ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2016, 05:19:26 am »ตามรอยพระราชา สารคดีมุทิตาจิต สรรเสริญพระบารมี “พ่อของแผ่นดิน”
60 ปีมาแล้วที่รอยพระบาทของพระราชา ได้ประทับไว้บนแผ่นดินไทยทุกหนแห่ง ไม่เว้นแม้ดินแดนทุรกันดารอันห่างไกลที่ไม่เคยมีใครย่างกรายไปถึง ภาพของพระราชาผู้เป็นมหาราชของปวงชนชาวไทย ผู้ได้ละทิ้งซึ่งความสุขสบายเพื่ออุทิศพระวรกาย อุทิศพระชนมายุ และอุทิศพระราชหฤทัยของพระองค์ ทุ่มเทลงเพื่อปัดเป่าความทุกข์ และบำรุงความสุขของพสกนิกรทั้งแผ่นดิน จึงเป็นภาพที่ประทับอยู่ในความทรงจำของคนไทยอย่างไม่รู้ลืม ไม่ใช่แค่เพียงคนไทยเท่านั้นที่พระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พลิกฟื้นจนสามารถลุกขึ้นยืนหยัดอยู่บนลำแข้งของตัวเอง แต่ยังได้แผ่ปกไปถึงกลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร 40 ปีมาแล้วที่พระราชกรณียกิจอันเหนื่อยยากของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนขุนเขาที่เคยปกคลุมไปด้วยไร่ฝิ่นนับหมื่นไร่ ซึ่งในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตฝิ่นได้ถึงปีละ 200 ตัน ให้กลายเป็นที่ทำกินของกลุ่มชาวเขาหลายชนเผ่า ต้นน้ำลำธารและป่าเขาที่เคยถูกโค่นเผาทำลายจากการทำไร่เลื่อนลอย ได้ถูกแทนที่ด้วยพืชผักผลไม้เมืองหนาว ภายใต้การดำเนินงานของโครงการส่วนพระองค์ ที่มีชื่อว่า โครงการหลวง เมื่อครั้งที่ในหลวงเสด็จไปยังหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งบนดอยปุย ที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จ.เชียงใหม่ ภาพที่พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็น คือชีวิตอันแร้นแค้นขัดสนของพวกเขาที่ยังชีพด้วยการปลูกฝิ่น ทำไร่เลื่อนลอย ไม่ต่างอะไรกับชาวม้งแห่งหมู่บ้านแม่สาใหม่ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม ที่ส่วนใหญ่ได้อพยพมาจากหมู่บ้านปางป่าคาที่ถูกทางการปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติดเช่นกัน บ้านหนองหอยเก่า ต.แม่แรม อ.แม่ริม เคยเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นแหล่งใหญ่และอยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่มากที่สุด แต่ชาวม้งบ้านหนองหอยกลับกล่าวว่า ในครั้งที่พวกเขาเคยปลูกฝิ่นเป็นอาชีพนั้น เคยอดอยากจนกระทั่งต้องกินข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปนกับข้าวไร่เพื่อให้ท้องอิ่ม เช่นเดียวกับหมู่บ้านขุนช่างเคี่ยนในดงซากุระดอยที่ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งชาวบ้านอพยพมาจากหมู่บ้านม้งดอยปุย เพราะพื้นที่ทำกินไม่เพียงพอ การเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรชาวเขาอีกหลายหมู่บ้านในครั้งนั้น ไม่เพียงแค่พระองค์จะทรงพบความทุกข์ยากของพวกเขา แต่ยังพบว่าการทำไร่เลื่อนลอยของพวกเขาทำให้ผืนป่าต้นน้ำหลายแสนไร่ถูกทำลายจนยากจะฟื้นฟู ส่งผลให้ปัญหาการขาดแคลนฐานทรัพยากรสร้างผลกระทบอันน่าสะพรึงกลัวไปสู่คนไทยทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาด้านอธิปไตยของชาติจากภัยสงครามและการสู้รบของชนกลุ่มน้อยตามแนวตะเข็บชายแดน และกระบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติยังอาจทำให้เกิดหายนะสั่นสะเทือนไปทั่วโลก พระราชดำริการแก้ปัญหาแบบบูรณาการบนพื้นที่สูงเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขเพื่อคนชนเผ่าชาติพันธุ์ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นเป็น โครงการหลวง โครงการส่วนพระองค์ ของพระเจ้าแผ่นดินไทย ที่พระองค์ทรงใช้พระวิริยะอุสาหะตรากตรำพระวรกายมากว่า 4 ทศวรรษ จนกระทั่งสามารถพลิกฟื้นชีวิตชาวเขานับแสนคนให้สามารถลงหลักปักฐานด้วยอาชีพที่ยั่งยืน ผืนป่าต้นน้ำถูกฟื้นฟูบูรณะ เส้นทางค้ายาเสพติดถูกตัดวงจร และชนกลุ่มน้อยที่เคยสั่นคลอนอธิปไตยของชาติกลับกลายเป็นกลุ่มคนที่เรียกแผ่นดินไทยว่า “แผ่นดินพ่อ” ติดตามพระอัจฉริยภาพและพระวิริยะอุตสาหะของกษัตริย์นักพัฒนาผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก ในการแก้ปัญหาแบบบูรณาบนพื้นที่สูงเพื่อ ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก จนเกิดเป็นปฐมบทแห่งโครงการหลวง ได้ใน รายการตามรอยพระราชา สารคดีมุทิตาจิต สรรเสริญพระบารมี “พ่อของแผ่นดิน” วันเสาร์สุดท้ายของทุกเดือน เวลา 23.15 นาที ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
จาก https://th-th.facebook.com/tamroypraracha
ตามรอยพระราชา : เย็นศิระ ณ ดอยสูง
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้มีการรักษาป่าต้นน้ำลำธารบนพื้นที่สูง และการที่จะทำให้ชาวเขาเลิกการปลูกฝิ่นอย่างค่อยเป็นค่อยไป สามารถตั้งรกรากอยู่กับที่อย่างเป็นหลักแหล่ง พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้หาพืชเมืองหนาวเพื่อให้ชาวเขาปลูกเพื่อสร้างรายได้ทดแทนฝิ่น ให้เมื่อชาวเขามีรายได้มากยิ่งกว่าการปลูกฝิ่นและไม่มีภัยคุกคามจากกฎหมายบ้านเมือง จึงทยอยเลิกปลูกฝิ่น และหันมาปลูกผลไม้เมืองหนาวหลายชนิดทดแทน
ติดตามการขับเคลื่อนและต่อยอดพระปณิธาน ในการ ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลกเพื่อร่วมเรียนรู้และตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ได้ใน
..เย็นศิระ ณ ดอยสูง..
คลิป 3 ไร้เสียง ขออภัย ครับ นอกนั้น ดูได้หมดเลย เช็คแล้ว ตามลิ้งไปเลย https://www.youtube.com/playlist?list=PLTAEo6YE1xZn3V8Z-wy5L3kJuHfKiOM9P
เพิ่มเติม
รวมภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว king Bhumibol Adulyadej photography
http://www.photoontour.com/SpecialPhotos_HTML/data_king_family/King_photo_08.htm