ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2016, 09:56:55 pm »




ถอดความหมายจาก "บทสวดอภิธรรม" ในพระราชพิธี

กล่าวกันว่า การได้ฟัง พระอภิธรรม นั้น จะทำให้ได้บุญกุศลยิ่งใหญ่ และยิ่งถ้าได้ทราบความหมายของบทสวดด้วย ก็จะยิ่งเป็นกุศลยิ่ง ๆ ขึ้นไป…หากคุณลองตั้งใจอ่านความหมายของบทสวด คุณจะพบว่า แท้จริงแล้ว บทสวดนี้เป็นบทสวดที่สอดแทรกคำสอนอันลึกซึ้งเกี่ยวกับความตายเอาไว้เพื่อให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้เข้าใจความเป็นจริงของโลกใบนี้

พระสังคิณี

กุสะลา ธัมมา, พระธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
อะกุสะลา ธัมมา,   ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, ให้ผลเป็นความทุกข์,
อัพ๎ยากะตา ธัมมา,   ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต, เป็นจิตกลางๆ อยู่,
กะตะเม ธัมมา กุสะลา,   ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล
ยัส๎ะมิง สะมะเย,   ในสมัยใด,
กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติโสมะนัสสะสะหะคะตัง, กามาวจรกุศลจิตที่ร่วมด้วยโสมนัส, คือความยินดี,
ญาณะสัมปะยุตตัง,    ประกอบด้วยญาน คือ ปัญญาเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใด ๆ,
รูปารัมมะนัง วา,   อารมณ์ทางรูปก็ดี,
สัททารัมมะนัง วา,   อารมณ์ทางเสียงก็ดี,
คันธารัมมะนัง วา,   อารมณ์ทางกลิ่นก็ดี,
ระสารัมมะนัง วา,   อารมณ์ทางรสก็ดี,
โผฏฐัพพารัมมะนัง วา, อารมณ์สัมผัสกายก็ดี,
ธัมมารัมมะนัง วา, อารมณ์นึกคิดทางใจก็ดี,
ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ ตัส๎ะมิง สะมะเย ผัสโส โหติ, ในสมัยนั้น ผัสสะและความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี,
เย วา ปะนะ ตัส๎ะมิง สะมะเย, อีกอย่างหนึ่ง ในสมัยนั้นธรรมเหล่าใด,
อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา, แม้อื่นมีอยู่เป็นธรรมที่ไม่มีรูป อาศัยกัยและกันเกิดขึ้น,
อิเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข.



พระวิภังค์

ปัญจักขันธา,   ขันธ์ห้าคือ
รูปักขันโธ,   รูปขันธ์ (รูปกาย, รูปความคิด)
เวทะนากขันโธ,   เวทนาขันธ์ (ความเสวยอารมณ์ทางกายและใจ)
สัญญากขันโธ,   สัญญาขันธ์ (ความจำได้หมายรู้)
สังขารักขันโธ,   สังขารขันธ์ (ความนึกคิดปรุงแต่ง)
วิญญาณักขันโธ,   วิญญาณขันธ์ (ความรู้แจ้งในอารมณ์)
ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ,   บรรดาขันธ์ทั้งหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไร,
ยังกิญจิ รูปัง,    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง,   ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน,
อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา,    ภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม,
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา,   หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม,
หีนัง วา ปะณีตัง วา,    เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม,
ยัง ทูเร วา สันติเก วา,   อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม,
ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิต๎วา อะภิสังขิปิต๎วา,   ย่นกล่าวร่วมกัน,
อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ,   เรียกว่ารูปขันธ์




พระธาตุกถา

สังคะโห อะสังคะโห,   การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ,
สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง,    สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์แล้ว,
อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง,   สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง,  สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้,
อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง,   สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,
สัมปะโยโค วิปปะโยโค,    การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากกัน คือ,
สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง,   การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน,
วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง,   การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไป,
อะสังคะหิตัง,    จัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,




พระปุคคลปัญญัตติ

ฉะปัญญัตติโย,  บัญญัติหกประการ, อันบัณฑิตผู้รู้พึงบัญญัติขึ้น คือ,
ขันธะปัญญัตติ,   การบัญญัติธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันเรียกว่าขันธ์ มี 5 ,
อายะตะนะปัญญัตติ,   การบัญญัติธรรมอันเป็นบ่อเกิด (แห่งทุกข์และไม่ทุกข์), เรียกว่าอายตนะ มี 12,
ธาตุปัญญัตติ,   การบัญญัติธรรมที่ทรงตัวอยู่เรียกว่าธาตุ มี 18,
สัจจะปัญญัตติ,   การบัญญัติธรรมที่เป็นของจริงเรียกว่าสัจจะ มี 4, คือ อริยสัจจ์ 4,
อินท๎ริยะปัญญัตติ,   การบัญญัติธรรมที่เป็นใหญ่เรียกว่าอินทรีย์ มี 22,
ปุคคะละปัญญัตติ,   การบัญญัติจำพวกบุคคลของบุคคลทั้งหลาย,
กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ,   บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร,
สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต,   ผู้พ้นในกาลบางคราว, ผู้พ้นอย่างเด็ดขาด,
กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม,   ผู้มีธรรมที่กำเริบได้, ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้,
ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม,   ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้, ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้,
เจตะนาภัพโพ อะนุรักขะนาภัพโพ,   ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา, ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา,
ปุถุชชะโน โคต๎ระภู,   ผู้เป็นปุถุชน, ผู้คร่อมโคตร,
ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต, ผู้เว้นชั่วเพราะกลัว, ผู้เว้นชั่วไม่ใช่เพราะกลัว,
ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน,   ผู้ควรแก่มรรคผลนิพพาน, ผู้ไม่ควรแก่มรรคผลนิพพาน,
นิยะโต อะนิยะโต,   ผู้เที่ยง, ผู้ไม่เที่ยง,
ปะฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต,   ผู้ปฏิบัติอริยมรรค, ผู้ตั้งอยู่ในอริยผล,
อะระหา อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน.   ผู้เป็นพระอรหันต์, ผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์.




พระกถาวัตถุ

ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ,    ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงหรือ,
อามันตา,   ถูกแล้ว,
โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ, ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ,   ปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ ?
นะ เหวัง วัตตัพเพ,   ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนั้น,
อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ มิจฉา,    ท่านจงรู้นิคหะ (การข่ม ปราม) เถิด, ถ้าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงแล้ว, ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่าปรมัตถ์, คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น, คำตอบของท่านที่ว่าปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์, คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นจึงผิด,




พระยมก

เย เกจิ กุสะลา ธัมมา,   ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพ เต กุสะละมูลา,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละมูลา,   อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใด มีกุศลเป็นมูล,
สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา,   ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล,
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา,   ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,
สัพเพ เต กะสุละมูเลนะ เอกะมูลา,   ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล,
เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา,   อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศล เป็นมูล,
สัพเพ เต ธัมมากุสะลา,    ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล




พระมหาปัฏฐาน

เหตุปัจจะโย,   ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย,
อารัมมะณะปัจจะโย,   ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย,
อะธิปะติปัจจะโย,    ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย,
อะนันตะระปัจจะโย,   ธรรมที่มีปัจจัยไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง,
สะมะนันตะระปัจจะโย,   ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน,
สะหะชาตะปัจจะโย,    ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย,
อัญญะมัญญะปัจจะโย,   ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน,
นิสสะยะปัจจะโย,    ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย,
อุปะนิสสะยะปัจจะโย,    ธรรมที่มีอุปนิสัยเป็นปัจจัย,
ปุเรชาตะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการเกิดก่อนเป็นปัจจัย,
ปัจฉาชาตะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการเกิดภายหลังเป็นปัจจัย,
อาเสวะนะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย,
กัมมะปัจจะโย,   ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย,
วิปากะปัจจะโย,   ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย,
อาหาระปัจจะโย,   ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย,
อินท๎ริยะปัจจะโย,   ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย,
ฌานะปัจจะโย,   ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย,
มัคคะปัจจะโย,   ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย,
สัมปะยุตตะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
วิปปะยุตตะปัจจะโย,   ธรรมที่ไม่มีการประกอบเป็นปัจจัย,
อัตถิปัจจะโย,   ธรรมที่มีปัจจัย,
นัตถิปัจจะโย,   ธรรมที่ไม่มีปัจจัย,
วิคะตะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย,
อะวิคะตะปัจจะโย,   ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย




นอกจากบทสวดอภิธรรมแล้ว ทุกวันเราจะได้ยินบทสวด ติโรกุฑฑะกัณฑะสตตะคาถา ซึ่งเป็นบทสวด ที่มีใจความสำคัญว่า การเศร้าโศก ร้องไห้ อาลัย ไม่มีความหมายใดต่อผู้ล่วงลับ สิ่งที่ควรทำคือ ทำบุญ ให้ทาน

อะทาสิ เม อะกาสิ เม ญาติมิตตา สะขา จะ เม เปตานัง ทักขินัง ทัชชา ปุพเพ กะตะมะนุสสะรัง,  บุคคลมาระลึกถึงอุปการะอันท่านได้ทำแล้วแก่ตนในกาลก่อนว่า ผู้นี้ได้ทำกิจนี้ของเรา ผู้นี้เป็นญาติเป็นมิตร เป็นเพื่อนของเรา ดังนี้ ก็ควรให้ทักษิณาทาน
นะ หิ รุณณัง วา โสโก วา ยา วัญญา ปะริเทวะนา,  การร้องไห้ก็ดี การเศร้าโศกก็ดี การร้องไห้รำพันอย่างอื่นก็ดี บุคคลไม่ควรทำทีเดียว
นะ ตัง เปตานะมัตถายะ,  เพราะว่าการร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายผู้ละโลกนี้ไป
เอวัง ติฏฐันติ ญาตะโย,  ญาติทั้งหลายย่อมตั้งอยู่อย่างนั้น
อะยัญจะ โข ทักขิณา ทินนา,  ก็ทักษิณาทานนี้แลอันท่านให้แล้ว
สังฆัม๎หิ สุปะติฏฐิตา,  ประดิษฐานไว้ดีแล้วในสงฆ์

ทีฆะรัตตัง หิตายัสสะ ฐานะโส อุปะกัปปะติ,  ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว, ตลอดกาลนานตามฐานะนั้น
โส ญาติธัมโม จะ อะยัง นิทัสสิโต,  ญาติธรรมนี้นั้น ท่านได้แสดงให้ปรากฏแล้ว
เปตานะ ปูชา จะ กะตา อุฬารา,  แลบูชาอันยิ่ง ท่านก็ทำแล้วแก่ญาติทั้งหลาย ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว
พะลัญจะ ภิกขูนะมะนุปปะทินนัง,  กำลังแห่งภิกษุทั้งหลายชื่อว่าท่านเพิ่มให้แล้วด้วย
ตุมเหหิ ปุญญัง ปะสุตัง อะนัปปะกันติ,  บุญไม่น้อย ท่านได้ขวนขวายแล้ว ดังนี้แล.




จาก http://www.secret-thai.com/dhamma-practice/pray/5000/apidham/