ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2016, 07:49:21 pm »เรื่องของการถือฤกษ์งามยามดี เป็นสิ่งสำคัญที่สุด สำหรับชาวบ้าน ที่ยังไม่ถึงธรรมะของพระพุทธเจ้ามักจะคล้อยตามหรือเชื่อถือตาม ๆ กันมา โดยปราศจากเหตุผล และตราบใดที่คนเรายังไม่มีความเชื่อมันในกฎแห่งกรรมของพระพุทธศาสนาอย่างหนักแน่น แล้วก็ยากที่จะเลิกละได้ พระพุทธองค์ทรงวางหลักการถือฤกษ์ยามไว้ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! คนเหล่าใดทำความดีด้วย กาย วาจา และ ใจในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดี ของคนเหล่านั้น คนเหล่าใดทำความดีด้วย กาย วาจา และใจ ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของ
คนเหล่านั้น คนเหล่าใดทำความดีด้วยกาย วาจา และใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของคนเหล่านั้น คนทั้งหลายปฏิบัติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดี
หลักคำ สอนสำ คัญของพระพุทธศาสนา เน้นเรื่องการกระทำ เป็นใหญ่ ถือว่ำใครทำความดีเวลาใด เวลานั้นก็เป็นเวลาดี เป็นฤกษ์ที่ดีเป็นเวลาที่เป็นมงคล ทำ ให้เกิดโชคดี มีความสุขความเจริญตามมา แต่ทั้งนี้ จะต้องมีปัญญากำกับด้วย คือ ต้องประกอบด้วยกาลเทศะและบุคคลร่วมด้วย ถ้าทำกรรมใดโดยขาดปัญญา กาละและเทศะ เช่น หว่านข้าวในทะเล หรือทำนาหน้าแล้ง มันก็ย่อมจะเหนื่อยเปล่า และเสียของเปล่าแน่นอน และสิ่งประกอบสำคัญ ที่ไม่ควรลืมคือ อกุศลกรรมเก่า จะตามมาให้ผลในขณะที่เรากำลังทำความดี ให้เราต้องได้รับทุกข์ แต่เหตุที่เรา
ทำกรรมดีไว้ ผลก็จะต้องดีเสมอไป ไม่กลับกลายเป็นอื่น เรื่องกฎแห่งกรรม เป็นเรื่องลึกซึ้งและซับซ้อน ค่อนข้างจะเข้าใจยาก ควรที่จะศึกษาให้แจ่มแจ้ง มิฉะนั้นอาจเห็นผิดว่า คนทำดีได้ชั่วก็มี คนทำชั่วได้ดีก็มี ซึ่ง ตามกฎแห่งกรรมของพระพุทธศาสนาแล้ว ไม่มีทางจะเป็นไปได้ แต่เพราะการให้ผลของกรรม บางครั้งต้องข้ามภพชาติ จึง
ทำให้ผู้อ่อนปัญญาเห็นผิดไป เพราะ ไปเพ่งแต่กรรมในปัจจุบันไม่เห็นกรรมชั่วในอดีต ที่กำลังให้ผลอยู่ในปัจจุบัน ในฐานะชาวพุทธที่ดี ก็ควรจะดำเนินตามแนวคำาสอนของพระพุทธเจ้าเพราะเป็นแนวคำาสอนของผู้รู้แจ้งโลกทุกโลกแล้วไม่มีทางที่จะผิดพลาดได้อย่าได้ฝากความหวังไว้กับหมอดูซึ่งมักจะคู่กับหมอเดาจะพาให้เศร้าใจ