ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2016, 03:09:00 pm »62.ในหลวงพระราชทานโอกาสให้นักเรียนตาบอดมาร่วมขับร้องเพลงบันทึกเสียงออกอากาศทางวิทยุ โดยเสด็จฯมาทรงบันทึกเสียงด้วยพระองค์เอง ทรงสอนดนตรีพระราชทานแก่คนตาบอดหลายรายประกอบกับพระราชทานบทเพลงพระราชนิพนธ์ให้เป็นเพลงประจำโรงเรียนคนตาบอดกรุงเทพฯ คือ เพลงพระราชนิพนธ์ ยิ้มสู้ เพราะมีพระราชประสงค์ให้กำลังใจแก่พสกนิกรคนพิการที่ด้อยโอกาสและขาดการยอมรับจากคนในสังคม ให้มีกำลังใจในการดำรงชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่า เพราะคนพิการต่างมีความรู้ความสามารถไม่น้อยไปกว่าคนปกติธรรมดาทั่วไป หากสมาชิกในสังคมให้โอกาสและเคารพในสิทธิของกันและกัน สมดังใจความดังปรากฏในเนื้อร้องของบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ว่า “คนเป็นคน จะจนหรือมี ร้ายหรือดีคงมีหวังอยู่ ยามปวงมารมาพาลลบหลู่ ยิ้มละมัยใจสู้หมู่มวลเภทภัย”
63.ทรงพระราชดำรัสถึงคนพิการได้อย่างลึกซึ้งกินใจมากว่า “งานช่วยเหลือผู้พิการมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการมิได้เป็นผู้ที่อยากจะพิการ แต่อยากช่วยตนเอง ถ้าเราไม่สามารถช่วยเขาให้สามารถที่จะปฏิบัติงานอะไร เพื่อมีชีวิตและมีเศรษฐกิจของครอบครัว จะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัว หนักแก่สังคม ฉะนั้น นโยบายที่จะทำก็คือ ช่วยเขาให้ช่วยตัวเองได้ เพื่อที่จะให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม…”
64.“โรงพยาบาลราชานุกูล” เป็นชื่อที่พระราชทานใหม่แทน“โรงพยาบาลปัญญาอ่อน” ในโอกาสที่พระราชทานเงินรายได้จากการฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์เมื่อปี 2507 ให้สร้างอาคารขึ้นในเขตโรงพยาบาลและเสด็จฯไปทรงเปิดอาคาร ด้วยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแผ่ปกเกล้าฯไปถึงเด็กและผู้ปกครองของเยาวชนที่มีความบกพร่องทางปัญญา ยังความปลาบปลื้มอย่างหาที่สุดมิได้แก่พสกนิกรคนพิการทั้งชาติ
พระเมตตาต่อสัตว์และธรรมชาติ
65.ในหลวงทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาต่อสัตว์โลก เห็นได้ชัดจากสุนัขทรงเลี้ยงที่ชื่อว่า “ทองแดง” ซึ่งเคยเป็นสุนัขจรจัดบริเวณซอยศูนย์แพทย์พัฒนา ถนนพระราม 9 มาก่อน โดยนายแพทย์ท่านหนึ่งได้นำคุณทองแดงมาทูลเกล้าฯถวายให้ทอดพระเนตร ซึ่งพระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นสุนัขทรงเลี้ยงโดยมิได้ทรงรังเกียจว่าเป็นสุนัขที่ด้อยคุณค่าผิดจากค่านิยมของชนชั้นสูงทั่วไปในสังคมที่มักเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีสายพันธุ์มาจากต่างประเทศและมีราคาแพง คุณทองแดงจึงนับเป็นการปลุกกระแสให้คนไทยหันมารักสุนัขสายพันธุ์ไทยกันมากยิ่งขึ้น โดยลูกทั้งเก้าของคุณทองแดงได้รับพระราชทานนามเป็นชื่อขนมไทยที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ทอง”ทั้งเก้าชนิด และได้พระราชทานนามสกุลว่า “สุวรรณชาด”
66.ในหลวงทรงตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้และป่าไม้มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยดำเนินรอยตามพระจริยวัตรของสมเด็จพระบรมราชชนนีที่โปรดการปลูกต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ และชื่นชมความงดงามตามธรรมชาติ ทั้งยังทรงจดจำคำสอนของพระอาจารย์ในเรื่องการอนุรักษ์ป่าไม้ ดังใจความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสที่ว่า “จำได้เมื่ออายุสิบขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่งสอนเรื่องการอนุรักษ์ ครูบอกว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้…จะทำให้เดือดร้อนตลอด…”
67.ในหลวงทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาป่าไม้ ดังพระราชกรณียกิจในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติผ่านโครงการในพระราชดำริมากมาย โดยทรงเน้นย้ำให้ฟื้นฟูคุณภาพของทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และคน ควบคู่กันไป เพราะทรัพยากรเหล่านี้ต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คน” ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดไม้ทำลายป่า จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาจิตใจให้เกิดสำนึกที่ดี เพื่อประโยชน์ในการให้ทั้งคน น้ำ และป่า พึ่งพากันได้อย่างยั่งยืน
68.นับตั้งแต่ พ.ศ. 2477 – 2493 เป็นเวลานานถึง 16 ปีที่ประเทศไทยว่างเว้นจากการมีพระมหากษัตริย์ประทับในประเทศ ทำให้การพระราชพิธีต่างๆ ในพระราชสำนักที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมาขาดหายไป ครั้นในหลวงเสด็จนิวัตประเทศไทยและมีพระราชดำริฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง นับเป็นพระราชวิสัยทัศน์อันกว้างไกลที่ทรงปลุกจิตวิญญาณแห่งความเป็นไทยซึ่งเคยหลับใหลให้ตื่นฟื้น อีกทั้งยังเป็นการปูพื้นฐานไปสู่ความเป็นชนชาติที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ขณะเดียวกันก็ทรงสร้างความประทับใจแก่คนต่างชาติไปพร้อมกัน เพราะในโลกนี้ไม่มีประเทศใดที่จะมีพระราชพิธีในพระราชสำนักที่งามพร้อมเท่าประเทศไทย ต่อมาพระราชพิธีต่างๆ ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติทั่วโลกมาตราบจนทุกวันนี้
69.พระราชพิธีหนึ่งที่มีความสำคัญและในหลวงโปรดเกล้าฯให้รื้อฟื้นขึ้น คือ พระราชพิธีสังเวยป้าย ซึ่งทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยความหมายของพระราชพิธีนี้มีอยู่ว่า “พระป้าย” หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เกสิน” หมายถึงป้ายชื่อของบรรพบุรุษบุพการีที่ตั้งไว้สำหรับบูชาประจำบ้าน การบูชาเซ่นสรวงจึงแสดงว่าเป็นคนดีมีความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้ปฏิบัติ โดยพระราชพิธีนี้จะจัดขึ้นในช่วงวันตรุษจีนของทุกปี และได้เสด็จฯไปในพระราชพิธีเสมอมาหรือไม่ก็โปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน
ทรงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ของชาติ
70.กระแสความนิยมในสิ่งแปลกใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามาจากประเทศทางตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ครั้นถึงรัชกาลของในหลวง จึงมีแนวพระราชดำริที่จะทรงปลูกฝังความสำนึกและความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ของชาติแก่พสกนิกร ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า “…การสร้างอาคารสมัยนี้คงจะเป็นเกียรติสำหรับผู้สร้างคนเดียว แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่าควรช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯแล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย ไม่ควรจะเอาของใหม่ไปปนกับของเก่า ควรจะรักษาของเก่าไว้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจของพลเมือง และสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษจึงควรรักษาไว้…”
71.มีพระราชดำริที่จะให้มีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในจังหวัดต่างๆ ที่เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ
72.ในการดูแลรักษามรดกของชาติมีแนวพระราชดำริที่ชัดเจนในความแตกต่างกันของการฟื้นฟูการอนุรักษ์และการสร้างสรรค์ว่าไม่ควรจะเอาของใหม่ไปปนกับของเก่า เพราะหากนำมาปรุงแต่งหรือประยุกต์อย่างไม่เหมาะสม ทำให้ทุกอย่างดูเป็นไทยอย่างฉาบฉวย ก็อาจทำให้สูญเสียเอกลักษณ์ของชาติและจะกลืนศิลปะประจำชาติที่มีมาแต่เดิมให้จมหายไป
ขอตามรอยพระบาท
73.ชัยพจน์ สิริศักดิ์ธเนศ ชาวกาญจนบุรี แม้จะจบเพียงชั้น ม.6 แต่พอมีความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า จึงได้ทดลองประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้านานกว่า 6 ปี จนคิดได้ว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าจากแรงดันของน้ำ เพราะไม่ต้องใช้ทุนมากมาย ในที่สุดสามารถประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าได้สำเร็จ ซึ่งเขากล่าวว่าได้แรงบันดาลใจเดินตามรอยของในหลวงที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่
74.ผู้กำกับโฆษณาชั้นแนวหน้าของโลกอย่างต่อ – ธนญชัย ศรศรีวิชัย บอกว่า เขามีบุคคลที่นับถือเป็นแบบอย่างอยู่ไม่กี่คน ซึ่งหนึ่งในผู้ที่เขานับถือมากที่สุดคือในหลวง “ท่านเป็นกษัตริย์ที่เก่ง เก่งไม่พอ ยังอ่อนน้อมถ่อมตน ท่านคุกเข่าคุยกับชาวบ้านธรรมดาๆ เห็นราษฎรเป็นผู้ที่ท่านต้องช่วยเหลือ ไม่ใช่เอาเปรียบ ผมไม่เคยเห็นใครมอบความรักให้ผู้อื่นได้ตลอดเวลาเท่ากับท่าน ทั้งยังอดทนต่อการศึกษาหาความรู้จนแก้ปัญหาได้มากมายนับไม่ถ้วน ในหลวงสำหรับผม ท่านคือมนุษย์คนหนึ่ง เป็นมนุษย์ธรรมดาที่ศึกษาเรียนรู้จนกลายเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ ทำให้ผมคิดว่า เราเป็นมนุษย์เหมือนกัน เราก็สามารถพัฒนาตัวเองแบบในหลวงได้ เราต้องพยายามทำให้ได้แบบในหลวง หน้าที่ของเราที่เกิดเป็นคนไทยคือต้องทำ”
75.จากการที่คนึงนิตย์ อันโนนจารย์ ชาวจังหวัดลำปาง แต่ได้ย้ายมาทำมาหากินที่ราชบุรี ได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงทรงนั่งดื่มกาแฟเมื่อครั้งเสด็จฯไปบนเขาทุรกันดาร เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรชาวเขาและให้ชาวเขาหันมาปลูกกาแฟแทนการปลูกฝิ่นหรือกัญชา จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เธอทำรถขายกาแฟสไตล์ญี่ปุ่นตระเวนขายตามที่ต่างๆโดยนำเมล็ดกาแฟจากชาวเขาที่บ้านเกิดมาใช้เพื่อคืนรายได้สู่ชุมชนชาวเขา
76.สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ เจ้าของบริษัททีวีบูรพา ผู้ผลิตรายการคุณภาพหลายรายการบอกว่า “…คำสอนของในหลวงก็เหมือนพ่อแม่ที่สอนเรา ทรงเป็นพ่อแม่ของลูกหลายสิบล้านคนในประเทศนี้ ค่อยๆ เรียนรู้จากสิ่งที่พ่อพร่ำสอน คิดให้ดีว่าสิ่งที่เรากำลังพาชีวิตไปหามัน มั่นคงจริงหรือไม่ ลองชั่งตาชั่งความสุขนั้นดู ทำให้มันสมดุล จะได้ไม่ต้องพาชีวิตไปเจอความผิดพลาดเสียก่อนแล้วค่อยคิดได้ทีหลัง…”
77.ศูนย์ผ่าตัดต้อกระจก บริการแก่ผู้ป่วยที่ยากไร้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ภายใต้ชื่อโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) และบริษัท ทาสของแผ่นดิน จำกัด เกิดขึ้นจากความคิดของธานินทร์ พันธ์ประภากิจ ที่ว่า “แรงบันดาลใจอย่างหนึ่งของผมมาจากการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือตั้งแต่โตมา ผมก็เห็นภาพพระองค์ท่านเสด็จฯ ไปทรงงานช่วยเหลือประชาชนที่ยากไร้ในชนบทมาตลอด และสมัยหนุ่มๆ ผมเคยเดินตาม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งท่านพูดเสมอว่า ทุกข์ของชาวนาคือทุกข์ของแผ่นดิน ทุกข์ของแผ่นดินคือทุกข์ของพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเหนื่อยยากเพื่อพวกเรามามาก ผมจึงอยากเดินตามรอยพระบาทของพระองค์ท่าน ช่วยเหลือคนที่เขาด้อยโอกาสเท่าที่เราจะทำได้ ซึ่งปณิธานตรงนี้ทำให้มีกำลังใจขึ้นมาว่า เราจะต้องเดินให้ได้ ต้องอดทน เพราะมีสิ่งสำคัญรอเราอยู่ และก็มาตกผลึกว่า จะเปิดศูนย์รักษาผู้ป่วยต้อกระจก เพราะบ้านเรามีคนที่เป็นโรคนี้เยอะ”
78.เมื่อครั้งที่ นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่านในยุคที่การสู้รบระหว่างทหารรัฐบาลกับกองทัพปลดแอกประชาชนเป็นไปอย่างเข้มข้น ทหารตำรวจที่บาดเจ็บจากการสู้รบถูกส่งเข้ามายังโรงพยาบาล ทำให้บุคลากรทุกฝ่ายของโรงพยาบาลในจังหวัดเล็กๆ ห่างไกลขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์ทันสมัย ต้องทำงานอย่างหนัก เมื่อในหลวงทรงทราบจึงพระราชทานอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์มากมาย และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 4 แสนบาทให้โรงพยาบาลน่านสร้างตึกพิทักษ์ไทย โดยมีพระราชดำรัสกับหมอบุญยงค์ว่า “เงินที่ขอไปนั้น ฉันนำมามอบให้แล้ว ขอให้หมอดำเนินการก่อสร้างเองนะ ไม่ต้องผ่านราชการ ฉันไว้ใจเธอ” พระราชดำรัสครั้งนั้นยังคงก้องอยู่ในหัวใจหมอบุญยงค์ ทำให้เขายังคงทุ่มเททำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของเมืองน่าน ไม่เฉพาะแต่ด้านการแพทย์ แต่หลังเกษียณอายุราชการก็ยังทำงานในทุกสถานะที่จะทำประโยชน์ให้แก่เมืองน่านได้
79.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย ผู้รังสรรค์วัดร่องขุ่นกล่าวว่า “วัดร่องขุ่นมีที่มาจากตอนที่ผมยังเรียนอยู่ที่คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยได้ยินครูบาอาจารย์ผมพูดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า พระองค์เคยรับสั่งว่า ‘งานศิลปะประจำรัชกาลของเราทำไมไม่เห็นมี ทุกรัชกาลเขามีงานศิลปะที่แสดงเอกลักษณ์กันทุกรัชกาล วัดวาอารามที่สร้างกันใหม่ๆ ก็ยังยึดอิทธิพลศิลปะเก่าๆ อยู่’” ต่อมาเขามีโอกาสเข้าเฝ้าฯ ถวายงานในหลวงหลายครั้ง และจากการพบเห็นพระอัจฉริยภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน ทำให้เขารักและประทับใจพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตัน ปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน ในที่สุดเขาก็ได้ถ่ายทอดผลงานนั้นออกมาที่วัดร่องขุ่นแห่งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540“ ผมตั้งความปรารถนาที่จะถวายชีวิต ใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนเองสร้างงานพุทธศิลป์ เพื่อเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลท่านให้ได้ และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด…”
80.สงคราม โพธิ์วิไล ศิลปินนักถ่ายภาพและผู้ทรงคุณวุฒิทางการถ่ายภาพของไทย ได้มีโอกาสถวายกล้องแด่ในหลวง มีรับสั่งถามว่า “คุณทำอาชีพอะไร…ผมตอบท่านว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ในหลวงจึงรับสั่งต่อว่า ถ้าอย่างนั้นไปบอกพวกเราด้วยว่าเราเป็นคนถ่ายภาพด้วยกัน ผมตื้นตันมาก เราแค่สามัญชน แต่ในหลวงทรงใช้คำว่า ‘พวกเรา’ ผมจึงนำคำนี้ไปบอกกับช่างภาพว่าในหลวงใช้คำว่าพวกเรากับช่างภาพ เราในฐานะประชาชน เราจะต้องถ่ายภาพให้ดีๆ แล้วกัน…”
81.ศิลปินยอดนิยมอมตะ – เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ มีโอกาสได้เข้าไปถวายงานร้องเพลงเฉพาะพระพักตร์เนื่องในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 50 ปี หลังจากร้องเสร็จได้เข้าเฝ้าฯส่งเสด็จฯกลับและวันนั้น “…เบิร์ดลงกราบพร้อมกับถือโอกาสจับพระบาทของทั้งสองพระองค์เอาไว้ สมเด็จพระนางเจ้าฯมีรับสั่งว่า ‘ร้องเพลงไพเราะมาก’ แต่ที่เหนือความคาดหมายคือ ในหลวงรับสั่งว่า ‘ปลูกข้าวที่เชียงรายอยากให้ทำต่อไปนะ เบิร์ดเป็นคนดีที่หนึ่ง’ เบิร์ดกราบทูลตอบว่า ‘รับใส่เกล้าพระพุทธเจ้าข้า’ เนื้อตัวตอนนั้นขนลุกไปหมด ในใจปลื้มจนไม่รู้จะปลื้มอย่างไร เพราะหมายถึงพระองค์ท่านทรงอ่านเรื่องที่เบิร์ดเคยให้สัมภาษณ์ไว้ใน แพรว จึงทรงทราบว่าบ้านที่เชียงรายปลูกข้าว…พอส่งเสด็จฯเสร็จแล้วกลับขึ้นรถได้เท่านั้น เบิร์ดร้องไห้ซะ กลับถึงบ้านรีบจุดธูปเล่าให้แม่ฟัง “แต่แม่คงเห็นแล้ว เพราะเบิร์ดพารูปแม่ติดใส่กระเป๋าเสื้อตรงหน้าอกซ้ายเข้าวังด้วย พลังใจจากการได้เข้าเฝ้าฯครั้งนั้น ทำให้ใจเบิร์ดที่เคยหดหายเพราะแม่เพิ่งจากไปไม่นาน กลับมาสดใสอีกครั้ง ซึ่งชีวิตนี้คิดว่าครั้งนั้นคือสูงสุดแล้ว…”
พระราชดำรัสที่ควรยึดเป็นแนวคิด
82.ในการทรงงานเพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชน ในหลวงทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเสมอ ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า “…ใครต่อใครบอกว่าขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวมอันนี้ฟังจนเบื่อ อาจจะรำคาญด้วยซ้ำว่า ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึกในใจว่า ให้ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่าคนที่ให้เพื่อส่วนรวมนั้นมิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่างเดียวเป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้…”
83.พระองค์ทรงมีความสุขทุกครั้งที่ได้ช่วยเหลือประชาชน ดังพระราชดำรัสครั้งหนึ่งความว่า “…ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้นอกจากการมีความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นเท่านั้น…”
84.ในหลวงทรงเน้นย้ำถึงเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตจริงใจต่อกันตลอดมา เพราะทรงเห็นว่าหากคนไทยทุกคนได้ร่วมมือกันพัฒนาชาติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจริงใจต่อกันแล้ว ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าอย่างมาก ดังพระราชดำรัสว่า “…คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่ายไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณเป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ…”
85.ตลอดพระชนม์ชีพทรงดำเนินพระราชจริยวัตรอย่างสมถะพอเพียง ซึ่งความพอดี มีความพอประมาณในพระราชหฤทัยได้ถูกนำมาใช้ในการแก้วิกฤติทางเศรษฐกิจของชาติ ท่ามกลางความมืดมนของวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 ได้ปรากฏแสงสว่างส่องทางหวังจากการที่พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ประชาชนได้ตั้งมั่นอยู่บนครรลองของความมีเหตุผล ความพอประมาณและการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารเอาไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป”
86.ในหลวงทรงมีความชาญฉลาดในการบำรุงข้าราชบริพารด้วยการส่งเสริมคนดีมีความสามารถเข้ามาบริหารราชการบ้านเมือง สอดคล้องกับพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้…”
87.ในหลวงมีพระราชดำรัสถึงหลักการทำความดีที่จับใจและเป็นสิ่งจริงแท้มากๆ ว่า “การทำความดีนั้น โดยมากเป็นการทวนกระแสความพอใจและความต้องการของมนุษย์ จึงทำได้ยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ความชั่ว ซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่ แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทันรู้สึกตัว “การทำความดีนั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเอง ผู้อื่นไม่สำคัญ และไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเป็นห่วงหรือต้องรอคอยเขาด้วย เมื่อได้ลงมือลงแรงกระทำแล้ว ถึงแม้จะมีใครร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลดีจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน…” ความตอนหนึ่งของพระราชดำรัสที่จับใจและเป็นสิ่งจริงแท้มาก ๆ
88.เมื่อมีความโสมนัสย่อมต้องมีความโทมนัสควบคู่กันไปเป็นสัจธรรม จากเหตุการณ์ที่สมเด็จย่าทรงพระประชวร ในหลวงได้เสด็จฯไปทรงเยี่ยมและมีพระราชปฏิสันถารกับสมเด็จย่าว่า “อยากให้แม่สอนอีก” เหมือนเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ สมเด็จย่าตรัสกลับไปว่า “จะให้สอนอีกหรือ พระองค์ทรงภูมิรู้ เปี่ยมคุณธรรมสอนคนได้ทั้งประเทศ จะฟังคำสอนอะไรจากคนอายุมากคนหนึ่งอีกเล่า” พระองค์ทรงมีพระราชปรารภอย่างอภิชาตบุตรว่า “ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร สอนคนมากสักแค่ไหน แต่คำสอนของแม่ก็เป็นคำสอนที่ดีที่สุดของลูก คำสอนของแม่เหนือกว่าลูกเสมอ ลูกอยากฟังแม่สอนอีก”
89.“การดำรงชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา การปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ง ถ้าคนเราไม่หมั่นเพียร ไม่มีความอดทน ก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย เมื่อท้อใจไปแล้ว ไม่มีทางที่จะมีชีวิตเจริญรุ่งเรืองแน่ๆ” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ครูและนักเรียน โรงเรียนจิตรลดา
ทั้ง 89 เรื่องของในหลวงที่เชิญประมวลมานี้ หากพสกนิกรไทยน้อมนำมาใช้ปฏิบัติจริงในชีวิต สังคมย่อมเกิดความสุข ความรุ่งเรืองอย่างแน่นอน
จาก http://www.praew.com/60005/king-of-thailand/inspiration-89-story-thailands-king-bhumibol/
63.ทรงพระราชดำรัสถึงคนพิการได้อย่างลึกซึ้งกินใจมากว่า “งานช่วยเหลือผู้พิการมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการมิได้เป็นผู้ที่อยากจะพิการ แต่อยากช่วยตนเอง ถ้าเราไม่สามารถช่วยเขาให้สามารถที่จะปฏิบัติงานอะไร เพื่อมีชีวิตและมีเศรษฐกิจของครอบครัว จะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัว หนักแก่สังคม ฉะนั้น นโยบายที่จะทำก็คือ ช่วยเขาให้ช่วยตัวเองได้ เพื่อที่จะให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม…”
64.“โรงพยาบาลราชานุกูล” เป็นชื่อที่พระราชทานใหม่แทน“โรงพยาบาลปัญญาอ่อน” ในโอกาสที่พระราชทานเงินรายได้จากการฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์เมื่อปี 2507 ให้สร้างอาคารขึ้นในเขตโรงพยาบาลและเสด็จฯไปทรงเปิดอาคาร ด้วยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแผ่ปกเกล้าฯไปถึงเด็กและผู้ปกครองของเยาวชนที่มีความบกพร่องทางปัญญา ยังความปลาบปลื้มอย่างหาที่สุดมิได้แก่พสกนิกรคนพิการทั้งชาติ
พระเมตตาต่อสัตว์และธรรมชาติ
65.ในหลวงทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาต่อสัตว์โลก เห็นได้ชัดจากสุนัขทรงเลี้ยงที่ชื่อว่า “ทองแดง” ซึ่งเคยเป็นสุนัขจรจัดบริเวณซอยศูนย์แพทย์พัฒนา ถนนพระราม 9 มาก่อน โดยนายแพทย์ท่านหนึ่งได้นำคุณทองแดงมาทูลเกล้าฯถวายให้ทอดพระเนตร ซึ่งพระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นสุนัขทรงเลี้ยงโดยมิได้ทรงรังเกียจว่าเป็นสุนัขที่ด้อยคุณค่าผิดจากค่านิยมของชนชั้นสูงทั่วไปในสังคมที่มักเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีสายพันธุ์มาจากต่างประเทศและมีราคาแพง คุณทองแดงจึงนับเป็นการปลุกกระแสให้คนไทยหันมารักสุนัขสายพันธุ์ไทยกันมากยิ่งขึ้น โดยลูกทั้งเก้าของคุณทองแดงได้รับพระราชทานนามเป็นชื่อขนมไทยที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ทอง”ทั้งเก้าชนิด และได้พระราชทานนามสกุลว่า “สุวรรณชาด”
66.ในหลวงทรงตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้และป่าไม้มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยดำเนินรอยตามพระจริยวัตรของสมเด็จพระบรมราชชนนีที่โปรดการปลูกต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ และชื่นชมความงดงามตามธรรมชาติ ทั้งยังทรงจดจำคำสอนของพระอาจารย์ในเรื่องการอนุรักษ์ป่าไม้ ดังใจความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสที่ว่า “จำได้เมื่ออายุสิบขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่งสอนเรื่องการอนุรักษ์ ครูบอกว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้…จะทำให้เดือดร้อนตลอด…”
67.ในหลวงทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาป่าไม้ ดังพระราชกรณียกิจในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติผ่านโครงการในพระราชดำริมากมาย โดยทรงเน้นย้ำให้ฟื้นฟูคุณภาพของทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และคน ควบคู่กันไป เพราะทรัพยากรเหล่านี้ต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คน” ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดไม้ทำลายป่า จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาจิตใจให้เกิดสำนึกที่ดี เพื่อประโยชน์ในการให้ทั้งคน น้ำ และป่า พึ่งพากันได้อย่างยั่งยืน
68.นับตั้งแต่ พ.ศ. 2477 – 2493 เป็นเวลานานถึง 16 ปีที่ประเทศไทยว่างเว้นจากการมีพระมหากษัตริย์ประทับในประเทศ ทำให้การพระราชพิธีต่างๆ ในพระราชสำนักที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมาขาดหายไป ครั้นในหลวงเสด็จนิวัตประเทศไทยและมีพระราชดำริฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง นับเป็นพระราชวิสัยทัศน์อันกว้างไกลที่ทรงปลุกจิตวิญญาณแห่งความเป็นไทยซึ่งเคยหลับใหลให้ตื่นฟื้น อีกทั้งยังเป็นการปูพื้นฐานไปสู่ความเป็นชนชาติที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ขณะเดียวกันก็ทรงสร้างความประทับใจแก่คนต่างชาติไปพร้อมกัน เพราะในโลกนี้ไม่มีประเทศใดที่จะมีพระราชพิธีในพระราชสำนักที่งามพร้อมเท่าประเทศไทย ต่อมาพระราชพิธีต่างๆ ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติทั่วโลกมาตราบจนทุกวันนี้
69.พระราชพิธีหนึ่งที่มีความสำคัญและในหลวงโปรดเกล้าฯให้รื้อฟื้นขึ้น คือ พระราชพิธีสังเวยป้าย ซึ่งทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยความหมายของพระราชพิธีนี้มีอยู่ว่า “พระป้าย” หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เกสิน” หมายถึงป้ายชื่อของบรรพบุรุษบุพการีที่ตั้งไว้สำหรับบูชาประจำบ้าน การบูชาเซ่นสรวงจึงแสดงว่าเป็นคนดีมีความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้ปฏิบัติ โดยพระราชพิธีนี้จะจัดขึ้นในช่วงวันตรุษจีนของทุกปี และได้เสด็จฯไปในพระราชพิธีเสมอมาหรือไม่ก็โปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน
ทรงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ของชาติ
70.กระแสความนิยมในสิ่งแปลกใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามาจากประเทศทางตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ครั้นถึงรัชกาลของในหลวง จึงมีแนวพระราชดำริที่จะทรงปลูกฝังความสำนึกและความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ของชาติแก่พสกนิกร ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า “…การสร้างอาคารสมัยนี้คงจะเป็นเกียรติสำหรับผู้สร้างคนเดียว แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่าควรช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯแล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย ไม่ควรจะเอาของใหม่ไปปนกับของเก่า ควรจะรักษาของเก่าไว้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจของพลเมือง และสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษจึงควรรักษาไว้…”
71.มีพระราชดำริที่จะให้มีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในจังหวัดต่างๆ ที่เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ
72.ในการดูแลรักษามรดกของชาติมีแนวพระราชดำริที่ชัดเจนในความแตกต่างกันของการฟื้นฟูการอนุรักษ์และการสร้างสรรค์ว่าไม่ควรจะเอาของใหม่ไปปนกับของเก่า เพราะหากนำมาปรุงแต่งหรือประยุกต์อย่างไม่เหมาะสม ทำให้ทุกอย่างดูเป็นไทยอย่างฉาบฉวย ก็อาจทำให้สูญเสียเอกลักษณ์ของชาติและจะกลืนศิลปะประจำชาติที่มีมาแต่เดิมให้จมหายไป
ขอตามรอยพระบาท
73.ชัยพจน์ สิริศักดิ์ธเนศ ชาวกาญจนบุรี แม้จะจบเพียงชั้น ม.6 แต่พอมีความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า จึงได้ทดลองประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้านานกว่า 6 ปี จนคิดได้ว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าจากแรงดันของน้ำ เพราะไม่ต้องใช้ทุนมากมาย ในที่สุดสามารถประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าได้สำเร็จ ซึ่งเขากล่าวว่าได้แรงบันดาลใจเดินตามรอยของในหลวงที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่
74.ผู้กำกับโฆษณาชั้นแนวหน้าของโลกอย่างต่อ – ธนญชัย ศรศรีวิชัย บอกว่า เขามีบุคคลที่นับถือเป็นแบบอย่างอยู่ไม่กี่คน ซึ่งหนึ่งในผู้ที่เขานับถือมากที่สุดคือในหลวง “ท่านเป็นกษัตริย์ที่เก่ง เก่งไม่พอ ยังอ่อนน้อมถ่อมตน ท่านคุกเข่าคุยกับชาวบ้านธรรมดาๆ เห็นราษฎรเป็นผู้ที่ท่านต้องช่วยเหลือ ไม่ใช่เอาเปรียบ ผมไม่เคยเห็นใครมอบความรักให้ผู้อื่นได้ตลอดเวลาเท่ากับท่าน ทั้งยังอดทนต่อการศึกษาหาความรู้จนแก้ปัญหาได้มากมายนับไม่ถ้วน ในหลวงสำหรับผม ท่านคือมนุษย์คนหนึ่ง เป็นมนุษย์ธรรมดาที่ศึกษาเรียนรู้จนกลายเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ ทำให้ผมคิดว่า เราเป็นมนุษย์เหมือนกัน เราก็สามารถพัฒนาตัวเองแบบในหลวงได้ เราต้องพยายามทำให้ได้แบบในหลวง หน้าที่ของเราที่เกิดเป็นคนไทยคือต้องทำ”
75.จากการที่คนึงนิตย์ อันโนนจารย์ ชาวจังหวัดลำปาง แต่ได้ย้ายมาทำมาหากินที่ราชบุรี ได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงทรงนั่งดื่มกาแฟเมื่อครั้งเสด็จฯไปบนเขาทุรกันดาร เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรชาวเขาและให้ชาวเขาหันมาปลูกกาแฟแทนการปลูกฝิ่นหรือกัญชา จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เธอทำรถขายกาแฟสไตล์ญี่ปุ่นตระเวนขายตามที่ต่างๆโดยนำเมล็ดกาแฟจากชาวเขาที่บ้านเกิดมาใช้เพื่อคืนรายได้สู่ชุมชนชาวเขา
76.สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ เจ้าของบริษัททีวีบูรพา ผู้ผลิตรายการคุณภาพหลายรายการบอกว่า “…คำสอนของในหลวงก็เหมือนพ่อแม่ที่สอนเรา ทรงเป็นพ่อแม่ของลูกหลายสิบล้านคนในประเทศนี้ ค่อยๆ เรียนรู้จากสิ่งที่พ่อพร่ำสอน คิดให้ดีว่าสิ่งที่เรากำลังพาชีวิตไปหามัน มั่นคงจริงหรือไม่ ลองชั่งตาชั่งความสุขนั้นดู ทำให้มันสมดุล จะได้ไม่ต้องพาชีวิตไปเจอความผิดพลาดเสียก่อนแล้วค่อยคิดได้ทีหลัง…”
77.ศูนย์ผ่าตัดต้อกระจก บริการแก่ผู้ป่วยที่ยากไร้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ภายใต้ชื่อโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) และบริษัท ทาสของแผ่นดิน จำกัด เกิดขึ้นจากความคิดของธานินทร์ พันธ์ประภากิจ ที่ว่า “แรงบันดาลใจอย่างหนึ่งของผมมาจากการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือตั้งแต่โตมา ผมก็เห็นภาพพระองค์ท่านเสด็จฯ ไปทรงงานช่วยเหลือประชาชนที่ยากไร้ในชนบทมาตลอด และสมัยหนุ่มๆ ผมเคยเดินตาม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งท่านพูดเสมอว่า ทุกข์ของชาวนาคือทุกข์ของแผ่นดิน ทุกข์ของแผ่นดินคือทุกข์ของพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเหนื่อยยากเพื่อพวกเรามามาก ผมจึงอยากเดินตามรอยพระบาทของพระองค์ท่าน ช่วยเหลือคนที่เขาด้อยโอกาสเท่าที่เราจะทำได้ ซึ่งปณิธานตรงนี้ทำให้มีกำลังใจขึ้นมาว่า เราจะต้องเดินให้ได้ ต้องอดทน เพราะมีสิ่งสำคัญรอเราอยู่ และก็มาตกผลึกว่า จะเปิดศูนย์รักษาผู้ป่วยต้อกระจก เพราะบ้านเรามีคนที่เป็นโรคนี้เยอะ”
78.เมื่อครั้งที่ นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่านในยุคที่การสู้รบระหว่างทหารรัฐบาลกับกองทัพปลดแอกประชาชนเป็นไปอย่างเข้มข้น ทหารตำรวจที่บาดเจ็บจากการสู้รบถูกส่งเข้ามายังโรงพยาบาล ทำให้บุคลากรทุกฝ่ายของโรงพยาบาลในจังหวัดเล็กๆ ห่างไกลขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์ทันสมัย ต้องทำงานอย่างหนัก เมื่อในหลวงทรงทราบจึงพระราชทานอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์มากมาย และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 4 แสนบาทให้โรงพยาบาลน่านสร้างตึกพิทักษ์ไทย โดยมีพระราชดำรัสกับหมอบุญยงค์ว่า “เงินที่ขอไปนั้น ฉันนำมามอบให้แล้ว ขอให้หมอดำเนินการก่อสร้างเองนะ ไม่ต้องผ่านราชการ ฉันไว้ใจเธอ” พระราชดำรัสครั้งนั้นยังคงก้องอยู่ในหัวใจหมอบุญยงค์ ทำให้เขายังคงทุ่มเททำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของเมืองน่าน ไม่เฉพาะแต่ด้านการแพทย์ แต่หลังเกษียณอายุราชการก็ยังทำงานในทุกสถานะที่จะทำประโยชน์ให้แก่เมืองน่านได้
79.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย ผู้รังสรรค์วัดร่องขุ่นกล่าวว่า “วัดร่องขุ่นมีที่มาจากตอนที่ผมยังเรียนอยู่ที่คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยได้ยินครูบาอาจารย์ผมพูดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า พระองค์เคยรับสั่งว่า ‘งานศิลปะประจำรัชกาลของเราทำไมไม่เห็นมี ทุกรัชกาลเขามีงานศิลปะที่แสดงเอกลักษณ์กันทุกรัชกาล วัดวาอารามที่สร้างกันใหม่ๆ ก็ยังยึดอิทธิพลศิลปะเก่าๆ อยู่’” ต่อมาเขามีโอกาสเข้าเฝ้าฯ ถวายงานในหลวงหลายครั้ง และจากการพบเห็นพระอัจฉริยภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน ทำให้เขารักและประทับใจพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตัน ปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน ในที่สุดเขาก็ได้ถ่ายทอดผลงานนั้นออกมาที่วัดร่องขุ่นแห่งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540“ ผมตั้งความปรารถนาที่จะถวายชีวิต ใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนเองสร้างงานพุทธศิลป์ เพื่อเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลท่านให้ได้ และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด…”
80.สงคราม โพธิ์วิไล ศิลปินนักถ่ายภาพและผู้ทรงคุณวุฒิทางการถ่ายภาพของไทย ได้มีโอกาสถวายกล้องแด่ในหลวง มีรับสั่งถามว่า “คุณทำอาชีพอะไร…ผมตอบท่านว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ในหลวงจึงรับสั่งต่อว่า ถ้าอย่างนั้นไปบอกพวกเราด้วยว่าเราเป็นคนถ่ายภาพด้วยกัน ผมตื้นตันมาก เราแค่สามัญชน แต่ในหลวงทรงใช้คำว่า ‘พวกเรา’ ผมจึงนำคำนี้ไปบอกกับช่างภาพว่าในหลวงใช้คำว่าพวกเรากับช่างภาพ เราในฐานะประชาชน เราจะต้องถ่ายภาพให้ดีๆ แล้วกัน…”
81.ศิลปินยอดนิยมอมตะ – เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ มีโอกาสได้เข้าไปถวายงานร้องเพลงเฉพาะพระพักตร์เนื่องในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 50 ปี หลังจากร้องเสร็จได้เข้าเฝ้าฯส่งเสด็จฯกลับและวันนั้น “…เบิร์ดลงกราบพร้อมกับถือโอกาสจับพระบาทของทั้งสองพระองค์เอาไว้ สมเด็จพระนางเจ้าฯมีรับสั่งว่า ‘ร้องเพลงไพเราะมาก’ แต่ที่เหนือความคาดหมายคือ ในหลวงรับสั่งว่า ‘ปลูกข้าวที่เชียงรายอยากให้ทำต่อไปนะ เบิร์ดเป็นคนดีที่หนึ่ง’ เบิร์ดกราบทูลตอบว่า ‘รับใส่เกล้าพระพุทธเจ้าข้า’ เนื้อตัวตอนนั้นขนลุกไปหมด ในใจปลื้มจนไม่รู้จะปลื้มอย่างไร เพราะหมายถึงพระองค์ท่านทรงอ่านเรื่องที่เบิร์ดเคยให้สัมภาษณ์ไว้ใน แพรว จึงทรงทราบว่าบ้านที่เชียงรายปลูกข้าว…พอส่งเสด็จฯเสร็จแล้วกลับขึ้นรถได้เท่านั้น เบิร์ดร้องไห้ซะ กลับถึงบ้านรีบจุดธูปเล่าให้แม่ฟัง “แต่แม่คงเห็นแล้ว เพราะเบิร์ดพารูปแม่ติดใส่กระเป๋าเสื้อตรงหน้าอกซ้ายเข้าวังด้วย พลังใจจากการได้เข้าเฝ้าฯครั้งนั้น ทำให้ใจเบิร์ดที่เคยหดหายเพราะแม่เพิ่งจากไปไม่นาน กลับมาสดใสอีกครั้ง ซึ่งชีวิตนี้คิดว่าครั้งนั้นคือสูงสุดแล้ว…”
พระราชดำรัสที่ควรยึดเป็นแนวคิด
82.ในการทรงงานเพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชน ในหลวงทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเสมอ ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า “…ใครต่อใครบอกว่าขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวมอันนี้ฟังจนเบื่อ อาจจะรำคาญด้วยซ้ำว่า ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึกในใจว่า ให้ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่าคนที่ให้เพื่อส่วนรวมนั้นมิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่างเดียวเป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้…”
83.พระองค์ทรงมีความสุขทุกครั้งที่ได้ช่วยเหลือประชาชน ดังพระราชดำรัสครั้งหนึ่งความว่า “…ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้นอกจากการมีความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นเท่านั้น…”
84.ในหลวงทรงเน้นย้ำถึงเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตจริงใจต่อกันตลอดมา เพราะทรงเห็นว่าหากคนไทยทุกคนได้ร่วมมือกันพัฒนาชาติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจริงใจต่อกันแล้ว ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าอย่างมาก ดังพระราชดำรัสว่า “…คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่ายไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณเป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ…”
85.ตลอดพระชนม์ชีพทรงดำเนินพระราชจริยวัตรอย่างสมถะพอเพียง ซึ่งความพอดี มีความพอประมาณในพระราชหฤทัยได้ถูกนำมาใช้ในการแก้วิกฤติทางเศรษฐกิจของชาติ ท่ามกลางความมืดมนของวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 ได้ปรากฏแสงสว่างส่องทางหวังจากการที่พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ประชาชนได้ตั้งมั่นอยู่บนครรลองของความมีเหตุผล ความพอประมาณและการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารเอาไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป”
86.ในหลวงทรงมีความชาญฉลาดในการบำรุงข้าราชบริพารด้วยการส่งเสริมคนดีมีความสามารถเข้ามาบริหารราชการบ้านเมือง สอดคล้องกับพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้…”
87.ในหลวงมีพระราชดำรัสถึงหลักการทำความดีที่จับใจและเป็นสิ่งจริงแท้มากๆ ว่า “การทำความดีนั้น โดยมากเป็นการทวนกระแสความพอใจและความต้องการของมนุษย์ จึงทำได้ยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ความชั่ว ซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่ แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทันรู้สึกตัว “การทำความดีนั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเอง ผู้อื่นไม่สำคัญ และไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเป็นห่วงหรือต้องรอคอยเขาด้วย เมื่อได้ลงมือลงแรงกระทำแล้ว ถึงแม้จะมีใครร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลดีจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน…” ความตอนหนึ่งของพระราชดำรัสที่จับใจและเป็นสิ่งจริงแท้มาก ๆ
88.เมื่อมีความโสมนัสย่อมต้องมีความโทมนัสควบคู่กันไปเป็นสัจธรรม จากเหตุการณ์ที่สมเด็จย่าทรงพระประชวร ในหลวงได้เสด็จฯไปทรงเยี่ยมและมีพระราชปฏิสันถารกับสมเด็จย่าว่า “อยากให้แม่สอนอีก” เหมือนเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ สมเด็จย่าตรัสกลับไปว่า “จะให้สอนอีกหรือ พระองค์ทรงภูมิรู้ เปี่ยมคุณธรรมสอนคนได้ทั้งประเทศ จะฟังคำสอนอะไรจากคนอายุมากคนหนึ่งอีกเล่า” พระองค์ทรงมีพระราชปรารภอย่างอภิชาตบุตรว่า “ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร สอนคนมากสักแค่ไหน แต่คำสอนของแม่ก็เป็นคำสอนที่ดีที่สุดของลูก คำสอนของแม่เหนือกว่าลูกเสมอ ลูกอยากฟังแม่สอนอีก”
89.“การดำรงชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา การปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ง ถ้าคนเราไม่หมั่นเพียร ไม่มีความอดทน ก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย เมื่อท้อใจไปแล้ว ไม่มีทางที่จะมีชีวิตเจริญรุ่งเรืองแน่ๆ” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ครูและนักเรียน โรงเรียนจิตรลดา
ทั้ง 89 เรื่องของในหลวงที่เชิญประมวลมานี้ หากพสกนิกรไทยน้อมนำมาใช้ปฏิบัติจริงในชีวิต สังคมย่อมเกิดความสุข ความรุ่งเรืองอย่างแน่นอน
จาก http://www.praew.com/60005/king-of-thailand/inspiration-89-story-thailands-king-bhumibol/