ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 26, 2016, 02:07:47 am »




ชายผู้เดินตามรอยเท้าพ่อ ปลดหนี้นับล้านได้ เพราะคำว่า “พอเพียง”

ชายในชุดม่อฮ่อมคาดผ้าขาวม้าสีซีดตะโกนเรียกคนนั้นคนนี้ให้มาทานข้าวเสียงดัง บนโต๊ะประกอบด้วยข้าวสวยสีขาวนวล ปลาบู่นึ่งสมุนไพร ชะอมชุบไข่ทอด น้ำพริกกะปิ และผักบุ้งผัดน้ำมันหอย…บรรยากาศบนโต๊ะอาหารเต็มไปด้วยความสนุกสนานครื้นเครง

“อร่อยไหม” ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลสองสลึง ถามและเริ่มอธิบายถึงที่มาของข้าวปลาอาหารตรงหน้า

“ข้าวที่กินผมปลูกและสีเอง ปลาบู่เพิ่งให้คนไปจับในบ่อปลา ผักบุ้งเด็ดจากข้างบ่อ ไข่เอามาจากไก่ตัวนู้นส่วนชะอม เห็นอวบๆ อย่างนี้ ไม่อยากบอกว่ามาจากการนำน้ำหมักชีวภาพมาพ่นลงบนต้นชะอม” ผู้ใหญ่สมศักดิ์หัวเราะอย่างถูกอกถูกใจเมื่อเห็นสีหน้าของแต่ละคนยามได้ทานชะอมรสดี (อันเป็นผลมาจากการได้ปุ๋ยชั้นดีจากของเสียทั้งของคนและสัตว์)

ก่อนจะกลายมาเป็นผู้ใหญ่บ้านที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่าเป็นปราชญ์เดินดินทุกวันนี้ ผู้ใหญ่สมศักดิ์เคยมีหนี้สินล้นพ้นตัวเกือบล้านบาท จากการทำสวนแบบเกษตรเชิงเดี่ยวและใช้ปุ๋ยเคมี โชคดีที่ ธกส.จัดการเรียนการสอนให้แก่เกษตรกรที่มีหนี้สิน เขาจึงสามารถตั้งตัวใหม่ได้อีกครั้งในระยะเวลา 10 ปี ทว่าคราวนี้…

“ตอนแรกก็ไม่เชื่อ ขายผักวันหนึ่งจะได้สักกี่บาท หนี้เกือบล้าน ต้องปลูกผักกี่ชาติถึงจะขายใช้หนี้ได้หมดผลสุดท้ายได้แนวคิดจากอาจารย์ยักษ์ (คุณวิวัฒน์ ศัลยกําธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ) ว่าคนเราเป็นหนี้เพราะโลภ อยากรวย ทำอย่างไรก็ได้ให้ได้เงินเมื่อโลภแบบไม่มีพื้นฐานความรู้ก็เหมือนบ้านไม่มีฐาน บ้านย่อมพัง ตอนหลังจึงกลับมาตั้งต้นนับหนึ่งใหม่

“ตั้งแต่วันนั้นก็เลยเลิกคิดถึงเรื่องหนี้สิน คิดแค่ว่าจะทำอย่างไรถึงปลูกแล้วมีกิน เรียนทำปุ๋ยอินทรีย์ปลูกผักต่างๆ เพราะคนเราตื่นมายังไงก็ต้องกินก่อน ไม่ได้วิ่งออกไปหาเงินเลย ฉะนั้นเราต้องปรับพื้นฐานการกินให้พร้อมออกซ้ายเจอผัก ออกขวาเจอปลา ข้างหน้าเจอข้าว พึ่งตัวเองสักหนึ่งในปัจจัยสี่เราก็อยู่รอดแล้ว”



หลังจากที่ผู้ใหญ่สมศักดิ์เริ่ม อยู่รอด แล้ว เขาจึงเริ่มชักชวนทุกคนมาร่วม อยู่ รอดบ้าง เริ่มจากการสอนการทำปุ๋ยชีวภาพ (ที่ผู้ใหญ่การันตีว่าดีจริง เพราะทดลองทำในตอนแรกใส่แล้วต้นไม้ตาย หากบัดนี้ใส่แล้วต้นไม้งาม) การปลูกพืชแบบผสมผสาน และการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ

“คนที่ติดหนี้แบบผมมีมาก เกษตรกรติดหนี้ถ้วนหน้า เพราะถูกชี้ให้ทำ อย่างเช่น ใส่ปุ๋ยเคมี จะได้ผลผลิตมากๆ ไปขาย เอาเงินมาเยอะๆ…วัฒนธรรมการดำรงชีวิตทุกวันนี้เปลี่ยนไปหมด เปลี่ยนไม่ให้คนรักกัน เปลี่ยนให้คนเห็นแก่ตัว ทุกอย่างทำมาต้องค้าขาย”

“ตอนแรกชาวบ้านก็ไม่เชื่อ ยังคงใช้สารเคมีกันอยู่ แต่สุดท้ายก็ไปไม่ไหวและเริ่มมาเรียน…ที่นี่สอนไม่ให้ใช้สารเคมีกับพืชผักผลไม้ เพราะถ้าใช้เอาตัวไม่รอด ขายไปแล้วก็ขาดทุน เช่น ทุเรียน ก่อนจะเป็นลูกทุเรียนออกมาต้องใส่ปุ๋ยเร่งราก ดอก ผล ใช้ยาฆ่าเชื้อรายาฆ่าแมลง ใส่สารเคมี 5 – 6 อย่าง เรียกว่าลงทุนเกือบสิบอย่าง แต่ขายได้แค่ผลทุเรียนอย่างเดียว ขาดทุนอยู่แล้ว

“และเวลาสอน หากสอนเขาเฉยๆ เขาจะไม่เห็นภาพ ต้องทำให้เขาดู พูดเสร็จแล้วต้องชี้ ชี้เสร็จแล้วต้องทำ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมาช่วยทำด้วยกัน…เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน”

จากปากต่อปากทำให้ “ครูผู้ใหญ่” ต้องสอน “นักเรียนตัวโต” เกือบทุกเช้า กลางวัน เย็น นานเป็นเดือนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จนกระทั่งมี “เด็กเกเร” พูดว่า “คนไม่มีหนี้ พูดอย่างไรก็พูดได้” สุดท้ายผู้ใหญ่สมศักดิ์จึงตัดสินใจกู้เงิน ธกส.มาหนึ่งล้านบาท มาซื้อที่ห้าไร่ที่เจ้าของขายทิ้งเพราะดินเสีย น้ำในบ่อเน่า สัตว์มีพิษชุกชุม เพื่อนำมาฟื้นฟูโดยใช้แค่เกษตรอินทรีย์และวิถีพอเพียง

วันแรก ซื้อฟางจากชาวบ้านมาห่มดิน

สัปดาห์แรก ฟื้นฟูดิน ใส่ปุ๋ย ปลูกพริกเพื่อวัดค่าความเป็นกรดด่าง

เดือนแรก พริกขึ้น ปลูกขิง ข่า ตะไคร้ มะเขือ ใบแต้วชะมวง ชะอม ผักหวาน มะละกอ และผักอื่นๆ รวมๆ กัน ขุดบ่อปลา ปล่อยปลานิลกินสาหร่าย ปล่อยปลาช่อนกินลูกปลานิล…แทบจะไม่ต้องให้อาหาร

ห้าเดือนผ่านไป จากหนึ่งต้นกลายมาเป็นห้าพันต้นในพื้นที่ห้าไร่ หนี้ที่กู้มาใช้คืน ธกส.ได้หมด เหล่า “นักเรียนเกเร” เริ่มกลายเป็นเด็กดีและแน่นอน…ผู้ใหญ่สมศักดิ์มีผัก ปลา อาหารให้กิน แจก และแลกกับคนอื่นมากมาย

“ผมพยายามสร้างที่นี่ให้เหมือนเมื่อ 40 ปีที่แล้วคือ มีป่า ผลหมากรากไม้ หมูเห็ดเป็ดไก่ คืนธรรมชาติให้ย้อนกลับไป รวมถึงสร้างวิถีชีวิตให้ชาวบ้านกลับไปเป็นเหมือนเมื่อก่อนด้วย คือไปที่ไหนก็มีของให้กิน ไม่ต้องขอ แค่ไปถึงชายคาบ้านเขาก็เรียกกินแล้ว

“ตอนนี้วิถีชาวบ้านที่นี่เริ่มกลับมาบางส่วน เข้าไปในสวนเริ่มแจกกันกิน เพราะพวกเราใช้หลักบันไดสี่ขั้นของในหลวงท่าน คือ กินเสร็จแล้วแจก แจกเสร็จแล้วแลก แลกเสร็จแล้วขาย…ศาสตร์ของในหลวงสามารถเอามาใช้ได้จริงทั้งโลก ในขณะที่ศาสตร์ทั้งหมดในโลกคือขุดเอาทรัพยากรมาละลาย ละเลง และแปรรูป เอาทรัพยากรมาตีค่าเป็นเงิน เขียนเป็นตัวเลข มีค่าแค่กระดาษใบเดียว ซึ่งสู้ศาสตร์ของในหลวงไม่ได้

“ทุกวันนี้ผมพกรูปในหลวงติดไปด้วยทุกครั้งเวลาไปไหน เวลาที่ท้อ ผมจะเอารูปของพระองค์ท่านออกมาดู ในรูปพระองค์ไม่ได้เงยหน้า แต่พระองค์ก้มหน้าแล้วเหงื่อหยด พระราชาเหงื่อหยดไม่ใช่ธรรมดา…แล้วพวกเราล่ะเคยเหงื่อหยดหรือเปล่า ตั้งแต่ผมเกิดมา ผมยังไม่เคยเห็นวันหยุดของพระราชาเลย”

ทุกชั่วโมงจะมีคนแวะเวียนมาหาผู้ใหญ่สมศักดิ์ไม่ขาดสาย ชาวบ้าน ข้าราชการ นายอำเภอ สื่อมวลชน คนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หากใบหน้าของผู้ใหญ่สมศักดิ์ไม่เคยขาดรอยยิ้ม เพราะเขารู้ว่า ยิ่งเขาต้อนรับขับสู้คนเหล่านี้มากเท่าไร เกษตรกรไทยจะยิ่งได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

“ลองคิดดูว่าหากมีคนอยู่สามคน ผมมีกินคนเดียว อีกสองคนไม่มีกิน ผมจะอยู่รอดไหม…ไม่รอดหรอก เราต้องระวังอันตรายรอบตัว เพราะเรามีกินคนเดียว จริงๆ แล้วถ้าคนในประเทศไทยมีกินเหมือนๆ กัน คนไทยจะไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันหรอก



“ถ้าสมมุติผมเอาตัวรอดคนเดียว รอบๆ นี้เอาตัวไม่รอด ประเทศไทย สังคม วัฒนธรรมไทยไม่รอด ผมก็ไม่รอด เพราะผมอยู่คนเดียวไม่มีเพื่อน แต่ถ้าผมอยู่รอด เพื่อนบ้านอยู่รอด ข้างเคียงอยู่รอด หลายๆ คนที่มาศึกษางานจากผมอยู่รอด เชื่อไหมว่าผมไปไหนในประเทศไทยไม่ต้องพกสตางค์สักบาทผมก็มีกิน ผมนั่งรถไป

ค่ารถก็ไม่ต้องเสีย เพราะผมมีเพื่อนอยู่ทั่วประเทศ สบายกว่ามีเงินเป็นหมื่นเป็นแสน แต่ต้องนั่งระวังตัวตลอดเวลา

“หัวใจของเศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ คือ ทำอะไรก็ได้ให้สมฐานะตนเอง ทำในสิ่งที่ตนเองรู้และถนัด ที่สำคัญ อย่าโลภ อย่างภูเขาทั้งลูกที่คุณเห็นข้างหน้านี่ ถ้าผมไม่กันไว้ก็หมด บางคนจะเอาของหลวงไปเป็นของส่วนตัว แต่ผมและชาวบ้านช่วยกันยัน เพราะถ้าคุณไม่มีป่าคุณก็ไม่มีน้ำ หมดป่า หมดน้ำ ฝนก็ไม่ตก เมื่อเราเติมปัญญาให้ชาวบ้านเข้าใจ เขาจะมาช่วยเราเอง

“เศรษฐกิจพอเพียงต้องเริ่มที่ตัวเอง เอาตัวเองให้รอดก่อน ถ้าช่วยตัวเองไม่ไหว อย่าเพิ่งไปช่วยเพื่อน ไม่งั้นจะกลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อมพอช่วยเหลือตัวเองได้ค่อยแบ่งเพื่อนก็ยังไม่สาย”

ผู้ใหญ่สมศักดิ์หักพริกที่ทานเหลือเป็นสองท่อนแล้วนำไปกดลงดิน ปักไม้ไว้ที่เดียวกัน เป็นการบ่งบอกว่าจะมีพริกขึ้น ณ ที่นี้อีกต้นหนึ่ง ท่ามกลางต้นไม้น้อยใหญ่ที่เจริญงอกงาม

สูตรปุ๋ยของคนอื่นๆ อาจจะมาจากธาตุอาหารหลักอย่าง N – ไนโตรเจน P – ฟอสฟอรัส K – โพแทสเซียม…แต่สูตรปุ๋ยของผู้ใหญ่สมศักดิ์ที่ทำให้ต้นไม้ออกดอกออกผลมากมายให้กิน – แจก – แลก – ขาย มีดังนี้

N – Never Give Up ความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่ถาโถมเข้ามา

P – Perception ความเข้าใจในสิ่งที่ทำอย่างลึกซึ้ง

K – Keep Going ทำต่อไปเรื่อยๆ…จนกว่าจะหมดลมหายใจ

เรื่อง ณัฐนภ ตระกลธนภาส / ภาพ สรยุทธ พุ่มภักดี

จาก http://www.secret-thai.com/article/15836/31102559-2/