ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2016, 12:31:11 am »


อ่านแล้วขนลุก..ที่มาของบทเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด



<a href="https://www.youtube.com/v/ks10rLDb-wY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/ks10rLDb-wY</a>

ขอขอบคุณ โครงการคีตราชนิพนธ์ บทเพลงในดวงใจราษฎร์ ช่อง Keetaraja

เนื้อเพลง

ขอฝันใฝ่ ในฝันอันเหลือเชื่อ ขอสู้ศึก ทุกเมื่อ ไม่หวั่นไหว

ขอทนทุกข์ รุกโรมโหมกายใจ ขอฝ่าฟัน ผองภัย ด้วยใจทะนง

จะแน่วแน่แก้ไข ในสิ่งผิด จะรักชาติ จนชีวิต เป็นผุยผง

จะยอมตาย หมายให้ เกียรติดำรง จะปิดทอง หลังองค์ พระปฏิมา

ไม่ท้อถอย คอยสร้าง สิ่งที่ควร ไม่เรรวน พะว้าพะวัง คิดกังขา

ไม่เคืองแค้น น้อยใจ ในโชคชะตา ไม่เสียดาย ชีวา ถ้าสิ้นไป

นี่คือ ปณิธาน ที่หาญมุ่ง หมายผดุง ยุติธรรม อันสดใส

ถึงทนทุกข์ ทรมาน นานเท่าใด ยังมั่นใจ รักชาติ องอาจครัน

โลกมนุษย์ ย่อมจะดี กว่านี้แน่ เพราะมีผู้ ไม่ยอมแพ้ แม้ถูกหยัน

ยังคงหยัด สู้ไป ใฝ่ประจัญ ยอมอาสัญ ก็เพราะปอง เทิดผองไทย




ที่มาของเพลง

พล.ต.ต. เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน รอง ผบ.ตำรวจตระเวนชายแดน ได้เล่าประวัติความเป็นมา ของเพลงพระราชนิพนธ์เพลงนี้ไว้ในหนังสือ “วารสารลูกเสือชาวบ้าน” ของ มานพ ลิ้มจรูญ ฉบับปฐมฤกษ์ ซึ่งผมขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อว่า

เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ ได้เสด็จฯ ไปในงานพระราชพิธีสังเวยดวงวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติเป็นประจำทุกปี

สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ นี้ ได้เสด็จฯ ไปที่ ต.แม่อาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นสถานที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เสด็จฯ มาตั้งค่ายพักแรม ณ ที่นี้ก่อนยกทัพเข้าไปตีเมือง ซึ่งยังปรากฏร่องรอยรั้วป้อมค่ายต่างๆ อยู่

และในปัจจุบันนี้ รัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จนเรศวรมหาราชทรงช้างต้น และได้จำลองค่ายที่ประทับแรมจินตนาการ และร่องรอยที่ปรากฏอยู่ตามสภาพจริง

หลังจากเสร็จพระราชพิธี เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๕ แล้วเสด็จฯ กลับประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ในคืนนั้น ก่อนรุ่งสว่าง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงสุบินนิมิตว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จฯ มาปรากฏพระองค์ขึ้น ที่หน้าพระแท่นบรรทม

ในพระสุบินนิมิต สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้กราบถวายบังคม โดยที่ทรงทราบจาก พระวรกายและฉลองพระองค์ทรงเครื่องออกศึกว่า คือ องค์พระนเรศวรมหาราช

และได้มีกระแสพระราชดำรัส แก่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า พระองค์ท่านปัจจุบันนี้ ดวงพระวิญญาณยังอยู่ในประเทศไทย เพราะทรงเป็นห่วงบ้านเมือง ประชาชนคนไทย ยังไม่ได้ไปประสูติใหม่ ณ ที่ใดเลย


และที่มาปรากฏในสุบินนิมิตนี้ ก็เพื่อจะทรงเตือนว่า ในอนาคตต่อจากนี้ไป บ้านเมืองไทยจะประสบกับความวุ่นวายยุ่งยาก และความมืดมนยิ่งขึ้น อย่างน่ากลัวอันตราย เหมือนกับที่เกิดขึ้นในสมัยพระองค์ท่าน (อนาคตนั้นก็น่าจะเป็น สมัยปัจจุบันนี้เอง -ผู้เรียบเรียง)

ขอให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นกำลังพระทัยถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน เพื่อที่จะได้ทรงนำประชาชน และชาติไทยฝ่าฟันอุปสรรคทั้งปวง ให้ผ่านพ้นไปได้

และพระองค์ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน จักเป็นผู้นำให้ชาติไทยและประชาชนชาวไทย ผ่านพ้นห้วงวิกฤตินี้อย่างแน่นอน และพระองค์ท่านจะเสด็จฯ ติดตามช่วยเหลืออยู่ตลอดไป

และขอให้ทั้งสองพระองค์ ได้ทรงให้กำลังใจแก่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ ที่เขาเหล่านั้น ไม่มีโอกาสเข้าใกล้ถวายงานโดยใกล้ชิด แต่เป็นประชาชนที่ยึดมั่นในพระองค์ท่าน โดยไม่เคยแสดงตัวออกมาให้ปรากฏ เหมือนกับการทำบุญปิดทองหลังองค์พระปฏิมา และเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะถวายชีวิต เพื่อพระองค์ท่านและชาติไทย

จึงทรงขอให้รวบรวมชาวไทยผู้รักชาติเหล่านั้น และสนับสนุนให้เขาได้มีกำลังใจเพื่อรักษาชาติบ้านเมืองไว้

ในพระสุบินนิมิตนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า พระองค์ทรงสะดุ้งพระองค์ตื่นจากที่บรรทม และทรงประทับนั่งก็ยังทรงทอดพระเนตรเห็น องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชปรากฏอยู่ จึงทรงปลุกพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปรากฏให้ทั้งสองพระองค์ทอดพระเนตรเห็นชั่วครู่ ก็เสด็จฯ ไป เมื่อทั้งสองพระองค์ได้ทรงถวายบังคมแล้ว


และจากพระสุบินนี้เอง ทั้งสองพระองค์จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ เพลงความฝันอันสูงสุดนี้ขึ้น และได้พิมพ์เพลงพระราชนิพนธ์นี้ พระราชทานแก่ ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน ที่ออกปฏิบัติหน้าที่ ป้องกันอธิปไตยของชาติโดยทั่วหน้า

และได้โปรดเกล้าฯ ให้คุณทนงศักดิ์ ภักดีเทวา และคุณจินตนา สุขสถิตย์ ร้องเพลงนี้ สอนให้แก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน เป็นครั้งแรกที่ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ก่อนที่จะแพร่หลายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา…..




ลิขสิทธิ์ในบทเพลงทั้งหมดเป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ที่มา : http://account.payap.ac.th/song/dream.html








จาก http://www.chaoprayanews.com/2016/10/25/ อ่านแล้วขนลุก-ที่มาของบ/