ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2016, 09:39:50 pm »“ผมไม่ใช่ฮีโร่..ผมแค่คนธรรมดา” ล็อต-ภัทรพล หมอสัตว์ป่าคนแรกของไทย!
“เราเองก็ไม่อยากพูดว่าเรามาสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่คนรอบนอกเขามอง เขามองอย่างนั้น แต่ถ้าถามตัวเราเองเราเข้ามาเพื่อมาเติมเต็ม เราอาจจะเป็นจิกซอร์ตัวหนึ่ง หรืออาจเป็นตัวสุดท้ายที่มาเติมเต็มงานอนุรักษ์ มาสนับสนุนงานของคนเหล่านี้”
“หมอล็อต-ภัทรพล มณีอ่อน” สัตวแพทย์สัตว์ป่าประจำกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชคนแรกของไทย ผู้บุกเบิกวงการสัตวแพทย์ไทยให้ขับเคลื่อนไปในวิถีทางที่ควรเป็น ท่ามกลางเสียงครวญของสรรพสัตว์และหยาดน้ำตาจากธรรมชาติ เขาคือตัวแทนผู้กล้าหาญเพื่อสื่อความหมายเหล่านั้น ทว่า การก้าวเท้ารับหน้าที่หมอรักษาสัตว์ป่าที่มีคนไทยทั้งประเทศเป็นเจ้าของ ถือเป็นความท้าทายที่เขาต้องเผชิญ. .
“ความเปลี่ยนแปลงที่มันเกิดขึ้นคือ กรมป่าไม้ กรมอุทยานเป็นหน่วยงานด้านอนุรักษ์ที่ 100 กว่าปี ไม่มีสัตวแพทย์ ซึ่งตอนนี้เกิดการยอมรับในบทบาทของวิชาชีพสัตวแพทย์กับงานอนุรักษ์” หรือนี่อาจจะเป็นผลผลิตของสิ่งที่เขาได้ลงแรงลงใจต่อสู้เพื่อสัตว์ป่าและธรรมชาติมาเป็นเวลากว่า 10 ปีกันแน่ !?
50/50 ชีวิตป่า-เมือง
“ขณะที่เรากำลังซีเรียสกับการทำงานอยู่หน้าจอคอม นั่นคือเรากำลังใช้พลังไป พลังเรากำลังจะหมดกับการใช้สมอง แรงกายต้องคิดต้องทำ แต่ถ้าเราเลือกสภาพแวดล้อมที่ดี มันจะเป็นตัวคอยทดแทนพลังงานที่เราเสียไปได้ตลอดเวลา”
หมอล็อต-ภัทรพล เปรยให้ฟังหลังสิ้นคำถามที่ใครหลายคนต่างสงสัยว่า เหตุใดผู้ชายคนนี้ถึงมีบุคลิกมาดเท่ ชอบลุย และรักการทำกิจกรรม บ้างชอบออกนอกสถานที่อยู่บ่อยครั้ง สิ่งหนึ่งที่สามารถอธิบายคำตอบของคำถามได้ดีนั่นคือ การใช้ธรรมชาติบำบัดและให้สิ่งแวดล้อมเป็นตัวช่วยในการทดแทนสิ่งที่เสียไป
“เสียงนก สายลมที่พัดผ่าน ธรรมชาติ นั่งทำงานหน้าจอคอมเมื่อยตาก็ไปมองต้นไม้ มันคือสิ่งที่ทดแทนเราได้ตลอดเวลา อย่าลืมว่าเราคือสิ่งหนึ่งในสังคม ถ้าเราได้เห็นความเป็นไปของสังคม เห็นความเปลี่ยนแปลง ความเคลื่อนไหว บางครั้งการเห็นคนที่เราคิดว่าชีวิตเราลำบาก มันเหนื่อย มันท้อ แต่เรามายืนในสังคมและหันมองรอบๆ มันมีคนลำบากกว่าเรา มันมีคนที่แย่กว่าเราอีกเยอะ”
ไม่เพียงให้ธรรมชาติเป็นตัวถ่ายเทพลังงานดีๆ ให้แก่มนุษย์เท่านั้น การออกไปมองโลกนอกหน้าต่าง ยังทำให้คนเราเห็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นไปอีกมาก ทุกสิ่งย่อมมีส่วนในการสร้างแรงผลักดันให้เราอยู่เสมอ ชีวิตคนก็เช่นกัน มีคนอีกมากที่เหน็ดเหนื่อยและลำบากกว่าอยู่ข้างนอกนั่น นี่คือสิ่งที่หมอล็อตพยายามอธิบายได้ให้เข้าใจ
“มีคนที่เขาถือถุงรอขึ้นรถเมล์ ในขณะที่เรานั่งรถผ่านไป เป้าหมายในชีวิตเขา เขาจะไปที่ไหน เขาจะไปบ้านเขาจะต่อวินมอไซด์ ฝนจะตก น้ำจะท่วม หรือเขาต้องไปที่ไหนต่อหรือเปล่า แต่เรายังอยู่ในรถยังมีแอร์ ยังขับไปถึงบ้านได้ ยังไม่โดนแดดไม่โดนลม
เพราะฉะนั้นในการสร้างพลังให้กับตัวเองให้รู้สึกดี เราพยายามเอาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในชุมชนเมือง สิ่งแวดล้อมที่อยู่ในธรรมชาติ เราเอาสิ่งเหล่านี้เป็นตัวปรับสมดุลความรู้สึกและชีวิตของเรา”
จากที่เห็นคงคิดว่าหมอล็อตใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในป่าเป็นแน่แท้ เพราะด้วยหน้าที่-การงาน ซึ่งถูกพันธนาการให้ต้องเกี่ยวข้องกับป่าดงพงไพรอยู่เสมอ ความจริงแล้วการใช้ชีวิตระหว่างในป่ากับในเมืองของคุณหมอมาดเท่วัดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบเท่าครึ่งต่อครึ่ง
“เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกท้อ ต้องการพลัง พื้นฐานของชีวิตเราก็คือธรรมชาติ เราต้องใช้ธรรมชาติบำบัด ในขณะเดียวกันพอธรรมชาติบำบัดเราได้แล้ว แน่นอนโลก-สังคมมันต้องหมุนไป เราต้องกลับมาสู่สังคมเมืองและก้าวไปให้ทันกับสิ่งที่มันหมุนไป ไม่ใช่ว่าชีวิตเราจะอยู่ในป่าอย่างเดียว จนเราลืมความเป็นในเมือง เราจะลืมฟันเฟืองในการขับเคลื่อนของสังคมมนุษย์ไม่ได้ เพราะงั้นชีวิตเรา 50/50 อยู่ในป่ากับในเมือง”
“GIVE & SHARE” หมอสัตว์ป่าคนแรกของไทย !
ระยะเวลากว่า 10 ปีได้ที่เขาทุ่มเทแรงกาย-แรงใจให้กับงานอนุรักษ์ฯ หากจะเรียกว่าเขาคือผู้บุกเบิกคนสำคัญของวงการสัตวแพทย์สัตว์ป่าไทยคงต้องเป็นเช่นนั้น เพราะเขาคือหมอสัตว์ป่าคนแรกของไทยที่สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้ แต่แรงขับเคลื่อนจะสำเร็จไม่ได้หากขาดผู้ริเริ่มในการผลักดันที่ทำให้ประเทศไทยมีสัตวแพทย์สัตว์ป่าถึงทุกวันนี้
“การที่ประเทศไทยมีสัตวแพทย์สัตว์ป่าถึงทุกวันนี้ได้นั้น เริ่มต้นจากการผลักดันของท่าน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่าน เกษมสันต์ จิณณวาโส ซึ่ง 10 กว่าปีที่แล้วท่านผลักดันการทำงานของสัตวแพทย์ในกรมอุทยานเอง
ในฐานะที่ท่านเป็นรองอธิบดีฯ ท่านมีมุมมอง มีแนวความคิดค่อนข้างชัดเจน ท่านเห็นว่ามันมีความจำเป็นและท่านก็ผลักดันมันในทุกยุคทุกสมัย ณ เวลานี้ถือว่าท่านเป็นผู้มีคุณูปการมากกับวงการสัตวแพทย์ไทย”
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน จากบัณฑิตหนุ่มไฟแรงจากคณะสัตวแพทย์ เดินทางมุ่งหน้าสู่อ้อมอกบ้านเกิดจังหวัดสุรินทร์เพื่อเป็นหมอรักษาช้าง ทว่า เพื่อนในรุ่นคนอื่นๆ ต่างดำเนินตามวิถีทางของคนเป็นหมอสัตว์ บ้างเปิดคลีนิค ทำธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับการรักษาสัตว์ และเป็นหมอตามโรงพยาบาลต่างๆ แต่เขากลับเป็นลูกจ้างธรรมดาในหน่วยงานรัฐฯ เท่านั้น
“จบมาใหม่ๆ เราไปเป็นหมอรักษาช้างอยู่ที่บ้านจังหวัดสุรินทร์ เป็นหมอรักษาช้างเลี้ยงทั่วไป ส่วนเพื่อนๆ เราหลายๆ คนไปเป็นหมออยู่บริษัท เปิดธุรกิจส่วนตัว เปิดคลีนิค อยู่โรงพยาบาล รายได้ก็จะสูง ส่วนเราเองมาอยู่ที่หน่วยงานของกรมปศุสัตว์ สถาบันวิจัยและบริการสุขภาพช้างแห่งชาติที่สุรินทร์เป็นลูกจ้างธรรมดา แต่อย่างน้อยก็ได้อยู่กับพ่อแม่ และตัวเราเองก็ชอบช้าง”
เขาเล่าต่อไปถึงความจริงของสังคมที่คนส่วนใหญ่เรียนจบมา มักมองหาหนทางเพื่อตอบแทนสิ่งที่ตัวเองได้ร่ำเรียนมาด้วยความเหนื่อยยาก โดยเฉพาะกับอาชีพหมอที่แน่นอนว่ากว่าจะประสบความสำเร็จจากรั้วมหา'ลัย ใช้เวลามากกว่า 5 ปี นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คนส่วนมากมุ่งหน้าทำในสิ่งที่เขาคาดหวังจะได้รับจากสังคม
ในขณะที่สังคมกลับมองว่า คนเหล่านั้นจะสร้างประโยชน์และให้อะไรกับสังคมได้บ้าง และนี่คือมุมมองความคิดของคุณหมอที่ทำให้ทีมงานเห็นด้วยอย่างปฏิเสธไม่ได้
“ด้วยความเป็นหมอ บัณฑิตจบใหม่จะคิดอยู่เสมอว่าความยากลำบาก ความทุ่มเท เสียสละของการเรียนกว่าจะจบหมอได้ มันหนักหนาสากันมาก เขาจะได้อะไรจากสังคมบ้าง เขาเลยมุ่งหน้าไปทำในสิ่งที่เขาคิดว่าเขาควรจะได้กับสิ่งที่เขาสูญเสียไป แต่ในขณะเดียวกันสังคมกลับมองหมอหรือมองบัณฑิตว่าคนที่จบมาจะให้อะไรกับสังคมบ้าง”
จากที่ได้ทำงานในฐานะหมอรักษาช้างในจังหวัดสุรินทร์ ทำให้เขาเองได้รู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคนกับสัตว์ เช่นเดียวกับการรักษาช้างเจ็บป่วยที่เข้ามาในแต่ละวัน ซึ่งแท้จริงแล้วปัญหาช้างคงเป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตของช้างและควาญช้างเสียมากกว่า นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นการเป็นตัวแทนสื่อความหมายเหล่านั้น
“ด้วยความที่ซึมซับถ่ายทอดปัญหาต่างๆ ของชาวบ้านและควาญช้าง เราเลยคิดว่าการรักษาช้างวันหนึ่งๆ มันไม่จบ รักษาตัวนี้หาย อีกวันตัวนี้ก็เจ็บ วนเวียนแบบนี้ตลอด ทั้งๆ ที่ปัญหาช้างจริงๆ มันน่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตของช้างและควาญช้าง พอเราซึมซับข้อมูลเหล่านี้มามากๆ เราเลยคิดว่าเราน่าจะเป็นคนสื่อความหมายในระดับนโยบาย เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาในภาพรวม”
ด้วยความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาช้างไทยและเป็นผู้สื่อปัญหาเหล่านั้นให้สังคมได้รับรู้ เขาจึงถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมคณะในรัฐสภาให้เป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนวงการช้างไทย การก้าวเท้าเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไปจากเดิม
“พอทำงานได้ 8 เดือน ปรากฏว่าทางคณะกรรมธิการสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภาเขาก็ตั้งคณะอนุฯ ขึ้นมา เพื่อทำการศึกษาและแก้ไขปัญหาช้างเลี้ยงและช้างป่าในประเทศไทยโดยเฉพาะ ได้เชิญให้เข้าร่วมในคณะ ชีวิตก็เปลี่ยนเลยจากใส่กางเกงขาสั้น รองเท้าผ้าใบ ใส่เสื้อกล้ามไปรักษาช้าง จนมาใส่สูท ผูกไทด์อยู่รัฐสภา”
'ฮีโร่' ไม่ได้มีแค่ 'คนเดียว'
“เขามองว่าเราคือฮีโร่ เนื่องจากงานของเรามันอยู่ในป่า มันต้องลุย ต้องบู๊ ภาพสะท้อนของสังคมกับตัวเราคือการเสียสละทุ่มเท แท้จริงแล้วเราไม่ใช่คนเสียสละทุ่มเท” สิ้นเสียงบอกเล่าจากหมอรักษาสัตว์ป่าที่ใครหลายคนต่างเชื่อว่า เขาคือผู้พิทักษ์วงการสัตว์ป่าไทยและนักอนุรักษ์ธรรมชาติจากภาพภายนอกที่ถูกตัดสินว่าเป็นเช่นนั้น
การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าสัตว์แพทย์ที่รักษาสัตว์ตามคลีนิคในเมือง หรือสัตวแพทย์สัตว์ป่าเช่นหมอล็อต แม้ว่าหลายคนอาจมองว่าการรักษาสัตว์ที่มีเจ้าของน่าจะยุ่งยากมากกว่า เพราะมีเรื่องของคนมาเกี่ยวข้อง ทว่า การรักษาสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าจริงๆ คือความยากที่ไม่อาจอธิบายได้ เพราะสัตว์ป่าเหล่านั้นมีเจ้าของคือคนไทยทั้งประเทศ
“เรารักษาสัตว์ แน่นอนว่าหมอทั่วไปรักษาสัตว์ต้องมีค่าตอบแทน แต่งานเรารักษาสัตว์ไม่มีค่าตอบแทน เรามีเงินเดือน ซึ่งเงินเดือนที่เราได้มาคือ ประชาชนทุกคนเสียภาษี ส่วนสัตว์ป่าที่เรารักษาในป่าคนไทยคือเจ้าของทั้งประเทศ
การทำงานกับสัตว์เลี้ยงก็จะมีหมอ มีเจ้าของสัตว์ และสัตว์ หรือบางทีทำงานกับสัตว์เลี้ยงที่มีคนมาเกี่ยวข้องมันก็จะปวดหัว บางคนจะคิดว่าดีแล้วที่ทำงานกับสัตว์ป่าไม่ต้องเจอคน แต่พอเราไปทำงานกับสัตว์ป่าจริงๆ ซึ่งเจ้าของคือคนทั้งประเทศ มันวุ่นวายกว่าอีก”
แน่นอนเมื่อเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าที่มีเจ้าของคือคนทั้งประเทศ ผลของการคาดหวังในผลงานย่อมทะยานสูงตามไปด้วย หมอล็อตขยายความให้ฟังต่อถึงแรงกดดันที่สังคมคาดหวังไว้ว่าต้องการให้สมบูรณ์แบบที่สุด ทว่า เขาอาจเป็นเพียงหมอธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น แต่ด้วยสถานการณ์ต่างๆ ที่เข้ามาเป็นบททดสอบเขาจึงต้องทำมันออกมาให้ดีที่สุด
“การทำงานเราทำงานกับสัตว์ป่าในป่า สังคมอยากให้เราเป็นเพอร์เฟสชันนิส ต้องเพอร์เฟคทุกอย่าง ต้องดีที่สุด ต้องดีพร้อมทุกอย่าง แต่ข้อจำกัดในการทำงาน คุณไม่มีไฟฟ้า คุณไม่มีอาคาร ไม่มีโรงพยาบาล สัตว์ป่าบาดเจ็บมักจะโผล่ให้คุณเห็น
แต่การรักษาจะไม่เกิดขึ้นถ้าคุณตามหาคนไข้ไม่เจอ ในการทำงานเราไม่สามารถเป็นเพอร์เฟสชันนิสได้ เราเป็นแค่เพียงแพคทิสชันเนอร์ แต่ในสถานการณ์ที่เราต้องทำงานตรงนั้น ทำยังไงเราถึงจะเป็นแพคทิสชันเนอร์ที่ดีได้”
มันคงเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญในทุกๆ วันตลอดระยะเวลาการทำหน้าที่ตรงนี้ การใช้ไหวพริบ การประสานงาน และความเป็นทีมเวิร์ค ล้วนมีผลช่วยให้ภารกิจต่างๆ ลุล่วงไปได้ด้วยดี หมอล็อตยังเปรยให้ฟังแกมตลกอีกว่าการเป็นหมอสัตว์ป่าไม่ใช่เป็นแค่หมอ แต่ต้องประยุกต์เอาอาชีพหลายๆ อาชีพมารวมกันด้วย
“นี่คือความท้าทายในการทำงาน การใช้ไหวพริบ การใช้ปฏิธานในการทำงาน การประสานงาน การใช้สิ่งรอบตัวในป่าเป็นตัวสนับสนุนช่วยในการปฏิบัติภารกิจ การเป็นหมอสัตว์ป่าคนเราเอง เราต้องเป็นมากกว่าสัตวแพทย์ ต้องเป็นทั้งนักจิตวิทยา นักศิลปกรรมศาสตร์ นักนิติศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ นักกีฬา เป็นทุกนักที่มากกว่าสัตวแพทย์” (ยิ้ม)
ย้อนกลับไปคำถามที่ว่าคนไทยส่วนมากพร้อมใจกันมอบเสื้อเกราะให้หมอล็อตในฐานะฮีโร่ผู้พิทักษ์สัตว์ป่าไปเสียแล้ว ภาพลักษณ์ขาลุย ขาบู๊ ช่วยเหลือดูแลรักษาสัตว์ป่า อาจทำให้หลายคนยกย่องว่าเขาคือพระเอกของเรื่องนี้ ซึ่งตัวหมอล็อตเองออกปากกับทีมงานตลอดการสัมภาษณ์ว่า 'ผมไม่ใช่ฮีโร่' และนี่คือคำอธิบายถึงประโยคข้างต้นนี้
“ในอดีตเราจะมองว่าฮีโร่จะต้องมีหนึ่งเดียว แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนดูหนังก็รู้แล้วว่ามันมี 'The adventure' ฮีโร่ต้องมีหลายคน สังคมต้องการฮีโร่ แต่สังคมไม่ได้มีข้อกำหนดอะไรว่าจะต้องมีฮีโร่แค่คนเดียว เพราะฉะนั้นถ้ามันมีฮีโร่มากกว่าหนึ่ง
แน่นอนประสิทธิภาพมันก็เพิ่มมากขึ้นอยู่แล้ว ขณะเดียวกันศัตรูใหม่ๆ ผู้ต่อสู้ใหม่ๆ มันก็เพิ่มขึ้นและทวีความเข้มแข็งมากขึ้น เราจึงต้องการฮีโร่ที่มีหลากหลายที่มีมากมาย เราคือดิแอดเวนเจอร์ เราถนัดด้านไหน เราต้องไปร่วมมือกับใคร และค่อยไปสู้กับมัน”
“นักบาส-สิงห์นักปั่น” นี่แหละชีวิตนอกป่า!
การใช้ชีวิตนอกป่าของหมอล็อตเป็นอย่างไรน่ะหรือ? สังเกตจากบุคลิกภายนอกแล้ว แน่นอนว่ากิจกรรมที่เขาชื่นชอบคงหนีไม่พ้นการเล่นกีฬา ซึ่งกีฬาที่หมอล็อตให้ความสนใจมาตั้งแต่ช่วงชั้นมัธยมปลายคือ กีฬาบาสเก็ตบอล ถึงแม้ปัจจุบันอายุจะมากขึ้นแต่พละกำลัง ความแข็งแกร่งไม่เคยลดลงตามเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป
“ส่วนตัวเราเองก็มีพรรคพวก มีเพื่อนๆ และมันจะมีทัวร์นาเมนท์แข่งก็จะชวนกันไปแข่ง มันจะมีรุ่นประชาชนทั่วไป รุ่นอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้ามอง 35 ปี บางคนอาจจะคิดว่าแก่ แต่ที่ไหนได้เวลาเล่นจริงๆ รุ่น 35 ปี เล่นยากกว่ารุ่นประชาชนอีก
เพราะรุ่น 35 ปีเป็นรุ่นที่แต่ละคนเพาะบ่มประสบการณ์มาตลอดชีวิตการเล่นบาส เก๋า เก่ง แต่ข้อด้อยคือแรงก็จะไม่ฟิตเหมือนรุ่นประชาชนทั่วไป เวลาเล่นจริงๆ พวก 35 ปี เป็นพวกไม่ยอมรับว่าตัวเองแก่ ไม่ยอมแพ้ เพราะงั้นในอดีตเคยวิ่ง เคยเหาะได้ยังไง ปัจจุบันก็คิดว่าต้องทำให้ได้ เวลาแข่งจริงๆ พวกนี้จัดเต็ม ไม่ยอมแก่กัน” (หัวเราะ)
นอกเหนือกีฬาบาสเก็ตบอลที่หมอล็อตให้ความสนใจแล้ว อีกหนึ่งกิจกรรมที่เขาเผยให้ทีมงานฟังว่า เพิ่งเริ่มสนใจช่วงหลังมานี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการต้องทำงานในป่า จึงทำให้ต้องใช้ภาหนะที่เป็นมิตรกับสัตว์ป่าตามไปด้วย การเลือกใช้จักรยานจึงเป็นการลดมลพิษทางเสียงได้ดี รวมถึงช่วยในเรื่องสุขภาพด้วย
“การปั่นจักรยานสนใจช่วงหลัง เพราะว่าเราทำงานในพื้นที่ธรรมชาติ เวลาที่เราเดินทางในพื้นที่เหล่านี้ เสียงมันมีผลต่อสัตว์ป่าพอสมควร เพราะในป่าคือบ้านของสัตว์ป่า และหูสัตว์ป่าจะได้ยินเสียงรถยนต์ เสียงมอเตอร์ไซด์ได้ไวมาก ถ้าเกิดตกใจวิ่งหนี วิ่งชนกัน เกิดอุบัติเหตุตามมา แต่ถ้าใช้จักรยานมันก็ลดมลพิษทางเสียงได้เป็นอย่างดี”
หมอล็อตยังเล่าต่อไปว่าการปั่นจักรยานคือตัวช่วยเรื่องการเจ็บข้อเข่าได้ดีทีเดียว ยิ่งเป็นคนชอบเล่นกีฬาบาสเก็ตบอลแล้วด้วย การปั่นจักรยานถือเป็นการช่วยรักษาสภาพเข่าและกล้ามเนื้อได้อีกทาง ซึ่งตอนนี้อุทยานในหลายๆ ที่ได้ดำเนินการเพิ่มเลนจักรยานสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยเช่นเดียวกัน
“ในขณะเดียวกันจักรยานคือ ตัวออกกำลังกายที่ดี พอเราอายุเท่านี้เราแข่งกีฬาเล่นบาสใช้เข่าเยอะ จักรยานคือตัวรักษาสภาพเข่า สภาพกล้ามเนื้อของเราได้ค่อนข้างดี และด้วยความที่โอกาสเราเอื้ออำนวย ในกรมอุทยานแห่งชาติถนนก็ดี ตอนนี้กรมอุทยานกำหนดให้หลายๆ อุทยานทำเลนจักรยานให้นักท่องเที่ยวมาปั่นพักผ่อนหย่อนใจ เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อีกวิถีหนึ่ง”
การเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นของสิงห์นักปั่นมาดเท่คนนี้มีด้วยกันหลายโครงการ หนึ่งในโครงการที่เขาเองยกตัวอย่างให้ทีมงานฟังคือ กลุ่มปั่นจักรยาน Bike Finder คือการท่องเที่ยวเพื่อสร้างสรรค์ และยังเป็นกลุ่มที่นักปั่นให้ความสนใจเป็นจำนวนมากอีกด้วย
“เรามีกลุ่มปั่นจักรยาน Bike Finder การท่องเที่ยวเพื่อสร้างสรรค์ ตอนนี้ในพื้นที่อนุรักษ์หลายๆ ที่มีนักปั่นจักรยานมาปั่นกันเยอะมาก ซึ่งเวลาเรามาปั่นทุกคนมีความสุข อย่างเวลาไปปั่นที่เขาใหญ่ มีคำถามขึ้นมาว่าคุณได้อะไรจากเขาใหญ่เยอะ แต่เขาใหญ่ได้อะไรจากคุณ ทั้งเรื่องของขยะ การให้อาหารสัตว์ป่า การส่งเสียงดัง”
จากคำถามที่ถูกเอ่ยขึ้นมา นำไปสู่คำตอบที่ว่าแล้วธรรมชาติจะได้อะไรจากนักท่องเที่ยวเหล่านี้บ้าง ในฐานะที่เราเป็นผู้แสวงหาความสุขสงบจากธรรมชาติ แล้วการตอบแทนจะเป็นไปในรูปแบบใด กลุ่ม Bike Finder จึงเป็นผู้ริเริ่มจัดกิจกรรมให้นักปั่นทำกิจกรรมร่วมกับธรรมชาติได้อย่างไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบกันและกัน
“พอเราพูดแบบนี้ออกไปมันมีการสะท้อนกลับมาว่า แล้วเราจะช่วยอะไรเขาใหญ่ได้บ้าง ในฐานะที่เรามาแล้วเราก็ได้ ทำยังไงให้เราวิน-วินทั้งคู่ เราเลยมาจัดกิจกรรมให้นักปั่นสามารถช่วยเหลือธรรมชาติและสัตว์ป่าไปในตัวได้ด้วย เช่น ปั่นจักรยานไปทำโป่ง ไปปลูกพืชให้สัตว์ป่า ไปทำแหล่งทุ่งหญ้า ไปทำฝาย เพราะฉะนั้นกลุ่ม Bike Finder จะเป็นกลุ่มกิจกรรมแรกที่เข้ามา แล้วมีการจัดกิจกรรมเสริมสำหรับนักปั่นจักรยานด้วย”
เรื่องโดย พิมพรรณ มีชัยศรี
ขอบคุณภาพประกอบจากเฟซบุค Patarapol Lotter Maneeorn
จาก http://astv.mobi/AHqoIcw
หมอล็อต ไม่ใช่พระเอกคนเดียว
เป็นสัตวแพทย์สัตว์ป่าที่คนรู้จักทั่วบ้านทั่วเมือง เรื่องในป่า คุณรู้จักเขาดี แต่เรื่องชีวิตบางมุม คุณอาจไม่รู้...
บางทีการเป็นบุคคลสาธารณะ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เหมือนเช่น หมอล็อต-ภัทรพล มณีอ่อน นายสัตวแพทย์สัตว์ป่า ประจำกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นทั้งเซเลบและบุคคลสาธารณะ
ถ้ามองในแง่ดี เขาใช้โอกาส ทำให้สังคมเข้าใจปัญหาสัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น แต่ถ้ามองในแง่ร้าย คนที่ไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเขา ก็พูดไปเรื่อย อาทิ กระล่อน มีลูกมีเมียแล้ว เป็นคนรักสัตว์ ฯลฯ
หมอล็อต บอกว่า เขาไม่ได้รักสัตว์อะไรมากมาย แค่ทำตามหน้าที่ และลงมือทำจริงจัง
เพราะเขานั่นแหละ ที่ทำให้คนในสังคมเข้าใจธรรมชาติของช้างป่ามากขึ้น และทำให้คนเห็นความสำคัญของสัตวแพทย์สัตว์ป่า ได้รู้ว่า ไม่ง่ายเลยที่สัตวแพทย์จะทำงานในป่า
สัตวแพทย์สัตว์ป่าคนนี้ เป็นทั้งนักกีฬา อาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัย วิทยากรให้ความรู้ ทุกเรื่องที่เขาทำ สามารถเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน ไม่เช่นนั้นในปัจจุบันสัตวแพทย์สัตว์ป่า คงไม่เพิ่มขึ้นเป็นหลักสิบ
ภัทรพลเริ่มจากเป็นหมอรักษาช้างบ้าน จากนั้นหันมาทำงานในออฟฟิค เป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา จนทนเสียงร้องของช้างไม่ไหว จึงสลัดสูทไปลุยในป่า เป็นหมอรักษาสัตว์ป่า ว่างจากการรักษาสัตว์ป่า ก็ไปบรรยายให้ความรู้เรื่องสัตว์ป่าและธรรมชาติ รวมถึงทำงานวิจัย
อะไรทำให้คุณผูกพันกับธรรมชาติ
ผมเป็นคนสุรินทร์ ตอนเด็กๆ พ่อผมย้ายไปอยู่นครศรีธรรมราช ซึ่งภูมิประเทศคนละเรื่อง พอมาอยู่ภาคใต้ มีทะเลและน้ำตก พ่อผมพาไปแคมปิ้งตั้งแต่เด็กๆ ทำให้ผมผูกพันกับธรรมชาติ พอมาเรียนมัธยม เราเห็นความแตกต่าง ก็เลยชอบธรรมชาติ และช่วงฝึกงานเป็นสัตวแพทย์ ผมจะฝึกงานคนเดียว ปกติสัตวแพทย์จะฝึกงานเป็นกลุ่ม เพราะเมื่อเรียนจบแล้ว เราต้องเป็นหมอคนเดียว ไม่มีเพื่อนช่วยเหมือนฝึกงาน ตอนนั้นผมก็แบ็คแพ็คไปตามชุมชนที่ติดกับป่า รักษาสัตว์ตามบ้าน
การฝึกงานคนเดียวได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติม
เราต้องเผชิญกับคำถามของคนในชุมชน ต้องทำการบ้าน ถ้าเรื่องไหน เรารู้ เราตอบ แต่ถ้าไม่รู้ ผมขอเวลาไปค้น ทำแบบนี้ เมื่อจบเป็นหมอแล้ว สังคมจะให้ความเชื่อถือ แต่ตัวหมอเองจะรู้จริงหรือไม่ คนเป็นหมอก็รู้อยู่แก่ใจ
มุ่งมั่นที่จะเป็นสัตวแพทย์ที่รู้จริง ?
มันเป็นจรรยาบรรณและสำนึก มันเกิดขึ้นตอนที่เราต้องตอบคำถาม เพราะตอนจบใหม่ ๆ ผมเป็นหมอรักษาช้างบ้าน ผมต้องตอบคำถามเจ้าของช้างและควาญช้าง ถ้าสิ่งที่เราบอกไป มันไม่ใช่ ไม่จริง ไม่เป็นอย่างที่คนคาดหวัง ก็คงไม่ดีนัก โดยธรรมชาติ หมอทุกคนต้องรู้จริงอยู่แล้ว เพราะเกี่ยวกับความเป็นความตาย และเมื่อเราตกอยู่ในฐานะบุคคลสาธารณะ แน่นอนว่า สังคมให้ความเชื่อถือ การเป็นคนรู้จริง เราต้องลงมือทำ
การลงพื้นที่ทำให้เราคิดวิเคราะห์ได้มากกว่าการนั่งอ่านหนังสือ และงานที่เราทำตอนนี้หาแหล่งอ้างอิงที่เป็นหนังสือไม่ได้เลย เพราะเป็นงานรูปแบบใหม่ที่เกี่ยวกับสัตว์ป่า ไม่มีตำราอ้างอิง แม้ในต่างประเทศจะมีสัตวแพทย์สัตว์ป่า แต่ระบบนิเวศไม่เหมือนบ้านเรา เมื่อผมเรียนจบ ผมเป็นสัตวแพทย์รักษาช้างที่สุรินทร์ หลังจากนั้นมีโอกาสเข้าไปทำงานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เราก็ลงพื้นที่ป่าหลายแห่ง กระทั่งได้อ่านรายงานเกี่ยวกับสัตว์ป่าบาดเจ็บ ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าจะรักษาสัตว์ป่าอย่างไร แต่เรามีพื้นฐานการอบรมเรื่องสัตว์ป่ามาบ้าง พอเจอปัญหาเยอะขึ้น มีควาญช้างโทรมาปรึกษาอาการป่วยของช้างบ่อยมากขึ้น จึงเริ่มเข้าใจธรรมชาติของตัวเรา คือ การเป็นหมอรักษา
ก็เลยถอดสูท หันไปทำงานในป่า ?
ทำงานด้านนโยบายมาพักหนึ่ง ก็เลยคิดว่า เราไม่ควรมานั่งใส่สูทผูกไท เรายังวัยรุ่น เราลุยได้ จึงขอลาออก เมื่อ 5-6 ปีที่แล้วผู้ใหญ่ก็ไม่อยากให้ออก และบอกว่า ให้เราไปคิดดูว่า เรื่องใดที่วิชาชีพสัตวแพทย์ไปเติมเต็มได้ จึงนึกถึงสัตว์ป่าที่บาดเจ็บ แล้วไม่มีหมอรักษา มุมด้านการอนุรักษ์มองว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ต้องรักษา แต่ ณ วันนี้ เกิด แก่ เจ็บ ตายไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ แต่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ในวิชาชีพของเรา ก็ต้องพรีเซ็นต์ให้เห็นว่า เรื่องใดสัตวแพทย์อย่างเราทำได้บ้าง
สี่ปีที่แล้วเป็นสัตวแพทย์สัตว์ป่าคนแรกและคนเดียว ลำบากไหม
แรกๆ ก็มีคนถามว่า ตอนไม่มีหมอล็อต ทำไมไม่มีสัตว์ป่าบาดเจ็บ พอมีหมอล็อต สัตว์ป่าบาดเจ็บเยอะ เพราะเมื่อก่อนสัตว์ป่าถูกยิงบาดเจ็บ ไม่มีการแจ้ง เพราะการแจ้งคือ การเปิดบาดแผลตัวเอง กระทั่งวันดีคืนดี มีหมอคนหนึ่งรักษาได้ ก็มีคนแจ้งมาเรื่อยๆ ซึ่ง ณ วันนี้มีสัตวแพทย์สัตว์ป่ากว่า 30 คน
เพราะการทำงานของคุณ ทำให้มีสัตวแพทย์สัตว์ป่ามากขึ้น ?
ผมไม่อยากพูดว่าเป็นเพราะผม ผมพยายามพูดว่าเป็นเพราะวิชาชีพ แต่แน่นอนการกำหนดกรอบวิชาชีพและการรับคน ผมเป็นคนกำหนด เพราะคนที่ทำงานด้วยรู้ดีว่า ผมพยายามผลักดันทุกอย่าง ตั้งแต่ทำงานในรัฐสภา จนมาทำโครงการนำร่องระหว่างวุฒิสภากับกรมอุทยานแห่งชาติ โดยเริ่มที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพราะมีสัตว์ป่านานาชนิดและมีปัญหาเกิดขึ้นมากจากการท่องเที่ยว
รักษาสัตว์ป่าชนิดไหนยากที่สุด
ทุกชนิด เพราะสัตว์ป่าบางชนิด เราไม่เคยรักษามาก่อน แต่การรักษาจะไม่เกิดขึ้น ถ้าเราตามหาคนไข้ไม่เจอ การรักษาเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ อ้างอิงตำรา หรือศึกษาจากสปีชี่ส์ของสัตว์
ดูเหมือนหมอล็อตจะพูดแทนช้าง ?
คนอาจพูดแทนคนได้ แต่ช้างพูดกับคนไม่รู้เรื่อง เรามีหน้าที่สื่อความหมายแทนสัตว์ป่า เมื่อเราได้เรียนรู้สัมผัสพวกมัน ไม่ว่าเสือ กระทิงและลิง เราก็รู้พฤติกรรม จริงๆ แล้วผมไม่ได้แค่แปลความหมายของสัตว์ป่า แต่ช่วยแปลความหมายของธรรมชาติ ธรรมชาติกำลังเตือนอะไรบางอย่างแก่มนุษย์
เพราะคนไทยเข้าใจเรื่องธรรมชาติน้อยไป ?
เวลาพูดถึงธรรมชาติ คนไทยจะคิดว่า คือป่าเขาลำเนาไพร และคิดว่าไกลจากสังคมเมือง จึงไม่อิงกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่บทเรียนจากธรรมชาติ และโรคติดต่อที่มาจากสัตว์ป่า ติดมากับการคมนาคมขนส่ง เมื่อก่อนใครจะคิดละว่า ตัดต้นไม้ต้นหนึ่งจะมีผลต่อมนุษย์ แต่ ณ วันนี้ ตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ที่อยู่ของสัตว์ป่าหายไป ค้างคาวไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่นอน ก็บินมาเกาะที่ฟาร์ม นำเชื้อโรคหลายชนิดเข้ามา รวมถึงการกินเนื้อสัตว์ป่า ก็ติดเชื้อได้ อย่างโรคอุบัติใหม่ เป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม ทำให้สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัว
มนุษย์ก็ปรับตัว เชื้อโรคก็ปรับตัว เพื่อให้อยู่ในสภาพแวดล้อมได้ ขณะที่ปรับตัวเองเพื่ออยู่รอด ศักยภาพในการก่อโรคก็ปรับตัวไปด้วย และโรคที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ก็กลับมาใหม่ อย่างไข้รากสากน้อย ไข้รากสากใหญ่ ไข้หวัดนก ซาร์ส แม้กระทั่งอีโบล่า ไม่ใช่โรคใหม่ เกิดขึ้นมาแล้ว 30-40 ปี แต่เราไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีน ธรรมชาติกำลังเตือนเรา เราก็ต้องเตือนมนุษย์ แม้กระทั่งงานที่สัมพันธ์กับพวกค้าสัตว์ป่าและล่าสัตว์ป่า คนพวกนี้คิดว่า เนื้อสัตว์ป่ามีคุณค่าทางอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ถ้ามันดีจริง หมอล็อตกินไปนานแล้ว
เนื้อสัตว์ป่าหลายชนิดนำมาซึ่งโรคติดต่อ ?
เนื้อเก้ง เนื้อกวาง เลียงผา เนื้อค้างคาว มีเชื้อโรคอยู่ในตัว แต่ไม่แสดงอาการ เมื่อคนไปสัมผัส ชำแหละกิน ก็ติดเชื้อได้ คนส่วนใหญ่พูดถึงโลกร้อน แต่ไม่พูดถึงการแพร่เชื้อของสัตว์ป่า ผมเองก็เป็นนักวิจัย ก็ต้องเก็บตัวอย่างสัตว์ป่าเพื่อหาเชื้อโรคอุบัติใหม่ ซึ่งงานวิจัยในอดีต ยังลงลึกไม่มากพอ แต่ ณ วันนี้ เราลงลึกข้อมูล และงานวิจัยหลายงานเป็นงานระดับโลก ยกตัวอย่าง ค้างคาวอาจนำเชื้อมาสู่มนุษย์ได้ ถ้าเราบอกแค่นี้ สิ่งที่ตามมาก็คือ คนที่อาศัยอยู่ใกล้ถิ่นค้างคาว ก็จะยิ่งค้างคาวทิ้ง ตัดต้นไม้ไม่ให้ค้างคาวมาเกาะ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าค้างคาวไม่มีที่นอน ก็บินไปทั่ว นี่คือโอกาสการแพร่เชื้อ
เห็นบอกว่า ตอนเป็นสัตวแพทย์อ่านหนังสือเยอะมาก ?
ถ้าตอนเรียน อ่านหนังสือเยอะเหมือนตอนทำงาน คงดี ตอนเรียนไม่ค่อยตั้งใจเรียน เพราะเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอล แต่พอจบมา คำนำหน้านามว่า 'หมอ' ทำให้เราต้องค้นคว้า และค้นหาคำตอบ และต้องเป็นผู้รู้จริง
เวลาลงพื้นที่ทำงานในป่า เจออุปสรรคเยอะไหม
ป่าเป็นห้องพยาบาล เราจะไม่นำสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่ เพราะการจับ บังคับ เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดความเครียด บางทีเราอาจต้องทำให้มันพ้นจากทุกขเวทนา ซึ่งการตามเข้าไปรักษาช้าง กระทิงหรือหมี ในป่า เวลามันบาดเจ็บ ความโกรธแค้นที่จะต่อสู้หรือทำร้ายก็มีอยู่ และสัตว์ป่าเหล่านั้นไม่รู้หรอกว่า ใครมาดีหรือมาร้าย อย่างหมีตัวหนึ่งที่บาดเจ็บ เนื่องจากถูกยิง เราพยายามเข้าไปช่วย แต่มันก็คิดว่า คนจะมาซ้ำเติม ซึ่งหมีว่ายน้ำได้ ปีนต้นไม้ก็ได้ และจมูกดีกว่าสุนัข 5 เท่า แค่เราขยับตัวนิดเดียว มันก็รู้แล้ว
นอกจากทักษะเรื่องการรักษาสัตว์ป่า ยังเป็นนักเดินป่า ?
ผมก็เรียนรู้จากทีมงาน ดังนั้นการทำงานในป่า หมอล็อตไม่ใช่พระเอกคนเดียว แต่มีทีมงาน มีลูกน้อง เราเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อาศัยว่า ผมเป็นหัวหน้าทีมและสื่อความหมายให้คนในสังคมเข้าใจได้ อย่างการเดินป่าช่วงฤดูแล้ง การตามรอยสัตว์ก็ง่ายกว่า ทำงานง่าย แต่รอยเท้าสัตว์ไม่ชัดเหมือนฤดูฝน
ในสถานการณ์ที่เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ไม่ครบ และต้องรักษาสัตว์ป่า คุณทำอย่างไร
ถ้ามีเจ้าหน้าที่หรือชาวบ้านแจ้งว่ามีสัตว์ป่าบาดเจ็บ เราต้องถามว่าเป็นสัตว์ชนิดใด บาดเจ็บอย่างไร ถ้าไม่เห็นตัว เห็นกองหนอง ก็ประเมินได้ มีสัญญาณบอกเราอย่างหนึ่งคือ ถ้าสัตว์ป่าไม่บาดเจ็บหนัก จะไม่โผล่ให้เห็น เวลาเข้าไปรักษาสัตว์ป่า เรามีโอกาสเข้าใกล้ได้ครั้งเดียว การรักษาหนึ่งครั้ง เราหวังผลรอดเลย เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่ดีที่สุดในการรักษาสัตว์ป่าตัวหนึ่ง เป็นสิ่งที่มันควรจะได้รับ เราใช้ป่าเป็นห้องปฐมพยาบาล
เราต้องประยุกต์อุปกรณ์ในการรักษา
เคยรู้สึกท้อไหม
เวลาสัตว์ป่าบาดเจ็บจะหลบหนี บางครั้งกว่าจะตามตัวเจอ ก็สายไปแล้ว บางทีมันก็นอน แย่แล้ว บางทีก็ไม่มียาตัวนั้นตัวนี้ ถ้าไม่มียาเราจะเดินทางออกไปขอจากใคร ก็ยากแล้ว ก็มีบ้างที่รู้สึกท้อกับสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้นกับเราครั้งสองครั้ง ครั้งต่อไปเราก็ต้องรู้ว่า ต้องพบยาอะไรไปบ้าง
ปัญหาเรื่องใดที่แก้ไม่ตก
การล่าสัตว์ บางครั้งล่าเพื่อบริโภค แต่บางทีสัตว์ป่าขนาดใหญ่มาติดกับดัก และการทำร้ายสัตว์ป่า ยิ่งไล่ให้บาดเจ็บ นี่คือปัญหาแก้ไม่ตก เพราะเขาเห็นว่า สัตว์ป่าทำลายทรัพย์สินและพืชไร่
สัตวแพทย์สัตว์ป่าที่ดีต้องมีคุณสมบัติย่างไร
คุณต้องไม่คิดว่าคุณเป็นสัตวแพทย์สัตว์ป่า คุณต้องเป็นมากกว่านั้น เป็นทั้งนักชีววิทยา นักจิตวิทยา นักกีฬา นักสังเคราะห์ศาสตร์ โดยองค์ความรู้วิชาชีพ ไม่ใช่แค่อิงหลักวิชาการ คุณต้องมีจิตวิทยาในการคุย เพราะหมอคนหนึ่ง เมื่อเรียนจบแล้ว เขามองว่าเขาจะได้อะไรจากสังคม แต่ไม่เคยมองว่า คุณจะให้อะไรแก่สังคม พวกเราเงินเดือนไม่เยอะ เสี่ยงลำบาก ต่างจากทำงานโรงพยาบาล ทำคลีนิค รายได้มากกว่า10 เท่า ดังนั้นการทำงานในป่า คุณต้องให้มากกว่ารับ
อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้คุณทำงานมาจนถึงทุกวันนี้
ถ้าผมไม่ทำ แล้วใครจะทำ โดยสัญชาติญาณ เมื่อมีคนร้องขอ เราต้องช่วย อีกอย่างครอบครัวผมก็เข้าใจดีว่า งานที่ทำเป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ถ้าวันหนึ่งไม่ไหว เหนื่อย ท้อ ครอบครัวก็ให้โอกาส หากผมอยากทำอย่างอื่น แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ห่วง เพราะอันตราย แต่ทำอย่างไรไม่ให้เขาเป็นห่วง เราต้องดูแลตัวเองให้ดี ผมทำงานมา 10 ปี โดย 5 ปีแรกผมใช้เข็มฉีดยารักษาสัตว์ป่า แต่ 5 ปีหลัง ผมเริ่มใช้ปากกาและไมโครโฟนรักษาสัตว์ ผมทำงานทั้งเชิงรับและรุก แต่ต้องรุกอย่างมั่นคงมีเหตุผล 5 ปีหลังผมก็เลยไปเป็นอาจารย์พิเศษให้ความรู้ สอนหนังสือ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน
กระบวนการขับเคลื่อนเปลี่ยนไป ?
เมื่อก่อนทำงานในป่าร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ตอนนี้ทำงานในป่าและเมืองอย่างละครึ่ง เพราะเราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในป่า ถ้าเราเห่าหอนกันเองในป่า ก็ไม่มีใครได้ยิน ถ้าเรารักษาอย่างเดียว นั่นเป็นการทำงานเชิงรับ ถ้าจัดการดีปัญหาก็ไม่เกิด เมื่อปัญหาไม่เกิด หมอก็มีเวลาว่าง สามารถให้ข้อมูลสาธารณชนได้ ถ้าถามว่าจะวัดคุณภาพสัตวแพทย์ได้อย่างไร หากถามว่า ปีนี้คุณรักษาสัตว์กี่ตัว ถ้าเอาจำนวนสัตว์มาเป็นกรอบชี้วัดในการของบประมาณ มันเหมาะไหมที่ได้ผลงานจากการทนทุกข์ทรมานของสัตว์ป่า แต่ผมใช้วิธีออกไปบรรยาย ให้ข้อมูลสาธารณะ และรักษาสัตว์ป่า
เลือกที่จะเป็นข้าราชการ เดินตามวิถีพอเพียง ?
สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราตัดสินใจเป็นข้าราชการ ก็คือ ความศรัทธาในลูกน้องและเจ้าหน้าที่เพื่อปกป้องทรัพยากร เรารู้ว่างานของเราเติมเต็มพวกเขา เราศรัทธาและเสียสละซึ่งกันและกัน ทำให้งานสัตวแพทย์สัตว์ป่าได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของงานอนุรักษ์
สิ่งสำคัญที่ทำให้เราเป็นข้าราชการ คือ เราใช้วิถีพอเพียง ผมไม่ใช่คนสุรุ่ยสุร่าย ครอบครัวผมไม่ใช่คนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และอีกส่วนมาจากแนวทางพระราชดำริของในหลวง ในเรื่องการรู้จักพอ รู้จักตนเอง โดยเฉพาะเรื่องการเป็นผู้ให้ หากเราอยากได้อะไรจากใคร เราควรให้เขาก่อน อย่างผมอยากได้อะไรจากสังคม ผมให้สังคมก่อน ณ วันนี้ ผมได้รับจากสังคมแล้ว แน่นอนว่าไม่ใช่เงินทอง แต่มีคนรู้จักนับถือ ผมเดินไปขอข้าวบ้านไหนกินก็ได้ ผมกลายเป็นบุคคลสาธารณะ แต่อย่าหลงไปกับคำยกย่อง ทุกคนยกย่องผมเกินไป ผมแค่ทำตามหน้าที่ เสร็จจากหน้าที่ ผมก็ไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ บางทีผมยังเดินเตะหมากลางซอย เพราะฉะนั้นการทำงานแบบนี้ ไม่ใช่ว่าผมเป็นฮีโร่
คิดยังไงที่คนในสังคมมองว่า หมอล็อตเป็นฮีโร่
ใช่ สังคมมองผมอย่างนั้น ผมพูดตรงๆ ว่า ผมไม่ใช่คนที่รักสัตว์ป่า แต่เป็นหน้าที่ เราต้องพยายามรักษาให้รอด ถ้ารอดเร็ว ผมก็ได้กลับบ้านเร็ว เคยมีคนบอกเยาวชนว่า ถ้าเป็นแบบหมอล็อต เสี่ยงนะ ไม่มีชีวิตส่วนตัว จริงๆ แล้วผมก็มีเวลาเที่ยว ไปแข่งบาส เดินจตุจักร เราต้องการให้น้องๆ เห็นว่า การเป็นแบบหมอล็อต ไม่จำเป็นต้องเสียสละทุ่มเท วิเวกขนาดนั้น คุณเป็นคนธรรมดาได้ ผมอยากทำอะไรก็ได้ทำ แต่เมื่อคุณใส่เครื่องแบบข้าราชการ คุณต้องทำหน้าที่
อึดอัดไหมที่เป็นบุคคลสาธารณะ ?
เราจะอึดอัดตรงที่มีคนบอกว่า ดีจังเลยหมอล็อตได้ทำงานที่หมอล็อตรัก เราทำตามหน้าที่ หรือมีคนถามว่า ทำแบบนี้ไม่กลัวคนหมั่นไส้หรือ ไม่มีใครอยากให้คนหมั่นไส้ แต่สิ่งที่คนหมั่นไส้ เขาหมั่นไส้ในความชั่วหรือความดี ถ้าหมั่นไส้ในความชั่วก็ต้องปรับตัว ถ้าหมั่นไส้ในความดี ก็ต้องเร่งทำความดี ในเวลาหนึ่งสังคมต้องการคนดี แต่พอมีคนดีปรากฎตัว สังคมก็นินทาเขา
การนำทีมรักษาสัตว์ป่า เคยตัดสินใจพลาดไหม
มีครับ ถ้าไม่ทันตั้งตัว เคยโดนช้างเตะ ช้างชนบ้าง แต่บางทีลูกน้องเราโดน เราต้องหยุดภาระกิจเลย ช้างตัวหนึ่งเรารักษาได้ แต่ถ้าลูกน้องเราตาย เราไม่สามารถรักษาเมียที่เป็นม่าย ลูกที่กำพร้าพ่อ
เห็นบอกว่า ใช้เวลาตามหาช้างเป็นวันๆ แต่รักษาไม่กี่นาที ?
การรักษาจะไม่เกิดขึ้น ถ้าคุณตามหาคนไข้ของคุณไม่เจอ บางครั้งตามช้างตัวเดียว 5 เดือน รักษาแค่ห้านาที
ไม่รู้สึกเสียเวลาหรือ
การทำงานในป่า เราต้องเป็นนักพยากรณ์ ต้องคาดเดาว่า ช้างตัวที่ตามมีโอกาสรอดอยู่ได้กี่วัน เราต้องทำงานแข่งกับเวลา ไม่อย่างนั้นมันไม่รอด เรามองในแง่ความทุกข์ทรมานของสัตว์ตัวหนึ่งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ความทุกข์ของลูกช้างตัวหนึ่ง เมื่อโดนบ่วงเชือกรัด จะก้าวเดิน มันรู้สึกเหมือนมีดกรีดเท้า เคยเจอช้างเท้าเน่าเหม็นและตาย นี่คือความทุกข์ทรมานของมัน
ประเมินแล้วไม่รอด ทำอย่างไร
อย่างกรณีชะนีโดนไฟฟ้าช็อต แขนเน่า ต้องตัดแขนทิ้ง ถ้าชะนีไม่มีแขน ก็ไม่สามารถดำเนินชีวิตในป่า เอาตัวรอดไม่ได้ แบบนี้เราต้องตัดสินใจให้ไปอย่างสงบ เพราะฉะนั้นการที่สัตว์ป่าบาดเจ็บ การมาของหมอไม่ใช่รักษา แต่มาเพื่อความเหมาะสม อาจทำให้มันพ้นจากทุกข์เวทนา
ถ้าจะทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องทำอย่างไร
ในเรื่องบุคลากรเราไม่กล้าบอกว่า มีมากหรือน้อย เพราะยังมีเรื่องคุณภาพคน ผมพูดตรงๆ ว่า สัตวแพทย์รุ่นน้องเก่งกว่าหมอล็อต พวกเขาสามารถเอาข้อมูลที่เราถ่ายทอดไปใช้ แต่สิ่งที่ต้องสร้างเองคือ ความศรัทธา เพราะการปรากฎตัวของหมอคนหนึ่ง มันสร้างความมั่นใจได้เยอะเลย
เห็นบอกว่ามีวิบากกรรมเรื่องความรัก ?
แม้ผมจะเป็นคนที่พร้อมในทุกเรื่อง ทั้งฐานะ ตำแหน่ง หน้าที่การงาน และบทบาททางสังคม ด้วยความที่เรามีแฟนคลับเป็นหมื่น เวลาที่เราจะไปแสดงความจริงจังกับใครสักคน มันทำให้เขาหวาดระแวง อย่างล่าสุดมีคนพูดว่า ผมมีลูกมีเมียแล้ว ซึ่งคนฟังก็ต้องมีความหนักแน่น
เพราะคุณเป็นคนช่างพูด และหน้าตาดี ?
เมื่อก่อนผมขี้่อาย ไม่ค่อยอยากคุยกับใคร แต่พอเราเป็นคนสาธารณะ ถ้าเราไม่พูดไม่ปฎิสัมพันธ์ ก็จะถูกมองว่า หยิ่ง ถ้าเราเฮฮาปาร์ตี้ ก็หาว่าทะเล้น เราก็วางตัวลำบาก และบางทีเสียงกระซิบ ก็ฆ่าหมอล็อตได้
ห่วงภาพพจน์ตัวเองหรือ
ผมเป็นคนธรรมดา ผู้ชายหลายคนจะอิจฉาผม แต่ถ้าถามผม การเป็นคนธรรมดาได้ไปเที่ยว กินข้าวกับแฟน มีเวลาให้กันและกัน นั่นแหละเป็นสิ่งที่ผมอิจฉาพวกคุณมากกว่า ความฝันสูงสุดในชีวิตของผม คือ เป็นผู้นำครอบครัวมีภรรยาและลูก ได้สอนลูกเรียนรู้ธรรมชาติเหมือนที่พ่อผมเคยสอน ซึ่งคนจะคิดว่า ผมฝันอยากเป็นใหญ่เป็นโต เราไม่ได้มองตรงนั้น ถ้ามีโอกาสพูดผมจะบอกเลยว่า ผมไม่ได้รักสัตว์ ไม่ได้เป็นคนเสียสละทุ่มเทอะไร
งานของผมเป็นงานที่ทำให้สังคมอยู่แล้ว คุณต้องแยกระหว่างชีวิตส่วนตัวกับงาน มันคนละเรื่องกัน
ในอนาคต คุณฝันอยากทำอะไร
ตอนแรกคิดว่า เป็นหมอสัตว์ป่าครบปีที่ 10 จะไปทำอย่างอื่น แต่พอทำงานไปเรื่อยๆ มีแรงบันดาลใจให้ทำต่อไป เวลาเข้าป่า ก็ได้เห็นโลกของสัตว์นานาชนิด แต่การเบียดเบือนคุกคามของมนุษย์ ทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่รอดไม่ได้ ถ้าพูดถึงความฝันในอนาคต อาจไม่ได้เกิดขึ้นในตัวของผมเอง แต่ผมอาจมีส่วนช่วยจุดประกายในเรื่องการเป็นนักบินอวกาศ การเอาสิ่งมีชีวิตไปนอกโลก เพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตในอนาคต
เพ้อฝันเกินไปไหม
ผมอยากเป็นนักบินอวกาศ มันเป็นความเพ้อฝันเลย คนฟังอาจหัวเราะ แต่ไม่ใช่สิ่งที่ยืนยันว่า ผมต้องทำให้ได้ เป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่ง คือ เราอยากจะไปดาวดวงหนึ่ง เพื่อดูสิว่า เราจะนำสิ่งมีชีวิตที่ถูกเบียดเบือนไปได้ไหม โดยประวัติการทำงานของเรา ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ มาเลเซียก็มีนักบินอวกาศ คนไทยก็มีศักยภาพ ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะจุดประกาย ผมอาจเป็นคนเปิดประเด็น แล้วคนรุ่นลูกรุ่นหลาน เห็นแนวทางก็นำไปพัฒนาต่อยอด
คุณบอกว่า ไม่ได้รักสัตว์ แต่สิ่งที่คุณทำ มันมากกว่าคำว่า รัก
ผมกลัวมันตายมากกว่า อย่าลืมว่า สัตว์ชนิดหนึ่งอยู่ในป่า แต่ถูกคนทำร้ายบาดเจ็บ ถ้าไม่ใช่สัตว์แพทย์รักษา มันก็ไม่รอด เมื่อสัตว์ป่าได้รับบาดเจ็บ ก็ต้องการคนรักษา เราไม่ได้รัก แต่เราต้องเอามันให้รอด
จาก http://bit.ly/1DhYJr9
“เป็นข้าราชการทำงานรับใช้พระเจ้าอยู่หัว คือความภูมิใจสูงสุด” หมอล็อต
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,12484.0.html
http://www.sookjai.com/index.php?topic=181965
https://www.youtube.com/v/aV5QZ85Ga5w
https://www.youtube.com/v/rchCYnSIl_k
https://www.youtube.com/v/mFzPyvrTNJ4
“เราเองก็ไม่อยากพูดว่าเรามาสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่คนรอบนอกเขามอง เขามองอย่างนั้น แต่ถ้าถามตัวเราเองเราเข้ามาเพื่อมาเติมเต็ม เราอาจจะเป็นจิกซอร์ตัวหนึ่ง หรืออาจเป็นตัวสุดท้ายที่มาเติมเต็มงานอนุรักษ์ มาสนับสนุนงานของคนเหล่านี้”
“หมอล็อต-ภัทรพล มณีอ่อน” สัตวแพทย์สัตว์ป่าประจำกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชคนแรกของไทย ผู้บุกเบิกวงการสัตวแพทย์ไทยให้ขับเคลื่อนไปในวิถีทางที่ควรเป็น ท่ามกลางเสียงครวญของสรรพสัตว์และหยาดน้ำตาจากธรรมชาติ เขาคือตัวแทนผู้กล้าหาญเพื่อสื่อความหมายเหล่านั้น ทว่า การก้าวเท้ารับหน้าที่หมอรักษาสัตว์ป่าที่มีคนไทยทั้งประเทศเป็นเจ้าของ ถือเป็นความท้าทายที่เขาต้องเผชิญ. .
“ความเปลี่ยนแปลงที่มันเกิดขึ้นคือ กรมป่าไม้ กรมอุทยานเป็นหน่วยงานด้านอนุรักษ์ที่ 100 กว่าปี ไม่มีสัตวแพทย์ ซึ่งตอนนี้เกิดการยอมรับในบทบาทของวิชาชีพสัตวแพทย์กับงานอนุรักษ์” หรือนี่อาจจะเป็นผลผลิตของสิ่งที่เขาได้ลงแรงลงใจต่อสู้เพื่อสัตว์ป่าและธรรมชาติมาเป็นเวลากว่า 10 ปีกันแน่ !?
50/50 ชีวิตป่า-เมือง
“ขณะที่เรากำลังซีเรียสกับการทำงานอยู่หน้าจอคอม นั่นคือเรากำลังใช้พลังไป พลังเรากำลังจะหมดกับการใช้สมอง แรงกายต้องคิดต้องทำ แต่ถ้าเราเลือกสภาพแวดล้อมที่ดี มันจะเป็นตัวคอยทดแทนพลังงานที่เราเสียไปได้ตลอดเวลา”
หมอล็อต-ภัทรพล เปรยให้ฟังหลังสิ้นคำถามที่ใครหลายคนต่างสงสัยว่า เหตุใดผู้ชายคนนี้ถึงมีบุคลิกมาดเท่ ชอบลุย และรักการทำกิจกรรม บ้างชอบออกนอกสถานที่อยู่บ่อยครั้ง สิ่งหนึ่งที่สามารถอธิบายคำตอบของคำถามได้ดีนั่นคือ การใช้ธรรมชาติบำบัดและให้สิ่งแวดล้อมเป็นตัวช่วยในการทดแทนสิ่งที่เสียไป
“เสียงนก สายลมที่พัดผ่าน ธรรมชาติ นั่งทำงานหน้าจอคอมเมื่อยตาก็ไปมองต้นไม้ มันคือสิ่งที่ทดแทนเราได้ตลอดเวลา อย่าลืมว่าเราคือสิ่งหนึ่งในสังคม ถ้าเราได้เห็นความเป็นไปของสังคม เห็นความเปลี่ยนแปลง ความเคลื่อนไหว บางครั้งการเห็นคนที่เราคิดว่าชีวิตเราลำบาก มันเหนื่อย มันท้อ แต่เรามายืนในสังคมและหันมองรอบๆ มันมีคนลำบากกว่าเรา มันมีคนที่แย่กว่าเราอีกเยอะ”
ไม่เพียงให้ธรรมชาติเป็นตัวถ่ายเทพลังงานดีๆ ให้แก่มนุษย์เท่านั้น การออกไปมองโลกนอกหน้าต่าง ยังทำให้คนเราเห็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นไปอีกมาก ทุกสิ่งย่อมมีส่วนในการสร้างแรงผลักดันให้เราอยู่เสมอ ชีวิตคนก็เช่นกัน มีคนอีกมากที่เหน็ดเหนื่อยและลำบากกว่าอยู่ข้างนอกนั่น นี่คือสิ่งที่หมอล็อตพยายามอธิบายได้ให้เข้าใจ
“มีคนที่เขาถือถุงรอขึ้นรถเมล์ ในขณะที่เรานั่งรถผ่านไป เป้าหมายในชีวิตเขา เขาจะไปที่ไหน เขาจะไปบ้านเขาจะต่อวินมอไซด์ ฝนจะตก น้ำจะท่วม หรือเขาต้องไปที่ไหนต่อหรือเปล่า แต่เรายังอยู่ในรถยังมีแอร์ ยังขับไปถึงบ้านได้ ยังไม่โดนแดดไม่โดนลม
เพราะฉะนั้นในการสร้างพลังให้กับตัวเองให้รู้สึกดี เราพยายามเอาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในชุมชนเมือง สิ่งแวดล้อมที่อยู่ในธรรมชาติ เราเอาสิ่งเหล่านี้เป็นตัวปรับสมดุลความรู้สึกและชีวิตของเรา”
จากที่เห็นคงคิดว่าหมอล็อตใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในป่าเป็นแน่แท้ เพราะด้วยหน้าที่-การงาน ซึ่งถูกพันธนาการให้ต้องเกี่ยวข้องกับป่าดงพงไพรอยู่เสมอ ความจริงแล้วการใช้ชีวิตระหว่างในป่ากับในเมืองของคุณหมอมาดเท่วัดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบเท่าครึ่งต่อครึ่ง
“เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกท้อ ต้องการพลัง พื้นฐานของชีวิตเราก็คือธรรมชาติ เราต้องใช้ธรรมชาติบำบัด ในขณะเดียวกันพอธรรมชาติบำบัดเราได้แล้ว แน่นอนโลก-สังคมมันต้องหมุนไป เราต้องกลับมาสู่สังคมเมืองและก้าวไปให้ทันกับสิ่งที่มันหมุนไป ไม่ใช่ว่าชีวิตเราจะอยู่ในป่าอย่างเดียว จนเราลืมความเป็นในเมือง เราจะลืมฟันเฟืองในการขับเคลื่อนของสังคมมนุษย์ไม่ได้ เพราะงั้นชีวิตเรา 50/50 อยู่ในป่ากับในเมือง”
“GIVE & SHARE” หมอสัตว์ป่าคนแรกของไทย !
ระยะเวลากว่า 10 ปีได้ที่เขาทุ่มเทแรงกาย-แรงใจให้กับงานอนุรักษ์ฯ หากจะเรียกว่าเขาคือผู้บุกเบิกคนสำคัญของวงการสัตวแพทย์สัตว์ป่าไทยคงต้องเป็นเช่นนั้น เพราะเขาคือหมอสัตว์ป่าคนแรกของไทยที่สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้ แต่แรงขับเคลื่อนจะสำเร็จไม่ได้หากขาดผู้ริเริ่มในการผลักดันที่ทำให้ประเทศไทยมีสัตวแพทย์สัตว์ป่าถึงทุกวันนี้
“การที่ประเทศไทยมีสัตวแพทย์สัตว์ป่าถึงทุกวันนี้ได้นั้น เริ่มต้นจากการผลักดันของท่าน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่าน เกษมสันต์ จิณณวาโส ซึ่ง 10 กว่าปีที่แล้วท่านผลักดันการทำงานของสัตวแพทย์ในกรมอุทยานเอง
ในฐานะที่ท่านเป็นรองอธิบดีฯ ท่านมีมุมมอง มีแนวความคิดค่อนข้างชัดเจน ท่านเห็นว่ามันมีความจำเป็นและท่านก็ผลักดันมันในทุกยุคทุกสมัย ณ เวลานี้ถือว่าท่านเป็นผู้มีคุณูปการมากกับวงการสัตวแพทย์ไทย”
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน จากบัณฑิตหนุ่มไฟแรงจากคณะสัตวแพทย์ เดินทางมุ่งหน้าสู่อ้อมอกบ้านเกิดจังหวัดสุรินทร์เพื่อเป็นหมอรักษาช้าง ทว่า เพื่อนในรุ่นคนอื่นๆ ต่างดำเนินตามวิถีทางของคนเป็นหมอสัตว์ บ้างเปิดคลีนิค ทำธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับการรักษาสัตว์ และเป็นหมอตามโรงพยาบาลต่างๆ แต่เขากลับเป็นลูกจ้างธรรมดาในหน่วยงานรัฐฯ เท่านั้น
“จบมาใหม่ๆ เราไปเป็นหมอรักษาช้างอยู่ที่บ้านจังหวัดสุรินทร์ เป็นหมอรักษาช้างเลี้ยงทั่วไป ส่วนเพื่อนๆ เราหลายๆ คนไปเป็นหมออยู่บริษัท เปิดธุรกิจส่วนตัว เปิดคลีนิค อยู่โรงพยาบาล รายได้ก็จะสูง ส่วนเราเองมาอยู่ที่หน่วยงานของกรมปศุสัตว์ สถาบันวิจัยและบริการสุขภาพช้างแห่งชาติที่สุรินทร์เป็นลูกจ้างธรรมดา แต่อย่างน้อยก็ได้อยู่กับพ่อแม่ และตัวเราเองก็ชอบช้าง”
เขาเล่าต่อไปถึงความจริงของสังคมที่คนส่วนใหญ่เรียนจบมา มักมองหาหนทางเพื่อตอบแทนสิ่งที่ตัวเองได้ร่ำเรียนมาด้วยความเหนื่อยยาก โดยเฉพาะกับอาชีพหมอที่แน่นอนว่ากว่าจะประสบความสำเร็จจากรั้วมหา'ลัย ใช้เวลามากกว่า 5 ปี นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คนส่วนมากมุ่งหน้าทำในสิ่งที่เขาคาดหวังจะได้รับจากสังคม
ในขณะที่สังคมกลับมองว่า คนเหล่านั้นจะสร้างประโยชน์และให้อะไรกับสังคมได้บ้าง และนี่คือมุมมองความคิดของคุณหมอที่ทำให้ทีมงานเห็นด้วยอย่างปฏิเสธไม่ได้
“ด้วยความเป็นหมอ บัณฑิตจบใหม่จะคิดอยู่เสมอว่าความยากลำบาก ความทุ่มเท เสียสละของการเรียนกว่าจะจบหมอได้ มันหนักหนาสากันมาก เขาจะได้อะไรจากสังคมบ้าง เขาเลยมุ่งหน้าไปทำในสิ่งที่เขาคิดว่าเขาควรจะได้กับสิ่งที่เขาสูญเสียไป แต่ในขณะเดียวกันสังคมกลับมองหมอหรือมองบัณฑิตว่าคนที่จบมาจะให้อะไรกับสังคมบ้าง”
จากที่ได้ทำงานในฐานะหมอรักษาช้างในจังหวัดสุรินทร์ ทำให้เขาเองได้รู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคนกับสัตว์ เช่นเดียวกับการรักษาช้างเจ็บป่วยที่เข้ามาในแต่ละวัน ซึ่งแท้จริงแล้วปัญหาช้างคงเป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตของช้างและควาญช้างเสียมากกว่า นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นการเป็นตัวแทนสื่อความหมายเหล่านั้น
“ด้วยความที่ซึมซับถ่ายทอดปัญหาต่างๆ ของชาวบ้านและควาญช้าง เราเลยคิดว่าการรักษาช้างวันหนึ่งๆ มันไม่จบ รักษาตัวนี้หาย อีกวันตัวนี้ก็เจ็บ วนเวียนแบบนี้ตลอด ทั้งๆ ที่ปัญหาช้างจริงๆ มันน่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตของช้างและควาญช้าง พอเราซึมซับข้อมูลเหล่านี้มามากๆ เราเลยคิดว่าเราน่าจะเป็นคนสื่อความหมายในระดับนโยบาย เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาในภาพรวม”
ด้วยความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาช้างไทยและเป็นผู้สื่อปัญหาเหล่านั้นให้สังคมได้รับรู้ เขาจึงถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมคณะในรัฐสภาให้เป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนวงการช้างไทย การก้าวเท้าเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไปจากเดิม
“พอทำงานได้ 8 เดือน ปรากฏว่าทางคณะกรรมธิการสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภาเขาก็ตั้งคณะอนุฯ ขึ้นมา เพื่อทำการศึกษาและแก้ไขปัญหาช้างเลี้ยงและช้างป่าในประเทศไทยโดยเฉพาะ ได้เชิญให้เข้าร่วมในคณะ ชีวิตก็เปลี่ยนเลยจากใส่กางเกงขาสั้น รองเท้าผ้าใบ ใส่เสื้อกล้ามไปรักษาช้าง จนมาใส่สูท ผูกไทด์อยู่รัฐสภา”
'ฮีโร่' ไม่ได้มีแค่ 'คนเดียว'
“เขามองว่าเราคือฮีโร่ เนื่องจากงานของเรามันอยู่ในป่า มันต้องลุย ต้องบู๊ ภาพสะท้อนของสังคมกับตัวเราคือการเสียสละทุ่มเท แท้จริงแล้วเราไม่ใช่คนเสียสละทุ่มเท” สิ้นเสียงบอกเล่าจากหมอรักษาสัตว์ป่าที่ใครหลายคนต่างเชื่อว่า เขาคือผู้พิทักษ์วงการสัตว์ป่าไทยและนักอนุรักษ์ธรรมชาติจากภาพภายนอกที่ถูกตัดสินว่าเป็นเช่นนั้น
การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าสัตว์แพทย์ที่รักษาสัตว์ตามคลีนิคในเมือง หรือสัตวแพทย์สัตว์ป่าเช่นหมอล็อต แม้ว่าหลายคนอาจมองว่าการรักษาสัตว์ที่มีเจ้าของน่าจะยุ่งยากมากกว่า เพราะมีเรื่องของคนมาเกี่ยวข้อง ทว่า การรักษาสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าจริงๆ คือความยากที่ไม่อาจอธิบายได้ เพราะสัตว์ป่าเหล่านั้นมีเจ้าของคือคนไทยทั้งประเทศ
“เรารักษาสัตว์ แน่นอนว่าหมอทั่วไปรักษาสัตว์ต้องมีค่าตอบแทน แต่งานเรารักษาสัตว์ไม่มีค่าตอบแทน เรามีเงินเดือน ซึ่งเงินเดือนที่เราได้มาคือ ประชาชนทุกคนเสียภาษี ส่วนสัตว์ป่าที่เรารักษาในป่าคนไทยคือเจ้าของทั้งประเทศ
การทำงานกับสัตว์เลี้ยงก็จะมีหมอ มีเจ้าของสัตว์ และสัตว์ หรือบางทีทำงานกับสัตว์เลี้ยงที่มีคนมาเกี่ยวข้องมันก็จะปวดหัว บางคนจะคิดว่าดีแล้วที่ทำงานกับสัตว์ป่าไม่ต้องเจอคน แต่พอเราไปทำงานกับสัตว์ป่าจริงๆ ซึ่งเจ้าของคือคนทั้งประเทศ มันวุ่นวายกว่าอีก”
แน่นอนเมื่อเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าที่มีเจ้าของคือคนทั้งประเทศ ผลของการคาดหวังในผลงานย่อมทะยานสูงตามไปด้วย หมอล็อตขยายความให้ฟังต่อถึงแรงกดดันที่สังคมคาดหวังไว้ว่าต้องการให้สมบูรณ์แบบที่สุด ทว่า เขาอาจเป็นเพียงหมอธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น แต่ด้วยสถานการณ์ต่างๆ ที่เข้ามาเป็นบททดสอบเขาจึงต้องทำมันออกมาให้ดีที่สุด
“การทำงานเราทำงานกับสัตว์ป่าในป่า สังคมอยากให้เราเป็นเพอร์เฟสชันนิส ต้องเพอร์เฟคทุกอย่าง ต้องดีที่สุด ต้องดีพร้อมทุกอย่าง แต่ข้อจำกัดในการทำงาน คุณไม่มีไฟฟ้า คุณไม่มีอาคาร ไม่มีโรงพยาบาล สัตว์ป่าบาดเจ็บมักจะโผล่ให้คุณเห็น
แต่การรักษาจะไม่เกิดขึ้นถ้าคุณตามหาคนไข้ไม่เจอ ในการทำงานเราไม่สามารถเป็นเพอร์เฟสชันนิสได้ เราเป็นแค่เพียงแพคทิสชันเนอร์ แต่ในสถานการณ์ที่เราต้องทำงานตรงนั้น ทำยังไงเราถึงจะเป็นแพคทิสชันเนอร์ที่ดีได้”
มันคงเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญในทุกๆ วันตลอดระยะเวลาการทำหน้าที่ตรงนี้ การใช้ไหวพริบ การประสานงาน และความเป็นทีมเวิร์ค ล้วนมีผลช่วยให้ภารกิจต่างๆ ลุล่วงไปได้ด้วยดี หมอล็อตยังเปรยให้ฟังแกมตลกอีกว่าการเป็นหมอสัตว์ป่าไม่ใช่เป็นแค่หมอ แต่ต้องประยุกต์เอาอาชีพหลายๆ อาชีพมารวมกันด้วย
“นี่คือความท้าทายในการทำงาน การใช้ไหวพริบ การใช้ปฏิธานในการทำงาน การประสานงาน การใช้สิ่งรอบตัวในป่าเป็นตัวสนับสนุนช่วยในการปฏิบัติภารกิจ การเป็นหมอสัตว์ป่าคนเราเอง เราต้องเป็นมากกว่าสัตวแพทย์ ต้องเป็นทั้งนักจิตวิทยา นักศิลปกรรมศาสตร์ นักนิติศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ นักกีฬา เป็นทุกนักที่มากกว่าสัตวแพทย์” (ยิ้ม)
ย้อนกลับไปคำถามที่ว่าคนไทยส่วนมากพร้อมใจกันมอบเสื้อเกราะให้หมอล็อตในฐานะฮีโร่ผู้พิทักษ์สัตว์ป่าไปเสียแล้ว ภาพลักษณ์ขาลุย ขาบู๊ ช่วยเหลือดูแลรักษาสัตว์ป่า อาจทำให้หลายคนยกย่องว่าเขาคือพระเอกของเรื่องนี้ ซึ่งตัวหมอล็อตเองออกปากกับทีมงานตลอดการสัมภาษณ์ว่า 'ผมไม่ใช่ฮีโร่' และนี่คือคำอธิบายถึงประโยคข้างต้นนี้
“ในอดีตเราจะมองว่าฮีโร่จะต้องมีหนึ่งเดียว แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนดูหนังก็รู้แล้วว่ามันมี 'The adventure' ฮีโร่ต้องมีหลายคน สังคมต้องการฮีโร่ แต่สังคมไม่ได้มีข้อกำหนดอะไรว่าจะต้องมีฮีโร่แค่คนเดียว เพราะฉะนั้นถ้ามันมีฮีโร่มากกว่าหนึ่ง
แน่นอนประสิทธิภาพมันก็เพิ่มมากขึ้นอยู่แล้ว ขณะเดียวกันศัตรูใหม่ๆ ผู้ต่อสู้ใหม่ๆ มันก็เพิ่มขึ้นและทวีความเข้มแข็งมากขึ้น เราจึงต้องการฮีโร่ที่มีหลากหลายที่มีมากมาย เราคือดิแอดเวนเจอร์ เราถนัดด้านไหน เราต้องไปร่วมมือกับใคร และค่อยไปสู้กับมัน”
“นักบาส-สิงห์นักปั่น” นี่แหละชีวิตนอกป่า!
การใช้ชีวิตนอกป่าของหมอล็อตเป็นอย่างไรน่ะหรือ? สังเกตจากบุคลิกภายนอกแล้ว แน่นอนว่ากิจกรรมที่เขาชื่นชอบคงหนีไม่พ้นการเล่นกีฬา ซึ่งกีฬาที่หมอล็อตให้ความสนใจมาตั้งแต่ช่วงชั้นมัธยมปลายคือ กีฬาบาสเก็ตบอล ถึงแม้ปัจจุบันอายุจะมากขึ้นแต่พละกำลัง ความแข็งแกร่งไม่เคยลดลงตามเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป
“ส่วนตัวเราเองก็มีพรรคพวก มีเพื่อนๆ และมันจะมีทัวร์นาเมนท์แข่งก็จะชวนกันไปแข่ง มันจะมีรุ่นประชาชนทั่วไป รุ่นอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้ามอง 35 ปี บางคนอาจจะคิดว่าแก่ แต่ที่ไหนได้เวลาเล่นจริงๆ รุ่น 35 ปี เล่นยากกว่ารุ่นประชาชนอีก
เพราะรุ่น 35 ปีเป็นรุ่นที่แต่ละคนเพาะบ่มประสบการณ์มาตลอดชีวิตการเล่นบาส เก๋า เก่ง แต่ข้อด้อยคือแรงก็จะไม่ฟิตเหมือนรุ่นประชาชนทั่วไป เวลาเล่นจริงๆ พวก 35 ปี เป็นพวกไม่ยอมรับว่าตัวเองแก่ ไม่ยอมแพ้ เพราะงั้นในอดีตเคยวิ่ง เคยเหาะได้ยังไง ปัจจุบันก็คิดว่าต้องทำให้ได้ เวลาแข่งจริงๆ พวกนี้จัดเต็ม ไม่ยอมแก่กัน” (หัวเราะ)
นอกเหนือกีฬาบาสเก็ตบอลที่หมอล็อตให้ความสนใจแล้ว อีกหนึ่งกิจกรรมที่เขาเผยให้ทีมงานฟังว่า เพิ่งเริ่มสนใจช่วงหลังมานี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการต้องทำงานในป่า จึงทำให้ต้องใช้ภาหนะที่เป็นมิตรกับสัตว์ป่าตามไปด้วย การเลือกใช้จักรยานจึงเป็นการลดมลพิษทางเสียงได้ดี รวมถึงช่วยในเรื่องสุขภาพด้วย
“การปั่นจักรยานสนใจช่วงหลัง เพราะว่าเราทำงานในพื้นที่ธรรมชาติ เวลาที่เราเดินทางในพื้นที่เหล่านี้ เสียงมันมีผลต่อสัตว์ป่าพอสมควร เพราะในป่าคือบ้านของสัตว์ป่า และหูสัตว์ป่าจะได้ยินเสียงรถยนต์ เสียงมอเตอร์ไซด์ได้ไวมาก ถ้าเกิดตกใจวิ่งหนี วิ่งชนกัน เกิดอุบัติเหตุตามมา แต่ถ้าใช้จักรยานมันก็ลดมลพิษทางเสียงได้เป็นอย่างดี”
หมอล็อตยังเล่าต่อไปว่าการปั่นจักรยานคือตัวช่วยเรื่องการเจ็บข้อเข่าได้ดีทีเดียว ยิ่งเป็นคนชอบเล่นกีฬาบาสเก็ตบอลแล้วด้วย การปั่นจักรยานถือเป็นการช่วยรักษาสภาพเข่าและกล้ามเนื้อได้อีกทาง ซึ่งตอนนี้อุทยานในหลายๆ ที่ได้ดำเนินการเพิ่มเลนจักรยานสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยเช่นเดียวกัน
“ในขณะเดียวกันจักรยานคือ ตัวออกกำลังกายที่ดี พอเราอายุเท่านี้เราแข่งกีฬาเล่นบาสใช้เข่าเยอะ จักรยานคือตัวรักษาสภาพเข่า สภาพกล้ามเนื้อของเราได้ค่อนข้างดี และด้วยความที่โอกาสเราเอื้ออำนวย ในกรมอุทยานแห่งชาติถนนก็ดี ตอนนี้กรมอุทยานกำหนดให้หลายๆ อุทยานทำเลนจักรยานให้นักท่องเที่ยวมาปั่นพักผ่อนหย่อนใจ เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อีกวิถีหนึ่ง”
การเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นของสิงห์นักปั่นมาดเท่คนนี้มีด้วยกันหลายโครงการ หนึ่งในโครงการที่เขาเองยกตัวอย่างให้ทีมงานฟังคือ กลุ่มปั่นจักรยาน Bike Finder คือการท่องเที่ยวเพื่อสร้างสรรค์ และยังเป็นกลุ่มที่นักปั่นให้ความสนใจเป็นจำนวนมากอีกด้วย
“เรามีกลุ่มปั่นจักรยาน Bike Finder การท่องเที่ยวเพื่อสร้างสรรค์ ตอนนี้ในพื้นที่อนุรักษ์หลายๆ ที่มีนักปั่นจักรยานมาปั่นกันเยอะมาก ซึ่งเวลาเรามาปั่นทุกคนมีความสุข อย่างเวลาไปปั่นที่เขาใหญ่ มีคำถามขึ้นมาว่าคุณได้อะไรจากเขาใหญ่เยอะ แต่เขาใหญ่ได้อะไรจากคุณ ทั้งเรื่องของขยะ การให้อาหารสัตว์ป่า การส่งเสียงดัง”
จากคำถามที่ถูกเอ่ยขึ้นมา นำไปสู่คำตอบที่ว่าแล้วธรรมชาติจะได้อะไรจากนักท่องเที่ยวเหล่านี้บ้าง ในฐานะที่เราเป็นผู้แสวงหาความสุขสงบจากธรรมชาติ แล้วการตอบแทนจะเป็นไปในรูปแบบใด กลุ่ม Bike Finder จึงเป็นผู้ริเริ่มจัดกิจกรรมให้นักปั่นทำกิจกรรมร่วมกับธรรมชาติได้อย่างไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบกันและกัน
“พอเราพูดแบบนี้ออกไปมันมีการสะท้อนกลับมาว่า แล้วเราจะช่วยอะไรเขาใหญ่ได้บ้าง ในฐานะที่เรามาแล้วเราก็ได้ ทำยังไงให้เราวิน-วินทั้งคู่ เราเลยมาจัดกิจกรรมให้นักปั่นสามารถช่วยเหลือธรรมชาติและสัตว์ป่าไปในตัวได้ด้วย เช่น ปั่นจักรยานไปทำโป่ง ไปปลูกพืชให้สัตว์ป่า ไปทำแหล่งทุ่งหญ้า ไปทำฝาย เพราะฉะนั้นกลุ่ม Bike Finder จะเป็นกลุ่มกิจกรรมแรกที่เข้ามา แล้วมีการจัดกิจกรรมเสริมสำหรับนักปั่นจักรยานด้วย”
เรื่องโดย พิมพรรณ มีชัยศรี
ขอบคุณภาพประกอบจากเฟซบุค Patarapol Lotter Maneeorn
จาก http://astv.mobi/AHqoIcw
หมอล็อต ไม่ใช่พระเอกคนเดียว
เป็นสัตวแพทย์สัตว์ป่าที่คนรู้จักทั่วบ้านทั่วเมือง เรื่องในป่า คุณรู้จักเขาดี แต่เรื่องชีวิตบางมุม คุณอาจไม่รู้...
บางทีการเป็นบุคคลสาธารณะ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เหมือนเช่น หมอล็อต-ภัทรพล มณีอ่อน นายสัตวแพทย์สัตว์ป่า ประจำกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นทั้งเซเลบและบุคคลสาธารณะ
ถ้ามองในแง่ดี เขาใช้โอกาส ทำให้สังคมเข้าใจปัญหาสัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น แต่ถ้ามองในแง่ร้าย คนที่ไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเขา ก็พูดไปเรื่อย อาทิ กระล่อน มีลูกมีเมียแล้ว เป็นคนรักสัตว์ ฯลฯ
หมอล็อต บอกว่า เขาไม่ได้รักสัตว์อะไรมากมาย แค่ทำตามหน้าที่ และลงมือทำจริงจัง
เพราะเขานั่นแหละ ที่ทำให้คนในสังคมเข้าใจธรรมชาติของช้างป่ามากขึ้น และทำให้คนเห็นความสำคัญของสัตวแพทย์สัตว์ป่า ได้รู้ว่า ไม่ง่ายเลยที่สัตวแพทย์จะทำงานในป่า
สัตวแพทย์สัตว์ป่าคนนี้ เป็นทั้งนักกีฬา อาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัย วิทยากรให้ความรู้ ทุกเรื่องที่เขาทำ สามารถเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน ไม่เช่นนั้นในปัจจุบันสัตวแพทย์สัตว์ป่า คงไม่เพิ่มขึ้นเป็นหลักสิบ
ภัทรพลเริ่มจากเป็นหมอรักษาช้างบ้าน จากนั้นหันมาทำงานในออฟฟิค เป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา จนทนเสียงร้องของช้างไม่ไหว จึงสลัดสูทไปลุยในป่า เป็นหมอรักษาสัตว์ป่า ว่างจากการรักษาสัตว์ป่า ก็ไปบรรยายให้ความรู้เรื่องสัตว์ป่าและธรรมชาติ รวมถึงทำงานวิจัย
อะไรทำให้คุณผูกพันกับธรรมชาติ
ผมเป็นคนสุรินทร์ ตอนเด็กๆ พ่อผมย้ายไปอยู่นครศรีธรรมราช ซึ่งภูมิประเทศคนละเรื่อง พอมาอยู่ภาคใต้ มีทะเลและน้ำตก พ่อผมพาไปแคมปิ้งตั้งแต่เด็กๆ ทำให้ผมผูกพันกับธรรมชาติ พอมาเรียนมัธยม เราเห็นความแตกต่าง ก็เลยชอบธรรมชาติ และช่วงฝึกงานเป็นสัตวแพทย์ ผมจะฝึกงานคนเดียว ปกติสัตวแพทย์จะฝึกงานเป็นกลุ่ม เพราะเมื่อเรียนจบแล้ว เราต้องเป็นหมอคนเดียว ไม่มีเพื่อนช่วยเหมือนฝึกงาน ตอนนั้นผมก็แบ็คแพ็คไปตามชุมชนที่ติดกับป่า รักษาสัตว์ตามบ้าน
การฝึกงานคนเดียวได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติม
เราต้องเผชิญกับคำถามของคนในชุมชน ต้องทำการบ้าน ถ้าเรื่องไหน เรารู้ เราตอบ แต่ถ้าไม่รู้ ผมขอเวลาไปค้น ทำแบบนี้ เมื่อจบเป็นหมอแล้ว สังคมจะให้ความเชื่อถือ แต่ตัวหมอเองจะรู้จริงหรือไม่ คนเป็นหมอก็รู้อยู่แก่ใจ
มุ่งมั่นที่จะเป็นสัตวแพทย์ที่รู้จริง ?
มันเป็นจรรยาบรรณและสำนึก มันเกิดขึ้นตอนที่เราต้องตอบคำถาม เพราะตอนจบใหม่ ๆ ผมเป็นหมอรักษาช้างบ้าน ผมต้องตอบคำถามเจ้าของช้างและควาญช้าง ถ้าสิ่งที่เราบอกไป มันไม่ใช่ ไม่จริง ไม่เป็นอย่างที่คนคาดหวัง ก็คงไม่ดีนัก โดยธรรมชาติ หมอทุกคนต้องรู้จริงอยู่แล้ว เพราะเกี่ยวกับความเป็นความตาย และเมื่อเราตกอยู่ในฐานะบุคคลสาธารณะ แน่นอนว่า สังคมให้ความเชื่อถือ การเป็นคนรู้จริง เราต้องลงมือทำ
การลงพื้นที่ทำให้เราคิดวิเคราะห์ได้มากกว่าการนั่งอ่านหนังสือ และงานที่เราทำตอนนี้หาแหล่งอ้างอิงที่เป็นหนังสือไม่ได้เลย เพราะเป็นงานรูปแบบใหม่ที่เกี่ยวกับสัตว์ป่า ไม่มีตำราอ้างอิง แม้ในต่างประเทศจะมีสัตวแพทย์สัตว์ป่า แต่ระบบนิเวศไม่เหมือนบ้านเรา เมื่อผมเรียนจบ ผมเป็นสัตวแพทย์รักษาช้างที่สุรินทร์ หลังจากนั้นมีโอกาสเข้าไปทำงานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เราก็ลงพื้นที่ป่าหลายแห่ง กระทั่งได้อ่านรายงานเกี่ยวกับสัตว์ป่าบาดเจ็บ ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าจะรักษาสัตว์ป่าอย่างไร แต่เรามีพื้นฐานการอบรมเรื่องสัตว์ป่ามาบ้าง พอเจอปัญหาเยอะขึ้น มีควาญช้างโทรมาปรึกษาอาการป่วยของช้างบ่อยมากขึ้น จึงเริ่มเข้าใจธรรมชาติของตัวเรา คือ การเป็นหมอรักษา
ก็เลยถอดสูท หันไปทำงานในป่า ?
ทำงานด้านนโยบายมาพักหนึ่ง ก็เลยคิดว่า เราไม่ควรมานั่งใส่สูทผูกไท เรายังวัยรุ่น เราลุยได้ จึงขอลาออก เมื่อ 5-6 ปีที่แล้วผู้ใหญ่ก็ไม่อยากให้ออก และบอกว่า ให้เราไปคิดดูว่า เรื่องใดที่วิชาชีพสัตวแพทย์ไปเติมเต็มได้ จึงนึกถึงสัตว์ป่าที่บาดเจ็บ แล้วไม่มีหมอรักษา มุมด้านการอนุรักษ์มองว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ต้องรักษา แต่ ณ วันนี้ เกิด แก่ เจ็บ ตายไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ แต่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ในวิชาชีพของเรา ก็ต้องพรีเซ็นต์ให้เห็นว่า เรื่องใดสัตวแพทย์อย่างเราทำได้บ้าง
สี่ปีที่แล้วเป็นสัตวแพทย์สัตว์ป่าคนแรกและคนเดียว ลำบากไหม
แรกๆ ก็มีคนถามว่า ตอนไม่มีหมอล็อต ทำไมไม่มีสัตว์ป่าบาดเจ็บ พอมีหมอล็อต สัตว์ป่าบาดเจ็บเยอะ เพราะเมื่อก่อนสัตว์ป่าถูกยิงบาดเจ็บ ไม่มีการแจ้ง เพราะการแจ้งคือ การเปิดบาดแผลตัวเอง กระทั่งวันดีคืนดี มีหมอคนหนึ่งรักษาได้ ก็มีคนแจ้งมาเรื่อยๆ ซึ่ง ณ วันนี้มีสัตวแพทย์สัตว์ป่ากว่า 30 คน
เพราะการทำงานของคุณ ทำให้มีสัตวแพทย์สัตว์ป่ามากขึ้น ?
ผมไม่อยากพูดว่าเป็นเพราะผม ผมพยายามพูดว่าเป็นเพราะวิชาชีพ แต่แน่นอนการกำหนดกรอบวิชาชีพและการรับคน ผมเป็นคนกำหนด เพราะคนที่ทำงานด้วยรู้ดีว่า ผมพยายามผลักดันทุกอย่าง ตั้งแต่ทำงานในรัฐสภา จนมาทำโครงการนำร่องระหว่างวุฒิสภากับกรมอุทยานแห่งชาติ โดยเริ่มที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพราะมีสัตว์ป่านานาชนิดและมีปัญหาเกิดขึ้นมากจากการท่องเที่ยว
รักษาสัตว์ป่าชนิดไหนยากที่สุด
ทุกชนิด เพราะสัตว์ป่าบางชนิด เราไม่เคยรักษามาก่อน แต่การรักษาจะไม่เกิดขึ้น ถ้าเราตามหาคนไข้ไม่เจอ การรักษาเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ อ้างอิงตำรา หรือศึกษาจากสปีชี่ส์ของสัตว์
ดูเหมือนหมอล็อตจะพูดแทนช้าง ?
คนอาจพูดแทนคนได้ แต่ช้างพูดกับคนไม่รู้เรื่อง เรามีหน้าที่สื่อความหมายแทนสัตว์ป่า เมื่อเราได้เรียนรู้สัมผัสพวกมัน ไม่ว่าเสือ กระทิงและลิง เราก็รู้พฤติกรรม จริงๆ แล้วผมไม่ได้แค่แปลความหมายของสัตว์ป่า แต่ช่วยแปลความหมายของธรรมชาติ ธรรมชาติกำลังเตือนอะไรบางอย่างแก่มนุษย์
เพราะคนไทยเข้าใจเรื่องธรรมชาติน้อยไป ?
เวลาพูดถึงธรรมชาติ คนไทยจะคิดว่า คือป่าเขาลำเนาไพร และคิดว่าไกลจากสังคมเมือง จึงไม่อิงกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่บทเรียนจากธรรมชาติ และโรคติดต่อที่มาจากสัตว์ป่า ติดมากับการคมนาคมขนส่ง เมื่อก่อนใครจะคิดละว่า ตัดต้นไม้ต้นหนึ่งจะมีผลต่อมนุษย์ แต่ ณ วันนี้ ตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ที่อยู่ของสัตว์ป่าหายไป ค้างคาวไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่นอน ก็บินมาเกาะที่ฟาร์ม นำเชื้อโรคหลายชนิดเข้ามา รวมถึงการกินเนื้อสัตว์ป่า ก็ติดเชื้อได้ อย่างโรคอุบัติใหม่ เป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม ทำให้สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัว
มนุษย์ก็ปรับตัว เชื้อโรคก็ปรับตัว เพื่อให้อยู่ในสภาพแวดล้อมได้ ขณะที่ปรับตัวเองเพื่ออยู่รอด ศักยภาพในการก่อโรคก็ปรับตัวไปด้วย และโรคที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ก็กลับมาใหม่ อย่างไข้รากสากน้อย ไข้รากสากใหญ่ ไข้หวัดนก ซาร์ส แม้กระทั่งอีโบล่า ไม่ใช่โรคใหม่ เกิดขึ้นมาแล้ว 30-40 ปี แต่เราไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีน ธรรมชาติกำลังเตือนเรา เราก็ต้องเตือนมนุษย์ แม้กระทั่งงานที่สัมพันธ์กับพวกค้าสัตว์ป่าและล่าสัตว์ป่า คนพวกนี้คิดว่า เนื้อสัตว์ป่ามีคุณค่าทางอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ถ้ามันดีจริง หมอล็อตกินไปนานแล้ว
เนื้อสัตว์ป่าหลายชนิดนำมาซึ่งโรคติดต่อ ?
เนื้อเก้ง เนื้อกวาง เลียงผา เนื้อค้างคาว มีเชื้อโรคอยู่ในตัว แต่ไม่แสดงอาการ เมื่อคนไปสัมผัส ชำแหละกิน ก็ติดเชื้อได้ คนส่วนใหญ่พูดถึงโลกร้อน แต่ไม่พูดถึงการแพร่เชื้อของสัตว์ป่า ผมเองก็เป็นนักวิจัย ก็ต้องเก็บตัวอย่างสัตว์ป่าเพื่อหาเชื้อโรคอุบัติใหม่ ซึ่งงานวิจัยในอดีต ยังลงลึกไม่มากพอ แต่ ณ วันนี้ เราลงลึกข้อมูล และงานวิจัยหลายงานเป็นงานระดับโลก ยกตัวอย่าง ค้างคาวอาจนำเชื้อมาสู่มนุษย์ได้ ถ้าเราบอกแค่นี้ สิ่งที่ตามมาก็คือ คนที่อาศัยอยู่ใกล้ถิ่นค้างคาว ก็จะยิ่งค้างคาวทิ้ง ตัดต้นไม้ไม่ให้ค้างคาวมาเกาะ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าค้างคาวไม่มีที่นอน ก็บินไปทั่ว นี่คือโอกาสการแพร่เชื้อ
เห็นบอกว่า ตอนเป็นสัตวแพทย์อ่านหนังสือเยอะมาก ?
ถ้าตอนเรียน อ่านหนังสือเยอะเหมือนตอนทำงาน คงดี ตอนเรียนไม่ค่อยตั้งใจเรียน เพราะเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอล แต่พอจบมา คำนำหน้านามว่า 'หมอ' ทำให้เราต้องค้นคว้า และค้นหาคำตอบ และต้องเป็นผู้รู้จริง
เวลาลงพื้นที่ทำงานในป่า เจออุปสรรคเยอะไหม
ป่าเป็นห้องพยาบาล เราจะไม่นำสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่ เพราะการจับ บังคับ เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดความเครียด บางทีเราอาจต้องทำให้มันพ้นจากทุกขเวทนา ซึ่งการตามเข้าไปรักษาช้าง กระทิงหรือหมี ในป่า เวลามันบาดเจ็บ ความโกรธแค้นที่จะต่อสู้หรือทำร้ายก็มีอยู่ และสัตว์ป่าเหล่านั้นไม่รู้หรอกว่า ใครมาดีหรือมาร้าย อย่างหมีตัวหนึ่งที่บาดเจ็บ เนื่องจากถูกยิง เราพยายามเข้าไปช่วย แต่มันก็คิดว่า คนจะมาซ้ำเติม ซึ่งหมีว่ายน้ำได้ ปีนต้นไม้ก็ได้ และจมูกดีกว่าสุนัข 5 เท่า แค่เราขยับตัวนิดเดียว มันก็รู้แล้ว
นอกจากทักษะเรื่องการรักษาสัตว์ป่า ยังเป็นนักเดินป่า ?
ผมก็เรียนรู้จากทีมงาน ดังนั้นการทำงานในป่า หมอล็อตไม่ใช่พระเอกคนเดียว แต่มีทีมงาน มีลูกน้อง เราเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อาศัยว่า ผมเป็นหัวหน้าทีมและสื่อความหมายให้คนในสังคมเข้าใจได้ อย่างการเดินป่าช่วงฤดูแล้ง การตามรอยสัตว์ก็ง่ายกว่า ทำงานง่าย แต่รอยเท้าสัตว์ไม่ชัดเหมือนฤดูฝน
ในสถานการณ์ที่เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ไม่ครบ และต้องรักษาสัตว์ป่า คุณทำอย่างไร
ถ้ามีเจ้าหน้าที่หรือชาวบ้านแจ้งว่ามีสัตว์ป่าบาดเจ็บ เราต้องถามว่าเป็นสัตว์ชนิดใด บาดเจ็บอย่างไร ถ้าไม่เห็นตัว เห็นกองหนอง ก็ประเมินได้ มีสัญญาณบอกเราอย่างหนึ่งคือ ถ้าสัตว์ป่าไม่บาดเจ็บหนัก จะไม่โผล่ให้เห็น เวลาเข้าไปรักษาสัตว์ป่า เรามีโอกาสเข้าใกล้ได้ครั้งเดียว การรักษาหนึ่งครั้ง เราหวังผลรอดเลย เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่ดีที่สุดในการรักษาสัตว์ป่าตัวหนึ่ง เป็นสิ่งที่มันควรจะได้รับ เราใช้ป่าเป็นห้องปฐมพยาบาล
เราต้องประยุกต์อุปกรณ์ในการรักษา
เคยรู้สึกท้อไหม
เวลาสัตว์ป่าบาดเจ็บจะหลบหนี บางครั้งกว่าจะตามตัวเจอ ก็สายไปแล้ว บางทีมันก็นอน แย่แล้ว บางทีก็ไม่มียาตัวนั้นตัวนี้ ถ้าไม่มียาเราจะเดินทางออกไปขอจากใคร ก็ยากแล้ว ก็มีบ้างที่รู้สึกท้อกับสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้นกับเราครั้งสองครั้ง ครั้งต่อไปเราก็ต้องรู้ว่า ต้องพบยาอะไรไปบ้าง
ปัญหาเรื่องใดที่แก้ไม่ตก
การล่าสัตว์ บางครั้งล่าเพื่อบริโภค แต่บางทีสัตว์ป่าขนาดใหญ่มาติดกับดัก และการทำร้ายสัตว์ป่า ยิ่งไล่ให้บาดเจ็บ นี่คือปัญหาแก้ไม่ตก เพราะเขาเห็นว่า สัตว์ป่าทำลายทรัพย์สินและพืชไร่
สัตวแพทย์สัตว์ป่าที่ดีต้องมีคุณสมบัติย่างไร
คุณต้องไม่คิดว่าคุณเป็นสัตวแพทย์สัตว์ป่า คุณต้องเป็นมากกว่านั้น เป็นทั้งนักชีววิทยา นักจิตวิทยา นักกีฬา นักสังเคราะห์ศาสตร์ โดยองค์ความรู้วิชาชีพ ไม่ใช่แค่อิงหลักวิชาการ คุณต้องมีจิตวิทยาในการคุย เพราะหมอคนหนึ่ง เมื่อเรียนจบแล้ว เขามองว่าเขาจะได้อะไรจากสังคม แต่ไม่เคยมองว่า คุณจะให้อะไรแก่สังคม พวกเราเงินเดือนไม่เยอะ เสี่ยงลำบาก ต่างจากทำงานโรงพยาบาล ทำคลีนิค รายได้มากกว่า10 เท่า ดังนั้นการทำงานในป่า คุณต้องให้มากกว่ารับ
อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้คุณทำงานมาจนถึงทุกวันนี้
ถ้าผมไม่ทำ แล้วใครจะทำ โดยสัญชาติญาณ เมื่อมีคนร้องขอ เราต้องช่วย อีกอย่างครอบครัวผมก็เข้าใจดีว่า งานที่ทำเป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ถ้าวันหนึ่งไม่ไหว เหนื่อย ท้อ ครอบครัวก็ให้โอกาส หากผมอยากทำอย่างอื่น แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ห่วง เพราะอันตราย แต่ทำอย่างไรไม่ให้เขาเป็นห่วง เราต้องดูแลตัวเองให้ดี ผมทำงานมา 10 ปี โดย 5 ปีแรกผมใช้เข็มฉีดยารักษาสัตว์ป่า แต่ 5 ปีหลัง ผมเริ่มใช้ปากกาและไมโครโฟนรักษาสัตว์ ผมทำงานทั้งเชิงรับและรุก แต่ต้องรุกอย่างมั่นคงมีเหตุผล 5 ปีหลังผมก็เลยไปเป็นอาจารย์พิเศษให้ความรู้ สอนหนังสือ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน
กระบวนการขับเคลื่อนเปลี่ยนไป ?
เมื่อก่อนทำงานในป่าร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ตอนนี้ทำงานในป่าและเมืองอย่างละครึ่ง เพราะเราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในป่า ถ้าเราเห่าหอนกันเองในป่า ก็ไม่มีใครได้ยิน ถ้าเรารักษาอย่างเดียว นั่นเป็นการทำงานเชิงรับ ถ้าจัดการดีปัญหาก็ไม่เกิด เมื่อปัญหาไม่เกิด หมอก็มีเวลาว่าง สามารถให้ข้อมูลสาธารณชนได้ ถ้าถามว่าจะวัดคุณภาพสัตวแพทย์ได้อย่างไร หากถามว่า ปีนี้คุณรักษาสัตว์กี่ตัว ถ้าเอาจำนวนสัตว์มาเป็นกรอบชี้วัดในการของบประมาณ มันเหมาะไหมที่ได้ผลงานจากการทนทุกข์ทรมานของสัตว์ป่า แต่ผมใช้วิธีออกไปบรรยาย ให้ข้อมูลสาธารณะ และรักษาสัตว์ป่า
เลือกที่จะเป็นข้าราชการ เดินตามวิถีพอเพียง ?
สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราตัดสินใจเป็นข้าราชการ ก็คือ ความศรัทธาในลูกน้องและเจ้าหน้าที่เพื่อปกป้องทรัพยากร เรารู้ว่างานของเราเติมเต็มพวกเขา เราศรัทธาและเสียสละซึ่งกันและกัน ทำให้งานสัตวแพทย์สัตว์ป่าได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของงานอนุรักษ์
สิ่งสำคัญที่ทำให้เราเป็นข้าราชการ คือ เราใช้วิถีพอเพียง ผมไม่ใช่คนสุรุ่ยสุร่าย ครอบครัวผมไม่ใช่คนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และอีกส่วนมาจากแนวทางพระราชดำริของในหลวง ในเรื่องการรู้จักพอ รู้จักตนเอง โดยเฉพาะเรื่องการเป็นผู้ให้ หากเราอยากได้อะไรจากใคร เราควรให้เขาก่อน อย่างผมอยากได้อะไรจากสังคม ผมให้สังคมก่อน ณ วันนี้ ผมได้รับจากสังคมแล้ว แน่นอนว่าไม่ใช่เงินทอง แต่มีคนรู้จักนับถือ ผมเดินไปขอข้าวบ้านไหนกินก็ได้ ผมกลายเป็นบุคคลสาธารณะ แต่อย่าหลงไปกับคำยกย่อง ทุกคนยกย่องผมเกินไป ผมแค่ทำตามหน้าที่ เสร็จจากหน้าที่ ผมก็ไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ บางทีผมยังเดินเตะหมากลางซอย เพราะฉะนั้นการทำงานแบบนี้ ไม่ใช่ว่าผมเป็นฮีโร่
คิดยังไงที่คนในสังคมมองว่า หมอล็อตเป็นฮีโร่
ใช่ สังคมมองผมอย่างนั้น ผมพูดตรงๆ ว่า ผมไม่ใช่คนที่รักสัตว์ป่า แต่เป็นหน้าที่ เราต้องพยายามรักษาให้รอด ถ้ารอดเร็ว ผมก็ได้กลับบ้านเร็ว เคยมีคนบอกเยาวชนว่า ถ้าเป็นแบบหมอล็อต เสี่ยงนะ ไม่มีชีวิตส่วนตัว จริงๆ แล้วผมก็มีเวลาเที่ยว ไปแข่งบาส เดินจตุจักร เราต้องการให้น้องๆ เห็นว่า การเป็นแบบหมอล็อต ไม่จำเป็นต้องเสียสละทุ่มเท วิเวกขนาดนั้น คุณเป็นคนธรรมดาได้ ผมอยากทำอะไรก็ได้ทำ แต่เมื่อคุณใส่เครื่องแบบข้าราชการ คุณต้องทำหน้าที่
อึดอัดไหมที่เป็นบุคคลสาธารณะ ?
เราจะอึดอัดตรงที่มีคนบอกว่า ดีจังเลยหมอล็อตได้ทำงานที่หมอล็อตรัก เราทำตามหน้าที่ หรือมีคนถามว่า ทำแบบนี้ไม่กลัวคนหมั่นไส้หรือ ไม่มีใครอยากให้คนหมั่นไส้ แต่สิ่งที่คนหมั่นไส้ เขาหมั่นไส้ในความชั่วหรือความดี ถ้าหมั่นไส้ในความชั่วก็ต้องปรับตัว ถ้าหมั่นไส้ในความดี ก็ต้องเร่งทำความดี ในเวลาหนึ่งสังคมต้องการคนดี แต่พอมีคนดีปรากฎตัว สังคมก็นินทาเขา
การนำทีมรักษาสัตว์ป่า เคยตัดสินใจพลาดไหม
มีครับ ถ้าไม่ทันตั้งตัว เคยโดนช้างเตะ ช้างชนบ้าง แต่บางทีลูกน้องเราโดน เราต้องหยุดภาระกิจเลย ช้างตัวหนึ่งเรารักษาได้ แต่ถ้าลูกน้องเราตาย เราไม่สามารถรักษาเมียที่เป็นม่าย ลูกที่กำพร้าพ่อ
เห็นบอกว่า ใช้เวลาตามหาช้างเป็นวันๆ แต่รักษาไม่กี่นาที ?
การรักษาจะไม่เกิดขึ้น ถ้าคุณตามหาคนไข้ของคุณไม่เจอ บางครั้งตามช้างตัวเดียว 5 เดือน รักษาแค่ห้านาที
ไม่รู้สึกเสียเวลาหรือ
การทำงานในป่า เราต้องเป็นนักพยากรณ์ ต้องคาดเดาว่า ช้างตัวที่ตามมีโอกาสรอดอยู่ได้กี่วัน เราต้องทำงานแข่งกับเวลา ไม่อย่างนั้นมันไม่รอด เรามองในแง่ความทุกข์ทรมานของสัตว์ตัวหนึ่งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ความทุกข์ของลูกช้างตัวหนึ่ง เมื่อโดนบ่วงเชือกรัด จะก้าวเดิน มันรู้สึกเหมือนมีดกรีดเท้า เคยเจอช้างเท้าเน่าเหม็นและตาย นี่คือความทุกข์ทรมานของมัน
ประเมินแล้วไม่รอด ทำอย่างไร
อย่างกรณีชะนีโดนไฟฟ้าช็อต แขนเน่า ต้องตัดแขนทิ้ง ถ้าชะนีไม่มีแขน ก็ไม่สามารถดำเนินชีวิตในป่า เอาตัวรอดไม่ได้ แบบนี้เราต้องตัดสินใจให้ไปอย่างสงบ เพราะฉะนั้นการที่สัตว์ป่าบาดเจ็บ การมาของหมอไม่ใช่รักษา แต่มาเพื่อความเหมาะสม อาจทำให้มันพ้นจากทุกข์เวทนา
ถ้าจะทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องทำอย่างไร
ในเรื่องบุคลากรเราไม่กล้าบอกว่า มีมากหรือน้อย เพราะยังมีเรื่องคุณภาพคน ผมพูดตรงๆ ว่า สัตวแพทย์รุ่นน้องเก่งกว่าหมอล็อต พวกเขาสามารถเอาข้อมูลที่เราถ่ายทอดไปใช้ แต่สิ่งที่ต้องสร้างเองคือ ความศรัทธา เพราะการปรากฎตัวของหมอคนหนึ่ง มันสร้างความมั่นใจได้เยอะเลย
เห็นบอกว่ามีวิบากกรรมเรื่องความรัก ?
แม้ผมจะเป็นคนที่พร้อมในทุกเรื่อง ทั้งฐานะ ตำแหน่ง หน้าที่การงาน และบทบาททางสังคม ด้วยความที่เรามีแฟนคลับเป็นหมื่น เวลาที่เราจะไปแสดงความจริงจังกับใครสักคน มันทำให้เขาหวาดระแวง อย่างล่าสุดมีคนพูดว่า ผมมีลูกมีเมียแล้ว ซึ่งคนฟังก็ต้องมีความหนักแน่น
เพราะคุณเป็นคนช่างพูด และหน้าตาดี ?
เมื่อก่อนผมขี้่อาย ไม่ค่อยอยากคุยกับใคร แต่พอเราเป็นคนสาธารณะ ถ้าเราไม่พูดไม่ปฎิสัมพันธ์ ก็จะถูกมองว่า หยิ่ง ถ้าเราเฮฮาปาร์ตี้ ก็หาว่าทะเล้น เราก็วางตัวลำบาก และบางทีเสียงกระซิบ ก็ฆ่าหมอล็อตได้
ห่วงภาพพจน์ตัวเองหรือ
ผมเป็นคนธรรมดา ผู้ชายหลายคนจะอิจฉาผม แต่ถ้าถามผม การเป็นคนธรรมดาได้ไปเที่ยว กินข้าวกับแฟน มีเวลาให้กันและกัน นั่นแหละเป็นสิ่งที่ผมอิจฉาพวกคุณมากกว่า ความฝันสูงสุดในชีวิตของผม คือ เป็นผู้นำครอบครัวมีภรรยาและลูก ได้สอนลูกเรียนรู้ธรรมชาติเหมือนที่พ่อผมเคยสอน ซึ่งคนจะคิดว่า ผมฝันอยากเป็นใหญ่เป็นโต เราไม่ได้มองตรงนั้น ถ้ามีโอกาสพูดผมจะบอกเลยว่า ผมไม่ได้รักสัตว์ ไม่ได้เป็นคนเสียสละทุ่มเทอะไร
งานของผมเป็นงานที่ทำให้สังคมอยู่แล้ว คุณต้องแยกระหว่างชีวิตส่วนตัวกับงาน มันคนละเรื่องกัน
ในอนาคต คุณฝันอยากทำอะไร
ตอนแรกคิดว่า เป็นหมอสัตว์ป่าครบปีที่ 10 จะไปทำอย่างอื่น แต่พอทำงานไปเรื่อยๆ มีแรงบันดาลใจให้ทำต่อไป เวลาเข้าป่า ก็ได้เห็นโลกของสัตว์นานาชนิด แต่การเบียดเบือนคุกคามของมนุษย์ ทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่รอดไม่ได้ ถ้าพูดถึงความฝันในอนาคต อาจไม่ได้เกิดขึ้นในตัวของผมเอง แต่ผมอาจมีส่วนช่วยจุดประกายในเรื่องการเป็นนักบินอวกาศ การเอาสิ่งมีชีวิตไปนอกโลก เพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตในอนาคต
เพ้อฝันเกินไปไหม
ผมอยากเป็นนักบินอวกาศ มันเป็นความเพ้อฝันเลย คนฟังอาจหัวเราะ แต่ไม่ใช่สิ่งที่ยืนยันว่า ผมต้องทำให้ได้ เป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่ง คือ เราอยากจะไปดาวดวงหนึ่ง เพื่อดูสิว่า เราจะนำสิ่งมีชีวิตที่ถูกเบียดเบือนไปได้ไหม โดยประวัติการทำงานของเรา ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ มาเลเซียก็มีนักบินอวกาศ คนไทยก็มีศักยภาพ ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะจุดประกาย ผมอาจเป็นคนเปิดประเด็น แล้วคนรุ่นลูกรุ่นหลาน เห็นแนวทางก็นำไปพัฒนาต่อยอด
คุณบอกว่า ไม่ได้รักสัตว์ แต่สิ่งที่คุณทำ มันมากกว่าคำว่า รัก
ผมกลัวมันตายมากกว่า อย่าลืมว่า สัตว์ชนิดหนึ่งอยู่ในป่า แต่ถูกคนทำร้ายบาดเจ็บ ถ้าไม่ใช่สัตว์แพทย์รักษา มันก็ไม่รอด เมื่อสัตว์ป่าได้รับบาดเจ็บ ก็ต้องการคนรักษา เราไม่ได้รัก แต่เราต้องเอามันให้รอด
จาก http://bit.ly/1DhYJr9
“เป็นข้าราชการทำงานรับใช้พระเจ้าอยู่หัว คือความภูมิใจสูงสุด” หมอล็อต
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,12484.0.html
http://www.sookjai.com/index.php?topic=181965