ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2016, 12:56:57 am »


สัมภาษณ์พิเศษ “ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร” ผู้สืบสาน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ยึดคำ “พ่อ” สอน “ความสำเร็จ ดีกว่าตำรา”



“ สิ่งที่พระองค์ทรงพระราชทานแนวทางไว้ให้นั้น ท่านทรงรับสั่งว่าอย่าข้ามขั้นตอน ให้ทำเป็นขั้นเป็นตอน ให้ทำพื้นฐานให้มั่นคงเสียก่อน เปรียบเสมือนบ้าน บ้านอย่างน้อยถ้ามีสี่เสาก็จะมั่นคง แต่ละอาชีพต้องกินทั้งนั้น ทำอย่างไรถึงจะมีของกินเพียงพอ ถ้าเราทำตามแนวทางของพระองค์ท่านได้ ต่อให้เราทำการค้าแล้วขาดทุน เราก็ยังมีของกินของใช้ เราสามารถพัฒนาทำได้เอง”

หมายเหตุ : “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” คือแนวคิดจาก “พ่อของแผ่นดิน” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
ทรงพระราชทานให้ไว้แก่พสกนิกรชาวไทย ประชาชนของพระองค์ด้วยความรัก ความห่วงใย เพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศไทยจาก “รากฐาน” ที่เรามีอยู่

“สยามรัฐ” มีบทสัมภาษณ์พิเศษ “ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร” ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ผู้ซึ่งมีความแน่วแน่ต่อการสืบสานแนวทางพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ อย่างมุ่งมั่น ทุ่มเท ด้วยการตัดสินใจลาออกจาก “ข้าราชการประจำ” ในตำแหน่งผู้อำนวยการกองประเมินผลงาน สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนเกิดผลเป็นที่ประจักษ์

แม้วันนี้ “พ่อของแผ่นดิน” จะเสด็จสู่สวรรคาลัย หากแต่การมุ่งมั่นเดินหน้าแนวทางพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” คือการพัฒนาการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างถาวร

- จุดเริ่มของการน้อมนำแนวทางพระราชดำริมาปฏิบัติ

แนวทางที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานนั้น อยู่ภายใต้กลไกระเบียบมากมาย ทำให้ขยายออกไปช้า ซึ่งทำสำเร็จเฉพาะพื้นที่ของส่วนราชการเท่านั้น การจะขยายไปสู่ชาวบ้านจึงค่อนข้างยาก เพราะมีเงื่อนไขมากมาย อาทิ งบประมาณ เครื่องมือ เป็นต้น ชาวบ้านจึงอ้างว่าการทำแบบนี้ราชการก็ทำได้ แต่ชาวบ้านเป็นหนี้เป็นสินอยู่ทำตามไม่ได้

พระองค์ท่านทรงตรัสว่าตัวอย่างความสำเร็จ ดีกว่าคำสอน ดีกว่าตำรับตำรา ผมจึงตัดสินใจออกมาทำให้ชาวบ้านได้เห็น โดยเลือกพื้นที่ที่ยากต่อการดำเนินการ คือ 1.เลือกดินที่มีปัญหา 2.พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนน้อย และ3.พื้นที่ที่เป็นทั้งเขตท่องเที่ยวและเขตอุตสาหกรรม เพราะอยากพิสูจน์ว่าถ้าเราทำสำเร็จในที่ยากๆ แบบนี้ แนวคิดของพระองค์ท่านก็จะเผยแพร่ออกไปได้ง่ายขึ้น

ซึ่งก็ถือว่าค่อยๆ สำเร็จขึ้นเรื่อยๆ จากพื้นที่ที่เพาะปลูกอะไรไม่ได้ก็เป็นป่าขึ้นมา ทำนาก็ได้ข้าวเยอะ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงก็ไม่ต้องใช้ อยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง มันเริ่มชัดขึ้น คนที่สงสัยเขาก็เริ่มเข้ามา ชาวบ้านบางคนยังหาว่าผมบ้าบ้าง เป็นชายเพี้ยนบ้าง เขาก็เริ่มมาดูกันว่าเพี้ยนจริงหรือไม่ ผมก็บอกว่าเพี้ยนจริง เพราะเราทำเหมือนคนไม่ปกติ นวัตกรรมก็คือเรื่องไม่ปกติ เพราะมันเป็นเรื่องใหม่ คนที่เข้าใจก็เรียกว่านวัตกรรม คนที่ไม่เข้าใจก็เรียกว่าเพี้ยน พอคนเข้ามาดูเยอะ เราก็เริ่มจัดสัมมนา พัฒนามาจนเป็นศูนย์ฝึกแล้วขยายออกไปทั่ว

- หลังจากนี้ หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเกิดแย่ลง ประชาชนจะกลับไปหาแนวทางของพระองค์ท่านได้อย่างไร

สิ่งที่พระองค์ทรงพระราชทานแนวทางไว้ให้นั้น ท่านทรงรับสั่งว่าอย่าข้ามขั้นตอน ให้ทำเป็นขั้นเป็นตอน ให้ทำพื้นฐานให้มั่นคงเสียก่อน เปรียบเสมือนบ้าน บ้านอย่างน้อยถ้ามีสี่เสาก็จะมั่นคง แต่ละอาชีพต้องกินทั้งนั้น ทำอย่างไรถึงจะมีของกินเพียงพอ ถ้าเราทำตามแนวทางของพระองค์ท่านได้ ต่อให้เราทำการค้าแล้วขาดทุน เราก็ยังมีของกินของใช้ เราสามารถพัฒนาทำได้เอง
ยกตัวอย่างลูกศิษย์ผม เขาก็บอกว่าไม่มีเสื้อดำ เราก็ทำกันเองได้ เอาเสื้อที่เราคิดว่าสวย เอามาย้อมกันเอง ย้อมได้เป็นร้อยๆ ตัว หรืออย่างอากาศร้อน เราก็ปลูกต้นไม้ มันก็เย็นสบายกว่าแอร์อีก นี่เป็นขั้นพื้นฐาน วิถีไทยเราเป็นวิถีพอเพียง สมัยผมเด็กๆ ถ้าข้าวเหลือ แม่ผมไม่ยอม ต้องเอามาตาก เอามาแปรรูป

เราต้องเชื่อมั่นในแนวทาง ไม่ใช่จ้องจะเลียนแบบแต่เทคโนโลยีของฝรั่ง เราไปเลียนแบบเขา ไปลอกเขาอย่างเก่งก็ได้แค่ที่สอง แต่ถ้าเราสร้างขึ้นเอง เราจะเป็นที่หนึ่งในโลก หลายร้อยเรื่องที่เราเป็นที่หนึ่งของโลกถ้าเรารู้จักรักษา อาทิ ข้าว เครื่องเวชสำองค์ เครื่องเทศ ไม้ เป็นต้น

- หัวใจหลักของการดำเนินตามแนวทางพระราชดำริ

เราต้องมีตัวอย่างความสำเร็จที่ชัดให้รอบด้านทุกอาชีพ ซึ่งตอนนี้เราก็ทำให้ดูแล้วทุกอาชีพ ตั้งแต่เกษตรกร มนุษย์เงินเดือน ไปจนถึงเจ้าของกิจการ   มีหลายประเทศที่เข้ามาศึกษาแล้วนำไปปฏิบัติใช้ ทางรัฐบาลก็พยายามขับเคลื่อน แต่ก็ต้องใช้เวลา ต้องร่วมมือกัน สังคมโลกเขาแก่งแย่งกัน เราก็ไม่ต้องไปแก่งแย่ง เราก็สร้างมิติใหม่ วิถีใหม่ที่พอเพียง และสร้างสรรค์ พอเหลือก็แบ่งปัน แทนที่จะแย่งกัน ก็หันมาแบ่งปันกัน สังคมก็น่าอยู่ขึ้น สังคมโลกก็น่าอยู่ขึ้นไปอีก

ทุกวันนี้กระแสโลกหลากเข้ามา แบ่งเป็นสองขั้วใหญ่แผ่อิทธิพลไปทั่ว เขาก็ต้องการที่จะผลิตขายเยอะๆ ขายให้เรา ขายให้ประเทศที่เล็กๆ น้อยๆ เพื่อสร้างความร่ำรวยให้กับเขา เราก็ไปวิ่งตามเป็นแมลงเม่า อยากจะรวย อยากจะสะดวกสบายแบบเขา

พระองค์ท่านทรงตรัสแล้วว่าเราสร้างความพอเพียงได้ง่าย เพราะอยู่ในชัยภูมิที่ดี มีลุ่มแม่น้ำ แต่เราก็ใช้ก็ทำลายกันจนเน่าเสีย เห็นแก่เงิน ทะเลเราอุดมสมบูรณ์ก็ไปทำลายกัน เต็มไปด้วยขยะ สัตว์ทะเลก็แทบอยู่กันไม่ได้ บ้านเราอุดมสมบูรณ์ไม่มีอด หากเราไม่ไปทำลาย ถ้าเราหวังเงินมันก็ทำลายทุกอย่าง เพราะเงินทำลายทุกอย่าง

ขณะที่สิ่งที่เรามีอยู่ก็ทำเป็นเงินได้ ถ้าเรารู้จักแปรรูป ซึ่งก็ได้พิสูจน์ให้เห็นในกลุ่มเครือข่ายเรา ความรู้ในการแปลรูปของไทยนั้นไม่ธรรมดา เทคโนโลยีเก่าแก่ของเราก็ดังไปทั่วโลก เราแค่เอาภูมิปัญญาที่มีอยู่ไปพัฒนา ใส่ความรู้เพิ่มเติม ค่อยเป็นค่อยไปเหมือนดังที่พระองค์ท่านตรัสว่า การพัฒนาให้ทำขึ้นไปเป็นขั้นเป็นตอน ไม่อยู่นิ่งกับที่ ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ แต่อย่ารีบร้อน อย่าก้าวหน้าอย่างมาก เดี๋ยวจะถอยหลังเข้าคลองอย่างง่าย

เราไม่อยากเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้าก้าวหน้าอย่างมากเดี๋ยวเดินตามตำราคือเปิดหน้าสุดท้ายเสร็จก็ไม่รู้จะไปอย่างไรต่อ สุดท้ายก็ถอยหลังเข้าคลอง ต้องไปเปิดตำราใหม่ เริ่มหน้าหนึ่งใหม่ พระองค์ทรงแนะนำไว้หมดแล้ว แต่เราก็ไม่ค่อยเชื่อกัน ซึ่งมันก็เป็นสิทธิ ใครเชื่อก็ทำตาม ใครไม่เชื่อก็ได้รับบทเรียนกันไปเอง

- ทำไมชาวต่างชาติถึงสนใจโครงการในพระราชดำริ

เขาผ่านความยากลำบากไปแล้ว เพราะเขาเชื่อมั่นว่าหากเขาทำอุตสาหกรรมแล้วเขามีเงิน ชีวิตเขาจะสะดวกสบาย แต่พอเอาเข้าจริง ผลลัพธ์มันเป็นตัวปัญหา ของดีก็มี คือดีที่มีเงินมีทอง จะซื้ออะไรก็ได้ แต่เขาลืมไปว่า ผลพวงจากการหาเงิน ได้ทำลายอากาศบริสุทธิ์รอบตัวเขาไป  เป็นโรคแทบทนไม่ไหว ต้องนำเงินที่หาได้มาตั้งกองทุนเพื่อฟื้นฟูโลกกันใหม่ เงินที่นำมาฟื้นฟูนั้นมากกว่าตอนที่เก็บเกี่ยวไปจากโลก

ชาวโลกเองก็มองว่าอากาศบริสุทธิ์แทบไม่มีเหลือเลย เราชอบคิดว่าเราเป็นศูนย์กลาง อยากทำอะไรก็ทำตามใจตัวเอง แต่ลืมนึกไปว่า แท้จริงแล้วโลกมันมีความสมดุล เราต่างหากเป็นส่วนย่อยๆ ของโลก เราไม่ใช่เจ้าของ

สถานการณ์โลกปัจจุบัน ระบบจ้างงานเปลี่ยนไปมาก เพราะเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา คนก็ถูกปลดออก ปัญหาแบบนี้ทั่วโลกเขารับรู้กัน เราต้องเอาจริงกับการทำงานให้เต็มกำลัง ใช้ชีวิตตั้งมั่นอย่างสุจริต พอเพียง เท่านี้เราก็อยู่บนโลกได้อย่างสบาย ไม่ทำลายโลกด้วย เราเกิดร่วมภาษา ฟังภาษาพระองค์ท่านรู้ และเข้าใจได้มากกว่าต่างชาติ อยากให้เราเร่งศึกษาและลงมือทำ คุณงามความดีก็ตกแก่เรา

ความรู้สำคัญเท่าๆ กับคุณธรรม ถ้าความรู้มากไป คุณธรรมต่ำไปก็เอียง มันก็เกิดปัญหา ต้องพอเหมาะ พอดี ความรู้และคุณธรรมเป็นเงื่อนไขสำคัญในการนำชีวิต สังคม และโลกให้มีความพอเพียง ความพอเพียงนี้จะนำไปสู่ความมั่งคั่งและแบ่งปันกัน

แทนที่จะไปแย่งชิงกัน ไปแข่งขันเอาเป็นเอาตาย สุดท้ายก็แพ้ด้วยกันทั้งหมด มีคนชนะเพียงแค่คนเดียว นอกนั้นแพ้หมด


เรื่อง : พัชรพรรณ โอภาสพินิจ


จาก http://www.siamrath.co.th/n/4192