ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2016, 01:45:37 am »



รู้จัก “วัดของพ่อ” วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


        วัดเป็นสถานที่ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของบุคคลทั่วไปตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้วัดยังเป็นที่ประกอบศาสนพิธีของคนทุกชนชั้น ตั้งแต่บุคคลธรรมดาทั่วไป จนถึงระดับพระมหากษัตริย์ ซึ่งวัดถือเป็นศูนย์รวมของทุกคน การสร้างวัดจึงต้องสร้างวัดให้มีความสวยงามน่าสนใจเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจให้ผู้คนอยากเข้าวัดทำบุญ ซึ่งในแต่ละยุคแต่ละสมัยของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ก็ได้มีการทำนุบำรุงวัดต่างๆ รวมถึงสร้างวัดขึ้นมาในแต่ละรัชกาล

 

วัดประจำรัชกาลที่ ๙

            “วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก” เป็นวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริเริ่มแรกของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙  ที่ทรงให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ เริ่มมาจากที่แต่ก่อนนี้ชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ นี้ ต้องประสบกับปัญหาน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งน้ำในคลองนั้นเป็นน้ำที่ไหลมาจากคลองรังสิต ผ่านสะพานใหม่ดอนเมือง บางซื่อ สามเสน และมารวมที่คลองลาดพร้าว ก่อนที่จะไหลลงคลองแสนแสบต่อไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงมีพระราชดำริให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยวิธีการเติมอากาศที่บึงพระราม ๙ ซึ่งเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  จากแนวพระราชดำรินี้เองทำให้ชาวชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น

          ต่อมาได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมให้ทำการปรับปรุงพื้นที่และพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม ๙ และมีพระราชประสงค์ให้ดำเนินการจัดตั้งวัดขึ้นในบริเวณชุมชนบึงพระราม ๙ เพื่อเป็นทั้งพุทธสถานในการประกอบกิจของพระสงฆ์ในการสืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของราษฎรในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม ๙ ร่วมกับทางโรงเรียนหรือส่วนราชการต่าง ๆ





วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

            เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วัดนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากวัดอื่นหลายประการ ที่สังเกตเห็นได้ชัดก็คือวัดนี้เป็นวัดขนาดเล็ก ใช้งบประมาณอย่างประหยัด และเรียบง่ายที่สุด โดยยึดหลักความพอดีและพอเพียงเป็นพื้นฐาน เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวัดนี้คือ อาคารทุกหลังจะทาด้วยสีขาวทั้งหมด เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ สะอาด สวยงาม
 

รูปแบบทางศิลปกรรม

           “พระอุโบสถ” วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ถือว่าเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาปฏิบัติธรรม หรือมาร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำคัญของชาติ นับว่าเป็นพระอุโบสถเพียงวัดเดียวในกรุงเทพมหานคร ที่ปลูกสร้างแบบสมัยใหม่ เป็นการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยโบราณกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เน้นความเป็นเฉพาะตัวในแบบอย่างสถาปัตยกรรมปัจจุบัน โดยได้ต้นเค้าของการออกแบบพระอุโบสถมาจากพระอุโบสถ ๓ แห่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่

           พระอุโบสถ วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ในเรื่องรูปเสาของพระอุโบสถสำหรับความเรียบง่าย

           ส่วนมุขประเจิดจำลองแบบมาจาก พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม

          และได้นำเอาต้นแบบในการผูกลายปูนปั้นประดับหน้าบันมาจาก พระอุโบสถ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี วัสดุก่อสร้างทั้งหมดเป็นของที่ผลิตภายในประเทศ

          โครงสร้างพระอุโบสถ หลังคาพระอุโบสถมุงกระเบื้องทำด้วยแผ่นเหล็กสีขาว องค์ประกอบเครื่องบนหลังคาเป็นปูนปั้นลายดอกพุดตาน ประดับหน้าบันด้วยลายปูนปั้น สำหรับการประดับ ตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ ที่หน้าบันพระอุโบสถนั้น เป็นพระราชกระแสรับสั่งในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและแสดงถึงพระราชอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์ รวมถึง เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกอีกด้วย



พระประธานในพระอุโบสถ

             สำหรับพระประธานที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเลือกแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางชนะมาร) จากการออกแบบเสนอโดย “นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น” อธิบดีกรมศิลปากร (ในขณะนั้น) และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ทั้งหมด ๗ แบบ โดยพระองค์ทรงแก้ไขแบบเล็กน้อยด้วยพระองค์เอง





       พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์นี้ มีลักษณะแบบรัตนโกสินทร์ มีขนาดความสูงจากทับเสร็จ (หน้ากระดาน) ถึงปลายรัศมี ๑๘๐ เซนติเมตร ขนาดหน้าพระเพลา ๑๒๐ เซนติเมตร โดยมีพระพุทธสาวกเบื้องซ้าย และเบื้องขวาของพระประธาน ฐานชุดชีทำด้วยหินอ่อน ส่วนองค์พระพุทธรูปทำด้วยทองเหลือผสมทองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างอุดมคติ และเหมือนจริงด้วยการห่มจีวรแบบพระสงฆ์ แต่มีพระเกศาแบบอุดมคติ สวยงาม กลมกลืนและปราณีตยิ่งนัก และทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธกาญจนธรรมสถิต





วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ตั้งอยู่เลขที่ 999 ซอยพระราม 9 กาญจนาภิเษก 19 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

 

จาก  http://dichan.mthai.com/story/9985.html

https://watthaithai.wordpress.com/category/ วัดประจำรัชกาล/

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19317

https://th.wikipedia.org/wiki/ วัดพระราม_๙_กาญจนาภิเษก