ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2016, 10:49:07 pm »



วิจัย 'มจร' พบ ใช้ชีวิตพอเพียง ทำ GDP สุขเพิ่ม

วิจัย'มจร'พบการรู้จักใช้ชีวิตแบบพอเพียงความซาบซึ้งในการกระทำความดี เป็นตัวชี้วัดความสุขทางปัญญาเชิงพุทธ เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิต สร้างสังคมที่มีความสุขยั่งยืน

21 เม.ย.2559 ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาคณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เป็นหนึ่งในคณะโครงการวิจัยเรื่อง "การสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขของประชาชนตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา" ที่มีพระมหาสุทิตย์ อาภากโร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร  เป็นหัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า แนวทางการพัฒนาประเทศต่างๆทั่วโลกได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ มองถึงรายได้ จากมูลค่าตลาดและสินค้าบริหารที่เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) โดยใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลักและใช้กลไกของภาครัฐและภาคเอกชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศ

แต่ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจไม่ได้ตอบโจทย์ว่าคนในประเทศมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง เนื่องจากการพัฒนาประเทศต่างๆยังคงประสบปัญหาในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ฉะนั้นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจไม่ใช่คำตอบที่จะทำให้มนุษย์มีความสุขอย่างแท้จริงได้ ประเทศที่นำดัชนีชี้วัดความสุขมาประยุกต์ใช้เป็นประเทศแรก ได้แก่ ประเทศภูฎานที่ได้มีการนำแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness – GNH) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยภูฎานได้สร้างแนวคิดใหม่ในการนิยามความเจริญก้าวหน้าแบบองค์รวม โดยการวัดความอยู่ดีมีสุขที่แท้จริงมากกว่าการบริโภค

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและสร้างตัวชี้วัดความสุขตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mix Methodology Research) วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับพระเถระผู้ใหญ่ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมการเสริมสร้างความสุขตามหลักพระพุทธศาสนาทั้งในประเทศไทยและประเทศภูฎาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาตัวชี้วัดความสุข หรือ Program Service Division & Administration and Finance Division Gross National Happiness Commission of Phutanนอกจากนี้ยังได้มีการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key-informants) ประกอบด้วยกลุ่มพระสงฆ์ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 รูป/คน  และแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างประชาชนจำนวน 421  คน

ผลวิจัยพบว่า

1. การสร้างเกณฑ์ชี้วัดความสุขของประเทศภูฏานเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างวัตถุนิยม (materialism) และจิตวิญญาณ (spiritualism) โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีสติ อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดที่ครอบคลุมการบูรณาการอย่างรอบด้าน โดยเป็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมวัฒนธรรม และธรรมาภิบาลรวมเข้าด้วยกัน โดยมีหลักฐานคิดจากหลักการทางพระพุทธศาสนา คือ ทางสายกลาง ความพอดี พอเพียง

2.องค์ประกอบตัวชี้วัดความสุขเชิงพุทธที่สามารถวัดได้ในระดับโลกิยสุข เนื่องจากสามารถวัดความเที่ยงตรง เหมาะสำหรับสร้างแบบวัดความสุขสำหรับประชาชน  โดยสรุปกรอบแนวคิดความสุขตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามี 2  ประเภท คือ ความสุขทางกาย หรือ กายิกสุข  และความสุขทางใจ เรียกว่า เจตสิกสุข ภายใต้กรอบนิยามของภาวนา  4  นำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์เข้ากับองค์ประกอบตัวชี้วัด 4  มิติ คือ สุขทางกายภาพ สุขทางสังคม (ศีล) สุขทางจิตใจ สุขทางทางปัญญา ได้พัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดความสุขจำนวน 4  องค์ประกอบ 18  ตัวชี้วัดหลัก 65  ตัวชี้วัดย่อยดังนี้

     (1) ความสุขทางกายภาพ (Physical Happiness) หมายถึง ภาวะของบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุหรือทางกายภาพ เพื่อตอบสนองความสุข สามารถรับรู้อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจต่างๆ การบริโภคใช้สอยปัจจัย 4   อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การใช้เทคโนโลยี เป็นไปด้วยสติและเพื่อปัญญา  แบ่งเป็นองค์ประกอบ 4  องค์ประกอบย่อย คือ สุขทางกาย ความสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ การมีสภาพแวดล้อมที่ดี การจัดการทรัพย์สินโดยชอบธรรม

     (2) ความสุขทางสังคม (Moral Happiness) หมายถึง ความรู้สึก ความสะดวก ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในครอบครัว และในสังคมที่ไม่มีการเบียดเบียน ทำร้ายซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างสรรค์สังคม แบ่งเป็นองค์ประกอบ 4  องค์ประกอบย่อย คือ ครอบครัวเป็นสุข ความรักสามัคคีในสังคม  สุขในสงเคราะห์ต่อผู้อื่น  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

     (3) ความสุขทางจิตใจ (Emotional Happiness) หมายถึง การมีส่วนประกอบทางด้านคุณธรรม ความดีงามภายในจิตใจ เช่น มีความเมตตา กรุณา ความขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ ผ่องใส สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ไม่ขุ่นมัวด้วยอารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบที่จะมีกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถแบ่ง 4  องค์ประกอบย่อย คือ สุขภาพจิตเข้มแข็ง สมรรถภาพจิตดี คุณภาพจิตดี ความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง

     (4) ความสุขทางปัญญา (Intellectual Happiness) หมายถึง การมีสติปัญญา ความเชื่อ ความรู้ ความเห็น ความเข้าใจชีวิตและโลกอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง สามารถอยู่กับความเป็นจริงของโลกและชีวิตได้อย่างปกติสุข มองเห็นและเข้าใจกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง มีเหตุผล สามารถพิจารณาเห็นปัจจัยต่างๆ อันเป็นสาเหตุของความสุขและความทุกข์ในชีวิตได้ การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาและดับทุกข์ได้  แบ่งเป็น 6 ประกอบย่อย คุณค่าในพัฒนาคุณภาพชีวิต การเสียสละเพื่อความสุขส่วนรวม การรู้เท่าทันในการใช้ชีวิต การรู้จักใช้ชีวิตแบบพอเพียง การมีหลักธรรมะในการดำเนินชีวิต ความสุขสงบในทางธรรม


จากการสำรวจความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ พระสงฆ์ นิสิต และประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการศึกษาเรียนรู้ตามหลักพระพุทธศาสนาเชิงบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่เพื่อพัฒนาจิตใจและปัญญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพบว่า

     (1) สุขทางกายภาพ มีองค์ประกอบตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ความสุขทางกายได้แก่การไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ความสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ ได้แก่ การรู้จักพิจารณาก่อนการบริโภคใช้สอยสิ่งของในชีวิตประจำวัน

     (2)สุขทางสังคมมีองค์ประกอบตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้แก่ การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อม ดินฟ้า อากาศที่ดีและเหมาะสม การจัดการทรัพย์สินโดยชอบธรรมได้แก่ การหาทรัพย์มาด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ครอบครัวเป็นสุข ได้แก่ การมีความอดทนและให้อภัยกัน ความรักสามัคคีในสังคม ได้แก่ ความประพฤติดีงาม มีระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกัน สุขในสงเคราะห์ผู้อื่น ได้แก่ การแบ่งปันสิ่งของและให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้แก่ การไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น

     (3) สุขทางจิตใจ มีองค์ประกอบตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สุขภาพจิตเข้มแข็ง ได้แก่ การมีความเชื่อมั่นว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ ได้แก่ การมีจิตใจปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย ไม่เศร้าหมอง สมรรถภาพจิตดี ได้แก่ ความอดทนในการดำเนินชีวิต คุณภาพจิตดี ได้แก่การระลึกถึงและตอบแทนบุญคุณผู้อื่น ความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ได้แก่ การมีคุณค่าต่อสังคม

     (4) สุขทางปัญญา มีองค์ประกอบตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือคุณค่าในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่ การใช้ชีวิตแบบไม่ประมาท การเสียสละเพื่อความสุขส่วนรวม ได้แก่ การช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้น การรู้เท่าทันในการใช้ชีวิต ได้แก่ การยอมรับความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและการรับรู้สิ่งต่างๆตามความเป็นจริง การรู้จักใช้ชีวิตแบบพอเพียงได้แก่ความพอประมาณในการบริโภคปัจจัย ๔ การมีหลักธรรมะในการดำเนินชีวิต ได้แก่ การมีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำเนินชีวิต ความสุขสงบในทางธรรม ได้แก่ ความซาบซึ้งในการกระทำความดี


นอกจากนี้ยังพบว่า มีวิธีการเสริมสร้างความสุข โดยนัยที่เรียบง่ายได้แก่การอยู่ให้เป็นสุข สนุกกับสิ่งที่ทำมากที่สุดการทำหน้าที่ของตนเองให้ถูกต้องเป็นธรรมการเดินทางพักผ่อน การเดินทางท่องเที่ยว การอ่านหนังสือเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ  การระลึกถึงบุญคุณและตอบแทนบุญคุณการมีความอิ่มเอมใจเมื่อมีโอกาสแบ่งปันสิ่งของและการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นที่ด้อยโอกาสการออกไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมช่วยเหลือชาวบ้านหรือพัฒนาชุมชนและสังคม การตั้งมั่นทำสมาธิให้จิตใจสงบพร้อมต่อสู่กับปัญหา การเดินทางพักผ่อน การเดินทางท่องเที่ยว การอ่านหนังสือ  ลดการฟุ่มเฟือยและการใช้จ่ายเกินตัว รู้จักและเลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสม และการอยู่กับครอบครัว เป็นต้น

ดร.กมลาศ  กล่าวด้วยว่า จึงสรุปได้ว่า องค์ประกอบตัวชี้วัดความสุขตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ถือว่าเป็นการสร้างตัวบ่งชี้ในการวัดคุณภาพของชีวิตอย่างหนึ่ง มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรต่างๆ ในระดับภาครัฐและภาคเอกชนกำหนดสร้างตัวชี้วัดเพื่อประเมินคุณภาพของคนในสังคม และความเป็นสังคมอยู่ดีมีสุข โดยการนำหลักธรรมมากำหนดวิธีสร้างความสุขทั้งสุขภายนอกและสุขภายใน และเสนอแนวทางในการสร้างความสุขในระดับบุคคลระดับชุมชน  ระดับองค์กรระดับนโยบายเพื่อการพัฒนาสังคมและประเทศบนฐานความสุขเชิงพุทธที่ยั่งยืนต่อไป


จาก http://www.komchadluek.net/news/amulets/226298