ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2016, 08:38:32 am »




พระพิฆเนศวร์หรือพระคเณศ เป็นเทพฮินดูที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในปัจจุบัน

ครูไมค์ (ไมเคิล ไรท์) ผู้ล่วงลับ แอบทิ้งปริศนาไว้ในหนังสือและงานเกี่ยวกับพระพิฆเนศวร์ของท่านคล้ายจะแย้มพรายให้ชวนคิดต่อ (ตามสไตล์ของท่าน) ว่า

หรือพระคเณศจะมาจากอุษาคเนย์?

ท่านชี้ชวนให้เห็นว่า ไม่ว่าจะอุษาคเนย์หรืออินเดียต่างนับถือช้างมาอย่างเก่าแก่ (ในอินเดีย การนับถือช้างเป็นคติที่มีมาก่อนศาสนาฮินดู)

“ปู่เจ้าสมิงพราย” หรือเจ้าป่าเจ้าเขาของเราไม่รู้ว่าหมายถึงช้างหรือไม่ แต่ช้างดูจะเป็นสัตว์ที่มีความหมายมากๆ ในศาสนาโบราณโดยเฉพาะในเขตร้อนชื้น ก็เพราะช้างเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรของสัตว์บก น่าเกรงขาม ฉลาดและทรงพลังอำนาจ

แม้แต่ในปัจจุบัน ชาวบ้านเมื่อพูดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์มักเรียกตนเองว่า “ลูกช้าง”

 

คำนี้น่าสนใจนะครับ ในอินเดียภาคใต้มีชื่อเรียกพระพิฆเนศวร์ด้วยภาษาพื้นเมือง (ทมิฬ) ว่า “ปิลไลยาร์” (เติม ร์ เป็นการแสดงความเคารพ) คำนี้มีผู้แปลว่า “ลูกชาย” แต่บางท่านว่าในเซนส์ของภาษาทมิฬมันหมายถึง “ลูกช้าง” มากกว่า

ผมคิดว่าเราคงไม่ได้รับคติความเชื่อ “ลูกช้าง” มาจากแขกหรอกครับ แต่อย่างน้อยๆ ก็แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อพื้นเมืองของเรากับเขาคล้ายกัน

ด้วยเหตุนี้ความเชื่อเกี่ยวกับพระพิฆเนศวร์จึงสามารถเข้ามาสู่สังคมไทยได้โดยสะดวกตั้งแต่โบราณโดย “ปราศจากอุปสรรค”

ถ้าคิดดังที่ครูไมค์เคยเสนอ อาจเป็นได้ที่คติการนับถือช้างจะส่งจากอุษาคเนย์ไปยังอินเดีย อันนี้ผมไม่กล้ายืนยันเพราะยังมีหลักฐานไม่มากพอ

แต่ก็มิใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เสียเลย เพราะอินเดียเองก็ติดต่อค้าขายกับเรามาช้านาน รับอะไรกันไปๆ มาๆ และมีอะไรตรงกันหลายอย่าง

ชาวอารยันผู้รจนาพระเวทไม่รู้จักช้าง (เพราะมาจากที่ที่ไม่มีช้าง)

ในคัมภีร์พระเวทจึงไม่มีเทพที่มีเศียรเป็นช้าง แม้จะถือกันว่าในมณฑล (เล่ม) ที่สิบแห่งฤคเวทมีบทสวดถึง “คณปติ” ซึ่งเป็นพระนามสำคัญของพระพิฆเนศวร์ แต่ในพระเวทบอกเพียงว่าพระองค์คือเทพของกวีมิได้มีที่ใดเลยที่บอกว่าพระองค์มีรูปร่างอย่างช้าง แม้ในภายหลังจะสวมพระนาม “คณปติ” “พรหมนัสปติ” ให้กับเทพที่มีเศียรเป็นช้างของพื้นเมืองในภายหลัง

กว่าพระคเณศจะกลายเป็นเทพองค์เดียวกับเทพเศียรช้างนั้น ก็ล่วงถึงยุคปุราณะแล้ว

และกว่าจะปรากฏเทวรูปก็ล่วงมาเกือบพุทธศตวรรตที่ 9

แคว้นมหาราษฎร์ซึ่งเป็นแคว้นนับถือพระพิฆเนศวร์มากที่สุดในประเทศอินเดียนั้น พระคเณศองค์สำคัญล้วนแต่เป็นหินธรรมชาติที่มีรูปร่างคล้ายช้าง จะเก่าแก่เพียงไหนไม่มีใครทราบได้ (เว้นเสียแต่องค์สร้างใหม่)

ผมเคยเห็นเวลาพราหมณ์ที่นั่นประกอบพิธีบูชา ท่านจะถวายหญ้า “ทูรวา” หรือหญ้าแพรกที่จัดเป็นพวงไว้บนพระเศียรของเทวรูป

เป็นแบบเดียวกับที่เวลาเราเห็นช้างป่าใช้งวงเด็ดหญ้าแล้วยกไปไว้บนหัว หรือเอาปัดตามตัวแล้วติดไปบนหัวนั่นแหละครับ

นอกจากนี้ ในงานเทศกาลต่างๆ ในแคว้นนั้นยังใช้ “แตรงอน” ซึ่งส่งเสียงแบบเดียวกับการร้องของช้างด้วย



ท่านอาจเถียงผมว่าพระพิฆเนศวร์ไม่ใช่ช้าง อันนั้นคือแง่มุมจากความเชื่อครับ แต่ตามความคติโบราณและความเข้าใจเชิงสัญญวิทยาศาสนา เทพเจ้าก็คือสัตว์พาหนะ สัตว์สัญลักษณ์หรือสัตว์ที่เกี่ยวพันกับเทพนั้นๆ ด้วย พระศิวะก็คือโค พระแม่ก็คือเสือ และพระคเณศก็คือช้าง ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวพันกับการนับถือสัตว์ในฐานะสัญลักษณ์ของเผ่า (คณะ) ในอดีต

พระคเณศจึงเก่าแก่มากในบรรดาเทพฮินดูทั้งหลาย แม้ว่าโดยเทวตำนานเรามักจะคุ้นชินท่านในฐานะที่เป็นเด็กน้อยร่าเริง เพราะอิทธิพลจากตำนานในคัมภีร์ปุราณะ ที่พราหมณาจารย์โบราณรจนาให้ท่านเป็นโอรสของพระศิวะหรือพระแม่ปารวตี

แต่ความจริงแล้ว ในมิติทางประวัติศาสตร์ท่านเป็นผีหรือเทพที่มีมาก่อนศาสนาฮินดูจะสถาปนาขึ้นและหยั่งลึกลงในอินเดีย

ครูไมค์ถึงคล้ายๆ ส่งสัญญาณว่า ด้วยเหตุนี้ คติความเชื่อหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นข้อกำหนดอย่างหนึ่งของศาสนาฮินดูที่ว่า พระคเณศจะต้องได้รับการสักการะบูชาเป็นเบื้องต้น (สันสกฤตว่า อาทิปูชยัม) หรือเป็นองค์แรกเสมอในพิธีกรรมหรือในกิจการต่างๆ นั้น (อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเอ่ยพระนาม) เป็นเพราะท่านเป็นเทพที่เก่าแก่ที่สุดนั่นเอง (ศัพท์สันสกฤตว่า อาทิเทวตา หรือเทวตาที่มีมาแต่แรก) เป็นของที่มีมาแต่เดิม เทพไหนๆ ก็มาทีหลัง

เก่าแก่เพราะเป็นของพื้นเมือง เก่าแก่กว่าเทพของชาวอารยันทั้งหมด

พระคเณศ จึงเป็นเทพที่มีบทบาทหลากหลาย เพราะความเก่าแก่ยาวนานทำให้พระองค์ “ซ่อน” อะไรไว้หลายอย่างรอให้เราตีความ

จากเทพพื้นเมืองในที่สุด ความนิยมนับถือในพระองค์จะทำให้เกิดนิกายของพระองค์เอง คือนิกาย “คาณปัตยะ”

นิกายคาณปัตยะแพร่หลายมากในแคว้นมหาราษฎร์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-17 นำโดยนักบุญ “โมรยา โคสาวี” ผู้ที่ชาวบ้านนอกจากจะเชื่อกันว่าท่านเป็น “คเณศภักตะ”หรือผู้ภักดีในพระคเณศยังถือกันว่า ท่านและวงศ์วานของท่านอีก 7 รุ่น ล้วนแค่เป็นพระคเณศอวตารทั้งสิ้น

ผมเคยไปสักการะสถานที่สำคัญของพระคเณศแห่งหนึ่งชื่อ “มหาคณปติ” (หมายถึงพระคณปติผู้ยิ่งใหญ่) ตำนานแห่งสถานที่นั้น (สถาลปุราณัม) ชวนให้เพื่อนผู้ร่วมทางฉงน รูปที่ประดับเทวสถานชวนให้ฉงายเข้าไปอีก

เพราะตำนานที่นี่เล่าว่า เมื่อพระศิวะจะทรงปราบอสูร “ตรีปุระ” (ในตำราฝ่ายเราเรียก ตรีบุรัม) แต่อสูรนี้ร้ายนัก ปราบไม่ลงเสียที สุดท้ายพระองค์จึงต้องไปขอพรต่อพระคเณศยังสถานที่ตั้งพระมหาคณปตินี่เอง พระคเณศจึงสอนมนตร์ของพระองค์ให้เพื่อใช้ในการปราบเจ้าอสูรร้ายนั้น สุดท้ายพระศิวะชนะอสูรตรีปุระด้วยมนตร์และอำนาจของพระคเณศ

ภาพในเทวสถานที่บอกเล่าตำนานสถานที่ จึงเป็นรูปพระศิวะกำลังวันทนาการน้อมไหว้พระคเณศ ใครเคยอ่านเทวตำนานพระคเณศมาบ้างก็คงงง เพราะเชื่อมาตลอดว่าพระศิวะเป็นพระบิดา เหตุใดพระบิดาถึงมาไหว้ลูกชายตัวเอง

ตำนานนี้แม้จะคล้ายตำนานจากคัมภีร์ปุราณะอื่นๆ อยู่บ้าง แต่ถูกดัดแปลงและให้ความสำคัญกับพระคเณศเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นตำนานจากปุราณะของนิกายคาณปัตยะโดยเฉพาะ ซึ่งมีอยู่สองปุราณะคือ คเณศปุราณะและมุทคลปุราณะ

สําหรับนิกายคาณปัตยะแล้ว พระ “ปรมาตมัน” หรือพระเป็นเจ้าสูงสุดก็คือองค์พระคเณศ พระปรมาตมันนี้เป็นทั้งผู้สร้าง ผู้รักษา ผู้ทำลายจักรวาล และทรงสำแดงออกเป็นเทพเจ้าทั้งหลาย

และพระปรมาตมันที่เป็นองค์พระคเณศนี้เอง ก็สำแดงพระองค์ออกมาเป็น “พระคเณศ” ในปางต่างๆ รวมทั้งที่เป็นโอรสของพระศิวะด้วย

พระศิวะจึงต้องบูชาพระคเณศ เพราะพระองค์เป็นพระเจ้าสูงสุดสำหรับนิกายนี้ ทรงยิ่งใหญ่กว่าเทพทุกๆ พระองค์

นอกจากบทบาทหรือศัพท์แขกมักใช้อย่างไพเราะว่า “ลีลา” ของพระคเณศจะมีหลากหลาย นับแต่ผีพื้นเมืองของชาวบ้านที่สุดท้ายได้กลายเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุดแห่งสกลจักรวาลสำหรับปราชญ์และพราหมณาจารย์แล้ว พระองค์ยังเป็นที่รักของคนทั้งหลายด้วยว่าพระองค์สำแดงความ “ก้ำกึ่ง” อันเป็นพรมแดนสนธยาของชีวิตและจิตใจของเรา

พระองค์จะเป็นเด็กก็ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ก็ไม่เชิง จะคนก็ไม่สัตว์ก็ไม่ จะชายหรือหญิงก็ดูไม่ออก (พระองค์มีปางสตรีชื่อ ไวนายกี หรือ คเณศวรีด้วย) พระองค์ทรงมหิทธานุภาพหรือทรงขี้เล่น ทรงเรียบง่ายหรือทรงยิ่งใหญ่ ฯลฯ

ในพรมแดนของความก้ำกึ่งนี้ จึงเป็นที่ที่เราสามารถก้าวข้ามไปมา ระหว่างความเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หลุดพ้นหรือติดข้อง โลกิยะหรือโลกุตระ กลัวหรือกล้า ฯลฯ

พระองค์จึงเป็นทั้งอุปสรรคและเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค ไม่มีการก้าวข้ามใดไม่มีอุปสรรคและเมื่อระลึกได้เช่นนั้น อุปสรรคจะกลับกลายเป็นสิ่งผลักดัน

ในอินเดียพระองค์จึงเป็นทวารบาลตามเทวสถานบ้านเรือน เพราะไม่มีที่ใดที่จะเหมาะสมที่พระองค์จะสถิตไปแล้วยิ่งกว่าที่นั้น

ครูไมค์ผู้ล่วงลับถึงได้เคยเขียนในทำนองว่า การเข้าใจเทวตำนานเกี่ยวกับพระคเณศนั้น สะท้อนปมทางจิตวิทยาของเราเอง การทำความเข้าใจเทพเจ้าและเทวตำนานนี้จึงช่วยทำให้เราเข้าใจตัวเองด้วย

ในอินเดีย จึงมีเพียงเทพองค์เดียวเท่านั้นที่ผู้คนกล้าล้อและเล่นสนุกกับพระองค์ ในเทวรูปของเทศกาลใหญ่ๆ ของพระองค์เอง ในป้ายโฆษณา ในแอนิเมชั่นและการ์ตูนในรายการโทรทัศน์ เพราะความก้ำกึ่งที่พระองค์สามารถให้ความบันเทิงรื่นรมย์ทั้งของโลกนี้และโลกอุดรไปพร้อมๆ กัน

นอกจากนี้แล้ว เมื่อพระองค์เสด็จมายังดินแดนนี้ พระองค์ยังกลมกลืมกลับความเป็นพื้นบ้าน และนั่นยิ่งทำให้พระองค์มีลีลาที่หลากหลาย และต่างไปจากอินเดียขึ้นไปอีก

โปรดติดตาม

จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_2490

https://www.matichonweekly.com/magazine-column/ghost-brahmin-buddhism/page/3