ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 28, 2016, 03:14:41 pm »


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


เสือเทพนิรมิต (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

พระที่ท่านชอบอยู่ป่าอยู่เขาอยู่ถ้ำและเงื้อมผา รู้สึกมีเรื่องสะดุดใจให้ท่านผู้อ่านได้คิดอยู่มากกว่าที่พักอยู่ในที่ธรรมดา ดังท่านอาจารย์องค์ที่กำลังนำลงอยู่เวลานี้ แม้จะถวายนามท่านว่า “นักเผชิญ” ก็ไม่น่าจะผิดและเสียความเคารพ เพราะการเผชิญก็เพื่อบุกเบิกหาธรรมของจริง การถวายนามก็อนุวัติไปตามปฏิปทาของท่านที่หนักไปในทางเป็นนักต่อสู้หรือเผชิญ โดยไม่ลดละล่าถอยให้เหตุการณ์นั้นๆ หัวเราะเยาะได้ การเป็นนักต่อสู้ในขณะที่กำลังเผชิญกับเหตุการณ์นี้ ท่านยังจะได้อ่านเรื่องของท่านไปเรื่อยๆ จนกว่าจะยุติ นี่ก็กำลังนำท่านผู้อ่านชมเหตุการณ์ที่ท่านเผชิญมา

คือขณะที่ท่านพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง คืนนั้นเดือนหงายฟ้าขาว เดือนดาวสว่าง อากาศปลอดโปร่งสบาย ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่หน้าถ้ำ ขณะนั้นได้มีเสือโคร่งใหญ่ตัวหนึ่งใหญ่มาก ท่านว่าศีรษะกลมๆ ของมันเท่าที่เห็นแล้ว ถ้าจะให้พูดตามความถนัดใจแล้วอยากพูดว่าใหญ่เท่าโอ่งน้ำเราดีๆ นี่เอง ทีแรกได้ยินเสียงมันคำรามเป็นเชิงขู่ให้กลัว อยู่ห่างจากท่านประมาณสิบวา พอเปลี่ยนจากคำรามก็เป็นกระหึ่ม และกระหึ่มอย่างเต็มเสียงของมัน จนปรากฏสะเทือนไปทั่วภูเขา ตอนมันเริ่มคำรามมองไปไม่เห็นตัวได้ยินแต่เสียง สักครู่ต่อมาก็ได้เห็นมันโผล่เข้ามาหาท่านด้วย ทั้งเสียงกระหึ่มอย่างเต็มที่ และเดินเข้ามาหยุดยืนและนั่งแบบสุนัขนั่ง ไม่หมอบทำท่าจะทำอะไรท่านเลย นั่งอยู่ห่างท่านประมาณสองวา มองเห็นได้ถนัดชัดเจนตลอดลวดลายของมัน เพราะไฟเทียนไขที่จุดเดินจงกรมก็สว่างไสวอยู่ขณะนั้น

เมื่อท่านเห็นมันมานั่งอยู่ต่อหน้า ท่านนึกขึ้นมาในใจว่า เสือโคร่งตัวนี้จะมาทำไมกัน ดินทั้งแผ่นที่กว้างแสนกว้าง มันทำไมไม่ไป แต่มาคิดสร้างความสนุกบนหัวใจคนซึ่งกำลังกลัวๆ เอาอะไรกัน ท่านยืนดูมันที่กำลังนั่งกระหึ่มสนุกอยู่ครู่หนึ่ง ในใจมีรู้สึกเสียวๆ บ้างเพียงเล็กน้อย ไม่แสดงความกลัวออกมาอย่างเปิดเผยอะไรเลย จึงค่อยเดินเข้าไปหาและพูดกับมันว่า ที่นี่เป็นที่ของพระท่านบำเพ็ญสมณธรรมต่างหาก มิใช่ทำเลเที่ยวของเธอนี่นา ขึ้นมาทำไมกัน โน้นไปเที่ยวสนุกสนานกับหมู่เพื่อนของเธอโน้นซิ ไปเสีย พระก็มิใช่พระอิฐพระปูน สิ่งน่ากลัวก็ต้องกลัวเหมือนสัตว์ทั่วไปนั่นแล

พอพูดจบก็ก้าวเข้าไปหามัน ท่านว่าท่านเดินเข้าไปจวนจะถึงตัวมันประมาณเมตรเศษเท่านั้น มันจึงโดดหนี ปุบเดียวไม่ทราบหายไปไหน และหายไปอย่างรวดเร็วยังกับปาฏิหาริย์ มองดักหน้าดักหลังที่ไหนก็ไม่เห็น ทำให้แปลกใจไม่หายแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เพราะสถานที่ท่านพักอยู่และที่ที่เสือโคร่งใหญ่ตัวนั้นมานั่งอยู่ก็เตียนโล่ง ไม่มีอะไรปิดบังกีดขวางพอจะมองไม่เห็นขณะที่มันโดดหนีไป จึงทำให้ท่านแปลกใจตลอดมา พอมาหาท่านอาจารย์มั่น ได้โอกาสจึงเล่าถวายท่านและเรียนถามถึงเรื่องเสือที่โดดหายตัวไปอย่างรวดเร็วนั้น ว่าเป็นเพราะเหตุไร



ท่านอาจารย์มั่นชี้แจงให้ฟังว่า นั่นมิใช่เสือจริง แต่เป็นเสือเทพบันดาลต่างหาก เพราะพวกเทพมีฤทธิ์มากผิดมนุษย์เรา สามารถจำแลงกายหยาบกายละเอียด หรือนิรมิตเป็นสัตว์เป็นเสือหรือเป็นคนหญิงชายต่างๆ ได้ไม่ติดขัด บางครั้งเวลาเขามาหาเรา ยังมาในรูปต่างๆ ได้ในเทพคนเดียวกัน เสือตัวที่มาหาท่านนั้น ถ้าเป็นเสือจริงลงได้ตั้งหน้ามาขนาดนั้น ต้องมีความมุ่งหวังจะกินคนเป็นอาหารแน่นอนถึงได้มา ทั้งที่รู้อยู่ว่าคนซึ่งเป็นที่เกรงขามของสัตว์ของเสือทั้งหลาย เสือที่เทพบันดาลใจก็มี เสือที่เทพนิรมิตเองก็มี แต่เสือที่มาหาท่านนั้นเป็นเสือเทพนิรมิต ฉะนั้นการโดดหนีของเสือตัวนั้นจึงรวดเร็วผิดธรรมดาจนมองไม่ทันว่าไปยังไงมายังไง

สำหรับผมมันเคยชินกับพวกสัตว์เสือ เทวบุตรเทวธิดามาแล้ว เวลาไปอยู่ในป่าในเขาคนเดียว การอยู่ก็อยู่เพราะธรรม เนื่องจากธรรมมีอำนาจมาก สัตว์ทั้งหลายเคารพรัก ใจที่มีธรรมย่อมทรงอำนาจในตัวเอง แต่อำนาจทางธรรมไม่เหมือนทางโลก ซึ่งคอยแต่จะกำเริบอยู่เสมอ ผู้ถูกข่มขู่นั้นกลัวจริงในขณะที่ถูกขู่ แต่ใจไม่ยอมลงตามอำนาจความข่มขู่ เมื่อมีโอกาสยังคอยแก้แค้นจนได้ดังที่เห็นๆ กันอยู่ ฉะนั้นการใช้อำนาจทางโลกเพียงอย่างเดียว ไม่มีธรรมเข้าสนับสนุน โลกจึงหาความสงบเย็นได้ยาก ท่านจึงสอนให้ปกครองโลกโดยธรรม ปกครองกันโดยธรรม โดยอาศัยความถูกต้องดีงามเป็นอำนาจ ไม่ใช่เอาอารมณ์หรือทิฐิมานะเป็นอำนาจ

คำว่าธรรมมิได้เป็นรูปเป็นร่างที่มองกันด้วยตาเนื้อ แต่ธรรมเป็นธรรมชาติที่ละเอียดสุขุมสุดที่จะนำมาเทียบเคียงเปรียบเทียบกับสิ่งสมมุติทั้งหลายได้ ใจเป็นความละเอียดฉันใด ธรรมย่อมมีความละเอียดฉันนั้น และใจเป็นที่สถิตอยู่ของธรรมทั้งหลาย นอกนั้นมิใช่ที่สถิตอันถูกต้องของธรรม ธรรมจึงเป็นเรื่องพูดยากทั้งที่รู้อยู่อย่างเต็มใจ นอกจากผู้ปฏิบัติและรู้ธรรมเป็นขั้นๆ นั่นพอพูดกันได้ และรู้เรื่องธรรมพอประมาณ ถ้ารู้ธรรมเต็มภูมิจิตภูมิธรรมโดยสมบูรณ์แล้ว ย่อมพูดธรรมกันเข้าใจทุกแง่ทุกมุมไม่มีทางสงสัย คำว่าธรรมคืออะไร และอยู่ที่ไหนก็ทราบกันทันทีโดยไม่ต้องตอบให้เสียเวลา การอาศัยการถามและการตอบกันอยู่ ยังไม่เข้าในลักษณะของผู้รู้ธรรมอย่างเต็มภูมิ นี่แล ธรรมแท้เป็นอย่างนี้

ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะ
เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน

จาก http://thammapontook.blogspot.com/2013/06/blog-post_4023.html