ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 21, 2016, 01:42:15 am »

พระราชปณิธาน พระราชปรารภ พระราชนิพนธ์
ของพระมหากษัตริย์ไทยที่มีต่อพระพุทธศาสนา


พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ยุครัตนโกสินทร์ เคยมีพระราชปณิธาน พระราชปรารภ พระราชนิพนธ์ต่อพระพุทธศาสนา แม้จะต่างกาลเวลา ก็แสดงถึงความเคารพนับถือว่าพระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาประจำชาติไทย ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์มานานแล้ว



ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ 1 ด้าน 2

“คนไทยในสมัยสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว...”

(กรมศิลปากร, ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 ด้าน 2,
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2519, หน้า 14 และ 19)





พระบรมสัตยาธิษฐานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

“พระบาทสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงตรัสประกาศแก่เทพยดาทั้งปวง ให้บังเกิดในประยูรมหาเศวตฉัตร จะให้บำรุงพระบวรพุทธศาสนา ไฉนจึงมิช่วยให้สว่างแลเห็นข้าศึกเล่า พอตกพระโอษฐ์ลง พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป ทอดพระเนตรเห็นข้างเศวตฉัตร 16 ข้าง มีข้างดั้งข้างกันยืนอยู่เป็นอันมาก...”

(พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เล่ม 1 ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์ (จาด),
องค์การค้าของคุรุสภา, 2533, หน้า 207)

พระอัจฉริยะภาพด้านการศาสนาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=20120





น้ำพระทัยและพระราชดำรัสของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

“พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะให้เราเข้ารีตดังนั้นหรือ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะในราชวงศ์ของเราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว จะให้เราเปลี่ยนศาสนาอย่างนี้เป็นการยากอยู่ และถ้าพระเจ้าผู้สร้างฟ้าสร้างดินจะต้องการให้คนทั่วโลกได้นับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว พระเจ้ามิจัดการให้เป็นเช่นนั้นเสียแล้วหรือ”

“จริงอยู่เมื่อฟอลคอน ในเวลาหมอบอยู่ข้างพระบาทพระเจ้ากรุงสยาม ได้แปลคำชักชวนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้รับสั่งมากับราชทูตนั้น ฟอลคอนก็กลัวจนตัวสั่น และสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระกรุณาโปรดให้อภัยแก่ฟอลคอน แต่ก็ได้รับสั่งว่า ได้ทรงนับถือศาสนาอันได้นับถือต่อๆ กันมาถึง 2,229 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นที่จะให้พระองค์เปลี่ยนศาสนาเสียนั้น เป็นการที่พระองค์จะทำไม่ได้”


(ประชุมพงศาวดาร เล่ม 16, องค์การค้าของคุรุสภา, 2507, หน้า 23-24)





พระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

“อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก..........ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา.......แด่พระศาสนา สมถะ พระพุทธโคดม
ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี...............สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม.......ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา
คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า...............ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา.....พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน”


(จารึกในศาลพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม, พระพุทธศาสนา ศาสนาประจำชาติไทย,
คณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา, วิสาขบูชา 2527, หน้า 123-124)

การกู้พระศาสนาของพระเจ้าตากสินมหาราช
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=19838





พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

“ตั้งใจจะอุปถัมภก
ยอยกพระพุทธศาสนา
ป้องกันขอบขัณฑสีมา
รักษาประชาชนและมนตรี”

(พระราชนิพนธ์นิราศท่าดินแดง, พ.ณ. ประมวลมารค, สิบสองกวี,
สำนักพิมพ์แพร่พิทยา, 2510, หน้า 103)

“ทุกวันนี้ตั้งพระทัยแต่ที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ไพร่ฟ้าประชากรให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ตั้งอยู่ในคติธรรมทั้ง 4 ดำรงจิตจตุรัสบำเพ็ญศีลทาน จะได้สุคติภูมิ มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติเป็นประโยชน์แก่ตน...”

(กฎหมายตราสามดวง, กรมศิลปากร, 2521, หน้า 769)

“พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ เมื่อได้ทรงสดับพระสงฆ์ราชาคณะถวายพระพรโดยพิสดารดังนั้น จึงตรัสว่า ครั้งนี้ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงจงมีอุตสาหะในฝ่ายพระพุทธจักรให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์ขึ้นให้จงได้ ฝ่ายข้างอาณาจักรที่จะเป็นศาสนูปถัมภกนั้นเป็นพนักงานโยม โยมจะสู้เสียสละชีวิตบูชาพระรัตนตรัย สุดแต่จะให้พระปริยัติบริบูรณ์เป็นข้อมูลที่จะตั้งพระพุทธศาสนาจงได้ พระราชาคณะทั้งวงรับสาธุแล้วถวายพระพร...”

(พระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1,
กรมศิลปากร, 2526, หน้า 113)

ราชจักรีวงศ์กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=21520

พระราชปุจฉาในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=30620





พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

“การพระราชบริจาคอันนี้ ทรงพระราชดำริเห็นว่าไม่ขัดขวางเป็นเหตุให้ท่านผู้ใดขุ่นเคืองขัดใจเลย พระนครนี้เป็นถิ่นที่ของคนนับถือพระพุทธศาสนามาแต่เดิม ไม่ใช่แผ่นดินของศาสนาอื่น คนที่ถือศาสนาอื่นมาแต่อื่นก็ดี อยู่ในเมืองนี้ก็ดี จะโทมนัสน้อยใจด้วยริษยาแก่พระพุทธศาสนาเพราะบูชาอันนี้ไม่ได้ ด้วยไม่ใช่เมืองของศาสนาตัวเลย ถ้าโทมนัสก็ชื่อว่าโลภล่วงเกินไป...”

(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, “ประกาศพระราชทานส่วนพระราชกุศล
ในการที่ทรงบริจาคเพชรใหญ่ประดับพระอุณาโลมพระพุทธรัตนปฏิมากร”,
ในประชุมประกาศ รัชกาลที่ 4 เล่ม 1, องค์การค้าของคุรุสภา, 2528, หน้า 82)





น้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

น้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่อพระพุทธศาสนา ดังที่มีพระราชหัตถเลขาถึง เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ผู้แต่งหนังสือพุทธประวัติ ประทีปแห่งทวีปเอเชีย ความว่า

“พระราชบิดาของฉัน ได้ทรงสละเวลาเป็นส่วนใหญ่ ในการศึกษาและคุ้มครองศาสนาของชาติ ส่วนฉันได้ขึ้นครองราชย์ในขณะอายุยังน้อย จึงไม่มีเวลาที่จะเป็นนักศึกษาอย่างพ่อ ฉันเองมีความสนใจในการศึกษาหนังสือหลักธรรมต่างๆ สนใจที่จะคุ้มครองศาสนาของเรา และต้องการให้มหาชนทั่วไปมีความเข้าใจถูกต้อง

ดูเหมือนว่า ถ้าชาวยุโรปเชื่อในคำสอนของคณะมิชชันนารีว่า ศาสนาของเราโง่งมงาย และชั่วทราม คนทั้งหลายก็จะต้องถือว่าพวกเราเป็นคนโง่งมงายและชั่วทรามไปด้วย ฉันจึงรู้สึกขอบคุณบรรดาบุคคล เช่น ท่านเป็นตัวอย่าง ที่สอนชาวยุโรปให้ความคารวะแก่ศาสนาของเรา”


(พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถึงเซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ผู้แต่งหนังสือพุทธประวัติ ประทีปแห่งทวีปเอเชีย)

พระราชปุจฉาในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=26435





สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ 6 กับพระพุทธศาสนา

“ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาถาวรพร้อมกันทั้งสองฝ่าย”

(พระราชดำรัสของสมเด็จพระปิยมหาราชต่อคณะสงฆ์
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อพุทธศักราช 2440)

“เมื่อรู้สึกแน่นอนแล้วว่า ศาสนาในสมัยนี้เป็นของที่แยกจากชาติไม่ได้...ถ้าข้าพเจ้าจะขอแก่ท่านทั้งหลายว่า พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด...ผู้ที่แปลงศาสนา คนเขาดูถูกยิ่งเสียกว่าผู้ที่แปลงชาติ...เพราะเหตุฉะนั้นเป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลาย ผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในศาสนาพระพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา...”

(พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,
เทศนาเสือป่า, องค์การค้าของคุรุสภา 2526, หน้า 59-60, 70, 158, 161 และ 173)

ขอพร่ำรำพันบรรยาย..........ความคิดเครื่องหมายสีแห่งทั้งสามงามถนัด
ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์........หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย
แดงคือโลหิตเราไซร้............ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษาชาติศาสนา
น้ำเงินคือสีโสภา.................อันจอมประชา ธโปรดเป็นส่วนพระองค์
จัดริ้วเป็นทิวไตรรงค์............จึงเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทย


(ดุสิตสมิต เล่ม 1 ฉบับที่ 1-11 ในพระนามวรรณะสมิต)





พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 เมื่อคราวเสด็จมาเยือนประเทศไทยว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2527 ตอนหนึ่งตามที่สื่อมวลชนรายงานข่าว ดังนี้ทรงรำลึกถึงความหลังครั้งเยือนสำนักวาติกัน

“เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสไปเยือนสำนักวาติกัน เมื่อปีคริสต์ศักราช 1960 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ตรัสถามถึงคนไทยนับถือศาสนามากน้อยเพียงใด ข้าพเจ้าทูลตอบว่า คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติ และนอกนั้นนับถือศาสนาอื่นอีกหลายศาสนา เพราะชาวเรามีอิสรภาพ และสิทธิเสมอกันทั้งโดยกฎหมาย ทั้งโดยประเพณีนิยมในการนับถือศาสนา สมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์นั้นทรงแสดงความชื่นชมยินดีกับข้าพเจ้าเป็นอันมาก ที่ประเทศไทยมีพลเมืองดี มีศีลธรรม ยึดความถูกต้องเที่ยงตรงเป็นหลักปฏิบัติ”

ธรรมศาสตราของเจ้าชีวิต - เจ้าแผ่นดิน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=19363

ทศพิธราชธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=19209





พระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

“พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่โบราณกาล พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง จนกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา และเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่องค์การสหประชาชาติได้เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา และประกาศให้วันวิสาขบูชา อันเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ย่อมแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนิกชนล้วนแต่เป็นคนที่มีคุณค่าต่อโลกมนุษย์ เพราะหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาล้วนแต่สั่งสอนให้พุทธศาสนิกชนเป็นคนดี ไม่เบียดเบียนเพื่อนร่วมโลก รู้จักเสียสละด้วยการทำทาน เป็นผู้มีศีลมีธรรมมีความเมตตา กรุณา เว้นจากการกระทำบาปชั่วทั้งปวง จนเป็นที่ยอมรับของชาวโลกโดยทั่วไป”

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กับการพระพุทธศาสนา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15421


จาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=45683