ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2016, 06:38:57 am »


วัดทักซัง ภูฏาน ความงดงามในเมฆหมอกหิมาลัย



         วัดทักซัง ภูฏาน วัดเก่าแก่ที่มีความสวยงามและความศักดิ์สิทธิ์ เรามาทำความรู้จักกับ วัดทักซัง ในประเทศภูฏานกันค่ะ

          ภูฏาน (Bhutan) ประเทศเล็ก ๆ ที่ล้อมด้วยภูเขาหิมาลัยและตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและทิเบต มันจึงเป็นประเทศที่มีความสวยงามและขึ้นชื่อในเรื่องธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีที่เที่ยวซึ่งต้องบอกว่าเป็นไฮไลท์เด็ดของภูฏาน เรียกได้ว่าหากไม่มาที่นี่ก็เหมือนมาไม่ถึงภูฏาน และสถานที่นั้นก็คือ วัดทักซัง (Taktsang Dzong)

          วัดทักซัง หรือวัดรังเสือ (Tiger's Nest in Bhutan) เป็นวัดพุทธที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูฏาน โดยถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1962 จุดเด่นอยู่ที่ตัววัดนั้นตั้งอยู่ริมผาซึ่งมีความสูงกว่า 900 เมตร ในเขตปาโร ด้วยความสูงเทียมฟ้าเช่นนี้เองทำให้วัดนั้นอยู่ท่ามกลางเมฆหมอกสีขาวที่ล้อมรอบวัด อีกทั้งยังสามารถชมวิวสวย ๆ ด้านล่างได้อย่างชัดเจนในวันที่ท้องฟ้าโปร่ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่หมู่มวลดอกไม้ต่างพากันชูช่อสวยงาม



     ด้านประวัติความเป็นมานั้น มีตำนานเล่าว่า ก่อนพื้นที่บริเวณนี้จะถูกสร้างเป็นวัดนั้นมี คุรุรินโปเซ (Guru Rinpoche) ซึ่งสามารถจำแลงกายเป็นเสือได้มาอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งนี้ ครั้นจะเทศนาสั่งสอนผู้คนท่านจะกลายร่างเป็นมนุษย์เช่นเดิม และเมื่อคำสอนได้ผลผู้คนต่างพากันเสื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงทำให้สถานที่นี้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาจึงได้มีการสร้างวิหารขึ้นเพื่อแสดงถึงความนิยมด้านพระพุทธศาสนา และเมื่อเวลาผ่านไปเนิ่นนานทำให้ตัววิหารชำรุดทรุดโทรม จนท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1962 จึงมีการสร้างวัดทักซังหรือวัดรังเสือขึ้นมา และได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1998 จากเหตุเพลิงไหม้ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้สมบัติล้ำค่าทางพระพุทธศาสนาและทางประวัติศาสตร์ได้มอดไหม้ไปด้วย



         อย่างไรก็ตามการบูรณะครั้งใหม่ก็ไม่ทำให้ชาวพุทธต้องผิดหวัง ด้วยความวิจิตรงดงามของตัววัดทั้งภายในและภายนอกนั้นยังเป็นที่กล่าวขานของนักท่องเที่ยวที่ได้ไปเยือนวัดทักซัง และแม้การเดินทางขึ้นไปจะต้องใช้สองเท้าบวกพละกำลังอย่างมาก แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคที่ขัดขวางนักท่องเที่ยวหรือชาวพุทธแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับเป็นสิ่งท้าทายให้นักท่องเที่ยวอยากพิชิตยอดเขาสูงเพื่อไปถึงวัดทักซังสักครั้ง เชื่อเลยว่าภาพที่เห็นตรงหน้าจะคุ้มค่ากับความเหนื่อยยากแน่นอน

          สำหรับใครที่สนใจเดินทางไปยังวัดทักซังนั้นก็ต้องจัดตารางเวลาให้ดี เพราะวัดมีเวลาเปิด-ปิด โดยในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม วัดจะเปิดตั้งแต่เวลา 08.00-13.00 น. และ 14.00-17.00 น. ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายนจะเปิดตั้งแต่เวลา 08.00-13.00 น. และ 14.00-18.00 น. นอกจากนี้ยังต้องลงทะเบียนและฝากสัมภาระรวมถึงกล้องถ่ายรูปไว้เพราะทางวัดไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพด้านใน อย่างไรก็ตามควรวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และจำเป็นต้องมีไกด์นำทางเพื่อความปลอดภัยค่ะ

จาก : http://travel.kapook.com/view108569.html