ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 01:14:11 am »


รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ลงพื้นที่สำรวจถ้ำพระโพธิสัตว์ อ.แก่งคอย สระบุรี

อจ.โบราณคดีลั่น’เพชรมีค่ากว่าหิน’! ย้ำถ้ำโพธิสัตว์คือเพชรของงานศิลป์ทวารวดี-หวั่นระเบิดหินกระทบภาพสลักพันปี

สืบเนื่องกระแสข่าวทักท้วงกรณีบริษัทเอกชน 2 ราย ขอทำการระเบิดหินใกล้กับถ้ำพระโพธิสัตว์ หรือถ้ำเขาน้ำพุ หมู่ 10 ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยรายหนึ่งเป็นบริษัทปูนชื่อดัง จะขอระเบิดหินห่างจากถ้ำพระโพธิสัตว์ประมาณ 2 กิโลเมตร และอีกบริษัทหนึ่งจะขอระเบิดหินห่างจากถ้ำพระโพธิสัตว์ประมาณ 280 เมตร ซึ่งเสี่ยงต่อความเสียหายกับภาพสลักนูนต่ำในถ้ำพระโพธิสัตว์จากการสั่นสะเทือนเป็นอย่างมากนั้น

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ได้เดินทางไปยังวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ โดยเบื้องต้นได้มีการพูดคุยกับเจ้าอาวาสและนายบุญมี วาทไชสงย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ซึ่งต่างห่วงใยในภาพสลักดังกล่าว เนื่องจากเป็นที่สักการะของชาวบ้านในท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน อีกทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์


วัดถ้ำโพธิสัตว์

จากนั้นได้เดินเท้าขึ้นไปบน “เขาน้ำพุ” ซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำ จากเชิงเขาใช้เวลาประมาณ 15 นาที ภูมิทัศน์โดยรอบประกอบด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีบันไดที่ทางวัดทำขึ้นเพื่อความสะดวกในการขึ้นไปยังถ้ำ

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า ภาพสลักที่ถ้ำพระโพธิสัตว์ ถือเป็นเพชรของงานศิลปะในวัฒนธรรมทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 หรือราว 1,000 ปีมาแล้ว จึงมีค่ากว่าจะถูกระเบิดไปเป็นหินก่อสร้าง ภาพดังกล่าวเป็นภาพสลักนูนต่ำรูปพระพุทธเจ้ากำลังเทศนาโปรดเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ 2 องค์คือ พระศิวะและพระนารายณ์ ด้านรูปแบบรับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ-หลังคุปตะ มีอายุร่วมสมัยกับพระพุทธรูปศิลาขาวที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ที่สำคัญมากคือเป็นภาพสลักที่มีพระพุทธเจ้าและเทพเจ้าในศาสนาฮินดูอยู่ร่วมกันที่เก่าแก่ที่สุดในไทย โดยอาจตีความได้ถึงการแข่งขันกันระหว่างศาสนา หรือในทางกลับกัน อาจเป็นการผสมผสานด้านความเชื่อก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานที่ทำให้ทราบว่าผู้คนในยุคทวารวดีมีการใช้ถ้ำเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีหลงเหลือเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น หากถูกทำลายไป ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ ถือว่าน่าเสียดายมาก


วัดถ้ำโพธิสัตว์

“ภาพนี้เป็นเพชรชิ้นหนึ่งของสมัยทวารวดี เพราะตัวอย่างของถ้ำธรรมชาติที่ถูกดัดแปลงให้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีไม่ถึง 10 แห่งที่เหลืออยู่ การอยู่ร่วมกันของพระพุทธเจ้า พระวิษณุ และพระศิวะที่เป็นภาพขนาดใหญ่อย่างนี้ ไม่เคยเห็น ถือเป็นสถานที่ซึ่งพุทธอยู่กับพราหมณ์อย่างใกล้ชิดที่สุด และเก่าที่สุด ถ้าเสียไปแม้เพียงบางส่วนก็น่าเสียดายมาก ถือว่าเป็นการทำลายหลักฐานชั้นดีไป”

สำหรับบรรยากาศภายในถ้ำ ประกอบด้วยภาพสลักขนาดใหญ่ รวมถึงเจดีย์บรรจุพระธาตุ ซึ่งชาวบ้านให้ข้อมูลว่า มีการเดินเท้าขึ้นมาทำบุญเป็นประจำ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีบทบาทต่อชุมชน นอกจากนี้ เขาน้ำพุแห่งนี้ยังมีชาวบ้านขึ้นมาหาของป่า และใช้น้ำบางส่วนจากน้ำตกซึ่งอยู่บริเวณเชิงเขาอีกด้วย
รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อธิบายถึงภูมิประเทศซึ่งเป็นเทือกเขาหินปูนสลับซับซ้อน ประกอบด้วยถ้ำและเพิงผาซึ่งมนุษย์ในอดีตมักดัดแปลงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์


รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อธิบายถึงภูมิประเทศซึ่งเป็นเทือกเขาหินปูนสลับซับซ้อน ประกอบด้วยถ้ำและเพิงผาซึ่งมนุษย์ในอดีตมักดัดแปลงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากถ้ำพระโพธิสัตว์แล้ว บนเขายังมีถ้ำอีกหลายแห่ง แต่ยังไม่พบว่ามีการสลักภาพบนผนัง เชื่อว่าทั้งหมดเคยถูกใช้เป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา หรือทำวิปัสสนาคล้ายพระสงฆ์ในวัดป่าดังเช่นปัจจุบัน แต่ไม่น่าจะมีการอยู่อาศัยถาวร อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการสำรวจด้านโบราณคดีโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม เมื่อครั้งยังเป็นอาจารย์คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร มีการพบหลักฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่ง รศ.ดร.รุ่งโรจน์มองว่าเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากถ้ำถูกใช้เป็นที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในอดีตมาตั้งแต่สมัยโบราณ






เทือกเขาหินปูนในตำบลทับกวาง มีการให้สัมปทานการระเบิดหินไปแล้วบางส่วน


จาก http://www.matichon.co.th/news/305026

<a href="https://www.youtube.com/v/RkJ8ZZrOQvs" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/RkJ8ZZrOQvs</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/l-PUjEns4dk" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/l-PUjEns4dk</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/4cxTe1j-LeM" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/4cxTe1j-LeM</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/h1Yc2Bb7FTs" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/h1Yc2Bb7FTs</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/NVi7q_FJpss" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/NVi7q_FJpss</a>