ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2016, 05:52:12 pm »


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จทรงเยี่ยมนมัสการและทรงสนทนาธรรม พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) พระอาริยสงฆ์แห่งแดนอีสานใต้ ที่วัดบูรพาราม พระอารามหลวง จ.สุรินทร์ ครั้งแรกเมื่อปี 2522

“ในหลวง ร.๙” เสด็จสนทนาธรรม “หลวงปู่ดูลย์” พระอริยสงฆ์แห่งอีสานใต้จวบจนละสังขาร

สุรินทร์-“หลวงปู่โพธิ์” พระสายกัมมัฏฐาน เจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวง สุรินทร์ เผยความประทับใจปลาบปลื้ม “ในหลวง ร.๙” เสด็จทรงเยี่ยมนมัสการ และทรงสนทนาธรรมกับ “หลวงปู่ดูลย์ อตุโล” พระอริยสงฆ์แห่งแดนอีสานใต้หลายครั้ง จวบจนหลวงปู่ละสังขาร ปี 2526 รวมอายุ 96 ปี และครั้งสุดท้ายเสด็จพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ ในปี 2528 เมื่อ 31 ปีก่อน ชี้ “ในหลวง” ทรงซาบซึ้งแตกฉานทั้งทางโลก และทางธรรม
       
       วันนี้ (26 ต.ค.) ที่วัดบูรพาราม พระอารามหลวงเฉลิมพระเกียรติ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระราชวรคุณ (หลวงปู่โพธิ์) เจ้าอาวาสวัดบูรพาราม พระอารามหลวง เฉลิมพระเกียรติ อดีตพระเลขา พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) และอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย เล่าว่า เมื่อครั้งวันที่ 18 ธันวาคม 2522 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา พระยศในขณะนั้น และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มายังวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ เพื่อทรงเยี่ยม และนมัสการ หลวงปู่ดูลย์ เป็นการส่วนพระองค์
       
       หลังจากมีพระราชปฏิสันถารถึงสุขภาพพลานามัยของหลวงปู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอาราธนาให้หลวงปู่แสดงพระธรรมเทศนา และทรงบันทึกเทปไว้ด้วย เมื่อหลวงปู่แสดงพระธรรมเทศนาย่อๆ ถวายจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนทนาธรรมข้ออื่นๆ พอสมควรแก่เวลา แล้วทรงถวายจตุปัจจัยแก่หลวงปู่ แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ






โดยในครั้งนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาก่อน จากนั้นไม่นาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็เสด็จตามมา และทรงสนทนาธรรมต่างๆ แล้ว ทรงถามเรื่องการสละกิเลส หลวงปู่ดูลย์ท่านถวายวิสัชนา ว่า กิเลสเกิดขึ้นที่จิต กิเลสใดเกิดขึ้นมาก่อนให้ละข้อนั้นก่อน จากนั้นได้สนทนาธรรมในเรื่องต่างๆ จนกระทั่งก่อนเสด็จกลับ ได้ดำริกับหลวงปู่ให้หลวงปู่ดำรงขรรค์อยู่เป็นเวลานานนับร้อยๆ ปี เพื่อประโยชน์สุขของพลเมือง หลวงปู่ตอบไปว่า แล้วแต่สังขาร ก็เป็นไปตามธรรมดา
       
       ขณะนั้นพสกนิกรที่ทราบข่าวพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาต่างแตกตื่น เดินทางมาที่วัดเป็นจำนวนมาก เพราะการเสด็จในครั้งนั้นเป็นการเสด็จส่วนพระองค์
       
       ต่อมา ครั้งที่ 2 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทรงเยี่ยม หลวงปู่ดูลย์ เมื่อครั้งหลวงปู่อาพาธ เข้ารับรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาฯ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 5 มีนาคม 2526 เวลา 19.45 น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงสนพระทัยไต่ถามอาการของหลวงปู่ด้วยพระปริวิตก เกรงว่า หลวงปู่จะไม่ปลอดภัย เมื่อทรงทราบว่า หลวงปู่มีอาการดีขึ้นมากแล้ว ทรงคลายความเป็นห่วง ทรงสนทนากับหลวงปู่พอสมควรแก่เวลา ทรงถวายจตุปัจจัยไทยทานแก่หลวงปู่ และพระภิกษุสามเณร ตลอดจนศิษย์ที่อยู่รักษาพยาบาลโดยทั่วกันแล้ว จึงเสด็จกลับในเวลา 20.30 น. รวมเวลาเสด็จเยี่ยมทั้งหมด 45 นาที





พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

จากนั้น เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2526 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทางเยี่ยมนมัสการ หลวงปู่ดูลย์ และทรงสนทนาธรรม
       
       และครั้งสุดท้าย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมนุวงศานุวงศ์มาพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ดูลย์ ที่บริเวณวนอุทยานเขาสวาย ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2528 หลังหลวงปู่ดูลย์ ละสังขาร เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2526 รวมอายุ 96 ปี พรรษา 74
       
       หลวงปู่โพธิ์ กล่าวอีกว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ท่านทรงกราบไหว้พระอริยสงฆ์ในหลายพื้นที่ พระองค์ทรงสนพระทัยในเรื่องธรรมปฏิบัติ และเสด็จกราบไหว้ครูบาอาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐานผู้มีความละเอียดอ่อนในกระแสธรรมหลายรูป แสดงถึงตลอดพระชนมชีพพระองค์ท่านมีความซาบซึ้งในคุณธรรม หรือในกระแสธรรมต่างๆ จากพระดำรัส ณ ที่ใดที่หนึ่ง เหมือนนพรัตน์ที่เจียระไนเสร็จแล้ว มีคุณค่าแก่การเชื่อถือ และปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น พระองค์จึงเป็นผู้แตกฉานทั้งฝ่ายปริยัติปฏิบัติ หรือข้ออรรถข้อธรรม เข้าใจหลักลึกซึ้งอย่างแท้จริง จากการที่ทรงสนพระทัย หรือฟังครูบาอาจารย์มาตลอดตามเวลาที่พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ ซึ่งเรายอมรับว่าพระองค์ทรงซาบซึ้ง แตกฉานทั้งทางโลก และทางธรรม หรือทางปริยัติปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งหาได้ยาก



พระราชวรคุณ (หลวงปู่โพธิ์) เจ้าอาวาสวัดบูรพาราม พระอารามหลวง จ.สุรินทร์ ปัจจุบัน



สำหรับ พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) กำเนิด ณ บ้านปราสาท ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เมื่อแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ตรงกับวันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2430 เป็นปีที่ 20 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โยมบิดาชื่อ นายแดง โยมมารดาชื่อ นางเงิม นามสกุล ดีมาก
       
       หลวงปู่ดูลย์ มีพี่น้อง 5 คน คนแรกเป็นหญิงชื่อ กลิ้ง คนที่สองคือ หลวงปู่เอง ชื่อ ดูลย์ คนที่สามเป็นชายชื่อ เคน คนที่สี่ และห้าเป็นหญิงชื่อ รัตน์ และทอง พี่น้องทั้ง 4 คน มีชีวิตจนถึงวัยชรา และทุกคนเสียชีวิตก่อนมีอายุถึง 70 ปี มีเพียงหลวงปู่เท่านั้นที่ดำรงอายุขัยอยู่จนถึง 96 ปี
       
       อุปสมบท ณ วัดจุมพลสุทธาวาส อ.เมือง จ.สุรินทร์ ใน พ.ศ.2453 โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อแรกบวชหลวงปู่ได้พากเพียรศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเคร่งครัด มีความวิริยะ อุตสาหะอย่างแรงกล้า จนล่วงเข้าพรรษาที่ 6 หลวงปู่จึงหันมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดสุทัศน์ จ.อุบลราชธานี สอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นรุ่นแรกของ จ.อุบลราชธานี และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้ เนื่องจากวัดสุทัศน์ เป็นวัดที่อยู่ในสังกัดธรรมยุตนิกาย หลวงปู่จึงได้ขอญัตติเป็นธรรมยุตนิกาย ใน พ.ศ.2461 ณ วัดสุทัศน์ โดยมีพระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์






ในพรรษาต่อมา หลวงปู่ได้มีโอกาสพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียว จากพระอาจารย์มั่น ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง จึงได้เลิกศึกษาพระปริยัติแล้วออกธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ไปยังที่ต่างๆ หลายแห่ง จึงนับได้ว่า หลวงปู่ดูลย์ เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นในสมัยแรก
       
       ต่อมา เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ขอให้หลวงปู่กลับจังหวัดสุรินทร์ เพื่อบูรณะวัดบูรพาราม หลวงปู่จึงจำต้องระงับกิจธุดงค์ และเริ่มงานบูรณะตามที่ได้รับมอบหมาย หลวงปู่ดูลย์ ได้อุทิศชีวิตเพื่อพระศาสนาอย่างแท้จริง จนได้รับการยอมรับจากสาธุชนทั้งหลาย ว่า เป็นพระอริยสงฆ์ที่หาได้ยากยิ่งรูปหนึ่ง
     








จาก http://astv.mobi/AzDnb0o

http://www.sookjai.com/index.php?topic=182162.0