ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2016, 12:37:18 am »




อีกหนึ่งพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น ของ “ในหลวง รัชกาลที่ 9” ที่ทรงมีต่อพสกนิกรผู้เจ็บไข้ได้ป่วย

      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานสิ่งจำเป็นเพื่อให้ราษฎรของพระองค์ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งด้านที่อยู่อาศัย การเกษตรกรรม การทำมาหาเลี้ยงชีพ น้ำดื่มน้ำใช้ อาหาร การศึกษา และการสาธารณสุข ดังเป็นที่ปรากฏชัดตลอด 70 ปี แห่งการครองราชย์
       
      นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชสมภพในราชสกุลที่ผูกพันกับงานด้านการแพทย์การสาธารณสุข นับตั้งแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อีกทั้งสมเด็จฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ที่ทรงมีคุณูปการต่องานด้านการแพทย์การสาธารณสุขอย่างมาก
       
       พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้มีพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับงานด้านนี้เป็นจำนวนมาก เช่น เรื่องการควบคุมโรคติดต่อ ทั้งโรคเรื้อน วัณโรค หรือแม้แต่โรคโปลิโอ
       
      • โครงการควบคุมโรคเรื้อน สู่ “สถาบันราชประชาสมาสัย” พระราชาและประชาชนย่อมพึ่งพาอาศัยกัน

       ดังเช่นการจัดตั้งสถาบันราชประชาสมาสัย ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นมีอัตราผู้ป่วยโรคเรื้อนสูงกว่าภาคอื่นๆ จึงทรงสนพระราชหฤทัยในโครงการทดลองควบคุมและบำบัดโรคเรื้อนของกระทรวงสาธารณสุข และทรงรับโครงการควบคุมโรคเรื้อนของกระทรวงสาธารณสุขไว้เป็นโครงการในพระราชดำริ โดยให้เร่งรัดอบรมบุคลากร ค้นหาผู้ป่วยมารักษา พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้างอาคารวิจัยและฝึกอบรมวิชาโรคเรื้อน แล้วพระราชทานนามว่า “สถาบันราชประชาสมาสัย” พร้อมรับกองทุนราชประชาสมาสัย มาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และยกขึ้นเป็น “มูลนิธิราชประชาสมาสัย” ทรงอธิบายความหมายของคำว่า “ราชประชาสมาสัย” ว่าหมายถึง “พระราชาและประชาชนย่อมพึ่งพาอาศัยกัน”
       
       นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระราชดำรัสให้ดูแลลูกของผู้ป่วยโรคเรื้อน รวมไปถึงลูกของผู้ป่วยโรคเอชไอวี/เอดส์ด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นที่มีต่อผู้ป่วยโรคเรื้อน
       
       นพ.โสภณกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โรคเรื้อนในประเทศไทย ขณะนี้มีแนวโน้มลดลงมาก และประเทศไทยสามารถดำเนินงานควบคุมโรคเรื้อนได้บรรลุเป้าหมาย และไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2537
       
       ในเฟซบุ๊คของสถาบันราชประชาสมาสัย ได้โพสต์ภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทาน "เข็มศิลปวิทยา และเหรียญดุษฎีมาลา (สาขาแพทยศาสตร์)" แก่นายแพทย์ธีระ รามสูต ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532 พร้อมพระราชดำรัส ความว่า
       
      "หมอก็ได้อุทิศตนศึกษา ค้นคว้า ทุ่มเท ทำงานจนเป็นที่ประจักษ์ และส่งให้วิทยาการและโรคเรื้อนลดปัญหาลงชัดเจน ฉันหวังว่าหมอคงจะยังไม่เหนื่อยและหยุดยั้งแค่นี้ ขอให้ช่วยศึกษา ทำงานแก้ปัญหาด้านโรคติดต่อและงานสาธารณสุขอื่นๆต่อไปอีก ขอให้มีพลังกาย พลังใจเข้มแข็ง และเจริญก้าวหน้าต่อไป"
       
       • “โครงการเจลลี่โภชนา” พระมหากรุณาธิคุณต่อผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก

       พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้น ไม่เว้นแม้ในยามที่พระองค์ทรงพระประชวร ดัง “โครงการเจลลี่โภชนา” และ “โครงการน้ำลายเทียม”
       
       ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อดีตผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเคยกำกับดูแลโครงการดังกล่าว ได้เคยเล่าให้นิตยสารธรรมลีลา ฟังว่า
       
       มูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ออกทุนให้สถาบันโภชนาการทำโครงการเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งทางสถาบันฯสนใจที่จะทำอาหารเจลสำหรับผู้ป่วยที่กลืนอาหารไม่ได้ จึงได้เกิดเป็นโครงการนี้ขึ้นมา
       
       โดยเจลลี่โภชนาสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยอัมพาต โรคในช่องปาก โรคมะเร็งในช่องปาก โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งในช่องปาก เนื่องจากเป็นกลุ่มแรกที่มีปัญหาเรื่องการกลืนอาหาร เพราะกระบวนการรักษาโรคมะเร็งช่องปากในปัจจุบัน ต้องใช้วิธีการผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสี ซึ่งมีผลให้ผู้ป่วยประสบปัญหาความพิการของอวัยวะบดเคี้ยว และมักทำให้เกิดแผลในช่องปาก รวมถึงปัญหาต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายได้น้อยลง
       
       ปัจจัยเหล่านี้มีผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้สะดวก และอาจจำเป็นต้องพึ่งพาการรับประทานอาหารทางสายยาง ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปากมักต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนานกว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดอื่น และยังมีผลต่อคุณภาพชีวิตจากการที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปากมักมีอาการขาดอาหาร ซึ่งมีผลต่อเนื่องกับประสิทธิภาพในการรักษา
       
       เจลลี่โภชนาเป็นอาหารเจลที่ถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบการฆ่าเชื้อในระบบยูเอชที (Ultra Heat Treatment) และบรรจุในกล่องปลอดเชื้อที่สามารถเปิดบริโภคได้ง่าย มีลักษณะนุ่มลื่น ผู้ป่วยสามารถเคี้ยวและกลืนได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ มีคุณค่าโภชนาการที่เหมาะสม โดยสัดส่วนของพลังงานที่ได้มีทั้งจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน นอกจากนี้ ยังมีโปรตีนที่มีคุณภาพดี และมีอายุการเก็บรักษายาวนานถึง 1 ปี
       
       มีรสชาติที่หลากหลายถึง 9 รสชาติ ทั้งในรูปอาหารคาวและหวาน เช่น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ข้าวหอมมะลิ ข้าวมันไก่ มะม่วง ชานม ลิ้นจี่ แต่รสชาติที่ได้ถูกนำไปผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ป่วยทั่วประเทศนั้นมีเพียง 2 รสชาติ คือ รสมะม่วงและรสชานม
       
       ศ.ดร.วิสิฐ เล่าว่า เมื่อแรกผลิตออกมา 8-9 รสชาติ ก็นำไปถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
       
       “คือพระองค์ทรงมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหารเหมือนกัน เพราะทรงเสวยพระโอสถโรคหัวใจเยอะ สูตรที่ทำถวายพระองค์ท่านนั้น เราผลิตออกมาไม่มาก ไม่ได้ทำเป็นอุตสาหกรรม พระองค์เสวยแล้วก็ทรงมีพระราชวินิจฉัย
       
       พระองค์ตรัสว่า “รสต้มยำกุ้งเนี่ยฉันชอบมาก” แต่รสก๋วยเตี๋ยวไก่พระองค์ไม่โปรด ตรัสว่าน่าจะทำรสข้าวมันไก่ดีไหม เจลข้าวมันไก่มันจะได้หอมขึ้นหน่อย เราก็นำมาผลิตตามที่พระองค์พระราชทานคำแนะนำ
       
       ที่สำคัญพระองค์พระราชทานข้อคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ป่วยว่า “จำไว้นะ เวลาทำอาหารให้คนป่วย เรื่องรสชาติเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเขาป่วยด้านร่างกายแล้ว จิตใจต้องดี ถ้าเราทำอาหารที่ไม่อร่อยไปให้ จิตใจเขาจะแย่ มันเป็นการซ้ำเติมผู้ป่วย” จะเห็นได้ว่า พระองค์ทรงพระอัจฉริยภาพมาก ขนาดตอนนั้นทรงพระประชวรอยู่นะ แล้วพระองค์ก็ทรงห่วงใยผู้ป่วยมากด้วย”
       
       ไม่เพียงแต่เรื่องรสชาติ พระองค์ยังได้พระราชทานคำแนะนำเรื่องบรรจุภัณฑ์ว่า กล่องที่นำมาให้ทอดพระเนตรนั้น มีลักษณะคล้ายกล่องนม ถ้าในอนาคตมีการนำไปจำหน่ายในศูนย์การค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ต คนซื้อก็จะต้องเขย่า ซึ่งทำให้เจลแตก แล้วไม่มีใครอยากกิน พระองค์จึงตรัสถามว่า “ใส่กระป๋องได้ไหม”
       
       เมื่อ ศ.ดร.วิสิฐ ทูลว่าผลิตภัณฑ์นี้ใส่กระป๋องไม่ได้ พระองค์จึงได้พระราชทานคำแนะนำว่า “เอาอย่างนี้สิ ทำฉลากเป็นแนวนอน พอกล่องเป็นแนวนอนคนก็จะไม่เขย่า”
       
       อาหารพระราชทาน “เจลลี่โภชนา” นี้ นอกจากกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งแล้ว คนทั่วไปก็รับประทานได้ เช่น ผู้สูงอายุ ซึ่งไม่มีฟันบดเคี้ยว ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมซึ่งกล้ามเนื้อบดเคี้ยวทำงานไม่ดี ผู้ป่วยผ่าตัดขากรรไกร ซึ่งจะไม่สามารถอ้าปากได้ปกติ ผู้ป่วยระหว่างรับการรักษาทันตกรรมจัดฟัน หรือรักษารากฟันที่เคี้ยวไม่ได้ เนื่องจากเจ็บฟัน ผู้ป่วยที่เป็นแผลในปาก ผู้ที่เป็นหวัดแล้วเจ็บคอ และผู้ป่วยที่สูญเสียฟัน
       
       • “โครงการน้ำลายเทียม” น้ำพระทัยเพื่อผู้ป่วยยากไร้

      “โครงการน้ำลายเทียม” เป็นอีกหนึ่งโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งสถาบันโภชนาการก็ได้ร่วมกับมูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำลายเทียมจากต่างประเทศที่มีราคาแพง โดยแจกจ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการผลิตน้ำลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพในช่องปากที่ดีขึ้น
       
       ศ.ดร.วิสิฐ เล่าว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระทัยเรื่องน้ำลายเทียมมากเช่นกัน เพราะพระองค์ก็ทรงใช้น้ำลายเทียม เนื่องจากเสวยพระโอสถรักษาโรคหัวใจ ทำให้น้ำลายแห้ง และทรงเห็นว่า ปัจจุบันไทยต้องนำเข้าน้ำลายเทียมจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพงมาก ทำให้ผู้ป่วยที่ยากไร้ได้รับความลำบาก อีกทั้งยังมีสารกันบูด ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้ป่วย
       
       ขณะเดียวกันก็พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีปัญหาต่อมผลิตน้ำลายไม่สามารถผลิตน้ำลายได้ เนื่องจากผลกระทบจากโรคมะเร็งช่องปาก โรคเกี่ยวกับหลอดคอ กล่องเสียง และการกินยารักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ทำให้ต่อมน้ำลายถูกทำลาย ทำให้น้ำลายแห้ง จึงจำเป็นต้องใช้น้ำลายเทียม ซึ่งหากคนไข้ไม่มีน้ำลาย จะกลืนอาหารลำบาก แสบคอ พูดไม่ชัด และทรมานมาก
       
       พระองค์จึงทรงรับสั่งให้สถาบันฯศึกษาวิจัยเรื่องการผลิตน้ำลายเทียม ซึ่งได้มีการวิจัยและผลิตน้ำลายเทียม โดยเป็นน้ำลายเทียมที่ไม่มีสารกันบูด และมีราคาถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศมาก เมื่อนำน้ำลายเทียมที่ผลิตขึ้นมานั้น ไปทดลองใช้กับคนไข้ ก็ปรากฏว่าได้ผลดีมาก
          
       ปัจจุบัน โครงการน้ำลายเทียม ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และได้ผลสัมฤทธิ์เป็นสูตรต้นแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจล ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ว่า “วุ้นชุ่มปาก (Oral Moisturizing Jelly)” มี 2 รส คือ รสมะนาว และรสสตรอว์เบอร์รี่
       
       (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 191 พฤศจิกายน 2559 โดย กองบรรณาธิการ)

จาก http://astv.mobi/Aow54Ny