ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 28, 2016, 02:32:14 am »



สงฆ์ทั้งผองพี่น้องกัน!! หลายเหตุผลที่ทำให้ "พระป่ากรรมฐาน" มีความเคารพรักใน "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" ยิ่งกว่าผู้ใด!!

ความเคารพศรัทธาอย่างมั่นคงต่อสมเด็จพระญาณสังวรฯ ของพระภิกษุสงฆ์สายวัดป่า

เรื่องนี้ย่อมมีที่มาและที่ไปว่า ทำไมพระสงฆ์สายวัดป่าจึงมีความเคารพเทิดทูนต่อสมเด็จพระญาณสังวรฯ ยิ่งกว่าพระสายปริยัติของวัดในเมือง

ประการที่หนึ่ง  นับเนื่องจากสมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เคยเป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช นับตั้งแต่ก่อนการทรงผนวชจนตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช  ดังนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์กับสถาบันพระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญยิ่งที่ใครก็ตามไม่ควรจะกระทำล่วงล้ำก้ำเกิน

ประการที่สอง  สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงมีแนวปฏิบัติทางสายวิปัสสนากรรมฐานซึ่งเป็นประเพณีนิยมของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตที่นับเนื่องมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช  ทั้งนี้เพราะทรงถือปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนาที่ว่า เพื่อเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติสำหรับแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ซึ่งวิปัสสนาธุระคือการอบรมจิตใจตามหลักสมถะและวิปัสสนาเพื่อให้รู้แจ้งในธรรมและกำจัดกิเลสออกจากจิตใจ

ฉะนั้น พระสงฆ์ธรรมยุตจึงถือปฏิบัติสืบทอดมาแต่ครั้งนั้น กล่าวคือ  ในเวลาพรรษาก็อยู่ศึกษาคันถธุระในสำนักของตน เมื่อออกพรรษาแล้วก็จาริกธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อหาที่วิเวกปฏิบัติวิปัสสนาธุระ ซึ่งประเพณีปฏิบัติดังกล่าวได้เจริญแพร่หลายในหมู่พระสงฆ์ธรรมยุตสืบมาจวบจนถึงปัจจุบัน ดังที่เรารู้จักกันในนามพระสายวัดป่า  และเป็นที่ทราบกันดีว่า การศึกษาปฏิบัติกรรมฐานมิได้จำกัดวงอยู่เฉพาะในหมู่พระสงฆ์ธรรมยุตเท่านั้น แต่ได้แพร่หลายไปยังพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายด้วย เช่น พระสายวิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี


(ซ้าย) สมเด็จพระญาณสังวรฯ / (ขวา) หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


(ซ้าย) สมเด็จพระญาณสังวรฯ / (ขวา) หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักวิปัสสนากรรมฐานนี้อย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด  แต่ด้วยพระภารกิจทางการปกครองจึงไม่มีโอกาสที่จะจาริกอยู่ในสำนักวัดป่า  แต่ก็สามารถปฏิบัติได้โดยถือปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "แม้จะอยู่ในบ้านในเมืองก็ให้ทำสัญญา คือทำความรู้สึกกำหนดหมายในใจว่า อยู่ในป่า อยู่ในที่ว่าง อยู่ในที่สงบ ก็สามารถทำจิตใจให้ว่างให้สงบได้" ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรฯ ก็ได้ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักดังกล่าว

เมื่อมีโอกาส พระองค์จะเสด็จจาริกไปประทับตามสำนักวัดป่าในแถบภาคอีสานชั่วระยะเวลาหนึ่งเสมอมา  และสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ จะต้องทรงเสด็จเข้าไปยังวัดป่าบ้านตาดเพื่อเยี่ยมและปรึกษาข้อธรรมกับหลวงตามหาบัว

ด้วยทรงเป็น "พระสังฆบิดร" ของพระสงฆ์ทุกหมู่เหล่า และยังทรงเป็นสมเด็จพระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน ในยามที่พระองค์ทรงถูกกลั่นแกล้งรังแก พระลูกพระหลานที่เป็นพระสายวัดป่าจึงพากันออกมาให้การช่วยเหลือดูแลเทิดพระคุณด้วยเหตุฉะนี้!!


(ซ้าย) หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน / (ขวา) สมเด็จพระญาณสังวรฯ

ที่มา : คอลัมน์ "วิจารณธรรม" หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/206160/