ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 28, 2016, 06:01:53 pm »



“…โครงการนี้เกิดจากความริเริ่มของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ซึ่งเมื่อวันวิสาขบูชาปีที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ไปทำบุญ ฟังเทศน์ที่วัดชนะสงคราม สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ท่านได้ปรารภกับข้าพเจ้าเรื่อง ความตั้งใจที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์สำคัญขึ้น

     วัตถุประสงค์คือ เพื่อเป็นศูนย์รวมความเคารพของพุทธศาสนิกชนอีกแห่งหนึ่ง และเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระพุทธรูปแห่งบามิยัน ประเทศอัฟกานิสถาน รวมทั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา กับเพื่อเป็นเกียรติแก่ข้าพเจ้า ที่จะมีอายุ 80 ในปีหน้า

      เมื่อข้าพเจ้าได้ทราบ ข้าพเจ้าก็รับปากกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ว่า ข้าพเจ้าจะขอร่วมทำบุญและจะพยายามสนับสนุนโครงการนี้ ให้ดำเนินไปจนสำเร็จ

     บัดนี้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ท่านได้มรณภาพแล้ว เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เอง ข้าพเจ้าจึงรับเป็นผู้อุปถัมภ์โครงการ และปวารณาว่าจะดำเนินการให้ลุล่วงดั่งความตั้งใจของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ผู้เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ และมีอุปการคุณแก่คณะสงฆ์ไทย และพุทธศาสนิกชนอย่างยิ่ง

    พระพุทธรูปองค์นี้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ท่านเป็นผู้ออกแบบดูแลแก้ไข และเลือกทำเลที่จะประดิษฐานด้วย ตามแบบเป็นพระพุทธรูปปางคันธารราฐ หรือที่เรียกว่า ปางขอฝน

    หล่อด้วยโลหะสำริด จะสูง 32 เมตร ซึ่งแทนความหมายถึงอาการแห่งกาย ครบ 32 ประการของมนุษย์ ยืนบนฐานที่สูงประมาณ 8 เมตร มีพุทธลักษณะงามมาก…”

    พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแก่คณะบุคคล ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา  ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ 11 สิงหาคม 2554



พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ คันธารราฐอนุสรณ์ เนื่องจากในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2553 พระองค์ได้เสด็จฯ ไปในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทรงสดับพระธรรมเทศนา ณ วัดชนะสงคราม

     สมเด็จพระมหาธีราจารย์จึงได้ถวายพระพรถึงเรื่องความตั้งใจที่จะจัดสร้างพระพุทธรูปดังกล่าว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับเป็นพระราชธุระ ที่จะทรงช่วยให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม

    ต่อมา พระองค์ทรงมีพระมหากรุณารับโครงการ ฯ ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป



  โดยวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ คันธารราฐอนุสรณ์ เป็นประธานในงาน แถลงข่าว “พิธีสมโภชพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถ คันธารราฐอนุสรณ์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์” ร่วมด้วยนายชลาลักษณ์ บุนนาค ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ฯ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยโครงการฯ นายอภินันท์ จันทรังษี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และนายศักดิ์ สมบุญโต ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี



 เพื่อเชิญชวนประชาชนทั่วไปเฝ้าฯ รับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานในวันพิธีสมโภชฯ และสรุปภาพรวมความสำเร็จของโครงการฯ ที่พร้อมให้เข้าเยี่ยมชมสักการะองค์พระได้อย่างเป็นทางการแล้ว

      นายพลากร สุวรรณรัฐ เปิดเผยว่า โครงการนี้เป็นพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับโครงการจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จากสมเด็จพระมหาธีราจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม




      ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จของตัวโครงการ จึงให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา อีกทั้งเป็นการร่วมมือร่วมใจของหลายๆ ฝ่าย อาทิ คณะสงฆ์ ฆราวาส วัดทิพย์สุคนธาราม หน่วยงานราชการและเอกชนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยรวมจำนวนภาคีทั้งสิ้น 50 ภาคี ดำเนินการให้พื้นที่ 320 ไร่ เป็นพุทธอุทยานที่เสร็จสมบูรณ์ภายในเวลา 4 ปี

      บัดนี้ เมื่อทุกอย่างแล้วเสร็จโครงการฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีสมโภชพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในวันพุธที่ 23 ธันวาคม 2558 ขอเชิญประชาชนรับเสด็จฯ และร่วมพิธีสมโภชเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ทุกคนต่อไป



 ขณะที่นายชลาลักษณ์ บุนนาค  กล่าวว่า พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ เป็นพระพุทธรูปปางขอฝนองค์ใหญ่ มีความสูง 32 เมตร สื่อถึงอาการแห่งกายครบบริบูรณ์ทั้ง 32 ประการ ของมนุษย์

      ประกอบด้วยสำริดที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล การก่อสร้างที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่ผสมผสานกับงานช่างฝีมือโบราณ และได้มีการพัฒนาองค์พระในลักษณะยืนตรง เพื่อให้พระบาททั้ง 2 ข้างรับน้ำหนักได้อย่างสมบูรณ์ มั่นคง แข็งแรง ถือเป็นการหลอมรวมวิชาความรู้ เทคโนโลยีในการก่อสร้าง และความตั้งใจของทุกฝ่าย อีกทั้งได้ออกแบบโครงสร้างส่งให้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เพื่อทดสอบรับแรงพายุและแรงแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด เพื่อให้องค์พระพุทธรูปมีความคงทนถาวรนับพันปี



 สำหรับ พื้นที่พุทธอุทยาน นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา กล่าวว่า ในพื้นที่ได้รวบรวมพันธุ์ไม้หายากและมีประวัติเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และอ่างเก็บน้ำสาธารณะในพระบรมราชินูปถัมภ์ สามารถใช้ในวัดและชุมชนโดยรอบ ซึ่งในส่วนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิ เนื่องจากโครงการฯ มีความสอดคล้องกับนโยบายของการบริหารงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ ใน 4 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมิติของวัฒนธรรมที่มุ่งส่งเสริมให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน



   ด้านนายศักดิ์ สมบุญโต ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีสภาพภูมิประเทศพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและเทือกเขาสูง บางส่วนมีสภาพภูมิประเทศแห้งแล้ง เช่น อำเภอห้วยกระเจา ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดทิพย์สุคนธาราม ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยฯ ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์

      ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ในด้านสภาพของภูมิประเทศ และสภาพแวดล้อมโดยรอบ ถือได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาอันเป็นทางเข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนาแห่งใหม่ของจังหวัดที่มีความสวยงามอย่างยิ่งปรากฏต่อสายตาประชาชนที่มาเยี่ยมชม



  และขอเรียนเชิญพสกนิกรชาวจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียงร่วมเฝ้า ฯ รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วย

     นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ ในการจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์




     เพื่อให้ดำรงไว้ซึ่งพุทธศาสนสถานอีกแห่งหนึ่ง หลอมรวมจิตใจคนไทยให้ปฏิบัติธรรม เข้าถึงความรู้และคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข

    โครงการจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ณ วัดทิพย์สุคนธาราม จังหวัดกาญจนบุรี จึงถือเป็นพุทธอุทยานอีกแห่งที่มีความสวยงาม โดดเด่นด้วยพลังพุทธานุภาพ และศรัทธานุภาพให้ปวงชนชาวไทยได้เข้ากราบสักการะต่อไป.




……………………………………….

ที่มา : สยามรัฐ รายงานโดย ณพาภรณ์ ปรีเสม และ ภาพจาก FB.โครงการจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยฯ ในพระบรมราชินูปถัมภ์
จาก http://www.chaoprayanews.com/2015/11/04/ พระพุทธเมตตาประชาไทยไต/