ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2016, 02:24:18 am »




ในหลวงกับพระพุทธศาสนา บทสัมภาษณ์ “สมเด็จพระญาณสังวร” 

สมเด็จพระญาณสังวรประทานให้สัมภาษณ์ในหนังสือในหลวงของเรา เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พุทธศักราช 2518 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

ผู้สัมภาษณ์ (คุณอัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์) : “ก่อนอื่นกระผมใคร่ที่จะขอกราบขอบพระคุณพระคุณเจ้า ที่ได้กรุณาเมตตาเล่าถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นวิทยาทานและสาธารณประโยชน์ให้แก่อนุชนรุ่นหลังต่อไปอย่างยิ่งครับ พระคุณเจ้ามีความเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบันนี้ ทรงมีความสนพระราชหฤทัยในพระพุทธศาสนาอย่างไรบ้างครับ”

สมเด็จพระญาณสังวร : “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์มาตั้งแต่พระชนม พรรษายังน้อย ดังที่ได้เคยทราบว่าได้ทรงพอพระราชหฤทัยในการฟังเทศน์ ที่มีอยู่เป็นประจำในคราวบำเพ็ญพระราชกุศลถวายที่พระบรมศพ รัชกาลที่ 8 แม้จะเป็นการเทศน์กัณฑ์ยาวก็ทรงพอพระราชหฤทัยฟัง ทรงเริ่มสนพระราชหฤทัยในพระพุทธศาสนาเมื่อได้ทรงพบปะพระมหาเถระผู้ใหญ่ ก็มีพระราชปุจฉาและทรงสดับข้อธรรมนั้นๆ อยู่เนืองๆ โดยเฉพาะได้ทรงมีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงสดับฟังธรรมเป็นครั้งคราวตลอดมา ทำให้ทรงเข้าพระราชหฤทัยในธรรม และสนพระราชหฤทัยในพระพุทธศาสนามากขึ้น”

ผู้สัมภาษณ์ : “สิ่งเหล่านี้คือแรงดลพระราชหฤทัยให้ทรงผนวชใช่ไหมครับ”

สมเด็จพระญาณสังวร : “ก็ถูก เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงใกล้ชิดสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทำให้ทรงมีความรู้ และทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น จึงเป็นแรงหนึ่งที่ดลพระราชหฤทัยให้เกิดพระราชศรัทธาปสาทะอันแน่วแน่ที่จะทรงพระผนวชในสำนักสมเด็จพระสังฆราชเจ้า”

ผู้สัมภาษณ์ : “ทราบว่าพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีในอดีต โดยมากได้เสด็จออกทรงผนวชก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ แต่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบันทรงผนวช เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ขอความกรุณาพระคุณเจ้าเล่าให้กระผมทราบด้วยว่าเพราะเหตุใด จึงเป็นเช่นนั้นครับ”

สมเด็จพระญาณสังวร : “พระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีในอดีต โดยมากได้เสด็จออกทรงผนวชก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เว้นแต่รัชกาลที่ 5 ซึ่งเสด็จออกทรงผนวชแล้ว เพราะว่าได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมพรรษายังน้อย มาถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบันก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อพระชนมพรรษายังน้อยเช่นเดียวกัน”

ผู้สัมภาษณ์ : “กระผมขอกราบเรียนถึงความรู้สึกของพระคุณเจ้าในฐานะที่เคยเป็นพระอภิบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวชและประทับอยู่ที่วัดนี้ครับ”

สมเด็จพระญาณสังวร : “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระผนวชที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตน ศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จฯมาทรงปฏิบัติสมณวัตรในสำนักสมเด็จพระราชอุปัชฌาย์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2499 จึงทรงลาผนวชอยู่ 15 วัน




สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ทรงมอบหมายให้เป็นพระพี่เลี้ยง ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ได้มีความรู้สึกว่าพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงพระผนวชตามราชประเพณีอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ แต่ทรงพระผนวชด้วยพระราชศรัทธาที่ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มิได้ทรงเป็นบุคคลจำพวกที่เรียกว่า “หัวใหม่” ไม่เห็นศาสนาเป็นสำคัญ แต่ได้ทรงเห็นคุณค่าของพระศาสนา

ฉะนั้น ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาสามัญก็กล่าวได้ว่า “บวชด้วยศรัทธา” เพราะทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธา ประกอบด้วยพระปัญญา และได้ทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด”

ผู้สัมภาษณ์ : “พระคุณเจ้าจะกรุณายกตัวอย่างถึงพระราชศรัทธา ในพระพุทธศาสนาสักเล็กน้อยได้ไหมครับ”

สมเด็จพระญาณสังวร : “ตัวอย่างเช่น เมื่อเสด็จฯไปทั้งในวัดและนอกวัดไม่ทรงสวมฉลองพระบาท เสด็จฯไปด้วยพระบาทเปล่าทุกแห่ง ได้ทรงปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ อย่างสมบูรณ์ และทรงรักษาเวลา เมื่อตีระฆังลงโบสถ์ในวันปกติทุกเช้าเย็น เวลา 08.00 น. และเวลา 17.00 น. ก็จะเสด็จลงโบสถ์ทันที ทำให้พระภิกษุสามเณรทั้งวัดพากันรักษาเวลาอย่างเคร่งครัด โดยที่ได้ไปประชุมกันในโบสถ์ก่อนเวลาจะเสด็จฯ ถึง มีประชาชนมาคอยเฝ้าฯ เวลาเสด็จลงโบสถ์ทุกเช้าเย็น ทุกวันเป็นจำนวนมาก

พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาพระธรรมวินัยอย่างทรงเข้าพระราชหฤทัยถึงสาระแก่นสารสำคัญของพระพุทธศาสนา ดังเช่น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นไวยาวัจกรวัดในคราวนั้น ซึ่งเป็นหน้าที่อยู่ปฏิบัติสนองพระเดชพระคุณตลอดเวลาที่ทรงพระผนวชอยู่ ได้แสดงทางวิทยุกระจายเสียงในคราวหนึ่งในระยะนั้นว่า พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระราชหฤทัยในธรรมะ ดังที่ได้แสดงไว้เป็นหมวดๆ ในนวโกวาทตั้งแต่ทุกหมวด 2 เป็นต้น ซึ่งเมื่ออ่านดูเป็นหมวดๆ ไปแล้วก็จะสับสน แต่ก็ได้ทรงเข้าพระราชหฤทัยว่าสรุปลงได้ในหลักแห่งไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และก็ถือเทียบได้กับแนวปฏิบัติทางตะวันตก แนวศีลก็เท่ากับจริยธรรม (Ethics) แนวสมาธิก็เท่ากับ (Psychology) หรือจิตวิทยา แนวปัญญาก็เท่ากับ (Philosophy) หรือปรัชญา แนวศีล สมาธิ ปัญญา ทางพระพุทธศาสนานั้นถูกต้องลึกซึ้งยิ่งนัก”

ผู้สัมภาษณ์ : “พระคุณเจ้าคิดว่าการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชในครั้งนั้น ได้มีผลประโยชน์อย่างไรต่อราษฎรบ้างครับ”

สมเด็จพระญาณสังวร : “การที่ได้ทรงพระผนวชในครั้งนี้ย่อมเป็นประโยชน์เป็นอันมาก เพราะทำให้พระพุทธศาสนาปรากฏเด่นขึ้น คนทั้งหลายที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ไม่สนใจในพระพุทธศาสนาก็กลับมาสนใจยิ่งขึ้น จึงเป็นการเชื่อได้ว่าได้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาทั้งโดยตรงและโดยอ้อม อันหลักของการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนานั้น เมื่อเปรียบเทียบกับหลักของการบูชา ซึ่งมีอยู่ 2 อย่าง คือ อามิสบูชาและปฏิบัติบูชา ก็พึงเห็นได้ว่าทำด้วยการอุปถัมภ์ด้วยเครื่องอุปถัมภ์ทั้งหลายที่เป็นภายนอกอย่างหนึ่ง ด้วยการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาอีกอย่างหนึ่ง

พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกระทำมาอย่างเต็มที่ทั้งสองอย่าง ได้ทรงปฏิบัติพระองค์เองอยู่ในธรรม ในทศพิธราชธรรมโดยเคร่งครัดตลอดมา”




ผู้สัมภาษณ์ : “พระคุณเจ้าคิดว่าการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” นั้นมีผลต่อพระพุทธศาสนาประการใดบ้างครับ”

สมเด็จพระญาณสังวร : “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์แห่งมหาชนชาวสยาม” ดังจะพึงเห็นได้จากพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงปฏิบัติมากมาย ซึ่งใครๆ ไม่สามารถที่จะตำหนิพระองค์

นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานกระแสแนะนำในการรักษาปฏิบัติพระพุทธศาสนาอยู่เนืองๆ โดยทรงมีพระราชปรารภกับพระเถระทั้งหลาย ซึ่งได้ทรงพบในที่นั้นๆ คนโดยมากย่อมจะทราบว่าเมื่อเสด็จฯ ไปทรงปะปนกับคนกลุ่มใด อาชีพใด ก็ย่อมจะทรงมีพระราชดำรัสแก่บุคคลกลุ่มนั้น เกี่ยวกับอาชีพนั้นๆ แสดงพระราชดำริในการปฏิบัติเริ่มแก้ไขส่งเสริมให้บังเกิดความเจริญก้าวหน้า

ฉะนั้น เมื่อทรงพบปะกับสมณะก็มีพระราชปรารภถึงธรรมปฏิบัติ มีพระราชดำริเริ่มแก้ไขส่งเสริมวิธีการปฏิบัติ วิธีการสอน เป็นต้น โดยเฉพาะมีพระราชดำริเป็นห่วงใยในความประพฤติศีลธรรมระดับประชาชนทั่วไป ซึ่งพระสงฆ์ควรจะแนะนำสั่งสอนประชาชนทั่วไปให้มีความรู้และปฏิบัติในศีลธรรมระดับนี้ เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของประเทศชาติ ประชาชนพระภิกษุสามเณรเมื่อเข้ามาอุปสมบทบวชเรียน ก็เท่ากับว่ารับปริญญาแห่งพระสงฆ์ เหมือนอย่างสมาชิกของสมาคมใดสมาคมหนึ่ง ก็ต้องรับปริญญาตามระเบียบของสมาคมนั้นๆ จึงพึงปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามปริญญา เพื่อให้เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของประชาชน เพราะเมื่อประชาชนไม่นับถือก็จะทรงอยู่ไม่ได้”

ผู้สัมภาษณ์ : “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาประการใดบ้างครับ”

สมเด็จพระญาณสังวร : “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาอย่างมั่นคงในพระศาสนา และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทุกอย่างในฐานะทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกอย่างดียิ่ง ในด้านศิลปวัตถุก็ได้มีพระราชประสงค์ให้รักษาศิลปวัตถุของเก่า เมื่อจะทำขึ้นใหม่ก็โปรดให้ทำด้วยมุ่งประโยชน์ให้เหมาะสมแก่วัตถุประสงค์และท้องถิ่นเป็นสำคัญ ไม่ให้เป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ได้พระราช ทานพระราชดำริแบบพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ซึ่งนับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปศิลปวัตถุสมัยรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยทรงปฏิบัติพระองค์อยู่ในธรรม และด้วยพระราชทานปัจจัยคือสิ่งต่างๆ เพื่ออุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างไม่ทรงหยุดยั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ประชาชนโดยทั่วไปทุกคนย่อมจะเห็นได้ด้วยตนเองอยู่แล้ว ตามที่ได้กล่าวมานี้ก็เป็นเพียงบางประการ ทุกๆ คนเมื่อได้อ่านก็อาจจะมองเห็นได้ด้วยตนเองถึงสิ่งอื่นๆ อีกอย่างกว้างขวาง”

ผู้สัมภาษณ์ : “กระผมขอกราบขอบพระคุณพระคุณเจ้าที่ได้กรุณาเมตตาในครั้งนี้ กระผมคิดว่าแนวคิดเห็นของพระคุณเจ้าจะเปรียบเสมือนแนวประทีปแห่งธรรมที่จะช่วยฉายแสงให้ท่านผู้อ่านทุกท่านเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้นไปอีกครับ”


จากหนังสือ “นานาสารธรรม” ฉบับที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา 5 ธันวาคม 2530 (หน้า 25-30)


จาก  https://www.khaosod.co.th/amulets/news_64065