ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2016, 08:40:49 pm »



ตามรอย..อิคคิวซัง ที่วัดคินคะคุจิ

นุ บางบ่อ...เรื่อง / ภาพ

ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะมีความคุ้นเคยกับวัดคินคะคุจิและท่านโชกุน จากภาพยนต์การ์ตูนอมตะเรื่องเณรน้อยเจ้าปัญญา หรือ อิคคิวซัง แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าสถานที่ล้ำค่าแห่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร



เมืองเคียวโตะ หรือที่ทั่วไปมักจะออกเสียงเรียกกันว่า เมืองเกียวโต นั้นเป็นอดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางความเจริญของเกาะฮนชู  จากสถิติถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลกในปี พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของเมืองเคียวโตะนั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 8 นับเป็นช่วงเวลาที่นักบวชในพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก  ช่วงเวลาดังกล่าวนักบวชได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการในราชสำนักของสมเด็จพระจักรพรรดิคัมมุ ทำให้จักรพรรดิตัดสินพระทัยที่จะย้ายนครหลวงไปยังภูมิภาคที่ห่างไกลจากอิทธิพลของพุทธศาสนา โดยทรงเลือกชัยภูมิแห่งใหม่ที่หมู่บ้านอุดะ นครหลวงแห่งใหม่นี้ได้รับนามว่า เฮอังเกียว หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน ซึ่งมีความหมายว่า นครหลวงแห่งสันติและสงบสุข  โดยได้แนวคิดมาจากนครหลวงฉางอานแห่งราชวงศ์ถัง เพียงแต่ปรับขนาดให้เล็กลง และต่อมาในปี ค.ศ. 794 เฮอังเกียวก็ได้กลายเป็นนครที่ตั้งของราชสำนัก ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฮอัง นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่หยิบยืมมาจากประเทศจีนและลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น

รูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในยุคนี้คือ สถาปัตยกรรมแบบชินเด็ง (Shinden )  อันจะประกอบด้วยเรือนหลัก และเรือนต่อขยายออกไปทางด้านตะวันตกและตะวันออก เชื่อมกับเรือนหลักด้วยทางเดินที่มีหลังคาคลุม เรือนหลักนั้นจะหันหน้าไปทางทิศใต้ซึ่งเป็นทิศมงคลตามคติความเชื่อแบบจีน  ส่วนเรือนทางทิศเหนือนั้นจะจัดให้เป็นที่พำนักของภรรยาหลวง  ด้านหน้าทำเป็นสวนที่ประกอบไปด้วยสระน้ำ เนินเขาจำลอง เกาะ และสะพาน  โดยมีกำแพงดินล้อมรอบหมู่คฤหาสน์ทั้งหมด ส่วนที่เป็นหลังคานิยมมุงด้วยเปลือกสนซ้อนกันเป็นชั้นหนามากกว่าการใช้กระเบื้อง เพราะกระเบื้องแบบจีนนั้นไม่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของญี่ปุ่น  พื้นจะเป็นพื้นไม้กระดาน เรือนด้านตะวันออกส่วนใหญ่จะมีทางเดินยาวเชื่อมสู่เรือนตกปลาที่สร้างไว้เหนือลำธารหรือสระน้ำ

เรือนแบบชินเด็งแต่ละหลัง สามารถแบ่งห้องได้ตั้งแต่ 4 ห้องถึง 9 ห้อง โดยใช้ฉาก หรือ ราวผ้าม่านเป็นเครื่องกั้นห้องตามขนาดความต้องการใช้งาน สถาปัตยกรรมแบบชินเด็งนี้จะเย็นสบายในฤดูร้อน

นักท่องเที่ยวจึงมักพบเห็นสถาปัตยกรรมแบบชินเด็งแบบดั้งเดิมได้จากสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ในเมืองเคียวโตะ ซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมไว้ได้เป็นอย่างดี อย่างเช่นสถานที่สำคัญที่น่าเดินทางไปท่องเที่ยวกันเมื่อเดินทางมาถึงเมืองแห่งวัฒนธรรมนี้คือ



วัดคินคะคุจิ  โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดโรคุออนจิ แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยมักจะเรียกกันว่า วัดทอง ซึ่งมีศาลาทองเป็นจุดเด่นตั้งตระหง่านอยู่ริมสระนำอันเงียบสงบ เริ่มแรกนั้นศาลาทองหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1940 เพื่อเป็นที่พักของโชกุนอาชิคางะ โยชิมิตสึ และผู้ติดตาม มีจุดเด่นอยู่ที่ตัวศาลานั้นเป็นสีทองจากทองคำเปลวและบนยอดสุดนั้นมีรูปหล่อนกฟีนิกซ์ยืนตระหง่านเป็นสง่าอยู่ ตัวเรือนประกอบไปด้วย 3 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นสถาปัตยกรรมสไตล์ชินเด็ง ในรูปลักษณ์แบบพระราชวัง ชั้นที่ 2 สไตล์แบบบ้านซามุไร และชั้นที่ 3 มีสไตล์แบบวัดพุทธนิกายเซน  ต่อมาผู้เป็นบุตรชายของท่านโชกุนได้เปลี่ยนแปลงให้สถานที่แห่งนี้เป็นวัดนิกายเซน 



แต่เป็นที่น่าเสียดายเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนคือในปี พ.ศ. 2493 ศาลาทองล้ำค่าหลังนี้ได้ถูกเผาทำลายโดยพระวิกลจริตไปจนหมดสิ้น ศาลาหลังที่เห็นในปัจจุบันนี้ได้มีการสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยมีการก่อสร้างให้เหมือนกับสภาพเดิมทุกส่วน นับว่าเป็นการแกะรอยสถาปัตยกรรมกันอย่างละเอียดอ่อน จนศาลาทองหลังใหม่นี้เสร็จสมบูรณ์มีความงดงามเสมอเหมือนกับศาลาทองหลังเดิมเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์  ในปี พ.ศ. 2537 วัดโรคุออนจิ รวมทั้งศาลาทอง ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกร่วมกับสถานที่สำคัญอื่นๆ ในเมืองเคียวโตะ



อีกหนึ่งความคุ้นเคยของชาวไทยส่วนใหญ่มักจะรู้จักวัดคินคะคุจิและท่านโชกุน จากภาพยนต์การ์ตูนอมตะเรื่อง เณรน้อยเจ้าปัญญาอิคคิวซัง จนนักท่องเที่ยวบางคนถึงกับเปลี่ยนชื่อวัดนี้ให้เสียใหม่ว่า วัดอิคคิวซัง ซึ่งก็เป็นอันเข้าใจตรงกันว่าเป็นสถานที่เดียวกัน  หากคุณผู้อ่านมีโอกาสเดินทางไปเที่ยวชม ผมอยากให้ลองไปยืนอยู่บริเวณริมสระน้ำหน้าศาลาทองคำหลังนี้ แล้วลองหลับตาพลันจิตนาการถึงความน่ารักเฉลียวฉลาดของเณรน้อยเจ้าปัญญาอิคคิวซัง ที่ได้ผ่านตาพบพานผ่านจอโทรทัศน์ในบ้านเรา คุณอาจจะยืนยิ้มหรือหัวเราะอย่างมีความสุขเหมือนผมในวันนั้นก็เป็นได้



ทุกวันนี้เศรษฐกิจที่สำคัญในเคียวโตะนั้นมาจากอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากเมืองเคียวโตะนั้นเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทชั้นนำมากมาย  แต่ทั้งนี้การท่องเที่ยวยังเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเคียวโตะ จากการที่เป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทำให้ในแต่ละวัน มีนักท่องเที่ยว นักเรียนนักศึกษาจากทั่วประเทศ เดินทางมาเยือนกันจำนวนมาก และจากการสำรวจและจัดอันดับระดับภูมิภาคในปี 2007 นครเคียวโตะได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่สองของเมืองที่น่าสนใจที่สุดในประเทศญี่ปุ่นรองจากเมืองซัปโปะโระ

นอกจากนี้งานฝีมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นยังคงเป็นงานที่สร้างรายได้สำคัญให้กับเมืองเคียวโตะ ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยช่างฝีมือในโรงงานขนาดเล็ก  เช่นการผลิตชุดกิโมโนของเคียวโตะนั้นมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก  ถือเป็นศูนย์กลางของการผลิตชุดกิโมโนชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น  แต่อย่างไรก็ดีธุรกิจนี้ก็ได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน เนื่องจากการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลด้านช่างฝีมือที่มีคุณภาพ ซึ่งก็คงประสบปัญหาเช่นเดียวกับงานฝีมือหลายๆ อย่างของประเทศไทย ที่น่าจะหาผู้สืบทอดไว้ก่อนที่สมบัติล้ำค้าจะสูญหายไปในอนาคตอันใกล้นี้

จาก http://travel.sanook.com/1398009/



<a href="https://www.youtube.com/v/98xZysh11KU" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/98xZysh11KU</a>