่มีเทือกเขาทอดตัวยาวเหยียดเป็นกำแพงป้องกันลมมรสุมจากอ่าวเบงกอล จนพุกามจัดเป็นเขตเงาฝน (Rain Shadow) มีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 30 นิ้วต่อปี ภูมิอากาศจัดอยู่ในประเภทแห้งแล้งกึ่งทะเลทราย (Dry Zone) มีความชื้นน้อย ไม่เอื้ออำนวยให้วัชพืชเติบโตไปทำลายโบราณสถานได้เหมือนปราสาทตาพรหมในกัมพูชา

ประการต่อมาภูมิปัญญาในการเรียงอิฐของช่างสมัยพุกาม ทำให้โครงสร้างของวัดและเจดีย์มีความแข็งแกร่ง คงทน อีกทั้งชาวพม่ายังเคารพสักการะศาสนสถานอย่างเคร่งครัด มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลวัดและเจดีย์ดังมีภาษิตที่ชาวพม่าพูดกันติดปากว่า…พึ่งเจดีย์ อายุยืน พึ่งธรรมะ โทสะหาย ขณะเดียวกันก็หวาดกลัวคำสาปแช่งของบุรพกษัตริย์แห่งพุกามที่ว่า มันผู้ใดทำลายเจดีย์และศาสนสถาน มันผู้นั้นจะไม่ได้พานพบพระศรีอาริยเมตไตรยไปเจ็ดชั่วโคตร!


4.เจดีย์ที่พุกาม มีสถานะเป็นวัดด้วยหรือไม่ ?


ในเมืองไทย เจดีย์จะอยู่คู่กับวัด แต่ที่พม่า ธรรมเนียมการสร้างเจดีย์ที่มีมาแต่สมัยพุกาม เจดีย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ในวัด หมายความว่า ศาสนสถานที่เราเรียกรวมๆ ว่า “เจดีย์” (Pagoda) นั้น จำแนกเป็น ก.สถูป (Stupa) ภาษาพม่าเรียก “เซดี” (Zedi) เช่น ชเวสิกองเซดี ฯลฯ ซึ่งเป็นเจดีย์ก่ออิฐตัน ผู้คนกราบไหว้อยู่รอบๆ ได้ แต่เข้าไปข้างในเจดีย์ไม่ได้ รูปทรงเจดีย์ส่วนใหญ่เป็นทรงระฆังคว่ำแบบมอญ และ ข.วัด (Temple) ภาษาพม่าเรียก “เซดีพญา” (Zedi Phya) เช่น อานันทวิหาร หรืออานันดา พญา เรียกอีกอย่างว่า “เจดียวิหาร” คือเป็นทั้งเจดีย์สำหรับกราบไหว้บูชา และเป็นวิหารสำหรับทำกิจกรรมทางศาสนา คือเป็นวัดด้วย ภายในจึงมีห้องคูหาสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ให้คนเข้าไปกราบไหว้บูชา นั่งสมาธิ หรือทำพิธีกรรมต่างๆ ได้


5.วัดและเจดีย์ในพุกาม ยังมีพระจำพรรษา หรือมีคนเฝ้าอยู่หรือไม่ ?

รัฐบาลทหารพม่าในอดีต ยกฐานะ “พุกาม” เป็นคล้ายอุทยานประวัติศาสตร์ โดยให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเมืองโบราณพุกาม ย้ายไปอยู่เมือง “ยองอู” หรือ “พุกามเมืองใหม่” แต่อนุญาตให้มีพระจำพรรษาในวัด หรือเจดีย์วิหารองค์สำคัญ อาทิ อานันทวิหาร และอนุญาตให้มีผู้ดูแลเจดีย์องค์สำคัญ อาทิ ชเวสิกอง ฯลฯ เท่านั้น ที่จะอาศัยอยู่ในพุกามเมืองเก่าได้


6.ชาวพม่าวันนี้ ยังสืบทอดธรรมเนียมการสร้างเจดีย์ของชาวพุกามหรือไม่?

ทุกวันนี้ หากเดินทางไปในชนบทของพม่า จะพบว่ามีชาวบ้านเดินถือขันเงินใบใหญ่ มาชวนเชิญให้ผู้สัญจรผ่านทางร่วมทำบุญสร้างเจดีย์ หรือไม่ก็บูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ในหมู่บ้าน จึงกล่าวได้ว่ายังสืบทอด เพียงแต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจ ไม่อาจสร้างเจดีย์ได้มากมายเหมือนในอดีต


7.แผ่นดินไหวในพม่าเมื่อ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้พุกามเพียงใด

ตามรายงานข่าวมีเจดีย์กว่า 100 องค์ ที่ได้รับผลกระทบ แต่ไม่รุนแรงเหมือนแผ่นดินไหวที่เนปาล ซึ่งทำให้โบราณสถานบางแห่งพังทลายลงมา แต่ที่พุกาม โครงสร้างของเจดีย์ส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเสียหาย มีเพียงบางแห่ง ปลียอดหักพัง ซุ้มประตูทางเข้าทรุดตัว และบางองค์ อัญมณีที่ใช้ประดับยอดเจดีย์ร่วงหลุดลงมา กล่าวได้ว่าเสียหาย แต่ไม่ยับเยิน ที่นักวิชาการห่วงคือ ภาพจิตรกรรมล้ำเลอค่าที่อยู่ในเจดีย์ ยังไม่มีการสำรวจว่าเสียหายแค่ไหน และโครงสร้างของเจดีย์บางองค์ยังแข็งแรงพอจะให้ผู้แสวงบุญและ นักท่องเที่ยวเข้าไปภายในได้ดังเดิมหรือไม่


8.พุกามยังทรงคุณค่าแก่การเดินทางไปเที่ยวชมหรือไม่?

ยังทรงคุณค่าแน่นอน เพราะเจดีย์สำคัญยังอยู่ครบ ทั้ง ชเวสิกอง อานันทวิหาร ฯลฯ บรรยากาศอย่างที่เซอร์เจมส์ สก็อต อุทานไว้ว่า “ที่พุกาม คุณไม่สามารถขยับมือหรือเท้าไปทางไหน โดยไม่สัมผัสเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์องค์ใดองค์หนึ่ง” นั้น ยังมีอยู่จริง


9.พุกามได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกโลก” หรือยัง ?

กล่าวได้ว่า เป็น “ว่าที่เมืองมรดกโลก” เพราะองค์การยูเนสโก รับรองเมืองโบราณพุกาม ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อเตรียมพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว


10.พุกาม มีความสำคัญต่อจิตใจชาวพม่าเพียงใด?

มีคำกล่าวว่า พุกามเป็นยุคสมัยดุจคบเพลิงส่องเกียรติยศของชาวพม่า

จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/715512