ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 01:44:57 pm »

 :45: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 08:23:52 am »





o (๑) หมั่นสังเกตหรือเรียนจนรู้จักสภาวะของรูปนาม (๒) เมื่อเข้าใจสภาวะของรูปนามถูกต้องและทันท่วงทีแล้ว ความรู้สึกตัว จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องกำหนดหรือจงใจสร้าง คือพอกระทบอารมณ์ปั๊บ จิตจะเกิดสติรู้ทันอารมณ์ ด้วยความตั้งมั่นและเป็นกลางขึ้นเอง และ (๓) เมื่อสติรู้อารมณ์รูปนาม (จิต เจตสิก รูป) ที่กำลังปรากฎโดนไม่เข้าไปแทรกแซงและไม่เติมความคิดลงไป ก็จะเกิดปัญญาเข้าใจความจริงของอารมณ์รูปนามได้ถูกต้องไปตามลำดับ จนจิตปล่อยวางความยึดถือรูปนามและสิ่งทั้งปวงเสียได้

o ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ

o ตามรู้ -> รู้ทัน -> รู้ถูก -> รู้ทุกข์

o อย่าส่งจิตออกนอก หมายความว่าในเวลาที่รู้อารมณ์นั้นให้สักว่ารู้ อย่าให้จิตหลงกระโจนเข้าไปรู้แล้วหลงจมแช่ยึดถือหรือหมุนเหวี่ยงไปตามอารมณ์

o การปฎิบัติวิปัสสนาจะต้องใช้สภาวะของจิตที่ธรรมดาๆไปรู้อารมณ์ที่ธรรมดาๆ

o จิตที่เป็นปกติธรรมดาคือจิตที่ปลอดจากตัณหาและทิฎฐิ คืออย่าอยากปฎิบัติแล้วลงมือปฎิบัติไปตามความอยากนั้น

o เราสัมผัสกับอารมณ์ปรมัตถ์อยู่แล้วทั้งวัน แต่ความคิดของเราเองปิดกั้นไว้ไม่ให้เรารู้จักอารมณ์ปรมัตถ์นั้น (บัญญัติปิดบังปรมัตถ์)

o การรู้รูปนามต้องรู้ในปัจจุบัน เพราะรูปนามในอดีตเป็นแค่ความจำ และรูปนามในอนาคตเป็นแค่ความคิด ส่วนรูปนามในปัจจุบันคือความจริง และเมื่อรู้แล้วก็อย่าหลงเติมสมมุติบัญญัติลงไปในการรับรู้นั้น

o สติ สมาธิ ปัญญา

o สติ คือ การระลึกได้/การระลึกรู้ ไม่ใช่ การกำหนดรู้

o สมาธิ คือ การตั้งมั่น ไม่ใช่ ความสงบ - ในขณะที่จิตฟุ้งซ่านหรือไม่สงบนั้น จิตยังสามารถตั้งมั่นรู้ความฟุ้งซ่านได้อย่างเป็นกลาง ไม่ควรมุ่งทำความสงบที่จะพาไปสู่การติดความสงบ ติดปีติ และติดนิมิต

o วิปัสสนา คือ การตามรู้รูปนามได้ตรงตามความเป็นจริง ไม่ใช่ คิด

o ผู้ปฎิบัติพึงทำความรู้จักสภาวะของความรู้สึกตัว โดยการหัดสังเกตความแตกต่างระหว่างความหลงกับความรู้สึกตัวซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน

o เมื่อรู้สึกตัวเป็นแล้วก็ต้องเจริญสติปัฎฐาน จึงจะสามารถละความเห็นผิดว่ารูปนามคือตัวตนในเบื้องต้น และสามารถทำลายความยึดถือรูปนามลงได้ในที่สุด

o หมั่นรู้สึกถึงอาการปรากฎของกายและของจิตใจอยู่เนืองๆ แต่ไม่จำเป็นจะต้องรู้แบบไม่ให้คลาดสายตา เพราะจะกลายเป็นการกำหนด เพ่งจ้องหรือดักดูกายและใจ ด้วยอำนาจบงการของตัณหา ให้รู้ไปอย่างสบายๆ รู้บ้าง เผลอบ้างก็ยังดี

o ไม่ต้องพยายามห้ามไม่ให้จิตหลง เพราะจิตเป็นอนัตตา คือห้ามไม่ได้ บังคับไม่ได้ เพียงทำความรู้จักสภาวะของความหลงให้ดี และเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ แล้วความหลงจะสั้นลงได้

o สติเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นตามใจไม่ได้ หากแต่เกิดขึ้นเพราะจิตจดจำสภาวธรรมได้แม่นยำ เช่นผู้ที่เคยฝึกมีสติตามรู้รูปยีนเดินนั่งนอนอยู่เนืองๆ ต่อมาเมื่อเผลอขาดสติแล้วเกิดการเคลื่อนไหวกายขึ้น สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

o ในเบื้องต้นจึงต้องหมั่นตามระลึกรู้อาการปรากฎทางกายและอาการหรืออารมณ์ที่ปรากฎทางใจไว้เป็นระยะๆ พอถึงเบื้องปลายสติจะเกิดระลึกรู้ได้เองเมื่อสภาวธรรมที่จิตรู้จักแล้วปรากฎขึ้นมา

o จุดสำคัญอยู่ที่การมีสติรู้ทุกข์คือรู้กายรู้ใจ และรู้ในลักษณะของการตามรู้ไปเนืองๆ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลาง ส่วนผลจะปรากฎเป็นความพ้นทุกข์อย่างไรก็จะสัมผัสได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆไป





ขอบคุณบทความจาก  dhammajak.net
: http://www.sookjai.com/index.php?topic=3522.0
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 08:19:17 am »






ประทีปส่องธรรม
โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช


o บุญเน้นที่ตัวกิจกรรมที่ว่าทำอะไรแล้วดี กุศลเน้นที่จิตใจอันเป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำความดีงามหรือละเว้นความชั่ว

o ขณิกสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตอยู่ในอารมณ์รูปนามอันเดียวที่กำลังปรากฎอย่างสบายๆ ไม่ซัดส่ายหลงไปหาอารมณ์อื่น

o การจงใจจดจ่อหรือเพ่งจ้องอยู่ในอารมณ์อันเดียวด้วยอำนาจของตัณหาคือความอยากจะปฎิบัติธรรม น่าจะจัดว่าเป็นมิจฉาสมาธิมากกว่าสัมมาสมาธิ เช่นการเอาความรู้สึกไปเพ่งจ้องแนบแน่นจมแช่อยู่กับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง มีเท้า ท้อง มือ และลมหายใจ เป็นต้น

o ไม่ตั้งมั่นด้วยสติปัญญา แต่ตั้งอยู่ด้วยการกดข่มบังคับด้วยอำนาจขอตัณหาคือความอยากจะปฎิบัติธรรม และไม่รู้อารมณ์อย่างซื่อตรงแต่รู้ไปตามความอยากรู้ จิตที่มีสมาธิแบบนี้เอาไปทำวิปัสสนาไม่ได้จริง เพราะเป็นอกุศลจิต

o ถ้าเมื่อใด ผู้ปฎิบัติมีสติระลึกรู้สภาวธรรม หรือรูปนามที่กำลังปรากฎ ตรงตามความเป็นจริง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารู้ทันสภาวะความหลงของจิตที่หลงไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) โดยไม่ได้ตั้งใจหรือมีตัณหาที่จะรู้สภาวธรรมนั้นๆ เมื่อนั้นขณิกสมาธิจะเกิดขึ้นเอง

o สมถะจำเป็นสำหรับผู้ปฎิบัติบางคน แต่มีประโยชน์กับผู้ปฎิบัติทุกคน

o พระพุทธเจ้า ท่านเน้นว่าควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่ใช่เจริญแบบไร้สติไร้ปัญญา หมายความว่าเราจะทำสมถะหรือวิปัสสนาก็ตาม เราต้องรู้ว่า (๑) เราจะทำอะไร (สมถะ/วิปัสสนา) (๒) จะทำเพื่ออะไร (สงบ/พ้นทุกข์) (๓) จะทำอย่างไร (มีสติรู้อารมณ์อันดียวอย่างต่อเนื่อง/มีสติสัมปชัญญะรู้รูปนามตามความเป็นจริง) และ (๔) ระหว่างทำก็ต้องมีสติปัญญารู้ชัดว่าทำอะไรอยู่ด้วย

o หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสอนไว้ชัดเจนน่าฟังมาก ว่า "ทำสมาธิมากก็เนิ่นช้า คิดพิจารณามากก็ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฎิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน จะเดิน(รวมทั้งเดินจงกรม) ก็ต้องเดินด้วยความมีสติ จะนั่ง (รวมทั้งนั่งสมาธิ) ก็ต้องนั่งด้วยความมีสติ เพราะมีสติก็คือมีความเพียร ขาดสติก็คือขาดความเพียร"

o การเจริญวิปัสสนานั้น ต้องมีสติรู้รูปนาม และมีปัญญาหรือสัมปชัญญะรู้ความเป็นจริงของรูปนามนั้นๆตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ด้วย