ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 12:42:28 pm »



รวมภาพประวัติศาสตร์ "พระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ ๕" ครั้งทรงเสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปี ๒๔๑๖

ภาพหมู่พระมหาเถรานุเถระ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ
อาราธนาให้เข้าร่วมในการพระราชพิธีทรงผนวช
ฉายพระรูปร่วมกัน ณ ภายในพระพุทธรัตนสถานมนทิราราม
ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๖
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ทรงเสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุในขณะทรงครองราชย์
และได้ประทับจำพรรษา ณ ที่นั้น










๑. พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
พระสมณฉายานามว่า “จุฬาลังกรโณภิกขุ”
๒. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (หม่อมเจ้ากระจ่าง ลดาวัลย์ อรุโณ)
ปฐมเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “หม่อมเจ้าพระอรุณนิภาคุณากร”
หม่อมเจ้าพระราชาคณะ ทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นพระอภิบาล
๓. พระเทพกวี (นิ่ม สุจิณฺโณ) วัดเครือวัลย์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุคุณคณาภรณ์

 ๔. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศที่
“พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์”
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกนิกาย วัดบวรนิเวศวิหาร
ทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ (พระอุปัชฌาย์)
[สมเด็จฯ พระองค์นี้ทรงสร้างพระกริ่งปวเรศฯ
เป็นที่โด่งดัง หายาก และมีราคาแพงมาก]

๕. พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี)
ปฐมเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม
๖. สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ)
ปฐมเจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม
๗. พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาส
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอริยมุนี

๘. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี อโนมสิริ) วัดปทุมคงคา
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี

 ๙. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปฐมเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระสาสนโสภณ”
ทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์




หมายเหตุ : จากการค้นคว้าของอาจารย์ชลทัต สุขสำราญ
โดยเปรียบเทียบกับโคลงในหนังสือ “คำกลอนสรรเสริญพระบารมี”
และหนังสืออื่นๆ พอจะอนุมานได้ว่าพระรูปประวัติศาสตร์นี้
น่าจะถ่ายเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๖
ถ่ายโดย หลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคณี)
เมื่อยังมีบรรดาศักดิ์เป็นที่ ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์

เจ้าของร้าน F.chit & son
ขอขอบคุณ http://www.dhammajak.net

http://panyayan.tnews.co.th/contents/207289/