ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2016, 07:05:41 am »




สื่อนอกเผยบทความ ว่าด้วยมรดกอันแท้จริงที่ในหลวง ร.9 ทรงทิ้งไว้แก่ชาวไทย

            วอชิงตันโพสต์ ลงบทความยกย่อง ความชอบธรรมทางการเมืองที่โดดเด่น คือมรดกอันแท้จริงที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงทิ้งไว้ให้แก่ประเทศไทย

              เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2559  เว็บไซต์วอชิงตันโพสต์ ได้เผยแพร่บทความซึ่งเขียนโดย ดร.ไนเจล กูลด์-เดวีส์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งยกย่องว่า ความชอบธรรมทางการเมืองที่โดดเด่นนั้น คือมรดกอันแท้จริงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงทิ้งไว้ให้แก่ประเทศไทย หลังการครองราชย์ยาวนาน 70 ปี และอีกหนึ่งในความสำเร็จของพระองค์ก็คือพลิกโฉมประเทศเกษตรกรรมที่ยากจนให้รุ่งเรืองขึ้นจนมีรายได้ระดับปานกลางถึงสูง



              โดยในบทความดังกล่าวระบุว่า สถาบันกษัตริย์ของไทยนับเป็นความชอบธรรมทางการเมืองที่มีรูปแบบเฉพาะ ซึ่งช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งของภูมิภาคที่แสนวุ่นวายนี้ นั่นคือเหตุผลที่ความชอบธรรมกลายมาเป็นรากฐานสำคัญสุดของการเมืองทุกรูปแบบ
       
              ท่ามกลางสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ ซึ่งประชาชนยินยอมเชื่อฟังรัฐบาลที่คัดเลือกมาผ่านกระบวนการเลือกตั้งอย่างเสรีและยุติธรรม ผู้มีอำนาจในหลายรัฐบาลทั่วโลกต่างก็ต้องรับมือกับความท้าทายนี้ มีไม่น้อยที่แกล้งทำตัวเป็นประชาธิปไตย ใช้ลูกเล่นผ่านกระบวนการเลือกตั้งเพื่อทำให้แน่ใจว่าตนยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป บ้างก็นำเรื่องอดีตมาเป็นข้อเรียกร้อง บ้างก็สร้างภาพอนาคตในอุดมคติมาชักจูงใจ หรืออ้างว่าเป็นการปกครองในนามของพระเจ้า มีผู้นำแค่ไม่กี่รายที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน จากบุคลิกลักษณะที่เต็มไปด้วยคุณงามความดี
       
              ท่ามกลางสภาพปัญหาต่าง ๆ ไทยกลับพบการแก้ปัญหาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นั่นคือสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพและหลอมรวมความชอบธรรมหลายประการ ทั้งประเพณีดั้งเดิม ความเป็นสมมติเทพ คุณสมบัติพิเศษที่ดึงดูดใจ ขณะเดียวกันก็ยังเอื้อต่อการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของเศรษฐกิจ ความชอบธรรมที่มีความแตกต่างกันนี้ ได้ก่อให้เกิดบทบาทของผู้ที่มีอำนาจมากมายมหาศาลในเชิงคุณธรรม ที่สูงล้ำขึ้นไปยิ่งกว่าอำนาจตามรัฐธรรมนูญ

              นับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงขึ้นครองราชย์ในขณะที่ทรงพระเยาว์ เมื่อปี 2489 พระองค์ทรงงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อราษฏรในถิ่นทุรกันดาร รวมทั้งยังทรงเป็นผู้นำในด้านการใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียงอันเป็นแบบอย่าง ทำให้พระองค์ได้รับความเคารพนับถือและความจงรักภักดีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นฐานอำนาจของพระองค์



             นอกจากนี้ ความชอบธรรมอันมากล้นของพระองค์ยังเกิดจากพระราชดำรัสและพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ที่ทรงอุทิศเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ ขณะที่พระราชดำรัสเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" หลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ได้กลายมาเป็นแสงส่องทางเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นเหมือนทางสายกลางระหว่างความต้องการพื้นฐานและการพัฒนาที่มีควาสมดุล ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์
       
              นอกจากนี้พลังอำนาจในเชิงคุณธรรมของพระองค์ยังมีอำนาจเหนือกว่ากลุ่มคนมีปืน ดังจะเห็นจากตัวอย่างในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ท่ามกลางความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในกรุงเทพฯ พระองค์ทรงเรียกตัว พล.อ. สุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กับ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง แกนนำฝ่ายต่อต้าน ให้เข้าเฝ้าฯ พร้อมทำการตักเตือนทั้งคู่ ทำให้วิกฤตคลี่คลายลง
       
              ไม่มีประเทศอื่นใดที่มีการผสมผสานระหว่างความสง่างามและเต็มไปด้วยประสิทธิภาพแบบนี้ ในประเทศยุโรปตะวันตกเชื้อพระวงศ์เป็นเสมือนหัวโขนที่ไม่มีอำนาจ แต่พระมหากษัตริย์ของไทยกลับสามารถสร้างบทบาทที่ทรงอำนาจได้ด้วยพลังแห่งการทำตัวเป็นแบบอย่าง แทนการออกคำสั่ง

              การจำแนกเรื่องการเมืองของไทยนับเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับนักรัฐศาสตร์ เนื่องจากบทบาทที่มีเอกลักษณ์ของพระมหากษัติย์ ซึ่งทรงได้รับความเคารพรักจากประชาชน นับเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดในการทำความเข้าใจตามแบบการเมืองตะวันตก ซึ่งมักมุ่งเน้นผลประโยชน์ ส่วนสถาบันต่าง ๆ ก็ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องคุณงามความดี ประเพณีและความเชื่อในเรื่องสมมติเทพ ว่าจะมีอำนาจอย่างแท้จริงในทางการเมือง
       
               แม้ว่าตลอดการครองราชย์ที่ยาวนานของพระองค์ จะมีอัตราการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญสูงที่สุดในโลก แต่นั่นก็ช่วยในการรักษาเสถียรภาพของประเทศไว้ได้ ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการถูกปกครองโดยกองทัพที่โหดร้ายอย่างในพม่า ความขัดแย้งและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในแถบอินโดจีน รวมถึงการนองเลือดหลายต่อหลายครั้งในอินโดนีเซีย ทั้งยังช่วยนำพาประเทศผ่านอันตรายในช่วงสงครามเย็น เป็นถนนที่พาไปสู่ยุคใหม่โดยที่เจอกับการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าชาติเพื่อนบ้านส่วนใหญ่

ภาพจาก เฟซบุ๊ก วิชาการ  http://hilight.kapook.com/view/144340

จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/phakri/2016/11/01/entry-2