ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2016, 09:18:58 pm »เขียว ศิริธร โยธิน ชายเร่ร่อนผู้รักในหลวงยิ่งชีพ
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก คนค้นฅน https://www.facebook.com/kontvburabha
แม้ว่าภาพลักษณ์จะเป็นสิ่งสำคัญที่คนในสังคมใช้เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวตน จนหลายครั้งก็เผลอนำเอาภาพลักษณ์มาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินผู้อื่นตั้งแต่แรกเห็น เหมือนกับชายหนุ่มที่มีนามว่า "ศิริธร โยธิน" หรือ "เขียว" ผู้ซึ่งมีภาพลักษณ์เป็นชายเร่ร่อน แต่งตัวมอมแมม และมีตู้โทรศัพท์ข้างถนนเป็นที่พัก จนหลายคนทั้งกลัว ทั้งรังเกียจ และคิดว่าเขาเป็นเพียงคนสติไม่ดีคนหนึ่ง แต่หากได้ลองเปิดใจมองเลยผ่านตัวตนภายนอกเหล่านั้น เข้าไปให้ถึงจุดกึ่งกลางของหัวใจ ภาพ "คนบ้า" ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน ก็อาจจะเปลี่ยนไปได้เหมือนกัน
รายการคนค้นฅน (1 ธันวาคม) ขอพาผู้ชมไปเปิดมุมมองลึก ๆ จากก้นบึ้งหัวใจ ของชายหนุ่มที่ไม่มีบ้านให้อาศัย ไม่มีครอบครัว ไม่มีเพื่อนฝูง แต่เขามีพ่อในดวงใจที่เขาเทิดทูนและมีหัวใจที่ดีงามไม่แพ้ใครในสังคม เขียว - ศิริธร โยธิน ..
เขียว คือชายที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่ในกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงอันกว้างใหญ่ของประเทศไทย ที่มีผู้คนพลุกพล่าน และรถยนต์ขวักไขว่บนท้องถนน เขาเริ่มต้นใช้ชีวิตเร่ร่อนไม่มีที่อยู่มาตั้งแต่ 16 ปีก่อน เมื่อเขารู้สึกว่าพ่อแม่ที่เขารัก กลับรักลูกไม่เท่ากันและไม่เคยทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเขาเลย เขาจึงออกจากบ้านมาด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ
เขียว เล่าว่า เขาเคยมีครอบครัวเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน แต่เขาทำตัวไม่ดีประชดพ่อแม่จนรู้สึกว่าตัวเองไม่เหมาะจะเป็นผู้นำ เขาจึงเลิกกับภรรยาและจากลูกมาตั้งแต่ลูกอายุได้ 3 ขวบ ก่อนจะมาใช้ชีวิตเป็นชายเร่ร่อน หาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บขยะและเก็บของเก่าขาย ซึ่งแน่นอนว่าอุปสรรคในการทำอาชีพนี้ คือการดูถูกจากผู้คนที่ผ่านไปมา "อาชีพนี้คนเขามองเป็นโจรหมดเลย ไม่มีใครมองเป็นพระเอกนะ แล้วก็เป็นคนบ้า มีสองอย่าง" เขากล่าวอย่างรู้ตัวดีว่าทุกสายตาที่มองมายังเขานั้น บ่งบอกความหมายอะไรบ้าง
"ผมปั่นซาเล้งคุ้ยขยะข้างถนนมา 10 ปีแล้ว ต้องทนจริง ๆ ใจต้องยิ้ม พูดง่าย ๆ ต้องทำใจให้เหมือนกับกระจกเลย คือกระจกมันรับรู้ แต่ไม่ยึดถือครอบครอง คือมันมองเห็นแต่ไม่เก็บภาพ คุณต้องฝึกใจให้ได้ นี่คือการเอาตัวรอด" เขาบอกถึงวิธีเอาตัวรอดในสังคมที่ผู้คนเรียกซึ่งตัวเองว่าเจริญแล้วแสดงออกกับเขา
คำพูดเหล่านี้ทำให้เรารู้ว่า ชายผู้นี้ไม่ได้เป็นเพียงชายเร่ร่อนที่ใช้ชีวิตเพื่ออยู่ไปวัน ๆ เท่านั้น แต่ทุกความคิดของเขา ผ่านการตกผลึกจากร้อยพันตัวหนังสือ ที่ถูกทิ้งขว้างอยู่ในกองขยะที่เขาเก็บ โดยเขาเลือกที่จะเปิดอ่านและจดจำเพื่อเรียนรู้มุมมองใหม่ ๆ ให้กับชีวิต รวมถึงรู้จักปรับใช้อย่างถูกที่ถูกทางเพื่อเอาตัวรอดให้ได้ในสังคม
แม้จะเป็นเพียงชายที่ทำมาหากินอยู่กับกองขยะ แต่พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กลับถูกติดไว้ที่หน้ารถซาเล้งที่ใช้ทำมาหากินของเขามาโดยตลอด เพราะเขาต้องการสื่อคนที่ผ่านไปผ่านมาได้ให้เห็นว่า เขามีความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านขนาดไหน โดยพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่าน เขาไม่ได้ซื้อหามาจากไหน แต่เขาเก็บมาได้ทั้งนั้น ซึ่งเขาจะนำมาเช็ดทำความสะอาด และเก็บสะสม รวมถึงติดเอาไว้หน้ารถเพื่อเป็นสิริมงคล
ในทุก ๆ วัน เขียว มักจะมายืนรอเก็บขยะบริเวณหน้าตลาด เพื่อเป็นคนแรกที่จะได้เลือกขยะกองโต โดยเขาบอกว่ารายได้ของเขาที่เก็บได้ ประมาณ 200 บาทต่อวันก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เนื่องจากเขาไม่ได้เช่าบ้านอยู่ แต่ถ้าหากต้องใช้จ่ายเงินไปกับค่าเช่าบ้าน ก็ยอมรับเลยว่าเงินแค่นี้อาจไม่เพียงพอต่อชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากการคุ้ยขยะของเขียว คือเขาเก็บขยะทื่รื้อค้นเสร็จแล้วอย่างเป็นระเบียบ เพราะกลัวว่าหากเก็บไม่เรียบร้อย จะถูกห้ามไม่ให้มาเก็บขยะอีกต่อไป นี่คือความมีระเบียบภายในสภาพมอมแมมที่หลายคนอาจคิดไม่ถึง
แม้จะเป็นการหารายได้แบบรายวัน แต่เขียวก็ยังคงวางแผนการใช้เงินอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลอย่างปีใหม่ ที่กำลังใกล้เข้ามา เขาบอกว่าเขาต้องหาขยะให้มากขึ้น เพื่อเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายในช่วงปีใหม่ เพราะร้านรับซื้อของเก่าจะหยุดยาวถึง 7 วัน โดยปัจจุบันเขาก็เริ่มมีเงินเก็บสำหรับใช้ในช่วงวันหยุดปีใหม่ถึง 3,000 บาทแล้ว
หลังจากเก็บขยะที่สร้างรายได้หลักให้เขาเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลากลับมาพักผ่อนในจุดประจำ บริเวณตู้โทรศัพท์หน้าสถานทูตออสเตรเลีย แต่เมื่อกลับมาก็พบว่าฝนที่โปรยลงมาทำให้ที่นอนของเขาเปียกโชกไปด้วยน้ำที่เจิ่งนอง เขาจำเป็นต้องเอารองเท้ามาปาดน้ำทิ้งให้หมด เพราะแต่ก่อนเขาเคยมีทั้งไม้กวาด หมอน และผ้าห่ม แต่แม้จะซ่อนไว้อย่างไร อุปกรณ์เหล่านั้นก็ยังอันตรธานหายไปอยู่ดี จนเขาเลือกที่จะไม่เก็บเอาไว้อีกแล้วดีกว่า
แม้ว่าจะกลับมาถึงที่พักแล้ว แต่เขียวก็ยังต้องใช้เวลาไปกับการแยกข้าวของที่เก็บมาได้ และเตรียมปูที่นอนเสียก่อน โดยเขามีรูปในหลวงที่พกติดตัวอยู่จำนวนหนึ่ง ดังนั้นเขาจึงต้องมีมุมสำหรับตั้งรูปในหลวงบริเวณหัวนอนเพื่อกราบไหว้ก่อนนอนและสวดพระคาถาชินบัญชรเพื่อขอพรให้ท่านทุกครั้งด้วย
"นี่แหละลับหลังพระเจ้าอยู่หัวที่เราต้องทำ เราอย่าทำต่อหน้าอย่างเดียว ใครจะว่าสร้างภาพยังไงก็ตาม แต่สำหรับผมนี่คือการกระทำลับหลังพระเจ้าอยู่หัว" เขียวกล่าวด้วยแววตาจริงใจ
สำหรับเขียว แม้ว่าที่ผ่านมาเขาจะเคยใจร้อน ทำตัวสำมะเลเทเมา แต่เมื่อวันหนึ่งที่เขาได้พบกับหนังสือธรรมะที่ช่วยสอนและขัดเกลาจิตใจ ก็ทำให้เขาเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เพราะเขาเชื่อว่าภายในจิตใจลึก ๆ ของเขา มีสีขาวอยู่มากกว่าสีดำ ต่อให้ใครปฏิบัติอย่างไรต่อเขา แต่สีขาวในใจก็ช่วยลบด้านมืดของเขาให้หายไปจนหมดสิ้นแล้ว
เมื่อถึงรุ่งเช้า เขียว เตรียมตัวนำขยะที่เก็บมาได้ไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่าเจ้าประจำ ซึ่งเจ้าของร้านทั้งสองคนก็ให้ความเมตตากับเขามาก โดย นางสุชาดา ชีวชื่น และนายธเนศ ชีวชื่น เจ้าของร้านรับซื้อของเก่าเล่าว่า ชายคนนี้เคยมาบอกว่าเขามีแต่รถเข็น ไม่มีรถซาเล้งอยากให้เจ๊ช่วยเหลือเขาหน่อยได้ไหม นางสุชาดาจึงให้รถซาเล้งกับเขาไป และขอให้เขาเอาไปทำมาหากินจริง ๆ
ซึ่งผลจากความมีเมตตาของเจ๊ ทำให้เขียวสามารถมีอาชีพและใช้ชีวิตได้มาจนถึงปัจจุบัน และนั่นทำให้เจ๊ได้รู้จักเขามากขึ้น ว่าที่จริงแล้วเขียวเองก็เป็นคนดีไม่แพ้ใคร เพราะทุกครั้งที่เจ๊เผลอจ่ายเงินเกินไม่ว่าจะแค่ 20 หรือ 500 บาท แต่เขียวก็นำเงินกลับมาคืนทุกครั้ง เพราะเขาบอกว่าเงินนั่นไม่ใช่ของเขา ทำให้เจ้าของร้านทั้งสองคนรู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจของเขามาก ว่าคนแบบนี้ก็ยังมีเหลืออยู่ในสังคม
ส่วน เขียว เอง ก็สำนึกในบุญคุณของเจ้าของร้านขายของเก่าเช่นกัน เขายืนยันว่าไม่ว่าเขาจะยางแตก ยางรั่วอยู่ไกลแค่ไหน แต่เขาก็ยังดิ้นรนเอาของเก่ามาขายให้ร้านนี้ร้านเดียวเท่านั้น "เพราะเขาดีกับเรา ให้รถเรามาหากิน สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำ คือมีความซื่อสัตย์ต่อเขา" เขียวกล่าว
เมื่อนำของเก่าไปขายเสร็จสิ้นแล้ว เขียวจะไปอาบน้ำให้หายเหนื่อยที่สวนลุมพินี ก่อนที่จะกลับมานั่งกินอาหาร อ่านหนังสือ จิบกาแฟ และกลับไปอาบน้ำอีกรอบประมาณบ่ายสองโมง เพื่อเตรียมตัวออกไปเก็บขยะในช่วงเย็น โดยชุดประจำของเขาคือเสื้อผ้าลายธงชาติไทย พร้อมกับเสื้อคลุมที่ปัก "Long Live The King" ซึ่งเขาปักเสื้อทุกตัวให้เป็นแนวนี้เหมือนกันหมด แต่ก็ต้องใช้เวลาเก็บเงินยาวนานเป็นเดือน และเคยใช้เวลานานที่สุดถึง 3 เดือนในการเก็บเงินเพื่อปักเสื้อเลยทีเดียว เพราะเขาบอกว่าทุก ๆ ลวดลายบนเสื้อผ้าของเขาล้วนเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของแผ่นดินที่ทำให้เขาฉุกคิดได้ว่า เพราะอะไรแผ่นดินนี้ถึงไม่มีใครเอาไปได้ จึงทำให้เขาอยากแสดงออกให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้เห็นว่า เราควรจะยกย่องสรรเสริญคุณงามความดี ของสถาบันพระมหากษัตริย์และแผ่นดินของเราอย่างไร
สำหรับเขียวถ้าหากนำพระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่หัวที่เขาสะสมไว้มาวางเรียงกัน จะสามารถต่อกันได้กว้างราวกับแผ่นผ้าผืนใหญ่ เขาบอกว่าพระบรมฉายาลักษณ์บางชิ้นถูกใส่กรอบเอาไว้แต่กลับมีคนนำมาทิ้งเพียงเพราะแค่กระจกแตก เขาจึงเก็บรวบรวมเอาไว้ และลงมือซ่อมแซมพระบรมฉายาลักษณ์ที่ชำรุดเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่พระบรมฉายาลักษณ์ที่เขาเก็บสะสมไว้จะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์จากปฏิทินที่ถูกนำมาทิ้งเมื่อหมดปี เขียวบอกว่า พระบรมฉายาลักษณ์ที่เห็นนำมาเรียงในรายการเป็นเพียงแค่ 1 ใน 10 ที่เขาสะสมไว้ โดยส่วนที่เหลือเขาแบ่งให้คนอื่นเอาไปบูชา ทั้งนี้ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เขาเก็บสะสมพระบรมฉายาลักษณ์ พระเจ้าอยู่หัวเอาไว้หลายร้อยชิ้นเลยทีเดียว
"จะทดแทนบุญคุณพระองค์ได้ เราควรเคารพบูชา เพราะเราอาศัยแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวอยู่" เขียวยืนยันว่าของสะสมเหล่านี้จะอยู่คู่กับเขาไปจนกว่าเขาจะตาย
และนี่คือเรื่องราวของชายผู้ซึ่งมีภาพลักษณ์ไม่สวยงามน่ามอง ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในมุมเล็ก ๆ ของบ้านหลังใหญ่ที่เรียกว่าประเทศไทยแห่งนี้ โดยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าแผ่นดิน พร้อมทั้งยืนยันว่าแม้ใครจะมองว่าเขาเป็นเพียงแค่คนเร่ร่อนที่ดูคล้ายคนบ้า แต่เขาก็จะไม่โกรธ และยังคงเดินหน้าทำมาหากินด้วยการเก็บขยะขายต่อไป รวมถึงจะแสดงออกถึงความรักที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัว ตราบเท่าที่เขายังมีลมหายใจอยู่ แม้จะไม่มีใครมองเห็นหัวใจที่ดีงามของเขาก็ตาม ..
จาก http://hilight.kapook.com/view/79218
รายการ คนค้นฅน ร่วมถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงนำเสนอเรื่องราวชีวิตของ “ศิริธร โยธิน” หรือ “ เขียว” อดีตคนเก็บขยะวัย 49 ปี ผู้เคยใช้ชีวิตเร่ร่อน ไร้ที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ต้องอาศัยหลับนอนตามริมนอนแถวหน้าอาคารอื้อจือเหลียง เขียวเป็นคนเก็บขยะที่รักและเทิดทูนในหลวงเยี่ยงชีวิตและน้อมนำหลักธรรมคำสอนมาใช้ในการดำเนินชีวิต เขาเริ่มสะสมรูปภาพของในหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่เริ่มประกอบอาชีพเก็บขยะ เพราะตั้งแต่เริ่มทำอาชีพนี้เขาพบว่ามีผู้คนจำนวนมากที่ทิ้งรูปในหลวงลงถังขยะ เขาจึงเก็บทุกอย่างที่เป็นรูปในหลวงไม่ว่าจะเป็นแสตมป์ ปฎิทิน โปสเตอร์ เศษกระดาษฯลฯ ซึ่งไม่ว่าจะเลอะเปรอะเปื้อน หรือจะเก่าขนาดไหน แต่สำหรับเขารูปเหล่านี้คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขาเคารพเทิดทูนและมีคุณค่าต่อจิตใจของเขาเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาชีวิตของเขาจะโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไร้ซึ่งอนาคต แต่เมื่อเขามีในหลวงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ทำให้เขาดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและบอกกับตัวเองว่าเขาจะเป็นคนดีคนหนึ่งของสังคม ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และจะแบ่งปันแก่ผู้อื่นตามกำลังของตน
https://www.youtube.com/v/jYcOaUNxmn4
https://www.youtube.com/v/LbN6TFZAxsU
https://www.youtube.com/v/o_XF7BQCwhE
https://www.youtube.com/v/t7rjKI0AkTc
‘คนค้นฅน’ สัปดาห์นี้เป็นเรื่องราวที่เคยออกอากาศไปแล้วเมื่อวันที่ 4และ 11 ธันวาคม 2550 ในตอนที่ชื่อว่า ‘ภาพในหลวงในดวงใจ’เราจะร่วมย้อนกลับไปรำลึกถึงเรื่องราวนี้กันอีกสักครั้งกับเรื่องราวของช่างภาพคนหนึ่งที่ชื่อว่า อนุชัย ศรีจรูญพู่ทองช่างภาพโฆษณาที่คนในวงการให้การยอมรับว่าเป็นช่างภาพระดับแถวหน้าของเมืองไทย ได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้วมากมายและเป็นหนึ่งในช่างภาพที่ร่วมบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของปวงชน ชาวไทย ในงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 9-13 มิถุนายน 2549 และยังเคยจัดแสดงภาพถ่ายขาวดำจำนวนทั้งสิ้น 81 ภาพ ในงานนิทรรศการที่มีชื่อว่า “ภาพเล่าเรื่อง พระเจ้าอยู่หัวในดวงใจ” ในปี 2550 เพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลฉลองพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเขาใช้เวลาไปกว่า 3 ปี ในการเดินทางไปทั่วทั้ง 76 จังหวัดเพื่อบันทึกภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่อยู่ในบ้านเรือนของคนไทยทั่วประเทศภาพบางภาพถูกจัดวางไว้ที่หิ้งบูชาเพื่อเคารพสักการะภาพบางภาพแขวนไว้ที่ฝาผนัง ในยุ้งฉาง บนหัวนอน บนโต๊ะทำงานและที่สำคัญที่สุดภาพแต่ละภาพนั้นเป็นเสมือนสมบัติอันล้ำค่าของบ้านแต่ละหลังภาพหนึ่งภาพสามารถแทนความหมายมากมายนับพันภาพแต่ละภาพที่อยู่ในบ้านแต่ละหลังนั้นมีค่าและมีความหมายในดวงใจของคนไทยนับล้านๆ ดวง
มีเรื่องราวความประทับใจความทรงจำอะไรบ้างที่ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของคนไทยทั้งประเทศที่มีความรู้สึกรักและเทิดทูนต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9ของพวกเขามากเพียงใด ร่วมเดินทางไปกับ อนุชัย ศรีจรูญพู่ทองเพื่อบันทึกภาพและเรื่องราว ความรักความผูกพันของคนไทยทั้งประเทศที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถิตเหนือเกล้าชาวไทย‘คนค้นฅน’ สัปดาห์นี้เป็นเรื่องราวที่เคยออกอากาศไปแล้วเมื่อวันที่ 4และ 11 ธันวาคม 2550 ในตอนที่ชื่อว่า ‘ภาพในหลวงในดวงใจ’เราจะร่วมย้อนกลับไปรำลึกถึงเรื่องราวนี้กันอีกสักครั้ง กับเรื่องราวของช่างภาพคนหนึ่งที่ชื่อว่า อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง ช่างภาพโฆษณาที่คนในวงการให้การยอมรับว่าเป็นช่างภาพระดับแถวหน้าของเมืองไทย ได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้วมากมายและเป็นหนึ่งในช่างภาพที่ร่วมบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของปวงชนชาวไทย ในงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 9-13 มิถุนายน 2549 และยังเคยจัดแสดงภาพถ่ายขาวดำจำนวนทั้งสิ้น 81 ภาพ ในงานนิทรรศการที่มีชื่อว่า “ภาพเล่าเรื่อง พระเจ้าอยู่หัวในดวงใจ” ในปี2550 เพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลฉลองพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเขาใช้เวลาไปกว่า 3 ปี ในการเดินทางไปทั่วทั้ง 76 จังหวัด เพื่อบันทึกภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่อยู่ในบ้านเรือนของคนไทยทั่วประเทศ
ภาพบางภาพถูกจัดวางไว้ที่หิ้งบูชาเพื่อเคารพสักการะภาพบางภาพแขวนไว้ที่ฝาผนัง ในยุ้งฉาง บนหัวนอน บนโต๊ะทำงานและที่สำคัญที่สุดภาพแต่ละภาพนั้นเป็นเสมือนสมบัติอันล้ำค่าของบ้านแต่ละหลังภาพหนึ่งภาพสามารถแทนความหมายมากมายนับพันภาพแต่ละภาพที่อยู่ในบ้านแต่ละหลังนั้นมีค่าและมีความหมายในดวงใจของคนไทยนับล้านๆ ดวง มีเรื่องราวความประทับใจความทรงจำอะไรบ้างที่ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของคนไทยทั้งประเทศที่มีความรู้สึกรักและเทิดทูนต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ของ พวกเขามากเพียงใด ร่วมเดินทางไปกับ อนุชัย ศรีจรูญพู่ทองเพื่อบันทึกภาพและเรื่องราว ความรัก ความผูกพันของคนไทยทั้งประเทศที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถิตเหนือเกล้าชาวไทย
ติดตามข่าวสารทีวีบูรพาเพิ่มเติมได้ที่
http://tvburabha.com/
https://www.facebook.com/tvburabha
https://instagram.com/tvburabha
https://www.facebook.com/kontvburabha
จาก http://tvburabha.com/program/view/2822
https://www.youtube.com/v/VyIfNuLoor8
https://www.youtube.com/v/UZH7mQjbSyQ
https://www.youtube.com/v/Y2gP71eyPVs
https://www.youtube.com/v/KVcCYLByxM8
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก คนค้นฅน https://www.facebook.com/kontvburabha
แม้ว่าภาพลักษณ์จะเป็นสิ่งสำคัญที่คนในสังคมใช้เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวตน จนหลายครั้งก็เผลอนำเอาภาพลักษณ์มาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินผู้อื่นตั้งแต่แรกเห็น เหมือนกับชายหนุ่มที่มีนามว่า "ศิริธร โยธิน" หรือ "เขียว" ผู้ซึ่งมีภาพลักษณ์เป็นชายเร่ร่อน แต่งตัวมอมแมม และมีตู้โทรศัพท์ข้างถนนเป็นที่พัก จนหลายคนทั้งกลัว ทั้งรังเกียจ และคิดว่าเขาเป็นเพียงคนสติไม่ดีคนหนึ่ง แต่หากได้ลองเปิดใจมองเลยผ่านตัวตนภายนอกเหล่านั้น เข้าไปให้ถึงจุดกึ่งกลางของหัวใจ ภาพ "คนบ้า" ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน ก็อาจจะเปลี่ยนไปได้เหมือนกัน
รายการคนค้นฅน (1 ธันวาคม) ขอพาผู้ชมไปเปิดมุมมองลึก ๆ จากก้นบึ้งหัวใจ ของชายหนุ่มที่ไม่มีบ้านให้อาศัย ไม่มีครอบครัว ไม่มีเพื่อนฝูง แต่เขามีพ่อในดวงใจที่เขาเทิดทูนและมีหัวใจที่ดีงามไม่แพ้ใครในสังคม เขียว - ศิริธร โยธิน ..
เขียว คือชายที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่ในกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงอันกว้างใหญ่ของประเทศไทย ที่มีผู้คนพลุกพล่าน และรถยนต์ขวักไขว่บนท้องถนน เขาเริ่มต้นใช้ชีวิตเร่ร่อนไม่มีที่อยู่มาตั้งแต่ 16 ปีก่อน เมื่อเขารู้สึกว่าพ่อแม่ที่เขารัก กลับรักลูกไม่เท่ากันและไม่เคยทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเขาเลย เขาจึงออกจากบ้านมาด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ
เขียว เล่าว่า เขาเคยมีครอบครัวเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน แต่เขาทำตัวไม่ดีประชดพ่อแม่จนรู้สึกว่าตัวเองไม่เหมาะจะเป็นผู้นำ เขาจึงเลิกกับภรรยาและจากลูกมาตั้งแต่ลูกอายุได้ 3 ขวบ ก่อนจะมาใช้ชีวิตเป็นชายเร่ร่อน หาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บขยะและเก็บของเก่าขาย ซึ่งแน่นอนว่าอุปสรรคในการทำอาชีพนี้ คือการดูถูกจากผู้คนที่ผ่านไปมา "อาชีพนี้คนเขามองเป็นโจรหมดเลย ไม่มีใครมองเป็นพระเอกนะ แล้วก็เป็นคนบ้า มีสองอย่าง" เขากล่าวอย่างรู้ตัวดีว่าทุกสายตาที่มองมายังเขานั้น บ่งบอกความหมายอะไรบ้าง
"ผมปั่นซาเล้งคุ้ยขยะข้างถนนมา 10 ปีแล้ว ต้องทนจริง ๆ ใจต้องยิ้ม พูดง่าย ๆ ต้องทำใจให้เหมือนกับกระจกเลย คือกระจกมันรับรู้ แต่ไม่ยึดถือครอบครอง คือมันมองเห็นแต่ไม่เก็บภาพ คุณต้องฝึกใจให้ได้ นี่คือการเอาตัวรอด" เขาบอกถึงวิธีเอาตัวรอดในสังคมที่ผู้คนเรียกซึ่งตัวเองว่าเจริญแล้วแสดงออกกับเขา
คำพูดเหล่านี้ทำให้เรารู้ว่า ชายผู้นี้ไม่ได้เป็นเพียงชายเร่ร่อนที่ใช้ชีวิตเพื่ออยู่ไปวัน ๆ เท่านั้น แต่ทุกความคิดของเขา ผ่านการตกผลึกจากร้อยพันตัวหนังสือ ที่ถูกทิ้งขว้างอยู่ในกองขยะที่เขาเก็บ โดยเขาเลือกที่จะเปิดอ่านและจดจำเพื่อเรียนรู้มุมมองใหม่ ๆ ให้กับชีวิต รวมถึงรู้จักปรับใช้อย่างถูกที่ถูกทางเพื่อเอาตัวรอดให้ได้ในสังคม
แม้จะเป็นเพียงชายที่ทำมาหากินอยู่กับกองขยะ แต่พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กลับถูกติดไว้ที่หน้ารถซาเล้งที่ใช้ทำมาหากินของเขามาโดยตลอด เพราะเขาต้องการสื่อคนที่ผ่านไปผ่านมาได้ให้เห็นว่า เขามีความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านขนาดไหน โดยพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่าน เขาไม่ได้ซื้อหามาจากไหน แต่เขาเก็บมาได้ทั้งนั้น ซึ่งเขาจะนำมาเช็ดทำความสะอาด และเก็บสะสม รวมถึงติดเอาไว้หน้ารถเพื่อเป็นสิริมงคล
ในทุก ๆ วัน เขียว มักจะมายืนรอเก็บขยะบริเวณหน้าตลาด เพื่อเป็นคนแรกที่จะได้เลือกขยะกองโต โดยเขาบอกว่ารายได้ของเขาที่เก็บได้ ประมาณ 200 บาทต่อวันก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เนื่องจากเขาไม่ได้เช่าบ้านอยู่ แต่ถ้าหากต้องใช้จ่ายเงินไปกับค่าเช่าบ้าน ก็ยอมรับเลยว่าเงินแค่นี้อาจไม่เพียงพอต่อชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากการคุ้ยขยะของเขียว คือเขาเก็บขยะทื่รื้อค้นเสร็จแล้วอย่างเป็นระเบียบ เพราะกลัวว่าหากเก็บไม่เรียบร้อย จะถูกห้ามไม่ให้มาเก็บขยะอีกต่อไป นี่คือความมีระเบียบภายในสภาพมอมแมมที่หลายคนอาจคิดไม่ถึง
แม้จะเป็นการหารายได้แบบรายวัน แต่เขียวก็ยังคงวางแผนการใช้เงินอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลอย่างปีใหม่ ที่กำลังใกล้เข้ามา เขาบอกว่าเขาต้องหาขยะให้มากขึ้น เพื่อเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายในช่วงปีใหม่ เพราะร้านรับซื้อของเก่าจะหยุดยาวถึง 7 วัน โดยปัจจุบันเขาก็เริ่มมีเงินเก็บสำหรับใช้ในช่วงวันหยุดปีใหม่ถึง 3,000 บาทแล้ว
หลังจากเก็บขยะที่สร้างรายได้หลักให้เขาเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลากลับมาพักผ่อนในจุดประจำ บริเวณตู้โทรศัพท์หน้าสถานทูตออสเตรเลีย แต่เมื่อกลับมาก็พบว่าฝนที่โปรยลงมาทำให้ที่นอนของเขาเปียกโชกไปด้วยน้ำที่เจิ่งนอง เขาจำเป็นต้องเอารองเท้ามาปาดน้ำทิ้งให้หมด เพราะแต่ก่อนเขาเคยมีทั้งไม้กวาด หมอน และผ้าห่ม แต่แม้จะซ่อนไว้อย่างไร อุปกรณ์เหล่านั้นก็ยังอันตรธานหายไปอยู่ดี จนเขาเลือกที่จะไม่เก็บเอาไว้อีกแล้วดีกว่า
แม้ว่าจะกลับมาถึงที่พักแล้ว แต่เขียวก็ยังต้องใช้เวลาไปกับการแยกข้าวของที่เก็บมาได้ และเตรียมปูที่นอนเสียก่อน โดยเขามีรูปในหลวงที่พกติดตัวอยู่จำนวนหนึ่ง ดังนั้นเขาจึงต้องมีมุมสำหรับตั้งรูปในหลวงบริเวณหัวนอนเพื่อกราบไหว้ก่อนนอนและสวดพระคาถาชินบัญชรเพื่อขอพรให้ท่านทุกครั้งด้วย
"นี่แหละลับหลังพระเจ้าอยู่หัวที่เราต้องทำ เราอย่าทำต่อหน้าอย่างเดียว ใครจะว่าสร้างภาพยังไงก็ตาม แต่สำหรับผมนี่คือการกระทำลับหลังพระเจ้าอยู่หัว" เขียวกล่าวด้วยแววตาจริงใจ
สำหรับเขียว แม้ว่าที่ผ่านมาเขาจะเคยใจร้อน ทำตัวสำมะเลเทเมา แต่เมื่อวันหนึ่งที่เขาได้พบกับหนังสือธรรมะที่ช่วยสอนและขัดเกลาจิตใจ ก็ทำให้เขาเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เพราะเขาเชื่อว่าภายในจิตใจลึก ๆ ของเขา มีสีขาวอยู่มากกว่าสีดำ ต่อให้ใครปฏิบัติอย่างไรต่อเขา แต่สีขาวในใจก็ช่วยลบด้านมืดของเขาให้หายไปจนหมดสิ้นแล้ว
เมื่อถึงรุ่งเช้า เขียว เตรียมตัวนำขยะที่เก็บมาได้ไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่าเจ้าประจำ ซึ่งเจ้าของร้านทั้งสองคนก็ให้ความเมตตากับเขามาก โดย นางสุชาดา ชีวชื่น และนายธเนศ ชีวชื่น เจ้าของร้านรับซื้อของเก่าเล่าว่า ชายคนนี้เคยมาบอกว่าเขามีแต่รถเข็น ไม่มีรถซาเล้งอยากให้เจ๊ช่วยเหลือเขาหน่อยได้ไหม นางสุชาดาจึงให้รถซาเล้งกับเขาไป และขอให้เขาเอาไปทำมาหากินจริง ๆ
ซึ่งผลจากความมีเมตตาของเจ๊ ทำให้เขียวสามารถมีอาชีพและใช้ชีวิตได้มาจนถึงปัจจุบัน และนั่นทำให้เจ๊ได้รู้จักเขามากขึ้น ว่าที่จริงแล้วเขียวเองก็เป็นคนดีไม่แพ้ใคร เพราะทุกครั้งที่เจ๊เผลอจ่ายเงินเกินไม่ว่าจะแค่ 20 หรือ 500 บาท แต่เขียวก็นำเงินกลับมาคืนทุกครั้ง เพราะเขาบอกว่าเงินนั่นไม่ใช่ของเขา ทำให้เจ้าของร้านทั้งสองคนรู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจของเขามาก ว่าคนแบบนี้ก็ยังมีเหลืออยู่ในสังคม
ส่วน เขียว เอง ก็สำนึกในบุญคุณของเจ้าของร้านขายของเก่าเช่นกัน เขายืนยันว่าไม่ว่าเขาจะยางแตก ยางรั่วอยู่ไกลแค่ไหน แต่เขาก็ยังดิ้นรนเอาของเก่ามาขายให้ร้านนี้ร้านเดียวเท่านั้น "เพราะเขาดีกับเรา ให้รถเรามาหากิน สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำ คือมีความซื่อสัตย์ต่อเขา" เขียวกล่าว
เมื่อนำของเก่าไปขายเสร็จสิ้นแล้ว เขียวจะไปอาบน้ำให้หายเหนื่อยที่สวนลุมพินี ก่อนที่จะกลับมานั่งกินอาหาร อ่านหนังสือ จิบกาแฟ และกลับไปอาบน้ำอีกรอบประมาณบ่ายสองโมง เพื่อเตรียมตัวออกไปเก็บขยะในช่วงเย็น โดยชุดประจำของเขาคือเสื้อผ้าลายธงชาติไทย พร้อมกับเสื้อคลุมที่ปัก "Long Live The King" ซึ่งเขาปักเสื้อทุกตัวให้เป็นแนวนี้เหมือนกันหมด แต่ก็ต้องใช้เวลาเก็บเงินยาวนานเป็นเดือน และเคยใช้เวลานานที่สุดถึง 3 เดือนในการเก็บเงินเพื่อปักเสื้อเลยทีเดียว เพราะเขาบอกว่าทุก ๆ ลวดลายบนเสื้อผ้าของเขาล้วนเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของแผ่นดินที่ทำให้เขาฉุกคิดได้ว่า เพราะอะไรแผ่นดินนี้ถึงไม่มีใครเอาไปได้ จึงทำให้เขาอยากแสดงออกให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้เห็นว่า เราควรจะยกย่องสรรเสริญคุณงามความดี ของสถาบันพระมหากษัตริย์และแผ่นดินของเราอย่างไร
สำหรับเขียวถ้าหากนำพระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่หัวที่เขาสะสมไว้มาวางเรียงกัน จะสามารถต่อกันได้กว้างราวกับแผ่นผ้าผืนใหญ่ เขาบอกว่าพระบรมฉายาลักษณ์บางชิ้นถูกใส่กรอบเอาไว้แต่กลับมีคนนำมาทิ้งเพียงเพราะแค่กระจกแตก เขาจึงเก็บรวบรวมเอาไว้ และลงมือซ่อมแซมพระบรมฉายาลักษณ์ที่ชำรุดเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่พระบรมฉายาลักษณ์ที่เขาเก็บสะสมไว้จะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์จากปฏิทินที่ถูกนำมาทิ้งเมื่อหมดปี เขียวบอกว่า พระบรมฉายาลักษณ์ที่เห็นนำมาเรียงในรายการเป็นเพียงแค่ 1 ใน 10 ที่เขาสะสมไว้ โดยส่วนที่เหลือเขาแบ่งให้คนอื่นเอาไปบูชา ทั้งนี้ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เขาเก็บสะสมพระบรมฉายาลักษณ์ พระเจ้าอยู่หัวเอาไว้หลายร้อยชิ้นเลยทีเดียว
"จะทดแทนบุญคุณพระองค์ได้ เราควรเคารพบูชา เพราะเราอาศัยแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวอยู่" เขียวยืนยันว่าของสะสมเหล่านี้จะอยู่คู่กับเขาไปจนกว่าเขาจะตาย
และนี่คือเรื่องราวของชายผู้ซึ่งมีภาพลักษณ์ไม่สวยงามน่ามอง ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในมุมเล็ก ๆ ของบ้านหลังใหญ่ที่เรียกว่าประเทศไทยแห่งนี้ โดยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าแผ่นดิน พร้อมทั้งยืนยันว่าแม้ใครจะมองว่าเขาเป็นเพียงแค่คนเร่ร่อนที่ดูคล้ายคนบ้า แต่เขาก็จะไม่โกรธ และยังคงเดินหน้าทำมาหากินด้วยการเก็บขยะขายต่อไป รวมถึงจะแสดงออกถึงความรักที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัว ตราบเท่าที่เขายังมีลมหายใจอยู่ แม้จะไม่มีใครมองเห็นหัวใจที่ดีงามของเขาก็ตาม ..
จาก http://hilight.kapook.com/view/79218
รายการ คนค้นฅน ร่วมถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงนำเสนอเรื่องราวชีวิตของ “ศิริธร โยธิน” หรือ “ เขียว” อดีตคนเก็บขยะวัย 49 ปี ผู้เคยใช้ชีวิตเร่ร่อน ไร้ที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ต้องอาศัยหลับนอนตามริมนอนแถวหน้าอาคารอื้อจือเหลียง เขียวเป็นคนเก็บขยะที่รักและเทิดทูนในหลวงเยี่ยงชีวิตและน้อมนำหลักธรรมคำสอนมาใช้ในการดำเนินชีวิต เขาเริ่มสะสมรูปภาพของในหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่เริ่มประกอบอาชีพเก็บขยะ เพราะตั้งแต่เริ่มทำอาชีพนี้เขาพบว่ามีผู้คนจำนวนมากที่ทิ้งรูปในหลวงลงถังขยะ เขาจึงเก็บทุกอย่างที่เป็นรูปในหลวงไม่ว่าจะเป็นแสตมป์ ปฎิทิน โปสเตอร์ เศษกระดาษฯลฯ ซึ่งไม่ว่าจะเลอะเปรอะเปื้อน หรือจะเก่าขนาดไหน แต่สำหรับเขารูปเหล่านี้คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขาเคารพเทิดทูนและมีคุณค่าต่อจิตใจของเขาเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาชีวิตของเขาจะโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไร้ซึ่งอนาคต แต่เมื่อเขามีในหลวงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ทำให้เขาดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและบอกกับตัวเองว่าเขาจะเป็นคนดีคนหนึ่งของสังคม ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และจะแบ่งปันแก่ผู้อื่นตามกำลังของตน
‘คนค้นฅน’ สัปดาห์นี้เป็นเรื่องราวที่เคยออกอากาศไปแล้วเมื่อวันที่ 4และ 11 ธันวาคม 2550 ในตอนที่ชื่อว่า ‘ภาพในหลวงในดวงใจ’เราจะร่วมย้อนกลับไปรำลึกถึงเรื่องราวนี้กันอีกสักครั้งกับเรื่องราวของช่างภาพคนหนึ่งที่ชื่อว่า อนุชัย ศรีจรูญพู่ทองช่างภาพโฆษณาที่คนในวงการให้การยอมรับว่าเป็นช่างภาพระดับแถวหน้าของเมืองไทย ได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้วมากมายและเป็นหนึ่งในช่างภาพที่ร่วมบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของปวงชน ชาวไทย ในงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 9-13 มิถุนายน 2549 และยังเคยจัดแสดงภาพถ่ายขาวดำจำนวนทั้งสิ้น 81 ภาพ ในงานนิทรรศการที่มีชื่อว่า “ภาพเล่าเรื่อง พระเจ้าอยู่หัวในดวงใจ” ในปี 2550 เพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลฉลองพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเขาใช้เวลาไปกว่า 3 ปี ในการเดินทางไปทั่วทั้ง 76 จังหวัดเพื่อบันทึกภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่อยู่ในบ้านเรือนของคนไทยทั่วประเทศภาพบางภาพถูกจัดวางไว้ที่หิ้งบูชาเพื่อเคารพสักการะภาพบางภาพแขวนไว้ที่ฝาผนัง ในยุ้งฉาง บนหัวนอน บนโต๊ะทำงานและที่สำคัญที่สุดภาพแต่ละภาพนั้นเป็นเสมือนสมบัติอันล้ำค่าของบ้านแต่ละหลังภาพหนึ่งภาพสามารถแทนความหมายมากมายนับพันภาพแต่ละภาพที่อยู่ในบ้านแต่ละหลังนั้นมีค่าและมีความหมายในดวงใจของคนไทยนับล้านๆ ดวง
มีเรื่องราวความประทับใจความทรงจำอะไรบ้างที่ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของคนไทยทั้งประเทศที่มีความรู้สึกรักและเทิดทูนต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9ของพวกเขามากเพียงใด ร่วมเดินทางไปกับ อนุชัย ศรีจรูญพู่ทองเพื่อบันทึกภาพและเรื่องราว ความรักความผูกพันของคนไทยทั้งประเทศที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถิตเหนือเกล้าชาวไทย‘คนค้นฅน’ สัปดาห์นี้เป็นเรื่องราวที่เคยออกอากาศไปแล้วเมื่อวันที่ 4และ 11 ธันวาคม 2550 ในตอนที่ชื่อว่า ‘ภาพในหลวงในดวงใจ’เราจะร่วมย้อนกลับไปรำลึกถึงเรื่องราวนี้กันอีกสักครั้ง กับเรื่องราวของช่างภาพคนหนึ่งที่ชื่อว่า อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง ช่างภาพโฆษณาที่คนในวงการให้การยอมรับว่าเป็นช่างภาพระดับแถวหน้าของเมืองไทย ได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้วมากมายและเป็นหนึ่งในช่างภาพที่ร่วมบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของปวงชนชาวไทย ในงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 9-13 มิถุนายน 2549 และยังเคยจัดแสดงภาพถ่ายขาวดำจำนวนทั้งสิ้น 81 ภาพ ในงานนิทรรศการที่มีชื่อว่า “ภาพเล่าเรื่อง พระเจ้าอยู่หัวในดวงใจ” ในปี2550 เพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลฉลองพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเขาใช้เวลาไปกว่า 3 ปี ในการเดินทางไปทั่วทั้ง 76 จังหวัด เพื่อบันทึกภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่อยู่ในบ้านเรือนของคนไทยทั่วประเทศ
ภาพบางภาพถูกจัดวางไว้ที่หิ้งบูชาเพื่อเคารพสักการะภาพบางภาพแขวนไว้ที่ฝาผนัง ในยุ้งฉาง บนหัวนอน บนโต๊ะทำงานและที่สำคัญที่สุดภาพแต่ละภาพนั้นเป็นเสมือนสมบัติอันล้ำค่าของบ้านแต่ละหลังภาพหนึ่งภาพสามารถแทนความหมายมากมายนับพันภาพแต่ละภาพที่อยู่ในบ้านแต่ละหลังนั้นมีค่าและมีความหมายในดวงใจของคนไทยนับล้านๆ ดวง มีเรื่องราวความประทับใจความทรงจำอะไรบ้างที่ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของคนไทยทั้งประเทศที่มีความรู้สึกรักและเทิดทูนต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ของ พวกเขามากเพียงใด ร่วมเดินทางไปกับ อนุชัย ศรีจรูญพู่ทองเพื่อบันทึกภาพและเรื่องราว ความรัก ความผูกพันของคนไทยทั้งประเทศที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถิตเหนือเกล้าชาวไทย
ติดตามข่าวสารทีวีบูรพาเพิ่มเติมได้ที่
http://tvburabha.com/
https://www.facebook.com/tvburabha
https://instagram.com/tvburabha
https://www.facebook.com/kontvburabha
จาก http://tvburabha.com/program/view/2822