ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2016, 09:07:04 pm »



"อิคคิวซัง" ธรรมะในพลังการ์ตูน

โดย...พรเทพ เฮง

นั่งสมาธิทำให้เกิดปัญญา แก้ปัญหาโดยใช้สมอง นั่นคือภาพของเณรน้อยอิคคิวซังที่นั่งสมาธิใช้หมองเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ และถือเป็นฉากสำคัญที่คลี่ปมต่างๆ ในแต่ละตอน

ช่วงหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา มีโอกาสหยิบการ์ตูนญี่ปุ่น “อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา” มาดูใหม่ ถือเป็นการปัดฝุ่นกันเลยทีเดียว เพราะเก็บไว้นานมาก แผ่นวีซีดีมัดใหญ่ซึ่งซื้อการ์ตูนเรื่องนี้เก็บไว้เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว

คงไม่ต้องสาธยายสำหรับการ์ตูนเรื่องนี้กันมากนัก เพราะมีการขยายความเล่าเรื่องถึงประวัติพระนิกายเซน ชื่อ อิคคิว โซจุน ที่มีชีวิตในช่วงปี ค.ศ. 1394-1481 ซึ่งเป็นต้นแบบของเณรน้อยอิคคิวซังคนนี้ และมีหนังสือแปลเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับอิคคิวซังออกมาด้วย

แน่นอน การ์ตูนเรื่องนี้ถือว่าเป็นอมตะอยู่เหนือกาลเวลา ดูตอนเด็กก็สนุกบันเทิงและได้ปัญญา ดูตอนวัยรุ่นก็ได้มุมมองอีกอย่างหนึ่ง เมื่อดึงกลับมาดูตอนผู้ใหญ่ก็พบความลึกซึ้งเข้าไปอีกชั้นหรือมิติหนึ่ง เนื่องจากได้ผ่านพบประสบการณ์และตกตะกอนชีวิตมากขึ้น

แก่นของธรรมะของพุทธศาสนานิกายเซน ที่เรามองผาดเผินนั่งสมาธิใช้สมองขบคิดแก้ปัญหาเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น หรือการปุจฉาวิสัชนา ซึ่งเป็นการตั้งคำถามสนุกแบบศรีธนญชัย แต่การได้กลับมาพินิจพิเคราะห์ถึงการถาม-ตอบเชิงปัญญาทางธรรม ก็มีอะไรที่ลึกซึ้งอยู่มากมาย

ในหนังสือพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด ของ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต เขียนอธิบายไว้ว่า ปุจฉาวิสัชนา แปลว่า ถามตอบกัน หมายถึงการถามและตอบกันไปมา เป็นการหาความรู้ความเข้าใจจากอีกฝ่ายหนึ่ง ปุจฉาวิสัชนาจึงเป็นคำเรียกการเทศน์ที่มีการถามตอบกันเช่นนั้นว่า เทศน์ปุจฉาวิสัชนา คือพระรูปหนึ่งเป็นผู้ถาม อีกรูปหนึ่งเป็นผู้ตอบ โดยถามกันในเรื่องธรรมบ้างเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังบ้าง

ปุจฉาวิสัชนาเป็นวิธีสอนอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า โดยทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์หรือผู้เข้าเฝ้าถามปัญหาได้ และพระองค์ทรงตอบเอง เป็นทางเกิดปัญญาอย่างหนึ่ง เป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนาได้ซักไซ้ไล่เลียงถามจนกระทั่งได้คำตอบที่พอใจ เป็นวิธีการให้ความรู้ตรงแก่ผู้สงสัยในเรื่องนั้นๆ และเป็นการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในการเรียนการสอน หรือการสนทนา

เคยได้ดูหนังทิเบตเรื่องหนึ่ง แต่จำชื่อเรื่องไม่ได้เลือนๆ แล้ว มีฉากหนึ่งที่ติดตาติดใจมาก ก็คือการปุจฉาวิสัชนาแบบพระทิเบตที่ถามตอบทางธรรมตรงลานวัดกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ท่าทางเคร่งเครียดขึ้งโกรธในการดวลปัญญากัน นั่นก็คืออีกวิธีหนึ่งในการเข้าสู่มรรคาแห่งธรรม เพื่อบรรลุธรรม

แรงบันดาลใจอย่างหนึ่งในช่วงสมัยวัยรุ่น การกลับมาดูการ์ตูนอิคคิวซังที่นำกลับมาฉายใหม่ทางจอทีวีอีกครั้งในคราวนั้น ทำให้ได้ไปหาอ่านหนังสือเกี่ยวกับเซนมาอ่าน

เซน เป็นพุทธศาสนาที่สอนให้คนเราเข้าถึงความมีพุทธตา (ธรรมชาติแห่งพุทธะ) สภาวะจิตที่เป็นจริงที่สุด คือ สภาวะที่ผู้แสวงหาธรรมจะรู้แจ้งหรือเข้าใจสัจธรรมได้แค่ไหน

เมื่อได้อ่านถึงการปุจฉาวิสัชนา ก็พบว่าการสนทนาธรรมแบบเซน หรือที่เรียกกันว่า ปุจฉาวิสัชนาธรรมแบบเซน ไม่ใช่การสนทนาธรรมลักษณะง่ายๆ หากแต่เป็น “คำถ่อมตัว” แบบหนึ่งคือการดลใจให้ผู้แสวงหาธรรม หาคำตอบจากคำถามที่เขาตั้งต้นขึ้น ในลักษณะหนึ่งคนถามหนึ่งคนตอบ หรือที่เรียกกันว่า “ปรึกษาหารือ” คือต่างฝ่ายต่างแลกเปลี่ยนความเห็นกันไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงรูปแบบต่างๆ อาทิ พฤติกรรม อากัปกิริยา การประพันธ์ หรืออีกหลายๆ อย่าง



จุดสำคัญของการสนทนาธรรม คือ อาจารย์จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ หรือที่เรียกกันว่า “โกอาน” ซึ่งโกอานแต่ละเรื่องจะแสดงให้เห็นคุณค่าของเซนได้เต็มที่

สุนทรียะในพุทธศาสนานิกายเซนมีความโดดเด่นอยู่ที่บทกวีเซน โดยเฉพาะงานเขียนของอิคคิวซัง หรืออิคคิว โซจุน หยิบบทความชื่อผลงานของอิคคิวซัง เขียนโดย เต็ง ในเว็บไซต์ marumura.com ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นบอกว่า

งานเขียนของอิคคิว โซจุน มักจะอยู่ในรูปแบบของอักษรจีนแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นที่นิยมกันในหมู่นักประพันธ์ร่วมสมัยนั้น บทกวีของท่านมักจะอยู่ในลักษณะที่แสดงออกแบบทันทีทันใด แหลมคมและชาญฉลาด และได้แปลบางส่วนของบทกวีไว้ด้วย ขอหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง


“ความไม่แน่นอนของชีวิต

ผ่านความทุกข์และเจ็บปวด

สอนเราว่า

อย่ายึดติด

กับโลกอันเลื่อนลอยนี้”


จะเห็นได้ว่าเพียงบทกวีหนึ่งบทสั้นๆ บ่งบอกถึงสัจธรรมชีวิตให้ตระหนักรู้ในใจได้มากกว่าคำสอนสาธยายเรื่องราวชีวิตเกิดแก่เจ็บตายเป็นร้อยๆ หน้า แต่ก็เป็นเรื่องจริตของผู้รับสารจากบทกวีด้วยเช่นกัน หยิบบทกวีเซนของอิคคิว โซจุน อีก 2 บทมาให้อ่านกัน


“ทำไมผู้คน

จึงสิ้นเปลืองไปกับการตกแต่ง

บนโครงกระดูกนี้

ซึ่งถูกกำหนดให้สูญสลายไป

โดยไร้ร่องรอย

โลกใบนี้

เป็นเพียงแต่

ความฝันอันล่องลอย

เหตุไฉนจึงตื่นตระหนก

กับการเสื่อมสลายไป”



อีกบทก็เป็นกวีง่ายๆ แต่ลึกซึ้ง ดูเหมือนเป็นประโยคบอกเล่าง่ายๆ ปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อได้ทบทวนและขบให้แตกมันช่างลึกล้ำดำดิ่งยิ่งนัก


“ฉันไม่ชอบ ฉันรู้ว่าจริงๆ แล้วมันไม่มีอะไร

แต่ฉัน

ดูดกินลูกพลัมอันแสนหวานของโลก”


จะเห็นว่าบทกวีทั้งสองบท สั้นกระชับได้ใจความ ปลุกการตื่นรู้ถึงธรรมชาติภายในของชีวิต เพื่อตั้งต้นพิจารณาและเพ่งพิศชีวิตของตัวเอง นี่คือสิ่งที่ได้ไปไกลกว่าการ์ตูนอิคคิวซัง

จาก http://www.posttoday.com/ent/thai/428318