ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2016, 06:51:25 am »


Exclusive! ญี่ปุ่นยกย่อง “2 มหาราช” ผู้นำสยามผ่านวิกฤต



   รายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่น ยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๙ เป็นกษัตริย์ผู้นำพาประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตการณ์ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม และสร้างความทันสมัยในทุกด้านให้กับประเทศ เฉกเช่นเดียวกับสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิของญี่ปุ่น
       
       รายการ “ย้อนรอยประวัติศาสตร์” นำเสนอโดยสถานีโทรทัศน์ของญี่ปุ่น นำเสนอเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งเรื่องราวของพระองค์คล้ายกับของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิของญี่ปุ่นอย่างยิ่ง


พระจักรพรรดิเมจิและพระปิยมหาราช 2 กษัตริย์ผู้ปฏิรูปประเทศญี่ปุ่นและสยามจนรักษาเอกราชของชาติไว้ได้

พระจักรพรรดิเมจิ คือ ผู้สร้างการการปฏิรูปครั้งสำคัญประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1868 โดยรวบอำนาจจากรัฐบาลโชกุน กลับคืนสู่จักรพรรดิญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง
       
       การปฏิรูปครั้งนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการปกครองและโครงสร้างทางสังคมของญี่ปุ่นอย่างมหาศาล ทั้งการสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ, พัฒนาระบบกฎหมายและเศรษฐกิจ, เพิ่มอำนาจทางการทหาร ภายใต้คำขวัญว่า “ประเทศมั่งคั่ง กองทัพแข็งแกร่ง” และทำให้ประเทศญี่ปุ่นก้าวสู่ระบบอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ความทันสมัยของญี่ปุ่นในปัจจุบัน
       
       พระจักรพรรดิเมจิ มีพระราชประวัติคล้ายกับพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ อย่างมาก พระจักรพรรดิเมจิ ขึ้นครองราชย์ในวัย 16 ชันษา ในปี 1867 ส่วนรัชกาลที่ ๕ ทรงขึ้นครองราชย์ในปี 1868 ในวัย 15 ชันษา
       
       คุณูปการของทั้งสองพระองค์ คือ การนำพาประเทศญี่ปุ่น และ ไทย รอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก รวมทั้งสร้างความทันสมัยในทุกด้านให้กับประเทศ




  ปี 1853 สหรัฐอเมริกา โดยนายพลเพอร์รี่ ส่ง “เรือรบดำ” มาข่มขู่ญี่ปุ่นให้เปิดประเทศ ขณะที่สยามก็ต้องยอมทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับชาติตะวันตก ยุวกษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์ ตระหนักดีว่า หนทางเดียวที่จะรักษาเอกราชให้พ้นจากภัยคุกคามจากชาติตะวันตก คือ การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในทุกด้าน
       
       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ด้วยการปกครองของบ้านเมืองอย่างมีอยู่ปัจจุบันนี้ โดยทางยุติธรรม หรืออยุติธรรมของศัตรูก็ดี ต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงไปในทางบำรุงรักษาบ้านเมือง ทางญี่ปุ่นได้เดินตามยุโรปมาแล้ว แลซึ่งประเทศทั้งปวงซึ่งมีศิวิไลซ์ นับว่าเป็นทางอันเดียวที่จะรักษาบ้านเมืองได้”



พระราชหัตถเลขาร.5 เรื่องการปฏิรูปประเทศ

  ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ส่งคณะทูตไปศึกษาอารยธรรมตะวันตก สยามก็ได้พัฒนาระบบการปกครองด้านต่าง ๆ เช่น ใช้ระบบการคลังแบบอังกฤษ ระบบกฎหมายของฝรั่งเศส การทูตแบบอเมริกา และ ระบบรถไฟแบบเยอรมนี เป็นต้น


“มาซะโอะ โทคิชิ” ชาวญี่ปุ่นผู้มาช่วยราชสำนักไทยปรับปรุงกฎหมาย

  ในรัชสมัยของ ร.๕ มีชาวญี่ปุ่นหลายคนที่มีส่วนสำคัญในการปฏิรูปสยาม “มาซะโอะ โทคิชิ” ได้ช่วยราชสำนักวิจัยเรื่องการปรับปรุงกฎหมายไทยให้เป็นไปอย่างยุโรปนานถึง 15 ปี จนสามารถแก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับฝ่ายตะวันตก
       
       มาซะโอะ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากรัชกาลที่ ๕ ให้มีหน้าที่การงานอย่างสำคัญในยุคนั้น และได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัคราชทูตญี่ปุ่นประจำสยามในเวลาต่อมา


“มาซะโอะ โทคิชิ” กับขุนนางไทยในยุคปฏิรูปประเทศสมัยร.5


ชาวญี่ปุ่นสอนคนไทยเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม

ญี่ปุ่นยังได้ส่งคนมาช่วยสอนการเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมในภาคอีสานของไทย ช่วยสร้างอาชีพในชาวบ้านในยุคนั้น
       
       ด้านการศึกษา รัชกาลที่ ๕ ทรงริเริ่มการให้การศึกษากับผู้หญิง โดยจัดตั้งโรงเรียนราชินี ซึ่งญี่ปุ่นได้ส่ง “นางเทตสุ ยาสุอิ” มาช่วยสอนและเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน


“นางเทตสุ ยาสุอิ” ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนราชินี


“นางเทตสุ ยาสุอิ” และนักเรียน รร.ราชินี



     ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น อธิบายว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ต่างทรงเผชิญความยากลำบากในการปฏิรูปและพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นและไทยเป็นเพียง 2 ชาติ ในเอเชียที่รักษาเอกราชของประเทศไว้ได้
       
       ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ระบุว่า คุณูปการอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ ได้สะท้อนผ่าน “ความเป็นไทย” ในสีแดง ขาว และ น้ำเงิน ของธงชาติไทย



        พระปิยมหาราช สวรรคตในปี 1910 และอีก 2 ปีต่อมา สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ก็สวรรคตในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน คือ ในปี 1912 ทั้ง 2 พระองค์ไม่เพียงมีช่วงชีวิตที่ใกล้เคียงกันอย่างมาก แต่คุณูปการของของกษัตริย์ไทย และพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ทำให้ไทยและญี่ปุ่นเป็นเพียง 2 ชาติในเอเชียเท่านั้น ที่รักษาเอกราชไว้ได้



จากพระปิยมหาราช ถึงพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
       
       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงรักษาเอกราชของชาติไทยในยุคล่าอาณานิคม ขณะที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงช่วยคลี่คลายวิกฤตในประเทศหลายครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์นักศึกษาเรียกร้องประชาธิปไตยในเดือนตุลาปี 2516 และ 2519, พฤษภาทมิฬ จนถึงความวุ่นวายทางการเมืองต่าง ๆ
       
       สื่อญี่ปุ่นเห็นตรงกันว่า พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเสถียรภาพให้กับประเทศไทย และนำพาประเทศกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อยได้ทุกครั้ง นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนประชาชนชาวไทยเรียกขานทั้ง 2 พระองค์ด้วยความรักว่า “พระปิยมหาราช” และ “พ่อหลวง”



จาก http://astv.mobi/A4ifnaU