ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 08, 2016, 10:39:54 am »


สสส.-ก.แรงงาน-เสถียรธรรมสถาน เปิดปฏิบัติการ ‘สตรี คือ สติ’ คืนความสุขแก่สตรี



สสส.-ก.แรงงาน-เสถียรธรรมสถาน เปิดปฏิบัติการ ‘สตรี คือ สติ’ คืนความสุขแก่สตรีวัยแรงงาน ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน หลังพบความเครียด’ ปัญหาอันดับแรกของสตรีวัยแรงงาน ส่งผล ‘โรคซึมเศร้า’ สาเหตุอันดับ 1 การสูญเสียปีสุขภาวะจากความเจ็บป่วยและพิการของหญิงไทย





เมื่อวันที่ 1 กันยายน ที่เสถียรธรรมสถาน กระทรวงแรงงาน ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเสถียรธรรมสถาน จัดงานแถลงข่าว ‘สตรี คือ สติ’ โดยม.ล.ปุณฑริกา สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า แรงงานสตรีถือเป็นแรงงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์กรและประเทศ เพราะปัจจุบันมีแรงงานสตรีไทยถึง 27 ล้านคน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานไทยที่มีจำนวน 60.5 ล้านคน อย่างไรก็ตามความเครียดและโรคซึมเศร้ากำลังเป็นภัยเงียบของสตรีวัยทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงาน จากการสำรวจของสายด่วนกรมสุขภาพจิต ปี 59 พบว่า ปัญหาความเครียดหรือวิตกกังวล เป็นปัญหาสำคัญอันดับ 1 ของสตรีวัยแรงงาน ตามด้วยปัญหาทางจิตเวช ปัญหาความรัก และปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน นอกจากนี้ยังพบว่า โรคซึมเศร้า กลายเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการสูญเสียปีสุขภาวะจากความเจ็บป่วยและพิการของหญิงไทย นโยบายของกระทรวงแรงงานจึงเน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของวัยแรงงานตามแนวคิดงานดีมีคุณค่าจึงร่วมกับสสส.ในฐานะหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพโดยเฉพาะการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญในการผลักดันสร้างสุขภาวะแก่สตรีวัยแรงงาน



นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร สสส. กล่าวว่า แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะสตรีวัยทำงานต้องทำคู่ขนาน 2 ด้านคือ 1.การสร้างการรับรู้และทัศนคติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพแรงงานสตรีทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และกระทรวงแรงงานเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายที่สอดคล้องกับบริบทและลักษณะงานที่แตกต่างกัน 2.การส่งเสริมให้สถานประกอบการปรับปรุงสิ่งที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีในที่ทำงาน สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร ที่ปรึกษาในการแก้ปัญหาสุขภาพกายและจิตที่สตรีสามารถเข้าถึงได้ สสส.จึงร่วมกับกระทรวงแรงงาน และเสถียรธรรมสถาน จัดอบรมแกนนำจากภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนให้เกิดองค์กรต้นแบบด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตสตรีวัยทำงานที่ดี โดยมีเป้าหมายในการสร้าง Health Promoter จำนวน 1,000 คน ใน 15 พื้นที่เป้าหมาย พร้อมกับถอดบทเรียนองค์ความรู้พัฒนาเป็นเครื่องมือการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดไปยังกลไกการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนต่อไป



แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เสถียรธรรมสถาน กล่าวว่า สำหรับชุดความรู้ที่เหมาะสำหรับสตรีทุกกลุ่ม เพื่อรับมือกับทุกสภาวะที่ต้องเผชิญในชีวิต ประกอบด้วย 5 ชุดความรู้ ดังนี้ อานาปานสติภาวนา หลักสูตรพื้นฐานสำหรับปลุกหัวใจทุกคน ใช้ลมหายใจเป็นศิลปะในการดำรงชีวิตอยู่กับโลกอย่างที่โลกเป็น จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ สำหรับสตรีตั้งครรภ์เพื่อสร้างเซลล์สมองให้กับลูก โรงเรียนพ่อแม่ สำหรับสตรีที่มีลูกแรกเกิด-วัยรุ่น เพื่อสร้างสติ เลี้ยงลูกอย่างที่ลูกเป็น ส่งเสริมพัฒนาตามวัยและปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ธรรมชาติบำบัด สำหรับสตรีที่ป่วยหรืออยู่ในฐานะดูแลผู้ป่วยและผู้สูงวัยในครอบครัว จิตปรึกษา หลักสูตรสำหรับสตรีมีความเครียดทั่วไป ไปจนถึงผู้ป่วยจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า ไบโพล่า จิตเภท รวมถึงสตรีที่มีบุคคลในครอบครัวมีภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเครื่องมือในการเรียนรู้ได้แก่ วิถีแห่งสติ กิจกรรมศิลปะแห่งสติ การเล่นบทบาทสมมุติเมื่อเผชิญภาวะวิกฤติชีวิตสตรี และเรื่องเล่าเร้าพลัง รวมถึงสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ อาทิ คลื่นเสียงบำบัดด้วยคริสตัลโบว์ เป็นต้น

นางจันทนา สุขุมานนท์ อดีตผู้บริหารบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การมีสติอยู่เสมอจะทำให้เราประสบความสำเร็จ ลดความผิดพลาด ซึ่งเป็นเรื่องยากจึงต้องฝึกฝนอยู่เสมอ โดยรู้จักดึงความคิดของตัวเองกลับมา เพราะความคิดเหมือนฝูงลิงต้องจับให้นิ่ง ซึ่งตนมักจะสอนน้องในที่ทำงานว่าการจะทำงานให้มีประสิทธิภาพต้องมีสติ โดยหาจุดที่เหมาะสมกับตัวเองในการดึงสติกลับมา เช่น ถือปากกาในมือเวลาเกิดความคิดฟุ้งก็ดีดปากกาเพื่อฝึกให้เป็นชีวิตประจำวัน

จาก http://www.siamrath.co.th/n/2153

<a href="https://www.youtube.com/v/W8r9LNDBadE" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/W8r9LNDBadE</a>

เพิ่มเติม https://www.youtube.com/user/SDSwebChannel/videos

http://www.sdsweb.org/sdsweb/

https://www.facebook.com/sdsface/?fref=nf