ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 19, 2016, 07:52:57 pm »



5 เรื่องราวแสนอบอุ่นของพ่อหลวง จากพระบรมวงศานุวงศ์และคนใกล้ชิด

ตลอดเวลาแห่งการครองราชย์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ชาวไทยทุกคนคงได้เห็นภาพของพ่อหลวงทรงงานหนักอย่างไม่ลดละ แม้แต่ในขณะที่ทรงประชวร… และ 5 เรื่องราวอันแสนอบอุ่นต่อไปนี้ จะแสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงงานหนัก ด้วยเหตุผลสำคัญเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น คือ การมีพระราชหฤทัยอันมุ่งมั่นที่จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎรของพระองค์


“ฝรั่งชมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ไม่เหมือนใคร ทำให้สถาบันกษัตริย์ดำเนินไปอีกแนวหนึ่ง เป็นแนวใหม่ที่ไม่มีที่ไหนในโลก ไม่มีที่ไหนในโลกที่พระมหากษัตริย์จะออกไปแล้ว ประชาชนมานั่งเล่าถึงความทุกข์ แล้วพากันไปดูจนถึงหลังบ้าน”

พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแก่กลุ่มนักข่าวหญิง เมื่อปี 2523
 

“เวลาที่ทรงพระสำราญ คือ เวลาที่เสด็จออกวางโครงการ พัฒนาประเทศ และเห็นว่าพระราชดำริคงจะมีประโยชน์ต่อประชาชนในเวลาที่เห็นผลจากโครงการต่างๆ อีกประการหนึ่ง สิ่งที่ทำให้ทรงพระสำราญ คือการได้ทอดพระเนตรเห็นประชาชนมีน้ำใจต่อท่านและประชาชนด้วยกัน ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจะมีส่วนช่วยพระองค์ท่านได้ โดยการช่วยตัวเอง ช่วยเพื่อนร่วมชาติคนอื่นๆ มีความรักความสามัคคี ทำตนเป็นพลเมืองดี เห็นแก่ชาติบ้านเมือง”

พระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หนังสือในหลวงของเรา
 

“ในหลวงทรงห่วงใยประชาชนมาก เมื่อหนึ่งอาทิตย์มาแล้ว ในหลวงทอดพระเนตรข่าวน้ำท่วมเป็นเวลา 5 ชั่วโมงเต็มๆ ทำให้เห็นว่า ทรงห่วงประชาชนจนเครียดและทรงถ่ายออกมาเป็นเลือดจำนวนมาก ความดันพระโลหิตตก ต้องพาเข้าห้องฉุกเฉิน แต่ตอนนี้กลับสู่อาการปกติแล้ว ข้าพเจ้าเห็นแล้วใจไม่ดี ไม่อยากพูดในฐานะลูก แต่อยากพูดในฐานะของคนที่ดูแลท่านมาตลอด ทรงรักประชาชน ทรงห่วงทุกข์สุขของประชาชน จึงทำให้ออกมาในอาการป่วยดังกล่าว หมอยังหาแผลไม่ได้ว่าตรงไหนเลือดออก ตอนนี้ยังเฝ้าดูพระอาการอยู่ แต่อยากให้รู้ว่าใจท่านอยู่กับประชาชนเสมอ การที่ข้าพเจ้ามีพ่อแม่แบบนี้ สอนให้ข้าพเจ้ารู้จักรับใช้ประชาชน ทุกอย่างมันอยู่ในสายเลือดข้าพเจ้าที่ต้องรู้จักรับใช้ประชาชน ถ้าถามว่าเหนื่อยไหม ไม่เลย คนเราถ้าเล่นละครเป็นฉากๆ จะเหนื่อยมาก แต่ถ้าทำด้วยใจไม่เหนื่อยเลย”

พระดำรัสของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ 7 พฤศจิกายน 2554
 

“เท่าที่ผมทราบมานั้น ไม่มีอะไรทำให้ทั้งสองพระองค์สำราญพระราชหฤทัยเกินไปกว่าการที่ได้ทรงพบปะกับราษฎรของพระองค์ แม้จะใกล้หรือไกลก็ตามที ตามที่มีคำพังเพยแต่ก่อนว่า รัชกาลที่ 1 โปรดทหาร รัชกาลที่ 2 โปรดกวีและศิลปิน รัชกาลที่ 3 โปรดช่างก่อสร้าง (วัด) นั้น ผมกล้าต่อให้ได้ว่า รัชกาลที่ 9 นี้โปรดราษฎร และคนที่ได้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดที่สุดเสมอมาก็คือราษฎร มิใช่ใครที่ไหนเลย”

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน 2505
 

“ทรงเก็บประเทศไทยทั้งประเทศไว้ในพระราชหฤทัย ตัวนายแพทย์ผู้รักษาโรคหัวใจที่ถวายการรักษาผู้หนึ่งกล่าวว่า ถึงแม้จะได้รักษาคนไข้มากเพียงใด แต่จะให้ตัวเองมีใจเป็นปกติย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะพระองค์ท่านไม่ใช่เป็นคนไทยอย่างเดียว แต่พระองค์ท่านเป็นประเทศไทย เป็นไปตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงมาแล้วว่า เวลาที่ทรงพระประชวรแทบทุกครั้ง ไม่เคยเป็นอุปสรรคต่อการที่พระสมองจะดำริใดๆ ทั้งสิ้น เพราะการที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศไทย ย่อมจะต้องทรงรู้จักประเทศไทยได้ดี”

ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา บันทึกใน ทำเป็นธรรม
 

ขอบคุณภาพ จาก นิตยสารแพรว http://www.praew.com

จาก http://www.secret-thai.com/article/15736/5-stories-from-royal-family/