ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2016, 01:08:04 pm »



‘พระสมเด็จจิตรลดา’ พระเครื่องสิริมงคล สร้างโดยพระหัตถ์ ‘ในหลวง ร.9’

“พระสมเด็จจิตรลดา” เป็นพระเครื่องที่ “ในหลวง รัชกาลที่ 9” ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์เพื่อพระราชทานแก่ทหารและข้าราชการ ระหว่างปี พ.ศ.2508-2513 ทั้งสิ้น 2,500 องค์ ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของประชาชนเป็นอย่างมาก คาดราคาพุ่งสูงถึงหลักล้าน ...

ห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยทั่วโลกต้องได้รับข่าวที่ทำให้โศกเศร้าที่สุดในชีวิต นั้นคือ พระพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สวรรคต ภายหลังมีพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมศพ มายังพระบรมมหาราชวัง ในวันนั้นประชาชนต่างหลั่งไหลไปที่โรงพยาบาลศิริราช และมณฑลพิธีท้องสนามหลวงเป็นจำนวนมาก นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่มิอาจลืมเลือน ตั้งแต่ได้รับข่าวร้ายสื่อทุกแขนงเริ่มนำเสนอพระราชกรณียกิจของพระองค์ตลอด 70 ปี ซึ่งมีหลากหลายด้าน อาทิ การศึกษา การเกษตร สาธารณสุข รวมถึงศาสนา พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะ ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงพระผนวช และประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธศาสนา




พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระเครื่องที่ "ในหลวง ร.9" พระราชทานแก่ทหารและข้าราชการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508-2513

หากย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสร้าง “พระสมเด็จจิตรลดา” หรือ “พระกำลังแผ่นดิน” ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่ ทหาร ข้าราชการ ตำรวจ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508-2513 ทั้งสิ้น 2,500 องค์ พระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง โดยมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า “ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ” ดังเช่นในเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ ความฝันอันสูงสุด ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรมเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย โดย “พระสมเด็จจิตรลดา” เป็นพุทธศิลป์แบบแม่พิมพ์ลึก ต้องใช้ดินน้ำมันกดลงบนแม่พิมพ์ลึก เพื่อถอดแบบองค์พระสมเด็จจิตรลดา

ต่อมา กรมศิลปากร ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทอดพระเนตร และทรงวินิจฉัยแบบพิมพ์ พระองค์ท่านมีพระกระแสรับสั่งให้แก้ไข ตกแต่ง แบบพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดาหลายครั้ง จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย เมื่อได้แม่พิมพ์ที่สมบูรณ์ด้วยพุทธศิลป์ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน พระองค์ทรงนำแม่พิมพ์ที่แกะไว้ทำการถอดต้นแบบพระสมเด็จจิตรลดาจากแม่พิมพ์หิน ทรงมีพระราชประสงค์ให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร หาวัตถุมวลสารที่ศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละพื้นที่ นำมาทูลเกล้าฯ ถวาย รวมกับมวลสารจากของใช้ส่วนพระองค์ จากนั้น ทรงนำต้นแบบพระสมเด็จจิตรลดาจำนวนหนึ่ง เรียงบนภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อทำการหล่อแม่พิมพ์อีกครั้ง โดยทรงหล่อเป็นแม่พิมพ์ยาง




พระสมเด็จจิตรลดา พ.ศ. 2510

พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระเครื่องปางสมาธิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ดอกบัว ประกอบด้วย กลีบบัวบานทั้ง 9 กลีบ และเกสรดอกบัว 9 จุด อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขอบองค์พระด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน เฉียงป้านออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย มี 2 ขนาดพิมพ์ คือ พิมพ์เล็ก กว้าง 1.2 ซม.สูง 1.9 ซม. ส่วนพิมพ์ใหญ่ กว้าง 2 ซม. สูง 3 ซม. มีหลายสี ตามมวลสารที่ใช้ผลิตในแต่ละครั้งแตกต่างกัน ได้แก่ สีน้ำตาล สีน้ำตาล-อมเหลือง สีน้ำตาล-อมแดงคล้ายเทียน สีดำอมแดง หรือ สีดำอมเขียว มีทั้งสีเข้มและอ่อน

ด้าน สีกาอ่าง คอลัมนิสต์ “สนามพระวิภาวดี” หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เปิดเผยว่า ขณะนี้ “พระสมเด็จจิตรลดา” เป็นที่ต้องการของคนจำนวนมาก ประกอบกับจำนวนองค์พระที่มีจำกัดและหายาก ทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลปีพ.ศ.2539 ราคาของพระเครื่ององค์ดังกล่าว อยู่ที่ 3 แสนบาท ตอนนี้ก็ 20 ปีพอดี คาดว่า ราคาจะอยู่ที่หลักล้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและเจ้าของอีกด้วย หากองค์พระมีการเก็บดูแลเป็นอย่างดี ราคาก็จะสูง และหากมาจากผู้รับพระราชทาน ราคาก็จะขยับสูงขึ้นไปอีก


จาก  http://www.thairath.co.th/content/758312