ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวมีขีดกลาง | จัดย่อหน้าอิสระ จัดย่อหน้าชิดซ้าย จัดย่อหน้ากึ่งกลาง จัดย่อหน้าชิดขวา
ใส่แฟลช ใส่รูป ใส่ไฮเปอร์ลิ้งค์ ใส่อีเมล์ ใส่ลิ้งค์ FTP | ตัวเรืองแสง ตัวมีเงา ตัวอักษรวิ่ง | ตัวยก ตัวห้อย ตัวพิมพ์ดีด | ใส่ตาราง ใส่โค้ด ใส่การอ้างถึงคำพูด | Insert Unordered List Insert Ordered List เส้นขวาง Insert Progress Bar | Remove Formatting Toggle View
Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2016, 07:28:11 pm »





1. ทุกวันนี้เราก็เป็น ชาวพูด มากกว่า ชาวพุทธ พูดจริงแต่ไม่ค่อยทำ ชาวพูด พูดเฉย ๆ เราไม่ได้เป็นชาวพุทธเพราะ ทะเบียน เราเป็นชาวพุทธเพราะ ความเพียร เราเพียรพยายามเลิกละสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม พยายามบำเพ็ญสิ่งที่ดีงามในชีวิต พยายามทำสมาธิภาวนาให้เกิดปัญญาในการแก้ปัญหาในชีวิต

2. บุญ คือเครื่องชำระจิตใจ ให้เราขัดหรือลดอำนาจความโลภ โกรธ หลง ได้นั่นก็คือตัวบุญ บุญไม่สามารถประเมินได้ด้วยวัตถุ ไม่ใช่ว่าคนทำบุญพันบาท ได้บุญมากกว่าคนทำบุญร้อยบาท บุญไม่ได้ง่าย ๆ อย่างนั้น แต่มันอยู่ที่เจตนาของความเสียสละในการสร้างประโยชน์ สร้างความสุขให้คนอื่น

3. ความสบายมันอยู่ที่ความพอดี คำว่า พอดี จึงเป็นปริศนาธรรมของพุทธ เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องพยายามเข้าถึง เรายังไม่ต้องพูดถึงมรรคผลนิพพาน ไม่ต้องพูดถึง สุญญตา ความว่าง อะไรสูงส่งอย่างนั้น เราพูดถึงง่ายๆ ธรรมดาๆ คำนี้ก็พอแล้ว ทำอย่างไรชีวิตของเราจึงจะพอดี ทุกแง่ทุกมุมของชีวิต หากเรามีความพอดีก็จะสบาย

4. คนดี ในความหมายของพุทธศาสนาคือต้อง ฉลาด รู้เท่าทันคนด้วย คนที่ไม่รู้มักคิดว่าถ้าเป็นคนดีจะมองทุกคนในแง่ดีหมด แล้วจะถูกคนไม่ดีเอาเปรียบ ซึ่งนั่นไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องของ คนดี

5. หลวงพ่อชาสอนว่าความสบายมี 2 อย่าง คือ ความสบายที่เป็นไปเพื่อความสบาย และ ความสบายที่เป็นไปเพื่อความไม่สบาย บางทีเราต้องผ่านความไม่สบายก่อนเราจึงได้ความสบายที่มีคุณค่า เพราะความสบายบางอย่างถึงแม้ว่าจะให้ความสุขในปัจจุบันแต่ก็เกิดความไม่สบายในอนาคต เรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อมก็เป็นตัวอย่างที่ดี เราอาจจะทำลายธรรมชาติเพื่อความสุขความสบายอยู่ในขณะปัจจุบัน หรืออาจจะทำเพื่อลูกเพื่อหลานของเราได้ โดยลืมเสียว่าลูกของเราหลานของเราก็จะมีลูกมีหลานเหมือนกัน การสงเคราะห์ลูกหลานของเราอาจเป็นการเบียดเบียนลูกของลูก ๆ ที่ยังไม่ได้เกิด

6. ความทุกข์เกิดขึ้นในชีวิต ชอบโทษคนอื่นชอบเป็น นักโทษ โทษคนนั้นโทษคนนี้โทษพ่อแม่ โทษลูกหลาน โทษรัฐบาล โทษเศรษฐกิจ โทษอาหาร สิ่งที่โทษได้ในชีวิตมีนับไม่ถ้วน แต่ว่าทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นจากสิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านั้นเป็นแค่เงื่อนไขหรือเป็นปัจจัยหรือเป็นจุดกระตุ้น ความทุกข์อยู่ที่ใจ

7. พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ความเชื่อ เหมือนของขม ๆ เอาของขมไว้ในภาชนะเล็ก ๆ เช่น แก้วน้ำ จะทำให้น้ำในแก้วขมหมดเลย แต่สมมุติว่าเอาของขมนั้นไปไว้ในแทงค์น้ำใหญ่ๆ เปิดก๊อกชิมน้ำดื่มน้ำก็ไม่ขม แต่ไม่ใช่ว่าความขมหรือของขมหายไปเลย มันก็ยังมีอยู่เหมือนเดิมแต่ว่ามีก็เหมือนกับไม่มี เพราะสิ่งที่จืด สิ่งที่สะอาด สิ่งที่ไม่ขมมากกว่าเสียจนความขมนั้นเกือบจะไม่มีความหมาย ถ้าเราทำคุณงามความดีไว้มากไม่ใช่ว่าจะลบล้างกรรมเก่าหรือบาปอกุศลที่ไม่ดีได้ทั้งหมด แต่เหมือนกับว่าพลังหรืออำนาจของความดีจะมากกว่าพลังของความชั่วจนมีเหมือนกับไม่มี

8. ถ้าเป็นคนดีแล้วรำคาญคนที่ไม่ดี ไปที่ไหนก็กลุ้มใจ มีแต่ความไม่พอใจ เหมือนกับคนที่สูบบุหรี่ เลิกแล้วดูคนอื่นสูบก็ไปเทศน์ให้เขาฟัง นี่เรียกว่า ติดดี ท่านไม่ให้ติด แม้จะเป็นความดี ท่านไม่ให้เราติด เพราะว่าความติดเป็นทุกข์ สร้างความทุกข์แก่ใจ

9. พระพุทธศาสนาบอกว่าโกรธเขาคือ เกิด รักเขาคือเกิด อิจฉาเขาก็คือเกิด หลายคนบอกว่าไม่อยากเกิดอีกแล้ว แต่ยังพอใจจะไปโกรธคนนั้น อิจฉาคนนี้ มันขัดกันอยู่ในตัว ฉะนั้นต้องเบื่อที่จะไปอิจฉาเขา เบื่อที่จะไปโกรธเขา เบื่อที่จะไปอยากได้ อยากมี เกิดก็คือความเกิดของกิเลส ถ้าเราไม่อยากเกิด ก็อย่าให้กิเลสเกิด

10. ขอให้เราทุกคนเป็นผู้ไม่มีซีเคร็ต ไม่มีความลับ พระพุทธองค์สอนว่า ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ต่อหน้าคนอื่นเป็นอย่างไร ลับหลังก็เป็นอย่างนั้น หากไม่มีลับลมคมใน ไม่มีความลับ ไม่มีสิ่งไม่ดีที่ต้องปิดบังอำพราง เราจะอยู่ด้วยกันด้วยความไว้วางใจ มีความเคารพซึ่งกันและกัน


...โดย พระอาจารย์ ชยสาโร ภิกขุ

阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛


หัวข้อธรรม.....สิ่งทั้งหลาย มีใจนำหน้า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา(ธรรมบท  2 ค/13)



阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛


http://wp.me/p8c3jI-1J


http://youtu.be/JrvwPhJEqqM