ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 30, 2016, 02:21:16 am »



"พระมงคลวิเสสกถา"!! พระธรรมเทศนาในพระราชสำนัก...ที่ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" เทศน์ถวายต่อหน้าพระพักตร์ "ในหลวงรัชกาลที่ ๙"

“พระมงคลวิเสสกถา” เป็นพระธรรมเทศนาสำคัญซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดเป็นธรรมเนียมพระราชประเพณีและมีการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  พระสงฆ์ผู้ที่จะรับพระราชทานถวายพระธรรมเทศนานี้ ส่วนใหญ่จะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่าจะต้องเป็นสมเด็จพระสังฆราช  นอกเสียจากว่าพระสังฆราชประชวร จึงจะขอพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็นสมเด็จพระราชาคณะองค์อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน  ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

หลักการสำคัญสำหรับพระสงฆ์มหาเถระที่จะยึดถือเป็นหลักในการถวายพระธรรมเทศนาพระมงคลวิเสสกถาคือ  เมื่อถวายพระธรรมเทศนาจะต้องพรรณนาพระราชจรรยาอันวิเศษโสภณที่พระเจ้าแผ่นดินได้ปฏิบัติแล้วเป็นประโยชน์แก่แผ่นดินและปวงประชาราษฎร์  เมื่อพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงสดับฟังแล้วก็ทรงพิจารณาอยู่เนือง ๆ  เมื่อพิจารณาอยู่เนือง ๆ แล้ว ทรงตระหนักรู้ถึงประโยชน์และผลดีของพระราชจรรยานั้น ๆ แล้วทรงเกิดพระปีติปราโมทย์ในคุณธรรมความดีนั้น ๆ  และเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงเกิดปีติปราโมทย์ตื้นตันใจในผลดีแห่งพระราชจรรยานั้น ๆ แล้วก็จะเป็นเหตุให้พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญปฏิบัติพระราชจรรยานั้นยิ่ง ๆ ขึ้นไป

นอกจากนี้ พระมงคลวิเสสกถายังมีนัยสำคัญที่ซ่อนเอาไว้ก็คือ เป็นพระธรรมเทศนาที่แยบคาย สอดแทรกด้วยกุศโลบาย เพื่อถวายคำแนะนำแก่พระเจ้าแผ่นดิน

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตรัสว่า

“อันพระเจ้าแผ่นดินย่อมเป็นผู้สูงสุดในมนุษยนิกาย ยากที่จะมีใครกล้าถวายโอวาทได้จังๆ  ถึงอย่างนั้น ผู้หวังประโยชน์ในพระองค์จึงหาช่องทางที่จะถวายด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง  อันการกล่าวพระราชจรรยานั้นเป็นอุบายถวายโอวาทอย่างละเมียด จึงเป็นแบบที่โบราณบัณฑิตได้ใช้มาประการหนึ่ง  เมื่อว่าถึงการพระศาสนาก็เป็นหน้าที่พระธรรมกถึกจะถือโอกาสนั้นๆ ชักประชุมชนตั้งแต่พระมหากษัตริยเจ้าเป็นต้นไป ให้ตั้งอยู่ในกุศลสมาทาน”



สำหรับเนื้อหาและรูปแบบในพระมงคลวิเสสกถาที่ได้ยึดถือเป็นหลักต่อ ๆ กันมาก็คือ เนื้อหาของพระธรรมใน “ทศพิธราชธรรม” โดยจำแนกมาอธิบายต่าง ๆ กันไป  ส่วนรูปแบบนั้น เดิมทีไม่ปรากฏชัดว่าจัดรูปแบบเป็นอย่างไร  แต่เริ่มมีการจัดรูปแบบที่ได้รับการยอมรับและปฏิบัติตามสืบต่อกันมาในสมัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นผู้ทรงริเริ่มขึ้น โดยแบ่งรูปแบบเนื้อหาออกเป็น ๓ ส่วน ดังนี้

๑. อัตตหิตสมบัติ  ได้แก่  การพรรณนาพระราชจรรยา พระคุณธรรมที่ได้ทรงยึดถือปฏิบัติและบำเพ็ญ เพื่อยังความแช่มชื่นเฉพาะพระองค์ โดยเป็นคุณธรรมที่เกื้อกูลให้ทรงมีพระราชปณิธานในการประกอบพระราชกรณียกิจอันดีงามนั้นยิ่ง ๆ ขึ้นไป

๒. ปรหิตปฏิบัติ  ได้แก่  การพรรณนาพระคุณธรรมที่ได้ทรงยึดถือปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขแก่พสกนิกร

๓. รัฏฐาภิปาลโนบาย  ได้แก่  การพรรณนาพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงปฏิบัติแก่ประเทศและพสกนิกร

สำหรับในรัชกาลปัจจุบันนั้น “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ทรงมีความผูกพันกับ “สมเด็จพระญาณสังวรฯ” เพราะทรงเคยเป็น “พระอภิบาล” หรือ “พระพี่เลี้ยง” (ขณะที่ยังดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นเทพ โดยมีชื่อตามสมณศักดิ์คือ “พระโศภณคณาภรณ์”) ในช่วงที่พระองค์ทรงออกผนวชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ก่อนหน้าที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ จะทรงดำรงตำแหน่งพระสังฆราช (ในช่วงเวลานั้นยังคงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะอยู่) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระญาณสังวรฯ รับพระราชทานถวาย “พระมงคลวิเสสกถา” ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาหน้าพระที่นั่งในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๕

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระญาณสังวรฯ จึงทรงทำหน้าที่รับพระราชทานถวายพระธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษนี้แก่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นประจำเรื่อยมา  จนเมื่อสุขภาพของสมเด็จฯ ท่านไม่เอื้ออำนวย จึงไม่ได้รับพระราชทานถวายพระธรรมเทศนาในพระราชพิธีนี้อีก


ที่มา : หนังสือ “มหาบพิตร : ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ”, วีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์.

ติดตามเรื่องราวของในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับเหล่าพระอริยสงฆ์อีกมากมายได้ในหนังสือ “มหาบพิตร : ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ” โดย “วีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์”



สนใจหนังสือสั่งซื้อได้ที่ Line ID: @gppbook
โทรศัพท์. 0 2525 4242 ต่อ 201-203

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/210748/